แนวทางการปฏิบัติงานของเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ นางจุฑารัตน์ ศักดิ์โชตินนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด 9 มีนาคม 2560
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สภานายิกาสภากาชาดไทย อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
จุดกำเนิดเหล่ากาชาดจังหวัด ปี พ.ศ. 2503 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ว่า “ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีเหล่ากาชาดจังหวัด ให้เป็นรูปธรรม” จึงได้มีการประกาศ แต่งตั้งเหล่ากาชาดจังหวัด ครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2504 เริ่มจาก 69 จังหวัด ปัจจุบันมี 76 จังหวัด
จุดกำเนิดกิ่งกาชาดอำเภอ สภากาชาดไทย ได้มีการอนุมัติให้ จัดตั้งกิ่งกาชาดอำเภอเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2510 ณ อ.สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ และมีกิ่งกาชาดอำเภอรุ่นแรก ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2510 ได้แก่ กิ่งกาชาดอำเภอห้างฉัตร เกาะคา แจ้ห่ม งาว วังเหนือ แม่พริก เถิน แม่ ทะ และสบปราบ (ปัจจุบันมี 240 กิ่ง กาชาดอำเภอ)
พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานในวันเปิดการชุมนุมกาชาด ครั้งที่ 5 วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2536 พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานในวันเปิดการชุมนุมกาชาด ครั้งที่ ๔ “เหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอ ได้เป็นกำลังสำคัญของสภากาชาดไทยในส่วนภูมิภาค ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้เดือดร้อนในท้องถิ่นของตน ตลอดจนการดำเนินภารกิจต่างๆ ในฐานะตัวแทนของสภากาชาดไทย” “...เหล่ากาชาดจังหวัและกิ่งกาชาดอำเภอ ได้เป็นกำลังสำคัญ ของสภากาชาดไทยในส่วนภูมิภาค ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้เดือดร้อนในท้องถิ่นของตน ตลอดจนดำเนินภารกิจต่าง ๆ ในฐานะตัวแทนของสภากาชาดไทย...”
หลักการกาชาด 7 ประการ 1. มนุษยธรรม (Humanity) 2. ความไม่ลำเอียง/การไม่เลือก ปฏิบัติ(Impartiality) 3. ความเป็นกลาง (Neutrality) 4. ความเป็นอิสระ (Independence) 5. บริการอาสาสมัคร (Voluntary Service) 6. ความเป็นเอกภาพ (Unity) 7. ความเป็นสากล (Universality)
พันธกิจของเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ มี 8 ประการ 1. บรรเทาทุกข์ 2. สังคมสงเคราะห์ 3. รับบริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะอื่น 4. ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต 5. สนับสนุนและส่งเสริมกิจการยุวกาชาด อาสากาชาด และกิจการต่างๆ ของสภากาชาดไทย 6. ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ 7. เหล่ากาชาดจังหวัด คือสภากาชาดไทยในจังหวัด 8. ส่งเสริม เผยแพร่อุดมการณ์และหลักการกาชาด
โครงสร้างการบริหาร และบทบาทหน้าที่ของเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ
ผู้แทนภาค ประกอบด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้แทนภาค รองผู้แทนภาค หมายเหตุ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดผู้แทนภาคทั้ง 12 ภาค เป็น คณะกรรมการสภากาชาดไทย
นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธาน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัด รองประธาน คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด ประกอบด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธาน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัด รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ กรรมการอื่นๆ (24 - 28 คน) นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอาจแต่งตั้งผู้ที่ช่วยเหลือกิจการ ของกาชาดเป็นที่ปรึกษาได้ตามที่เห็นสมควร
นายกกิ่งกาชาดอำเภอ ประธาน รองนายกกิ่งกาชาดอำเภอ รองประธาน คณะกรรมการกิ่งกาชาดอำเภอ ประกอบด้วย นายกกิ่งกาชาดอำเภอ ประธาน รองนายกกิ่งกาชาดอำเภอ รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ กรรมการอื่นๆ (20-24 คน) นายกกิ่งกาชาดอำเภออาจแต่งตั้งผู้ที่ช่วยเหลือกิจการ ของกาชาดเป็นที่ปรึกษาได้ตามที่เห็นสมควร
การนับวาระคณะกรรมการ สภากาชาดไทยมีหนังสือสั่งการ ที่ กช 11365/2554 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ให้ปรับวาระคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ เป็นไปตามข้อบังคับฯ ฉบับที่ 74 พ.ศ.2553 ที่ประกาศใช้ โดยปรับวาระตามปีปฏิทินเป็นวาระเดียวกันทั่วประเทศ เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 นับเป็นวาระแรก ดังนั้น เหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอ จะต้องดำเนินการ เลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หลังจากครบวาระ หรือสามารถดำเนินการล่วงหน้าได้
สิ่งที่ สภากาชาดไทยและสังคมไทยอยากจะเห็น เหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ (อันหมายรวมถึง คณะกรรมการ สมาชิก อาสาสมัคร ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานทุกคน ภายใต้การนำของนายกเหล่ากาชาดจังหวัด นายกกิ่งกาชาดอำเภอ) ต้องทำงานอย่าง “จิตอาสา ใจเป็นกุศล มีธรรมาภิบาล เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของสาธารณชน และมีประสิทธิภาพ”
บทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ
บทบาทหน้าที่ของนายกเหล่ากาชาดจังหวัด/นายกกิ่งกาชาดอำเภอ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบริหารภายในองค์กร การแสวงหาความร่วมมือภายนอกองค์กร
บทบาทหน้าที่ของเหรัญญิก 1. รับผิดชอบงานด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุของเหล่ากาชาดจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบและคู่มือการปฏิบัติงานของสภากาชาดไทย 2. ร่วมประชุมกับคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเพื่อจัดทำงบประมาณประจำปี 3. รายงานการเงิน ตามกรอบระยะเวลา ที่สภากาชาดไทยกำหนด ได้แก่ งบรับ-จ่ายรายเดือน รายไตรมาส และงบดุล 4. รายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดทุกครั้งที่มีการประชุม 5. จัดเก็บเอกสารทางการเงินต่างๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบ ณ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด และส่งมอบให้แก่ผู้มารับตำแหน่งใหม่ 6. มอบหมาย กำกับดูแล และควบคุม การจัดทำงบประมาณ การเงิน และการบัญชีของเหล่ากาชาดจังหวัด
บทบาทหน้าที่ของเลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัด 1. ดูแลรับผิดชอบงานของสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด 2. ทำแผนปฏิบัติงานของเหล่ากาชาดจังหวัดและรายงานผลส่งสภากาชาดไทย 3. ประสาน+ร่วมมือเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน ประสานกับหน่วยงานของสภากาชาดไทย ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการ เหรัญญิก สมาชิก เจ้าหน้าที่ ขยายเครือข่ายการทำงานสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่
บทบาทกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาด 1. ร่วมปฏิบัติภารกิจของเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาด อย่างสม่ำเสมอ และให้ความร่วมมือสนับสนุนงานของเหล่ากาชาด จังหวัดและกิ่งกาชาดให้บรรลุตามกิจกรรม/แผนงานที่วางไว้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ 2 . ร่วมประชุม คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด และไม่ควร ขาดประชุม สามครั้ง ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
บทบาทกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาด 3. ร่วมเป็นกรรมการในการดำเนินการซื้อ/จ้างของ เหล่ากาชาดและกิ่งกาชาด เช่น กรรมการตรวจรับพัสดุ กรรมกรรมการตรวจการจ้าง 4. ไม่กระทำการหรือละเว้นกระทำการอื่นใดเพื่อแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือในทางการเมือง 5. รับมอบงานในหน้าที่ของเหล่ากาชาด/กิ่งกาชาด เมื่อนายกเหล่ากาชาด/นายกกิ่งกาชาด เกษียณ หรือ โยกย้าย
การแต่งกายของคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ
* การสวมเสื้อประเภทอื่นๆ ในการปฏิบัติงาน - เสื้อกั๊ก - เสื้อของจังหวัด เสื้อของเหล่ากาชาดจังหวัด - เสื้อทีเซิ้ต เช่น สีขาว-แดง สีเหลือง สีฟ้า สีชมพู (ตามกาลสมัย) ให้แต่ละเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอทำเอง หากมีการใช้เครื่องหมายกาชาด ปัก หรือ สกรีนบนเสื้อ ให้ขออนุญาตใช้ตามระเบียบฯ ก่อนจัดทำ