งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี
1. การจดบันทึก 1.1 ความสำคัญของการจดบันทึกข้อมูล มีความสำคัญต่อการจัดการฟาร์มสัตว์เพราะจะทำให้ทราบถึงข้อมูลที่เกิดขึ้น ในแต่ละวัน แต่ละเดือน และแต่ละปี ที่จะชี้ให้เห็นถึงผลการดำเนินงานในการจัดการฟาร์มสัตว์ ผู้เลี้ยงจะได้พัฒนาปรับปรุงฟาร์มต่อไปได้อย่างถูกต้อง มีความสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เพราะจะทำให้ผู้เลี้ยงทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวสัตว์ จะช่วยในการตัดสินใจคัดเลือกพันธุ์สัตว์และวางแผนผสมพันธุ์สัตว์ได้ถูกต้อง

2 1.2 ลักษณะของข้อมูลที่ควรจดบันทึก
ข้อมูลที่ควรจดบันทึกในงานฟาร์ม ควรมีลักษณะดังนี้ เป็นข้อมูลที่เก็บได้ง่าย เช่น ข้อมูลประวัติประจำตัวสัตว์ แสดงวันเกิด หมายเลขแม่พันธุ์ และพ่อพันธุ์ เป็นต้น เป็นข้อมูลที่เก็บได้อย่างต่อเนื่องและไม่ยุ่งยาก เกิดขึ้นในฟาร์มตลอดเวลา เช่น บันทึกปริมาณผลผลิตของสัตว์แต่ละตัว บันทึกจำนวนลูก เป็นต้น เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ประวัติการผสมพันธุ์ เป็นต้น เป็นข้อมูลที่ไม่เสียเวลา และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บไม่มาก แต่มีประโยชน์มาก

3 2. รูปแบบบันทึกข้อมูล 2.1 การบันทึกทะเบียนประวัติของสัตว์ (pedigree) พันธุ์ประวัติ เป็นตารางหรือแผนภูมิที่แสดงถึงบรรพบุรุษของสัตว์ ว่าเป็นพันธุ์อะไร พ่อแม่ตัวไหน โดยมากมักจะเก็บข้อมูล 3 ชั่วอายุ ได้แก่ รุ่นลูก รุ่นพ่อ - แม่ และรุ่นปู่ย่า ตายาย (ภาพที่ 8.1) ประโยชน์ของการบันทึกพันธุ์ประวัติ สรุปได้ดังนี้ มีประโยชน์ในด้านการผสมพันธุ์ โดยทำให้ทราบว่ามีสัตว์ตัวใดบ้างเป็นบรรพบุรุษ สายเลือดเป็นมาอย่างไร ทำให้สามารถเลือกซื้อพันธุ์สัตว์ได้ง่าย ทำให้คัดเลือกสัตว์ได้ตั้งแต่ยังมีอายุน้อย และไม่สามารถแสดงลักษณะประจำตัวออกมา ทั้งนี้โดยดูจากบรรพบุรุษ

4 2.1 การบันทึกทะเบียนประวัติของสัตว์ (pedigree)
มีประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางในการคัดเลือกลักษณะที่มีอัตราพันธุกรรมต่ำ มีประโยชน์ที่จะใช้เป็นแนวทางคัดเลือกสัตว์ที่แสดงออกเฉพาะเพศ เช่น ความสามารถให้นมในพ่อโคเพศผู้ เป็นต้น มีประโยชน์ในการคัดเอาพันธุ์ที่ไม่ดีออกจากฝูง ช่วยลดและป้องกันความผิดพลาดในการคัดเลือกพันธุ์สัตว์ที่เกิดจาก epistasis gene เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายสัตว์พันธุ์แท้

5 ภาพที่ 8.1 ตัวอย่างพันธุประวัติโคพันธุ์บราห์มัน (thailivestock.com)

6 2.2 การบันทึกการผลิต การเก็บบันทึกข้อมูลโคเนื้อ ได้แก่ การจดบันทึกการคลอด จดบันทึกน้ำหนักตามระยะ จดบันทึกอาหารที่กิน อาการผิดปกติ ฯลฯ โดยการนับจำนวน การชั่ง การวัด และการสังเกต เอกสารที่ใช้เพื่อจดบันทึก เช่น บัตรประจำตัวแม่พันธุ์โคเนื้อ แบบบันทึกสถิติการให้ลูก ของแม่โคเนื้อ แบบบันทึกสถิติการผสมพันธุ์ และแบบบันทึกประวัติสุขภาพ

7 ภาพที่ 9.4 การวัดรอบอกโคเนื้อโดยใช้สายวัด (กองบำรุงพันธุ์สัตว์,
ม.ป.ป.)

8 ภาพที่ 9.5 สายวัดรอบอกโคและสุกร ใช้เมื่อไม่มีเครื่องชั่ง (Musings
from a Stonehead, 2008)

9 บันทึกการให้เนื้อ เป็นค่าที่บ่งบอกความสามารถในการให้เนื้อ เป็นตัวเลขการคำนวณจากประสิทธิภาพการเจริญเติบโต หรือ คำนวณจากอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ คุณภาพเนื้อ เป็นค่าที่บ่งบอกคุณภาพเนื้อของสัตว์ อาจจะระบุในรูปของสัดส่วนระหว่างเนื้อแดงต่อกระดูก พื้นที่หน้าตัดของเนื้อสัน เปอร์เซ็นต์ไขมันในซาก ความนุ่ม และความเหนียวของเนื้อ เป็นต้น โคเนื้อที่สมบูรณ์แล้วมีเปอร์เซ็นต์ซาก เมื่อรวมตับ ไต และหัวใจ แล้วจะสูงถึง เปอร์เซ็นต์

10 นน.สุดท้าย - นน.เริ่มต้น
ประสิทธิภาพในการให้เนื้อ = x 100 จำนวนอาหารตลอดการเลี้ยงดู

11 อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ = น้ำหนักอาหารที่กินทั้งหมด
น้ำหนักตัวที่เพิ่ม

12 นน.ซากชำแหละ % ซาก = x 100 นน.อดอาหารก่อนฆ่า 24 ชม.
นน.อดอาหารก่อนฆ่า 24 ชม. ซากชำแหละ หมายถึง ซากที่ผ่านกระบวนการฆ่า ตัดหัว เท้า ถลกหนัง และเอาเครื่องในออก ซากชำแหละเสร็จใหม่ เรียกว่า ซากอุ่น ถ้าเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิประมาณ 4 องศาซี นาน 48 ชั่วโมง เรียกว่า ซากเย็น ดังนั้น เปอร์เซ็นต์ซากอุ่นจะมีค่าสูงกว่าซากเย็น เพราะระหว่างการเก็บรักษาน้ำหนักซากจะลดลง เนื่องจากการสูญเสียน้ำเป็นสำคัญ

13 2.3 การบันทึกการผสมพันธุ์
การบันทึกการผสมพันธุ์ ได้แก่ วันผสม จำนวนวันอุ้มท้อง กำหนดวันคลอด 2.4 การบันทึกการคลอด การบันทึกการคลอด ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด หมายเลขพ่อแม่ของลูกที่เกิด จำนวนลูก เพศของลูก

14 2.5 การบันทึกสุขภาพสัตว์
ข้อมูลที่ควรบันทึก คือ โปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ การถ่ายพยาธิ การกำจัดพยาธิภายนอก ประวัติการป่วย การเป็นโรค การใช้ยา การบันทึกควรทำทุกวันและควรทบทวนการทำงาน และวิเคราะห์ข้อมูลทุกครึ่งเดือนหรือทุกเดือน เพื่อตรวจสอบปัญหาของฝูง การวางแผนปรับปรุง/แก้ปัญหาภายในฟาร์ม ตลอดจนการวางแผนผสมพันธุ์และการคัดเลือกสัตว์ไว้ทำพันธุ์หรือการคัดทิ้ง (Selection and culling)

15 ตารางที่ 8.1 ระเบียนการผสมพันธุ์โคเนื้อสำหรับฝูง
ตารางที่ 8.1 ระเบียนการผสมพันธุ์โคเนื้อสำหรับฝูง ระเบียนการผสมพันธุ์โคเนื้อสำหรับฝูง วันที่ เลขแม่โค เลขพ่อโค ผลการผสม วัน กำหนด คลอด จริง ลูกโค เพศ เลข น้ำหนัก ที่มา: กรมอาชีวศึกษา (2530)

16 ตารางที่ 8.2 แบบบันทึกการผสมเทียม บันทึกการผสมเทียม
ตารางที่ 8.2 แบบบันทึกการผสมเทียม บันทึกการผสมเทียม เบอร์ โค ว.ด.ป.เกิด แม่ พ่อ วันคลอด ครั้งสุดท้าย การผสมเทียม ท้องหรือไม่ เป็นสัดครั้งต่อไป กำหนดคลอด หมายเหตุ ว.ด.ป. ที่มา: ดัดแปลงจาก สมเกียรติ (2531)

17 บันทึกการคลอดลูก ประจำเดือน พ.ศ.
ตารางที่ 8.3 แบบบันทึกการคลอดลูก บันทึกการคลอดลูก ประจำเดือน พ.ศ. วันที่ เบอร์โค พ่อพันธุ์ เพศลูกโค น้ำหนัก แรกคลอด (กก.) ลักษณะการคลอด รูปพรรณ หมายเหตุ ที่มา: ดัดแปลงจาก สมเกียรติ (2531)

18 ตารางที่ 8.4 ตารางบันทึกอาหารผสม บันทึกอาหารผสม
ตารางที่ 8.4 ตารางบันทึกอาหารผสม บันทึกอาหารผสม วันที่ ชนิดอาหาร ที่มา: กรมอาชีวศึกษา (2530)

19 การเจ็บป่วยและการรักษา
ตารางที่ 8.5 ตารางบันทึกสัตว์ป่วย บันทึกสัตว์ป่วย วันที่ แม่โคหรืออื่น ๆ การเจ็บป่วยและการรักษา ที่มา: กรมอาชีวศึกษา (2530)

20 บันทึกเหตุการณ์ทั่วไป
ตารางที่ 8.6 ตารางบันทึกเหตุการณ์ทั่วไป บันทึกเหตุการณ์ทั่วไป วันที่ เหตุการณ์ทั่วไป ที่มา: กรมอาชีวศึกษา (2530)


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google