งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3
อ.ศรุต จุ๋ยมณี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 เนื้อหาการนำเสนอ (Out line presentation)
วิวัฒนาการของการบริการสาธารณะ ประเภทของการบริการสาธารณะ ผลทางกฎหมายของการแบ่งบริการสาธารณะ วิธีการจัดทำบริการสาธารณะ วิธีการมอบให้เอกชนทำบริการสาธารณะ เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดระเบียบการปกครองรัฐ

3 วิวัฒนาการของการบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะในต่างประเทศ การบริการสาธารณะในประเทศไทย

4 การบริการสาธารณะในต่างประเทศ

5 การบริการสาธารณะในประเทศไทย

6 ป้องกันประเทศ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ไม่เก็บค่าบริการ
กษัตริย์ เวียง นา วัง คลัง

7 เอกชนที่ได้รับมอบหมาย
บำบัดทุกข์ บำรุงสุข การพาณิชย์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจเก็บค่าบริการ รัฐบาล เอกชนที่ได้รับมอบหมาย ราชการส่วนกลาง หน่วยงานอื่นของรัฐ ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ

8 ประเภทของการบริการสาธารณะ
ข้อแตกต่าง 1 บริการสาธารณะทางปกครอง 2.บริการสาธารณะเชิงอุตสาหกรรมและการพาณิชย กรรม 3.การบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม

9 ผลทางกฎหมายของการแบ่งบริการสาธารณะ
1 นิติสัมพันธ์ บริการสาธารณะทางปกครอง นิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับผู้ใช้บริการ อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายปกครองและคดีที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะประเภทนี้อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง บริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานและผู้ใช้บริการบุคลากร และบุคคลภายนอกจะอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเอกชนและคดีเกี่ยวกับบริการสาธารณะประเภทนี้ อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม

10 2 กรณีผู้ใช้บริการของบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางปกครอง
สถานภาพของผู้ใช้บริการจะถูกกำหนดโดยกฎ ข้อบังคับ ทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดองค์กร การจัดองค์กรและการปฏิบัติงาน การใช้บริการสาธารณะประเภทนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะมีลักษณะเป็นนิติกรรมเงื่อนไขมิใช่สัญญา ความรับผิดของฝ่ายปกครองสำหรับความเสียหายที่เนื่องจากการปฏิบัติงานที่บกพร่องของการบริการสาธารณะนั้น จึงเป็นความรับผิดจากมูลละเมิดไม่ใช่ความรับผิดตามสัญญา ส่วนสถานภาพของผู้ใช้บริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมจะมีลักษณะเป็นสัญญาตามกฎหมายเอกชนจึงมีผลให้ความรับผิดของหน่วยงานบริการสาธารณะประเภทนี้มีต่อผู้ให้บริการ จึงเป็นความรับผิดตามสัญญา

11 วิธีการจัดทำบริการสาธารณะ
บริการสาธารณะที่ฝ่ายปกครองจัดทำเอง มี 4 แบบ 1การจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของราชการ ราชการส่วนกลาง ได้แก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน กิ่งอำเภอ ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่เทศบาล อบตง อบจ. กทม. เมืองพัทยา

12 2.การจัดทำบริการสาธารณะในรูปรัฐวิสาหกิจ
3.การจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบองค์การมหาชน 4.บริการสาธารณะที่มอบให้เอกชนทำ

13 วิธีการมอบให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะ
2 ประการคือ การให้ผูกขาดคือการให้เอกชนบริการสาธารณะบางอย่างได้แต่ผู้เดียวในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเอกชนต้องจ่ายเงินค่าสิทธิจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐเป็นการตอบแทนสิทธิที่ได้รับการผู้ขาด ผลกำไรที่ได้จากกิจการนั้นตกเป็นของผู้ได้รับการผูกขาดและ การให้สัมปทานบริการสาธารณะเป็นวิธีการที่ฝ่ายปกครองมอบให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วยทุนทรัพย์สินและความเสี่ยงภัยของเอกชนโดยฝ่ายปกครองไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับสัมปทานแต่จะให้ผลประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทานโดยการให้สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการหรือค่าตอบแทนจากประชาชนผู้ใช้บริการในกิจการนั้นๆ เช่นการให้สัมปทานการไฟฟ้า การให้สัมปทานรถประจำทาง เป็นต้น

14 เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ
มาตรการทางกฎหมาย (ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ) บุคลากรของรัฐ ทรัพย์สินของฝ่ายปกครอง อำนาจพิเศษของฝ่ายปกครอง นิติกรรมทางปกครองได้แก่กฎ/คำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครอง

15 ภาค 2 การจัดระเบียบการปกครองรัฐ

16 บทที่ 1 ข้อความคิดวิเคราะห์และหลักทั่วไปในการจัดระเบียบบริหารราชการ

17 คำว่า “รัฐ” ตามความหมายที่ใช้อยู่ในคำอธิบายรัฐธรรมนูญทั่วไปคือพลเมืองที่รวมอยู่ในอาณาเขตแน่นอนภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนเอง รัฐมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ พลเมือง พลเมืองนั้นจะมีจำนวนเท่าไรไม่มีข้อจำกัด แต่รัฐจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีพลเมืองพอสมควร อาณาเขต อาณาเขตของรัฐจะต้องแน่นอนพอสมควรฝูงชนที่พเนจรไปในที่ต่างๆ โดยไม่ตั้งหลักแหล่งให้มั่นคงแน่นอนย่อมไม่เป็นรัฐ อำนาจอธิปไตย พลเมืองที่รวบรวมกันอยู่ในรัฐจะต้องมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง มิฉะนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น “รัฐ” หรือ “ประเทศ”

18 บางตำราอธิบายเพิ่มเติมว่าต้องมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง คือ “รัฐบาลที่มั่นคง” แต่เป็นว่าไม่จำเป็นเพราะว่าการที่พลเมืองจะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองได้ก็เป็นที่เห็นได้ในตัวเองว่ารัฐบาลนั้นจะต้องเป็นรัฐบาลที่มั่นคงนั้นเป็นที่เข้าใจในตัวแล้ว

19 รัฐเดี่ยว รัฐรวม

20 1.หลักการจัดระเบียบการปกครองรัฐ
“การจัดระเบียบการปกครองของรัฐ” คือ เป็นการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ โดยหลักในการจัดระเบียบการปกครองของรัฐที่ใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ มีอยู่ 3 หลัก คือ หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentralization) หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)

21 หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
หลักการรวมอำนาจมีความหมายได้ 2 ทาง คือ 1.หลักการรวมอำนาจในทางการเมือง และ 2.หลักการรวมอำนาจในทางการปกครอง

22 หลักการรวมอำนาจปกครอง มีลักษณะดังนี้ 1)มีการรวมกำลังทหารตำรวจให้ขึ้นกับส่วนกลาง

23 2)มีการรวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง

24 3)มีลำดับชั้นในการบังคับบัญชากล่าวคือความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเจ้าหน้าที่ต่างๆเป็นไปตามระบบการบังคับบัญชา

25 อำนาจบังคับบัญชา คือ อำนาจในการที่จะสั่งการให้องค์กรเจ้าหน้าที่กระทำการใดๆ ตลอดจนแก้ไขเพิกถอนการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งเป็นอำนาจในการให้คุณให้โทษแก่ตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์กรเจ้าหน้าที่ด้วย กล่าวคือ มีลักษณะเป็นทั้งอำนาจเหนือการกระทำ และอำนาจเหนือตัวบุคคลผู้กระทำ

26 ข้อดีและข้อเสียของหลักการรวมอำนาจปกครอง
มีข้อดีหลายประการ ประการที่สำคัญ คือ ทำให้ประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงครอบคลุมอาณาเขตของประเทศและเป็นการจัด การปกครองที่ประหยัด เพราะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนกลาง เป็นวิธีการปกครองที่ทำให้ผู้อยู่ใต้การปกครองได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคไม่มีการเลือกปฏิบัติพิเศษในท้องที่ใด

27 หลักการรวมอำนาจปกครองก็มีข้อเสีย
คือ ทำให้การวินิจฉัยสั่งการเป็นไปโดยล่าช้า เพราะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบแบบแผนตามลำดับการบังคับบัญชา และไม่สามารถจัดทำบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว คือ การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย

28 หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentralization
หลักการแบ่งอำนาจปกครอง จึงเป็นหลักการที่นำมาเสริมเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยราชการบริหารส่วนกลางจะมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้แทนราชการบริหารส่วนกลางซึ่งส่งไปประจำปฏิบัติการตามเขตการปกครองต่างๆ ของประเทศ แต่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงเป็นผู้ที่ราชการบริหารส่วนกลางแต่งตั้งทั้งสิ้น และอยู่ในบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง หลักการแบ่งอำนาจปกครองนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักการรวมอำนาจปกครอง ไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจปกครอง

29 ลักษณะสำคัญของการแบ่งอำนาจปกครอง
1) มีการแบ่งอำนาจวินิจฉัยสั่งการในกิจการบางอย่างให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 2) ราชการส่วนภูมิภาคยังคงอยู่ภายใต้”ควบคุมบังคับบัญชา”ของราชการส่วนกลางอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคมาจากการแต่งตั้งของราชการส่วนกลาง จากแนวคิดของหลักการแบ่งแยกอำนาจปกครองนี้ จึงเกิดการจัดการปกครองที่เรียกว่าราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอำเภอนั้นเอง

30 ข้อดีและข้อเสียของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง
ข้อดีของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง คือ มีการส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถมาปกครอง ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีความสามารถในการปกครองตนเองจะช่วยสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นหลักการที่นำไปสู่หลักการกระจายอำนาจทางปกครองในพื้นที่ที่ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

31 ข้อเสียของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง คือ เป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนและก่อให้เกิดความล่าช้าเพราะมีขั้นตอนการดำเนินการ 2 ระดับ ภูมิภาคและ ระดับส่วนกลาง

32 หลักการกระจายอำนาจทางปกครอง (Decentralization)
หลักการกระจายอำนาจปกครองเป็นวิธีที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้องค์กรอื่นนอกจากองค์กรราชการบริหารส่วนกลาง จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีความเป็นอิสระตามสมควร ไม่ขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง เพียงแต่อยู่ในกำกับเท่านั้น

33 อำนาจควบคุมในการบังคับบัญชา หมายถึง อำนาจที่หัวหน้าหน่วยปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยมีอำนาจทั้งในแง่ความเหมาะสมของการดำเนินงานและในแง่ของการควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

34 อำนาจในการกำกับดูแล หมายถึง อำนาจที่องค์กรที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรอื่นใช้ในการกำกับดูแลองค์กรนั้นๆ ทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย

35 ลักษณะของการกระจายอำนาจทางปกครอง
1) มีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นองค์การนิติบุคคลอิสระจากองค์การของราชการบริหารส่วนกลาง นิติบุคคลเหล่านี้มีฐานะเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน 2) มีการเลือกตั้ง 3) มีความเป็นอิสระที่จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้เอง โดยไม่ต้องรับคำสั่งหรืออยู่ใต้บังคับ งบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง

36 ประเภทของการกระจายอำนาจทางปกครอง อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1)การกระจายอำนาจทางพื้นที่ หรือที่เรียกว่า การกระจายอำนาจทางเขตแดนได้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น 2)การกระจายอำนาจทางบริการ หรืออาจเรียกว่าการกระจายอำนาจทางเทคนิค (Decentralisation par service ou technique) ได้แก่รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน

37 1) การกระจายอำนาจทางพื้นที่ หรือที่เรียกว่า การกระจายอำนาจทางเขตแดน
คือ การที่รัฐมอบอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะหลายประการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำ ทั้งนี้การจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายจะถูกจำกัดขอบเขตโดยพื้นที่หรืออาณาเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ การจัดระเบียบราชการบริหารลักษณะนี้เรียกว่า “การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” โดยมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

38 โดยมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
ปัจจัยทางด้านพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองในกิจการท้องถิ่น ตามกฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีองค์เจ้าหน้าที่ของตนเอง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยเสรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการโดยอิสระในขอบอำนาจหน้าที่ของตน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการคลังของตนเอง

39 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องอยู่ภายใต้อำนาจกำกับดูแลทางปกครอง ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการดังนี้ คือ
(1) อำนาจกำกับดูแล เป็นอำนาจควบคุมในเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย (2) อำนาจกำกับดูแลเป็นอำนาจที่มีอยู่อย่างจำกัดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (3) เป็นการกำกับดูแลโดยส่วนกลาง (4) เป็นการกำกับดูแลเหนือองค์กรและการกระทำขององค์กรกระจายอำนาจกล่าวคืออำนาจกำกับดูแลเหนือองค์กรหรือตัวเจ้าหน้าที่และเหนือการกระทำการกำกับดูแลมีขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทั่วไปของรัฐ

40 การกระจายอำนาจทางบริการ หรืออาจเรียกว่าการกระจายอำนาจทางเทคนิค (Decentralisation par service ou technique) คือการที่รัฐมอบอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะในบางเรื่องบางอย่างให้แก่องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเป็นผู้จัดทำการกระจายอำนาจทางบริการนี้มิใช่เป็นการกระจายอำนาจปกครองแต่เป็นการ “มอบ” ให้องค์การของรัฐไปจัดทำบริการสาธารณะโดยแยกออกมาเป็นนิติบุคคลต่างหากจากรัฐ มีทรัพย์สินของตนเองและมีผู้บริหารของตนเองโดยนิติบุคคลกระจายอำนาจนี้จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐเช่นกันซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน เช่นการมอบอำนาจให้การประปาส่วนภูมิภาคจัดทำบริการสาธารณะโดยให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาค, การมอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษา เป็นต้น

41 ความแตกต่างระหว่างหลักการแบ่งอำนาจปกครองกับหลักการกระจายอำนาจปกครอง
1.หลักการกระจายอำนาจปกครองเป็นการตัดอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการบางส่วนจากราชการบริหารส่วนกลางไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อให้ท้องถิ่นดำเนินการได้เองโดยตรง ไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับบัญชา สั่งการของราชการบริหารส่วนกลางราชกลางส่วนกลางมีเพียงอำนาจ “กำกับดูแล” ราชการส่วนท้องถิ่นให้ปฏิบัติการต่างๆ ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น

42 แต่การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคตามหลักการแบ่งอำนาจปกครองนั้นเป็นการจัดระเบียบราชการบริหารตามหลักการรวมอำนาจปกครอง อำนาจบังคับบัญชาและวินิจฉัยสั่งการขั้นสุดท้ายยังอยู่กับราชการบริหารส่วนกลาง

43 2.เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจปกครองมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง แต่เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนทั้งสิ้น

44 5 ความแตกต่างระหว่างหลักการกระจายอำนาจทางปกครองกับหลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐ
1.หลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหรัฐนั้นมีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการให้แก่มลรัฐในสหรัฐ แต่หลักการกระจายอำนาจปกครองนั้นเป็นเพียงกระจายอำนาจปกครองในด้านการปกครองให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทำเท่านั้น แม้ท้องถิ่นจะมีอำนาจออกกฎหรือกฎหมายของท้องถิ่นเช่นเทศบัญญัติ, ข้อบัญญัติต่างๆ ได้แต่ท้องถิ่นแต่ละแห่งก็ไม่มีอำนาจตุลาการของตนเองศาลที่ตั้งอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ เป็นเพียงแค่สาขาของอำนาจตุลาการส่วนกลางเท่านั้น

45 2.หลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหรัฐ จะใช้ได้เฉพาะแต่รัฐที่เป็นสหรัฐเท่านั้น จะนำมาใช้ในรัฐเดี่ยวไม่ได้ ส่วนการกระจายอำนาจปกครองนั้น สามารถใช้ได้ทั้งในรัฐเดี่ยวและรัฐรวมรูปแบบสหรัฐได้ด้วย

46 3.หลักการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหรัฐนั้น อำนาจที่มีการกระจายอำนาจเป็นไปตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจที่มีการกระจายไปแล้วต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนหลักการกระจายอำนาจทางปกครองนั้น ราชการส่วนกลางจะจำกัดหรือเพิ่มอำนาจให้สามารถกระทำได้เพียงแก้ไขกฎหมายธรรมดาเท่านั้น

47 ข้อดีและข้อเสียของหลักการกระจายอำนาจทางปกครอง
ข้อดี คือ การกระจายอำนาจปกครองทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปกครองแบ่งเบาภาระจากส่วนกลางในการจัดทำบริการสาธารณะ ข้อเสีย คือ หากมีการกระจายอำนาจมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพย์สินเนื่องจากแต่ละท้องถิ่นจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อทรัพย์สินเป็นของตนเองเพื่อมาจัดทำบริการสาธารณะ และที่สำคัญหากมีการกระจายอำนาจมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อความเป็นเอกภาพของรัฐได้

48 บทสรุป หลักการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ “คือการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ หากพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีเพียง 2 หลัก คือ หลักการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization) และหลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักการรวมอำนาจปกครองเท่านั้น

49 สำหรับประเทศไทยได้นำหลักการจัดระเบียบการปกครองรัฐดังกล่าวมาใช้ดังนี้
หลักการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization) หลักการแบ่งอำนาจปกครอง(Deconcentralization) หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)

50 ข้อสังเกตการกระจายอำนาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐและการกระจายอำนาจทางปกครองแบบประเทศไทย

51 คำถามท้ายบท 1. การบริการสาธารณะคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
2. การบริการสาธารณะต้องมีลักษณะอย่างไร 3. เครื่องมือที่ฝ่ายปกครองใช้จัดทำบริการสาธารณะมีอะไรบ้าง 4.ให้นิสิตอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง ข้อแตกต่างระหว่างบริการสาธารณะทางปกครองกับบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม 5.ให้นิสิตอธิบายผลทางกฎหมายของการแบ่งบริการสาธารณะ 6.เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะมีอะไรบ้าง ให้อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

52 จบ ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt เอกสารประกอบการสอนกฎหมายปกครอง1 ครั้งที่ 3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google