ข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เขมกร เที่ยงทางธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ
Advertisements

การพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
ข้อมูลสถานการณ์ ระบาดวิทยา พฤศจิกายน 2557 กลุ่มงานควบคุมโรค.
สถานการณ์และการเตรียมความพร้อม การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
การวัด Measurement.
สถานการณ์และการเตรียมความพร้อม การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
Population and sampling
สภาพและความต้องการของเด็กสถานพินิจเด็กและเยาวชนชาย:ศึกษากรณีบ้านมุทิตา
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
โรงพยาบาลเขาชัยสน ขนาด 30 เตียง จังหวัดพัทลุง
ชี้แจงเกณฑ์การประเมินผล ตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิภาพ 1.
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
แนวทาง การดำเนินงาน ป้องกันการจมน้ำ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย 2547
การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดพิษต่อตับ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี โรงพยาบาลวารินชำราบ.
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ระดับความเสี่ยง (QQR)
การสำรวจสถานบริการและพนักงานบริการ
สถิติเพื่อการวิจัยและ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
การประเมินมาตรฐาน งานระบาดวิทยา ปี 2549
สาธารณสุขยุคใหม่ สร้างสังคมสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การจัดการข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลฯ
นโยบายการขับเคลื่อน การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย ยุค 4.0
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากความเมื่อยล้าในการทำงาน
กลุ่มเกษตรกร.
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
ความสำคัญ เหตุผลที่เฝ้าระวัง PM10
43 แฟ้มกับงานทันตกรรม 1. Standard Data Set 43 แฟ้ม
สรุปผลการนิเทศงานเฉพาะกิจ งานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
ชาลิณี ปิยะประสิทธิ์ สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี 21 กันยายน 2560
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับงานสาธารณสุข โซน3 จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 ด้วยความยินดียิ่ง.
ประชุม คปสจ.ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ MOTTO – กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างมี 2 วิธี
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
การดำเนินงานเชิงรุก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบและวางแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การติดตาม (Monitoring)
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังมีปัญหาอะไร?
บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้ แผนงานระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อความปลอดภัยทางถนน Road Safety Information System (RSIS) www.RSISthai.net ข้อมูล ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มูลนิธิสุขภาพภาคใต้

HMN Framework 3

ข้อมูล ข้อมูลและตัวแปร ประเภทของข้อมูล แหล่งข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลสถานะสุขภาพ ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ข้อมูลระบบบริการสุขภาพ

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อาจจะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือข้อความก็ได้ ตัวอย่าง จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในปี 2553 เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข ความคิดเห็นของผู้ป่วยเกี่ยวกับการให้บริการของโรงพยาบาล เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความ เป็นต้น

ตัวแปร (Variable) คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด หรือสอบถามจากสิ่งที่ศึกษา (คน สัตว์ พืช สิ่งของ) ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยทำให้ข้อมูลที่ได้แตกต่างกัน ตัวอย่าง เพศ (ชาย/หญิง) พฤติกรรมสุขภาพ (สูบ/ไม่สูบบุหรี่) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่แสดงผลการศึกษา ตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่กำหนดให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม

ประเภทของข้อมูล มีวิธีการแบ่งได้หลายวิธีตามเกณฑ์ในการจำแนก แหล่งที่มาของข้อมูล ลักษณะการเก็บข้อมูล เวลาของการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูล ลักษณะข้อมูล มาตรของการวัด

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดเนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก เช่น ข้อมูลอาการของโรคความดันโลหิตสูงจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วในอดีต จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิอาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้อาจจะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่

จำแนกตามลักษณะการเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการนับ (Counting data) เช่น จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา จำนวนอุบัติเหตุ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นเลขจำนวนเต็ม บางครั้งเรียกว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลที่ได้จาการวัด (Measurement data) เช่น น้ำหนัก อายุ ข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเศษส่วนหรือจุดทศนิยม บางครั้งเรียกว่าข้อมูลแบบต่อเนื่อง ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต (Observation data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการติดตามหรือเฝ้าสังเกตพฤติกรรม หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ (Interview data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการถามตอบโดยตรง ระหว่างผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์

จำแนกตามเวลาของการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time-series Data) เป็นข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เช่น จำนวนประชากรของประเทศไทยในแต่ละปี จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในแต่ละปี ข้อมูลอนุกรมเวลาเป็นประโยชน์ในการวิจัยระยะเวลายาว ทำให้ผู้วิจัยมองเห็นแนวโน้มของเรื่องนั้นได้ ข้อมูลภาคตัดขวาง (Cross-sectional Data) เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวม ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยที่สนใจในขณะนั้น

จำแนกตามการจัดการข้อมูล ข้อมูลดิบ (Raw data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการเก็บ ยังไม่ได้จัดรวบรวมเป็นหมวดหมู่หรือจัดเป็นกลุ่มเป็นพวก ข้อมูลที่จัดเป็นกลุ่ม (Group data) เป็นข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลดิบมารวบรวมเป็นหมวดหมู่

จำแนกตามลักษณะข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) เป็นข้อมูลที่แสดงความแตกต่างในเรื่องปริมาณหรือขนาด ในลักษณะของตัวเลขโดยตรง เช่น อายุ รายได้ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete data) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าเป็นเลขจำนวนเต็มที่มีความหมาย เช่น จำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีน BCG เป็นต้น ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous data) หมายถึง ข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลขที่มีค่าได้ทุกค่าในช่วงที่กำหนด และมีความหมาย เช่น รายได้ รอบเอว เป็นต้น ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ทัศนคติ ความรู้ มักจะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเลขโดยตรง

จำแนกตามมาตรของการวัด มาตรวัดนามบัญญัติ (Nominal scale) เป็นการวัดที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้มากที่สุด เป็นการแบ่งกลุ่มของข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการวิเคราะห์โดยถือว่าแต่ละกลุ่มมีความเท่าเทียมกัน ค่าที่กำหนดให้แต่ละกลุ่มจะไม่มีความหมายและไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ มี 2 ค่า คือ ชายและหญิง การจำแนกเพศอาจจะกำหนดค่าได้ 2 ค่า คือ ถ้าค่า = 0 หมายถึงเพศชาย ถ้าค่า = 1 หมายถึงเพศหญิง เป็นต้น มาตรวัดอันดับ (Ordinal scale) เป็นการวัดที่แสดงว่าข้อมูลที่อยู่ในแต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกันโดยพิจารณาจากลำดับด้วย สามารถบอกได้ว่ากลุ่มใดดีกว่ากลุ่มอื่นๆ หรือ กลุ่มใดมากกว่าหรือน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่ไม่สามารถบอกปริมาณความมากกว่าหรือน้อยกว่าเป็นเท่าใด และค่าที่กำหนดให้แต่ละกลุ่มไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น ตัวแปรความเจ็บปวด แบ่งเป็น ไม่เจ็บ เจ็บน้อย เจ็บมาก เป็นต้น

จำแนกตามมาตรของการวัด มาตรวัดแบบช่วง (Interval scale) เป็นการวัดที่แบ่งสิ่งที่ศึกษาออกเป็นระดับหรือเป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงมีขนาดหรือระยะห่างเท่ากัน ทำให้สามารถบอกระยะห่างของช่วงได้ อีกทั้งบอกได้ว่ามากหรือน้อยกว่ากันเท่าไร จึงทำให้มีความแตกต่างกันในเชิงปริมาณ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ เป็นต้น แต่ค่าศูนย์ของข้อมูลชนิดนี้ เป็นศูนย์สมมติ ไม่ใช่ศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่า ณ จุดนั้นไม่มีความร้อนอยู่เลย มาตรวัดอัตราส่วน (Ratio scale) เป็นการวัดที่ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด ที่สามารถบอกความแตกต่างในเชิงปริมาณ โดยแบ่งสิ่งที่ศึกษาออกเป็นระดับหรือเป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงมีขนาดหรือระยะห่างเท่ากันเหมือนมาตรวัดแบบช่วง แต่ค่าศูนย์ของข้อมูลชนิดนี้เป็นศูนย์แท้ ซึ่งหมายถึงไม่มีอะไรเลยหรือมีจุดเริ่มต้นที่แท้จริง เช่น ความยาว ระยะเวลา

แหล่งข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลสุขภาพอาจได้มาจากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ สำมะโนประชากร (Census) ทะเบียนชีพ (Vital registration) การสำรวจ (Survey) ทะเบียนสุขภาพและโรค (Health and disease records) ทะเบียนการบริการ (Service records) ทะเบียนการบริหารจัดการ (Administrative records)

แหล่งข้อมูลสุขภาพ 18

ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลสถานะสุขภาพ ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ข้อมูลระบบบริการสุขภาพ

ข้อมูลสถานะสุขภาพ สุขภาพกาย ประกอบด้วย การป่วย การตาย ความพิการ เช่น อัตราตายทารกต่อจำนวนการเกิดมีชีพ 1,000 ราย อายุขัยเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี สุขภาพจิต ประกอบด้วย ความสุข ความมั่นคงทางอารมณ์ สมรรถภาพจิต และคุณภาพจิต (คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม) เช่น อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากร 100,000 คน ร้อยละของประชาชนที่มีความสุขในการดำรงชีวิต

ข้อมูลสถานะสุขภาพ สุขภาพสังคม ประกอบด้วย ระบบความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และธรรมชาติ เช่น ความถี่ของการชุมนุมประท้วงในประเทศไทย อัตราการตัดไม้ทำลายป่าในภาคเหนือ สุขภาพปัญญา ประกอบด้วย การรับรู้โดยปราศจากอคติ การใช้เหตุผล และจิตสาธารณะ เช่น ร้อยละของประชากรอายุตั้งแต่ 6 - 18 ปีที่มี IQ ไม่ต่ำกว่า 100 ร้อยละของประชากรอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ได้คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ EQ ในแต่ละด้านอยู่ในช่วงคะแนนปกติหรือสูงกว่า

ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ พันธุกรรม เช่น ความชุกของการเป็นโรคทางพันธุกรรมและความพิการแต่กำเนิด สัดส่วนคนไทยที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย สิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงกายภาพ ชีวภาพ และสังคม เช่น สัดส่วนคนที่ป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพการใช้แรงงาน สัดส่วนคนที่มีรายได้น้อยในแต่ละจังหวัด แนวโน้มจำนวนคนอ้วนของประเทศกำลังพัฒนา พฤติกรรม เช่น สัดส่วนของการมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่มีการป้องกันในวัยรุ่น จำนวนผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ จำนวนคู่สมรสที่เข้ารับการปรึกษาวางแผนครอบครัวก่อนการมีบุตร

ข้อมูลระบบบริการสุขภาพ ทั้งจากการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ทุติยภูมิ (Secondary Care) ตติยภูมิ (Tertiary Care) เช่น จำนวนและการกระจายบุคลากรสาธารณสุข ต้นทุนทางการแพทย์โดยตรงของโรคเบาหวาน