กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและคุ้มครองผู้บริโภค ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 7/21/2019
กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 พรบ.ยา พ.ศ.2510, 2518, 2522 พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.2518 พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 7/21/2019
เหตุผลที่จะต้องคุ้มครองผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งคำพรรณนาสรรพคุณสินค้าที่ถูกต้อง เพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สิทธิที่จะมีอิสระเลือกหาสินค้าและบริการ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากนิติกรรมสัญญาต่างๆ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย หลักธรรมาภิบาลของผู้ผลิตที่จะต้องมีต่อผู้บริโภค 7/21/2019
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม แพทยสภา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนัก นสพ. องค์กรพัฒนาเอกชน : สหพันธ์บริโภค องค์กรพัฒนาสตรีและเด็ก มูลนิธิเพื่อนหญิง สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมฯ 7/21/2019
การคุ้มครองผู้บริโภคตามพรบ.คุ้มครองฯ ด้านโฆษณา และด้านฉลาก ด้านโฆษณา ได้แก่ 1. การโฆษณาต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือข้อความที่ก่อให้เกิดผลเสียโดยรวมของสังคม (ม.22) 2. การโฆษณาต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจหรือก่อความรำคาญแก่ผู้บริโภค (ม.23) 3. กรณีที่คณะกก.ว่าด้วยโฆษณาเห็นว่าสินค้านั้นอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และคณะกก.ว่าด้วยฉลากกำหนดให้สินค้าเป็นสินค้าควบคุมฉลากตาม ม.30 คณะกก.โฆษณามีอำนาจสั่งดังนี้ 1) กำหนดให้ทำโฆษณาพร้อมคำแนะนำหรือคำเตือน 2) จำกัดการใช้สื่อโฆษณาสำหรับสินค้านั้น 3) ห้ามการโฆษณานั้น (ม.24) 7/21/2019
การคุ้มครองด้านโฆษณา (ต่อ) 4. ผู้บริโภคจำเป็นต้องรู้สภาพฐานะ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ผลิต คณะกก.สั่งให้การโฆษณาต้องให้ข้อมูลดังกล่าว (ม.25) 5. คณะกก.กำหนดให้การโฆษณาข้อความทางสื่อ ต้องมีถ้อยคำกำกับว่าข้อความดังกล่าวเป็นโฆษณา (ม.26) (advertorial) 6. โฆษณาที่ฝ่าฝืนม.22 23 24 หรือ25 คณะกก.จะสั่งดังนี้ 1) แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา 2) ห้ามใช้ข้อความบางอย่างในโฆษณา 3) ห้ามโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการโฆษณา 4) ให้โฆษณาแก้ไขความเข้าใจผิด ** (ม.27) 7. โฆษณาที่ชวนสงสัยตาม ม.22 วรรคสอง ให้ผู้โฆษณาพิสูจน์ความจริงได้ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ให้ถือว่าผู้โฆษณารู้หรือควรรู้ได้ว่าเป็นเท็จ (ม.28) 8. ผู้ผลิตสงสัยในโฆษณาของตน อาจขอให้คณะกก.พิจารณาก่อนได้ โดยแจ้งกลับภายใน 30 วัน หากไม่แจ้งถือว่าเห็นชอบแล้ว 7/21/2019
ด้านโฆษณา (ต่อ) ม.22 (เพิ่มเติม) 1. ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง 2. ข้อความที่ก่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะใช้รายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดที่ไม่เป็นความจริงหรือเกินจริง 3. ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมหรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ 4. ข้อความที่ทำให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในหมู่ประชาชน 5. ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 7/21/2019
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สินค้าที่ผลิตเพื่อขาย สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ฉลากสินค้าควบคุมต้องมีลักษณะดังนี้ ใช้ข้อความที่ตรงต่อความจริง ไม่เข้าใจผิดในสาระสำคัญ ระบุชื่อ เครื่องหมายการค้า ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า สถานที่ผลิต สินค้าคืออะไร ระบุชื่อประเทศที่ผลิต ระบุราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วันเดือนปีที่หมดอายุ และกรณีอื่นๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 7/21/2019
บทลงโทษ ผู้ใดขัดขวาง ไม่อำนวยความสะดวก ไม่ให้ถ้อยคำ ไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานแก่จนพ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.45) ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.46) ผู้ใดเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ใช้ฉลากเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำผิดตามวรรคหนึ่งทำผิดซ้ำอีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.47) 7/21/2019
บทลงโทษ (ต่อ) ผู้ใช้โฆษณาตามม.22 หรือฝ่าฝืนม.23 24 25 หรือ 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน /ปรับไม่เกิน 3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.48) ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกก.ที่สั่งตามม.27 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน /ปรับไม่เกิน 5 หมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.49) 7/21/2019
พรบ.ยา พ.ศ.2510, 2518, 2522 การโฆษณาขายยาต้องดำเนินการตาม ม.88 ได้แก่ ไม่โอ้อวดสรรพคุณได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรืออหายขาด ไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ หรือเกินจริง ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีตัวยา ส่วนประกอบยา ซึ่งความจริงไม่มี ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูก หรือยาขับระดูอย่างแรง ไม่ทำให้เข้าใจว่าบำรุงกามหรือคุมกำเนิด ไม่แสดงสรรพคุณอันตราย ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น ไม่แสดงสรรพคุณว่าบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคตามม. 77 ห้ามโฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพหรือร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ม.89 ห้ามโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพก หรือออกสลากรางวัล ม.90 7/21/2019
บทลงโทษ ผู้ใดฝ่าฝืนม. 88 89 90 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน /ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ม.124 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาของเลขาธิการคณะกก.อาหารและยาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง ม.124 ทวิ 7/21/2019