วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.1 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง
วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง(แลมป์-เทค) นางสาวปวีณา ปงลังกา
วัตถุประสงค์การวิจัย 1.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการโดยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw 2.เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการโดยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนรู้โดยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw
ความเป็นมา รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการนี้เป็นวิชาที่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างยากและเนื้อหามีมาก จึงทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง อีกทั้งต้องใช้เนื้อหาที่เรียนมา ประกอบกับเนื้อหาที่เรียนจะต้องนำไปทดลองในบทปฏิบัติการต่างๆ ในแต่ละบทเรียน ซึ่งหากนักศึกษาไม่เข้าใจในบทเรียนแต่ละบทนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาการสอบไม่ผ่านในบทเรียนนั้นๆ ด้วย และส่งผลให้ผู้เรียนอาจไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีเนื้อหาที่มีความเข้าใจยาก
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร ผู้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการวิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง จำนวน 21 คน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaaw ตัวแปรตาม ได้แก่ ฝึกทักษะการคิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์เนื้อหาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ จุลินทรีย์ในอาหาร และสารชีวโมเลกุลในอาหาร
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. แบบบันทึกความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ (Science for Business and Services ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. แบบบันทึกความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw
วิธีการ 1.แบ่งหัวข้อที่เรียนเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม 2.จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกันเป็นกลุ่มพื้นฐาน 3.ผู้เรียนแยกย้ายจากกลุ่มพื้นฐานไปจับกลุ่มใหม่เพื่อศึกษาเอกสารที่ได้รับมอบหมาย 4. ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มกลับกลุ่มเดิมของตนแล้วผลัดเปลี่ยนเวียนกันอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง ชักถาม ตบปัญหา ทบทวนให้เข้าใจ 5.ผู้เรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบเนื้อหาทุกหัวข้อแล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม 6.กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล หรือชมเชย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบJigsawโดยการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 1.26 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.79ส่วนหลังเรียนค่าเฉลี่ย 18.67ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.49 แสดงให้เห็นว่าวิธีการสอนด้วยกิจกรรม Jigsaw มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักศึกษาให้สูงขึ้นจริง 2.ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อทัศนะของรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการด้วยกิจกรรมJigsaw อยู่ในระดับความพึงพอใจมากทุกประเด็น 3.ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
อภิปรายผลการวิจัย 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน แสดงว่า นักศึกษามีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ที่สูงขึ้น เนื่องมาจากวิธีการเรียนการสอนแบบJigsaw ผู้สอนและผู้เรียนมีการเตรียมตัวที่ดี มีการวางแผนการศึกษาล่วงหน้า มุ่งมั่นให้เกิดผลอย่างจริงจังกว่าการเรียนการสอนตามปกติ จึงส่งผลดีกว่าคือผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา หรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น
อภิปรายผลการวิจัย 2.การประเมินความพึงพอใจต่อทัศนะของรายวิชาอยู่ในระดับความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการสอนในรายวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยแยกเป็นประเด็นการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ ความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์วิจารณ์ในวิชาที่สอน ความสามารถในการใช้เทคนิค วิธีการสอนต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจติดตามตลอดเวลา ความสามารถให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของวิชาที่เรียนกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องความสามารถแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งข้อมูลศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามความเหมาะสมและการใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ช่วยสอนที่ เหมาะสมเป็นอย่างดี
กิจกรรมการเรียนการสอนแบบJigsaw
กิจกรรมการเรียนการสอนJigsaw
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทำวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw กับวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ เช่น การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และควรได้มีการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw ในรายวิชาอื่นๆ รวมทั้งในระดับชั้นปีอื่นๆ ด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการร่วมมือกันช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกันนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Jigsaw ในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป