ธุรกิจแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ (Franchise) เป็นคำศัพท์ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ " Franchir " แปลว่า " สิทธิพิเศษ " สมัยโบราณ พระราชา มักจะพระราชทานสิทธิพิเศษที่ให้แก่ข้าราชบริพารหรือพวกขุนนาง สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดยสิทธิพิเศษนี้จะครอบคลุมระบบเกือบ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการสามารถทำธุรกิจได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์มาก่อน ผู้ขาย หรือ เจ้าของ = แฟรนไชส์ซอร์ ผู้ซื้อ หรือ ผู้รับกิจการ = แฟรนไชส์ซี่ ระบบซึ่งบุคคลหนึ่ง คือ ผู้ขายแฟรนไชส์อนุญาตให้บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธี ต่างๆ ของ ผู้ขายแฟรนไชส์ กับสินค้า หรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านระบบ บัญชี การเงิน การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน ผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และวิธีดำเนิน กิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในบางประการด้วย
ธุรกิจแฟรนไชส์ ประเภทของแฟรนไชส์ Product or Brand Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตด้วย Business Format Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต เพื่อขายสินค้า หรือบริการ โดยมีการถ่ายทอดวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน Conversion Franchise เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิเพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มี อยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่
ธุรกิจแฟรนไชส์ รูปแบบของการให้สิทธิแฟรนไชส์ แฟรนไชส์แบบหน่วยเดียว หรือ แฟรนไชส์บุคคล ( Individual Franchise or Single Unit Franchise ) ให้สิทธิแฟรนไชส์แก่บุคคล หรือนิติบุคคล หรือองค์กร ในการดำเนินธุรกิจ ที่ได้รับสิทธิจากแฟรนไชส์ซอร์เพียง 1 แห่ง ภายในทำเลที่ตั้ง หรือพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตาม สัญญา แฟรนไชส์แบบหลายหน่วย หรือ แบบพัฒนาพื้นที่( Multiunit Franchise or Area Development Franchise) ให้สิทธิแฟรนไชส์แก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล หรือองค์กร ด้วยการกำหนดเป็นพื้นที่รับสิทธิ ที่สามารถดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิจากแฟรน ไชส์ซอร์ได้มากกว่า 1 แห่ง ตามจำนวนที่ได้ตกลงกัน ซับแฟรนไชส์ Subfranchise ให้สิทธิแก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล ในพื้นที่รับ สิทธิที่กำหนด เพื่อให้บุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลดังกล่าว ทำการขยายการให้สิทธิ หน่วยย่อยแบบ Individual Franchise หรือ Multiunit Franchise แก่บุคคลอื่นในพื้นที่ ต่อไป
ธุรกิจแฟรนไชส์ ลักษณะของแฟรนไชส์ที่ดี มีระบบในการบริหารจัดการที่ดี เช่น วิธีการผลิตสินค้า รูปแบบการบริการ ระบบไอทีใน การจัดการการฝึกอบรม มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เช่น แบรนด์เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคจำนวนมาก มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่ดีและต่อเนื่อง มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ เช่น จะต้องเปิดดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มี จำนวนสาขามากกว่า 1 แห่งในทำเลที่แตกต่างกัน
ธุรกิจแฟรนไชส์ ลักษณะของแฟรนไชส์ที่ดี มีความสำเร็จและมีกำไร เช่น มีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีความเข้มแข็งและมั่นคง มีคุณธรรม เช่น สัญญาจะต้องมีความยุติธรรม บริษัทและผู้บริหารมีธรรมาภิบาล มีคู่มือในการปฏิบัติงาน เช่น รายละเอียดการทำงานตั้งแต่เริ่มเปิดร้านไปจนถึงปิดร้าน ระบุ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
ธุรกิจแฟรนไชส์ ข้อดีของธุรกิจแฟรนไชส์ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ย่นระยะเวลาในการเรียนรู้ เครื่องหมายการค้าได้รับการยอมรับ ต้นทุนสินค้าลดลง จากการซื้อครั้งละมาก ๆ มีการโฆษณาและสนับสนุนการขายร่วมกัน ได้รับการฝึกอบรมและถ่ายโอนความเชี่ยวชาญ ได้รับบริการช่วยเหลือจากผู้ขายแฟรนไชส์ ตามข้อตกลง ตลอดอายุของสัญญา
ธุรกิจแฟรนไชส์ ข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์ ขาดอิสระในการดำเนินธุรกิจ ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ธุรกิจแฟรนไชส์ เลือกแฟรนไชส์อย่างไร 1. สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นต่างกับผู้อื่น 2. มีความรู้ ( Know-How ) ที่เป็นระบบ 3. มีตัวอย่างความสำเร็จแสดงให้เห็น 4. มีประสบการณ์ในธุรกิจนานพอ 5. มีชื่อเสียงดี 6. ธุรกิจมีการเติบโตและมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ 7. มีเงื่อนไขในสัญญาที่เป็นธรรม 8. ใช้งบประมาณในการลงทุนที่เหมาะสม
ธุรกิจแฟรนไชส์ ขั้นตอนการตัดสินใจทำแฟรนไชส์ ขั้นที่ 1 ถามตัวเองก่อนว่าชอบธุรกิจประเภทใด เช่น ถ้าชอบด้านสุขภาพ ก็น่าจะพิจารณา แฟรนไชส์ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ หรือร้านที่ให้บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น ขั้นที่ 2 ติดต่อพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ เมื่อเลือกธุรกิจที่ตนเองสนใจได้แล้ว ให้เข้าไปติดต่อ พูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์โดยตรง ถามรายละเอียดต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อเป็น ข้อมูลในการตัดสินใจ ขั้นที่ 3 หาทำเลที่ตั้งที่คิดว่าเหมาะกับธุรกิจที่จะทำ โดยอาจจะให้แฟรนไชส์ซอร์ช่วยพิจารณาด้วย
ธุรกิจแฟรนไชส์ ขั้นที่ 4 พูดคุยกับผู้ซื้อแฟรนไชส์รายอื่น ที่ได้ทำธุรกิจมาก่อนหน้า เพื่อจะได้ทราบข้อมูลช่วยใน การตัดสินใจมากขึ้น ขั้นที่ 5 ติดต่อกับแฟรนไชส์ซอร์อย่างเป็นทางการ เมื่อตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่สนใจได้แล้ว ให้ ติดต่อทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับแฟรนไชส์ซอร์ โดยแฟรนไชส์ซี่ควรจะอ่านเนื้อหาในสัญญา ให้ละเอียดรอบคอบ จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบและเสียความรู้สึกกันในภายหลัง ขั้นที่ 6 เริ่มดำเนินกิจการ เมื่อทุกอย่างลงตัวก็ถึงเวลาเริ่มเปิดดำเนินกิจการ โดยแฟรนไชส์ซี่จะ ได้รับความช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาเป็นอย่างดีจากแฟรนไชส์ซอร์ ตามข้อตกลงตลอดอายุของ สัญญา