งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา
โดย น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา อจ.กวยศ.ฝวก.ยศ.ทร.

2 น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา การศึกษา
น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา การศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ม.รามคำแหง ปริญญาโท นิติศาสตร์ จุฬาฯ (กฎหมายระหว่างประเทศ) ปริญญาโท รัฐศาสตร์ จุฬาฯ (รัฐประศาสนศาสตร์)

3 หลักสูตร National Development วิทยาลัยทหารไต้หวัน
การศึกษาใน ทร. หลักสูตรฝ่ายอำนวยการเบื้องต้น รร.นว.หลักสูตรทั่วไป รร.สธ.ทร. การศึกษาต่างประเทศ หลักสูตร National Development วิทยาลัยทหารไต้หวัน

4 การรับราชการ นักการข่าว 3 – 5 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อจ.กวศ.ฝวก.สรส. ประจำ กอวจ.ศยร.สรส. ประจำ กศย.ศยร.สรส. อจ.กวยศ.ฝวก.สรส. ประจำ สรส. รอง ผอ.กศษ.รร.อส.สรส. อจ.กวยศ.ฝวก.ยศทร.

5 ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ คือ กลไกอย่างหนึ่งในการปฏิบัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันในระบบสังคมระหว่างประเทศ หรือระบบนานารัฐ (Multi-State System) - ระบบสังคมระหว่างประเทศประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นรัฐอธิปไตยจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีความแตกต่างกัน มีผลประโยชน์และความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ทำให้รัฐต้องมีการต่อสู้แข่งขันกันเพื่ออำนาจและผลประโยชน์แห่งรัฐ ซึ่งนำไปสู่การเกิดสงคราม จึงเกิดความพยายามที่จะแสวงหามาตรการและกลไกต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สันติภาพ และความยุติธรรมระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์การระหว่างประเทศเป็นทางออกของรัฐที่ใช้เพื่อจัดระเบียบความสัมพันธ์หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างรัฐ รวมทั้งใช้เป็นเวทีกลางสำหรับรัฐต่าง ๆ ในการตกลงกันในเรื่องต่าง ๆ ดังมีความหมายขององค์การระหว่างประเทศตามแผ่นฉาย

6 ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ
๑. องค์การระหว่างประเทศ ในลักษณะที่ไม่เป็นสถาบัน แต่เป็นการร่วมกันดำเนินการ เพื่อผลประโยชน์ หรือการดำเนินการต่อปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นครั้งคราว ๒. องค์การระหว่างประเทศในลักษณะที่เป็นสถาบันที่รัฐต่างๆ ตั้งใจจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ ร่วมกันในลักษณะถาวร - จากความหมายขององค์การระหว่างประเทศ อาจจัดแบ่งลักษณะขององค์การระหว่างประเทศได้ดังนี้ ๑. องค์การระหว่างประเทศในลักษณะที่ไม่เป็นสถาบัน แต่เป็นการร่วมกันดำเนินการเพื่อผลประโยชน์หรือการดำเนินการต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ซึ่งจะเป็นในรูปของการร่วมประชุมปรึกษาหารือระหว่างประเทศ โดยเป็นวิธีการทางการทูตระยะสั้น ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายหลังการยุติสงคราม ๒. องค์การระหว่างประเทศในลักษณะที่เป็นสถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งใจจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ในลักษณะถาวร ซึ่งเป็นการพยายามจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อดำเนินการตามจุดมุ่งหมายอย่างเป็นประจำ แม้จะไม่มีปัญหาระหว่างรัฐเกิดขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่าสถาบันระหว่างประเทศ

7 วิวัฒนาการขององค์การระหว่างประเทศ
- องค์การระหว่างประเทศที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบทางทหารเกิดขึ้นในสมัยนครรัฐกรีก - องค์การระหว่างประเทศสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติฝรั่งเศส - องค์การระหว่างประเทศในศตวรรษที่ ๑๙ แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ ๑. ระบบสถาบันการเจรจาที่มีลักษณะการเมืองระดับสูง ๒. ระบบสถาบันที่เน้นการปฏิบัติหน้าที่ที่มีลักษณะการเมืองในระดับต่ำ - ในสมัยนครรัฐกรีกได้มีการจัดตั้งองค์การร่วมอย่างเป็นทางการเทียบได้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อร่วมมือกันทางทหาร ขณะที่องค์การระหว่างประเทศสมัยใหม่เกิดขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าจำนวนมากมีการปรับปรุงการคมนาคม และการผลักดันให้ตลาดต่าง ๆ ขยายตัว ซึ่งก่อให้เกิดมีการติดต่อสัมพันธ์ข้ามชาติ ส่วนการปฏิวัติฝรั่งเศสนำไปสู่การปลุกให้เกิดลัทธิชาตินิยม ทำให้มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นมาเพื่อประสานให้มีความสมดุลระหว่างกัน - ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ องค์การระหว่างประเทศได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้า ๆ โดยอาจแบ่งองค์การระหว่างประเทศออกได้เป็น ๒ ระดับ คือ ระบบสถาบันการเจรจาที่มีลักษณะการเมืองระดับสูง ได้แก่ ระบบคองเกรส ซึ่งได้พัฒนาไปสู่สันนิบาตชาติและสหประชาชาติ และระบบสถาบันการเจรจาที่มีลักษณะการเมืองในระดับต่ำ ได้แก่ องค์การตามภาระหน้าที่ เช่น คณะกรรมาธิการกลางว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ำไรน์ องค์การทางด้านไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ วิทยาศาสตร์

8 วิวัฒนาการขององค์การระหว่างประเทศ (ต่อ)
- ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง จำนวนองค์การระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้ ๑. ผลของการทำลายล้างของสงครามโลก ๒. ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ๓. หลักมนุษยธรรม (Humanitarianism) ๔. การขยายตัวของระบบพนักงานระหว่างประเทศ (International Civi Service) - ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง องค์การระหว่างประเทศได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญ ๔ ประการ ๑. ผลของการทำลายล้างของสงครามโลกทั้ง ๒ ครั้ง ทำให้มีการพยายามหาหนทางที่จะช่วยบรรเทาแก้ไขเพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ จึงต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ ๒. ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศทำให้จำนวนองค์การระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ๓. หลักมนุษยธรรม เนื่องจากโลกต้องประสบปัญหาความยากจน การด้อยพัฒนา ความอดอยาก และการแพร่ระบาดของโรค จึงต้องมีการร่วมมือกันเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ๔. การขยายตัวของระบบพนักงานระหว่างประเทศมีการยอมรับกันว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น องค์การระหว่างประเทศสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

9 ระดับขององค์การระหว่างประเทศ
๑. องค์การระหว่างประเทศสากล ๑.๑ องค์การระหว่างประเทศสากล ที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ๑.๒ องค์การระหว่างประเทศสากล ที่มีวัตถุประสงค์จำกัด ๒. องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค ๒.๑ องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค ที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ๒.๒ องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค ที่มีวัตถุประสงค์จำกัด - องค์การระหว่างประเทศแบ่งเป็นระดับได้ ๒ ระดับ คือ องค์การระหว่างประเทศระดับสากล และองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค - องค์การระหว่างประเทศระดับสากล ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศที่มีสมาชิกจำนวนมากจากส่วนต่าง ๆ ของโลก แบ่งเป็น : องค์การระหว่างประเทศระดับสากลที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานครอบคลุมกิจการต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น สันนิบาตชาติ สหประชาชาติ : องค์การระหว่างประเทศระดับสากลที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคารโลก องค์การแรงงานสากล องค์การอาหารและเกษตร องค์การอนามัยโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม - องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค เกิดจากการรวมกลุ่มจัดตั้งของรัฐในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งของโลก แบ่งเป็น : องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบในทุกด้าน เช่น องค์การนานารัฐอเมริกัน องค์การสหภาพแอฟริกา สันนิบาตอาหรับ : องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน แบ่งเป็น องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น สมาคมเขตการค้าเสรีแห่งละตินอเมริกา และองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ กติกาสัญญาวอร์ซอร์

10 ลักษณะพื้นฐานขององค์การระหว่างประเทศ
๑. โลกประกอบด้วยรัฐอธิปไตยต่างๆ ๒. มีการติดต่อกันระหว่างรัฐอธิปไตยต่างๆ ๓. รัฐต่างๆ ต้องมีความสำนึกว่า อาจเกิดปัญหาขึ้นระหว่างรัฐต่างๆ หรือได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ๔. รัฐต่างๆ เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการสถาปนากลไก วิธีการ และหลักปฏิบัติระหว่างประเทศ - องค์การระหว่างประเทศจะต้องมีลักษณะพื้นฐานดังนี้ ๑. โลกประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ซึ่งจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างรัฐอธิปไตยต่าง ๆ ๒. มีการติดต่อกันระหว่างรัฐอธิปไตยต่าง ๆ ซึ่งหากไม่มีการติดต่อระหว่างกันก็ไม่จำเป็นต้องมีองค์การระหว่างประเทศ แต่หากมีการติดต่อระหว่างรัฐมากขึ้นองค์การระหว่างประเทศก็จะได้รับการสนับสนุน มากขึ้นตามไปด้วย ๓. รัฐต่าง ๆ ต้องมีความสำนึกว่า อาจเกิดปัญหาขึ้นระหว่างรัฐต่าง ๆ หรือได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เพราะรัฐอธิปไตยต่างก็มีนโยบายเป็นอิสระของตนเอง ซึ่งนโยบายของรัฐต่าง ๆ ดังกล่าวอาจมีความขัดแย้งกันได้ ๔. รัฐต่าง ๆ เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการสถาปนา กลไก วิธีการ และหลักปฏิบัติระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดและวางหลักเกณฑ์ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

11 จุดมุ่งหมายขององค์การระหว่างประเทศ
๑. การรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ๒. การส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างรัฐ - การรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายประการสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐมักจะใช้กำลังอาวุธเข้าทำสงครามเพื่อตัดสินปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นการทำลายสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งองค์การระหว่างประเทศจะช่วยหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นโดยวิธีอื่น ที่ไม่ใช่การทำสงคราม - การส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างรัฐ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของรัฐต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งรัฐต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้มีการยอมรับว่า การดำเนินการร่วมกันในองค์การระหว่างประเทศย่อมดีกว่าการดำเนินการด้วยตนเองเป็นเอกเทศ

12 หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
๑. การเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือระหว่างรัฐ ๒. การเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ต่างๆ ๓. การทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ๔. การเพิ่มสมรรถนะทางทหาร ๕. การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ๖. การส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่างๆ - องค์การระหว่างประเทศมีหน้าที่ ดังนี้ ๑. การเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือระหว่างรัฐ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาระหว่างประเทศที่ต้องใช้มติร่วมกัน เป็นกลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างรัฐ และอาจเป็นที่สำหรับปรึกษาหารือกันอย่างไม่เป็นทางการ ๒. การเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น องค์การอนามัยโลกวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ สหภาพไปรษณีย์สากลวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการอำนายความสะดวกในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับรูปแบบการรายงานต่อสาธารณชนในเรื่องเกี่ยวกับอากาศ องค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการโอนย้ายและการใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี ๓. การทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ๔. การเพิ่มสมรรถนะทางทหาร เริ่มตั้งแต่อดีตที่นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกได้รวมกันเป็นสันนิบาตเพื่อต่อสู้กับการรุกรานของเปอร์เซีย และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ จนถึงปัจจุบันก็มีสันนิบาตชาติและสหประชาชาติใช้แนวทางความมั่นคงร่วมกัน ขณะที่องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคก็มี NATO ๕. การปฏิบัติการรักษาสันติภาพจะดำเนินการได้ต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันในหมู่สมาชิกและความเห็นชอบของรัฐที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น สหประชาชาติและองค์การเอกภาพแอฟริกา ซึ่งได้เคยส่งกองกำลังนานาชาติเข้าไปในพื้นที่ที่มีการสู้รบ ๖. การส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางด้านเทคนิค เทคโนโลยี และการค้า โดยความร่วมมือในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาของมนุษยชาติในด้านต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นองค์การตามภาระหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น องค์การอาหารและยา องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ องค์การการค้าโลก เป็นต้น

13 ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
การเมืองระหว่างประเทศเป็นเรื่องของการที่รัฐต่างๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อกัน กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์และธรรมเนียมที่รัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในความสัมพันธ์ระหว่างกัน องค์การระหว่างประเทศเป็นการจัดตั้งสถาบันให้กับการเมืองระหว่างประเทศโดยตรง องค์การระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือของสังคมระหว่างประเทศในการกำหนดหลักเกณฑ์ และการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างรัฐ - การเมืองระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการที่รัฐต่าง ๆ ดำเนินความสัมพันธ์ติดต่อกันในสังคมระหว่างประเทศ - การเมืองระหว่างประเทศเป็นเรื่องของการที่รัฐต่าง ๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อกันเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของรัฐ คือ การรักษาตัวรอด และดุลแห่งอำนาจ - กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์และธรรมเนียมที่รัฐต่าง ๆ ถือปฏิบัติในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งทุกรัฐต้องยึดถือในหลักแห่งกฎหมายในสังคมระหว่างประเทศ - ในแง่ของการเมืองระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศเป็นการจัดตั้งสถาบันให้กับการเมืองระหว่างประเทศโดยตรง โดยเป็นเวทีอย่างเป็นทางการของการเมืองระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันองค์การระหว่างประเทศยังมีบทบาทสำคัญที่ทำให้การเมืองระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างมีหลักการและแบบแผน - ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือของสังคมระหว่างประเทศในการกำหนดหลักเกณฑ์และการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างรัฐ โดยมีบทบาทในการสร้างกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างรัฐสมาชิก นอกจากนี้องค์การระหว่างประเทศยังเป็นแหล่งที่จะแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย

14 ปัญหาขององค์การระหว่างประเทศ
๑. ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ๒. ปัญหาเกี่ยวกับฐานะขององค์การระหว่างประเทศ ๓. ปัญหาเรื่องความเสมอภาค ๔. ปัญหาเรื่องการเมืองแห่งอำนาจ ๕. ปัญหาเรื่องชาตินิยม - โดยทั่วไปองค์การระหว่างประเทศจะมีปัญหาที่สำคัญดังนี้ ๑. ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองของรัฐ โดยที่รัฐยอมจำกัดอำนาจอธิปไตยของตนลงบางส่วนเพื่อการเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศ ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รัฐจะยอมรับพันธะและหลักการขององค์การระหว่างประเทศเฉพาะในส่วนที่รัฐได้รับประโยชน์ ส่วนกรณีที่เสียประโยชน์ รัฐมักจะยกเอาอธิปไตยเป็นข้ออ้างในการไม่ยอมรับพันธะจากองค์การระหว่างประเทศ ๒. ปัญหาเกี่ยวกับฐานะขององค์การระหว่างประเทศ เนื่องจากรัฐต่าง ๆ ยอมสละอำนาจอธิปไตยบางส่วนเพื่อเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศ โดยยอมรับพันธะ หลักเกณฑ์ และกฎระเบียบต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาว่าองค์การระหว่างประเทศมีฐานะอยู่เหนือรัฐอธิปไตยหรือไม่ ทั้งนี้รัฐต้องยอมรับว่าองค์การระหว่างประเทศมีฐานะสูงกว่ารัฐสมาชิก ซึ่งต้องอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้ หากถึงจุดที่เลยขอบเขตดังกล่าว รัฐก็ไม่ยอมรับความมีฐานะสูงกว่าขององค์การระหว่างประเทศ ๓. ปัญหาเรื่องความเสมอภาค ตากสภาพความเป็นจริงองค์การระหว่างประเทศยังแสดงให้เห็นถึงการยอมรับถึงความไม่เสมอภาคระหว่างรัฐ ยกตัวอย่างคือ กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดถึงความเสมอภาคของรัฐสมาชิก ซึ่งในการประชุมสมัชชาใหญ่ทุกรัฐสามารถออกเสียงได้ ๑ เสียงเท่ากัน แต่ในคณะมนตรีความมั่นคงได้กำหนดให้มีสมาชิกถาวรที่สามารถจะล้มล้างมติของคณะมนตรีความมั่นคงได้หากตนไม่เห็นด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคในองค์การระหว่างประเทศ ๔. ปัญหาเรื่องการเมืองแห่งอำนาจ เนื่องจากการเมืองระหว่างประเทศเป็นเรื่องของการแสวงหาอำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ ทำให้เกิดการไม่ยอมรับอำนาจใดที่เหนือกว่ารัฐ ขณะที่องค์การระหว่างประเทศถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการใช้อำนาจในการเมืองระหว่างประเทศ แต่ประเทศมหาอำนาจกลับเป็นผู้ใช้อำนาจที่แท้จริง ๕. ปัญหาเรื่องชาตินิยม การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเป็นสถาบันที่ยึดหลักการนานาชาตินิยมหรือสากลนิยมค่อนข้างจะเป็นการฝืนพฤติกรรมของรัฐ เพราะรัฐต้องเปลี่ยนทัศนคติของตนที่จงรักภักดีต่อชาติมาให้แก่ส่วนรวม คือ องค์การระหว่างประเทศ ดังนั้นองค์การระหว่างประเทศจึงต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดจากความนิยมหรือทัศนคติที่เห็นแก่ประโยชน์แห่งชาติ

15 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)
- สันนิบาตชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง - แนวความคิดเกี่ยวกับระบบความมั่นคงร่วมกัน - สนธิสัญญาสันติภาพแห่งแวร์ซายส์ (Peace Treaty of Veesailles) - สันนิบาตชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกองค์การแรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นภายหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง ภายใต้แนวความคิดว่าด้วย “ระบบความมั่นคงร่วมกัน” (Collective Security) ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดอุดมคตินิยมที่เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศ - สันนิบาตชาติได้รับการสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการในการประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีส หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในเดือนมกราคม ค.ศ.๑๙๑๙ โดยที่ประชุมมีมติจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษทำหน้าที่ร่างกติกาสันนิบาตชาติ ซึ่งต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๙ ที่ประชุมได้ลงนามรับรองกติกาสันนิบาตชาติในฐานะส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพแห่งแวร์ซายส์ (Peace Treaty of Versailles) - สันนิบาตชาติได้รับการสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ค.ศ.๑๙๒๐ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

16 จุดมุ่งหมายของสันนิบาตชาติ
ธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน ให้หลักประกันในการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ และสนธิสัญญาสันติภาพ - กติกาสันนิบาตชาติได้ระบุถึงจุดประสงค์ของรัฐต่าง ๆ ที่มาร่วมกันในสันนิบาตชาติไว้ ซึ่งสามารถพิจารณาแยกจุดมุ่งหมายของสันนิบาตชาติได้ดังนี้ ๑. การธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งมีมาตรการที่สำคัญคือ การลดกำลังอาวุธโดยมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารเกี่ยวกับอาวุธและได้สถาปนาคณะกรรมการถาวรคณะหนึ่งขึ้นช่วยเหลือและแนะนำคณะมนตรีแห่งสันนิบาตชาติในการดำเนินการลดอาวุธระหว่างประเทศ ๒. การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน ซึ่งในเรื่องนี้จะรวมไปถึงการปฏิบัติอย่างยุติธรรมต่อประชาชนในดินแดนภายใต้การปกครองของสมาชิกสันนิบาตชาติ เรียกว่า ดินแดนในอาณัติ ๓. การให้หลักประกันในการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศและสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งกติกาสันนิบาตชาติระบุว่าสมาชิกสันนิบาตชาติมีพันธะที่จะต้องเคารพและรักษาไว้ซึ่งบูรณภาพแห่งดินแดนและอิสรภาพทางการเมืองของทุกรัฐสมาชิกของสันนิบาตชาติ โดยได้มีการสถาปนากฎเกณฑ์แห่งกฎหมายหรือหลักนิติธรรมขึ้นในสังคมระหว่างประเทศ พร้อมทั้งมีการจัดตั้งศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศขึ้นทำหน้าที่พิจารณาความขัดแย้งในกรณีต่าง ๆ

17 หลักการสำคัญของสันนิบาตชาติ ๔ ประการ
ลักษณะความเป็นสากล (Universality) ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security) หลักความเสมอภาค (Equality) หลักความเป็นเอกฉันท์ (Unanimity) - การดำเนินการของสันนิบาตชาติมีหลักการที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. ลักษณะความเป็นสากล ซึ่งสันนิบาตชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลกแห่งแรกที่ประกอบด้วยรัฐจำนวนมากจากหลายทวีป ๒. ระบบความมั่นคงร่วมกัน โดยรัฐสมาชิกสันนิบาตชาติจะร่วมกันธำรงรักษาสันติภาพ ซึ่งหากเกิดสงครามหรือการรุกรานใด ๆ ขึ้น สันนิบาตชาติถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องระงับยับยั้งเหตุการณ์ดังกล่าว ๓. หลักความเสมอภาค ซึ่งรัฐสมาชิกไม่ว่ารัฐเล็กหรือรัฐมหาอำนาจย่อมได้รับสิทธิและต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกติกาสัญญาโดยเท่าเทียมกัน ๔. หลักความเป็นเอกฉันท์ ซึ่งการดำเนินการใด ๆ ของสันนิบาตชาติจะต้องได้รับคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์จากรัฐสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม

18 โครงสร้างของสันนิบาตชาติ
สมัชชา (Assembly) คณะรัฐมนตรี (Council) สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat) - โครงสร้างของสันนิบาตชาติประกอบด้วย ๓ องค์กรหลัก คือ สมัชชา คณะมนตรี และสำนักงานเลขาธิการ - สมัชชา เป็นที่ประชุมใหญ่ของผู้แทนจากประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีคะแนนเสียงประเทศละ ๑ เสียง โดยในการประชุมรัฐสมาชิกทั้งหมดมีโอกาสที่จะแสดงออกและยื่นข้อเสนอต่อศูนย์กลางของสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งมติต่าง ๆ ในการประชุมของสมัชชาจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทั้งปวงที่เข้าประชุม นอกจากจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ สมัชชามีอำนาจหน้าที่ทั้งอำนาจหน้าที่ที่โดยเฉพาะของสมัชชา เช่น การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรี และอำนาจในการพิจารณาการรับสมัครสมาชิกใหม่ เป็นต้น และอำนาจร่วมระหว่างสมัชชากับคณะมนตรี เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่กระทบต่อสันติภาพของโลก การเลือกเลขาธิการสันนิบาตชาติ การแก้ไขกติกาสันนิบาตชาติ และการรับข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็นต้น - คณะมนตรี เป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสันนิบาตชาติ ประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท คือ สมาชิกถาวร และสมาชิกไม่ถาวร โดยคณะมนตรีจะประชุมกันตามโอกาสที่เหมาะสม อย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งในการประชุมรัฐสมาชิกจะมีผู้แทนได้เพียงคนเดียวและมีคะแนนเสียงเดียว ทั้งนี้การลงมติจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง ๒ ประเภท นอกจากจะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะมนตรีที่สำคัญได้แก่ การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเลขาธิการ การลดกำลังอาวุธ การลงโทษสมาชิกสันนิบาตชาติ การแนะนำมาตรการที่จะดำเนินการต่อการรุกราน เป็นต้น - สำนักงานเลขาธิการ ประกอบด้วยเลาขาธิการ ๑ คน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง โดยเลขาธิการทำหน้าที่ทางด้านเฉพาะทางบริหาร คือ ดำเนินกิจการประจำของสันนิบาตชาติ ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ทั้งนี้อำนาจหน้าที่ที่สำคัญได้แก่ การเป็นเลขานุการในที่ประชุม ทุกการประชุม และการเรียกประชุมคณะมนตรีเป็นการด่วนหากเกิดสภาพสงครามหรือการคุกคามที่จะเกิดสงคราม - นอกจากนี้ยังมีองค์กรของสันนิบาตชาติที่สำคัญอีก ได้แก่ ศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของกติกาสันนิบาตชาติที่จะสนับสนุนวิธีการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี โดยศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.๑๙๒๑ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทั้งนี้ศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจในการรับฟังและพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งคู่กรณีได้เสนอต่อศาล รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อพิพาทหรือปัญหาที่คณะมนตรีหรือสมัชชาเสนอต่อศาลเพื่อขอรับความเห็น

19 ปัญหาการบริหารและการปฏิบัติภารกิจของสันนิบาตชาติ
สาเหตุความล้มเหลวของสันนิบาติชาติ ๑. ระบบความมั่นคงร่วมกันไม่เข้มแข็ง ๒. ข้อบัญญัติในกติกาสันนิบาตชาติมีลักษณะคลุมเครือและไม่ยุติธรรมต่อรัฐผู้แพ้สงคราม ๓. สันนิบาตชาติไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐบาลโลก” ๔. รัฐสมาชิกได้ลาออกจากสันนิบาตชาติเป็นจำนวนมาก ๕. สถานการณ์และสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในเวลานั้น - การดำเนินงานของสันนิบาตชาติต้องประสบความล้มเหลว เนื่องมาจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก่ ๑. ระบบความมั่นคงร่วมกันไม่เข้มแข็ง เนื่องจากรัฐสมาชิกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ ทั้งที่เป็นผู้ที่มีบาบาทที่สำคัญในการจัดตั้งสันนิบาตชาติและเป็นประเทศเดียวที่ยังเข้มแข็งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง ๒. ข้อบัญญัติในกติกาสันนิบาตชาติมีลักษณะคลุมเครือ และไม่ยุติธรรมต่อรัฐผู้แพ้สงคราม เนื่องจากการใช้มติเอกฉันท์ในการพิจารณาชี้ขาดเรื่องใด ๆ ทำให้การดำเนินงานของสันนิบาตชาติเป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่กติกาสันนิบาตชาติเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้เกิดลักษณะเป็นการบีบบังคับเงื่อนไขให้รัฐผู้แพ้สงครามต้องยอมรับพันธะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายแพ้สงคราม ๓. สันนิบาตชาติไม่ได้มีฐานะเป็น “รัฐบาลโลก” ทำให้สันนิบาตชาติไม่มีอำนาจบังคับรัฐสมาชิกให้ปฏิบัติตามมติต่าง ๆ และบางครั้งประเทศมหาอำนาจทำการละเมิดกติกาสันนิบาตชาติเสียเอง ทำให้การปฏิบัติภารกิจต้องประสบความชะงักงันลง ๔. รัฐสมาชิกได้ลาออกจากสันนิบาตชาติเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าสันนิบาตชาติไม่สามารถช่วยเหลือได้หากถูกรุกราน ๕. สถานการณ์และสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ เช่น การที่สหภาพโซเวียตกลายเป็นคอมมิวนิสต์ การกำเนิดลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี การกำเนิดลัทธินาซีในเยอรมนี และการกำเนิดลัทธิชาตินิยมทางทหารในญี่ปุ่น ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินงานของสันนิบาตชาติ - สันนิบาตชาติได้ยุติบทบาทการดำเนินงานลงอย่างสิ้นเชิงในวันที่ ๑๙ เมษายน ค.ศ.๑๙๔๖ - นับว่าสันนิบาตชาติมีความหมายอย่างสูงในฐานะเป็นความพยายามอย่างเป็นรูปธรรมของรัฐต่าง ๆ ในการร่วมกันจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศที่ครอบคลุมถึงสมาชิกในส่วนต่าง ๆ ของโลกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะยับยั้งสงครามและเพื่อจรรโลงสันติภาพที่ยั่งยืน ซึ่งจากบทเรียนจากความล้มเหลวของสันนิบาตชาติทำให้เกิดความตระหนักว่า องค์การระหว่างประเทศยากที่จะประสบความสำเร็จ หากปราศจากความร่วมมืออย่างจริงจัง

20 องค์การสหประชาชาติ (United Nations)
- สหประชาชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน - แนวความคิดเรื่อง “ความมั่นคงระหว่างประเทศ” - กฎบัตรแอตแลนติก (Atlantic Charter) - ปฏิญญามอสโกเกี่ยวกับความมั่นคงทั่วไป (Mascow Declaration on General Security) - ปฏิญญาเตหะราน (Atlantic Charter) - การประชุมที่ดัมบาร์ตัน โอ๊คส์ (Dumbarton Oaks Conference) - การประชุมที่ซานฟรานซิสโก (San Franciso Conference) - สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ทำลายการปฏิบัติงานของสันนิบาตชาติ ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ ผู้นำประเทศมหาอำนาจได้ประชุมร่วมกันหลายครั้งและได้ตกลงกันที่จะสถาปนาสหประชาชาติขึ้นแทนสันนิบาตชาติ โดยยึดถือแนวความคิดหลักเรื่อง “ความมั่นคงระหว่างประเทศ” - แนวความคิดในการก่อตั้งสหประชาชาติ เริ่มจากที่ผู้แทนของประเทศสัมพันธมิตรได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยได้มีการประชุมกันหลายครั้งและลงนามในข้อตกลงหลายครั้ง เช่น ปฏิญญามอสโกเกี่ยวกับความมั่นคงทั่วไป ปฏิญญาเตหะราน การประชุมที่ดัมบาร์ตัน โอ็คส์ และการประชุมที่ซานฟรานซิสโก ในที่สุดสหประชาชาติได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๔๕

21 วัตถุประสงค์ของสหประชาชาติ
๑. การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ๒. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประเทศต่างๆ ๓. ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ๔. เป็นศูนย์กลางในการประสานงานของประชาชาติทั้งมวล - กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติไว้ดังนี้ ๑. การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยดำเนินมาตรการร่วมกันเพื่อป้องกันและขจัดภัยคุกคามต่อสันติภาพ การปราบปรามการกระทำอันเป็นการรุกรานและ การละเมิดต่อสันติภาพ รวมทั้งการแก้ไขและระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ ๒. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยยึดหลักการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกันและกำหนดเจตจำนงของตนเอง ๓. ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม และส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพของทุกคน ๔. เป็นศูนย์กลางในการประสานงานของประชาชาติทั้งมวล เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกัน

22 หลักการของสหประชาชาติ
๑. หลักความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security) ๒. หลักแห่งความเสมอภาคในอธิไตย (Sovereign Equality) ๓. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ (Greal Power Unity) ๔. หลักการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี (Peaceful Settlement Of International Disputes) ๕. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน (Domestic Jurisdictions) - การดำเนินงานของสหประชาชาติมีหลักการดังนี้ ๑. หลักความมั่นคงร่วมกัน โดยกฎบัตรสหประชาชาติระบุให้ประเทศสมาชิกต้องรวมกำลังกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ทั้งนี้ได้มีการกำหนดวิธีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนจนถึงการใช้กำลังในขั้นสุดท้าย ๒. หลักแห่งความเสมอภาคในอธิปไตย ซึ่งได้กำหนดให้แต่ละรัฐสมาชิกมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน ๓. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้ประเทศมหาอำนาจ ๕ ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง และมีสิทธิยับยั้ง (Veto) ในการพิจารณาและตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งหลักการนี้มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดว่าประเทศมหาอำนาจทั้ง ๕ ประเทศ จะต้องผนึกกำลังร่วมกันและมีความสามัคคีระหว่างกัน อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสหประชาชาติ ๔. หลักการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยกฎบัตรสหประชาชาติได้ระบุมาตรการขั้นต่าง ๆ ไว้อย่างแน่ชัด ได้แก่ การเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล ๕. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน ซึ่งสหประชาชาติไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะเข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกรณีพิพาทภายในเขตอำนาจรัฐ

23 โครงสร้างของสหประชาชาติ
๑. สมัชชาใหญ่ (General Assembly) ๒. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) ๓. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) ๔. คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) ๕. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court Of Justice) ๖. สำนักเลขาธิการ (Secretariat) - สหประชาชาติประกอบด้วย ๖ องค์กรหลักคือ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และสำนักเลาขาธิการ - สมัชชาใหญ่เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งการประชุมตามปกติคือ การประชุมสมัยสามัญประจำปี โดยการลงมติในเรื่องทั่ว ๆ ไป จะใช้คะแนนเสียงข้างมาก ส่วนเรื่องที่สำคัญ เช่น การลงมติเพื่อแสวงหาข้อมติร่วมกันในเรื่องสันติภาพและความมั่นคง และการรับสมาชิกใหม่ เป็นต้น จะใช้การตัดสินจากคะแนนเสียงข้างมากสองในสาม ทั้งนี้สมาชิกใหญ่มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ การพิจารณาและให้คำแนะนำเรื่องต่าง ๆ ภายในขอบเขตของกฎบัตรสหประชาชาติ พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และการพิจารณารายงานขององค์การต่าง ๆ ของสหประชาชาติ - คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก ๑๕ ประเทศ แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ สมาชิกถาวร จำนวน ๕ ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อังกฤษ และฝรั่งเศส และสมาชิกไม่ถาวรจำนวน ๑๐ ประเทศ ซึ่งจะพิจารณาจากส่วนอุดหนุนของสมาชิกและการแยกกระจายตามเขตภูมิศาสตร์ด้วยความเป็นธรรม ทั้งนี้ การลงคะแนนเสียงจะแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ เรื่องวิธีดำเนินการจะใช้คะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ๙ ประเทศใน ๑๕ ประเทศ โดยจะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเสียงของสมาชิกถาวรและสมาชิกไม่ถาวร และเรื่องอื่น ๆ จะใช้คะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ๙ ประเทศ ซึ่งรวมคะแนนเสียงเห็นชอบของบรรดาสมาชิกถาวรอยู่ด้วย โดยแต่ละประเทศสมาชิกถาวรอาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ได้ โดยเรื่องอื่น ๆ ดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สำหรับอำนาจหน้าที่ ที่สำคัญของคณะมนตรีความมั่นคง ได้แก่ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การสอบสวนข้อพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเสนอแนะวิธีการในการแก้ไขความขัดแย้ง การวินิจฉัยเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพหรือการรุกราน การเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติดำเนินมาตรการเพื่อต่อต้านการรุกราน การเสนอแนะเกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ การแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ และการแต่งตั้งผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ - คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการจัดตั้ง “ทบวงชำนัญพิเศษ” ขึ้นหน้าที่ในการประสานงาน ทั้งนี้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญได้แก่ การจัดทำหรือริเริ่มการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัยระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน และการเรียกประชุมระหว่างประเทศในเรื่องที่อยู่ในกรอบอำนาจ - คณะมนตรีภาวะทรัสตี ประกอบด้วยสมาชิก ๕ ประเทศ คือ สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ทำหน้าที่ควบคุมดูแลดินแดนในภาวะทรัสตีและส่งเสริมการดำเนินงานทางด้านต่าง ๆ ของประชาชนในดินแดนดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การปกครองตนเอง ปัจจุบันดินแดนในภาวะทรัสตีได้รับเอกราชทุกประเทศแล้ว - ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นองค์กรทางตุลาการของสหประชาชาติ โดยจะปฏิบัติหน้าที่ตามธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้สมาชิกสหประชาชาติต้องยอมรับและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล โดยจะเป็นการสร้างพันธะให้แก่รัฐที่เป็นคู่คดีเท่านั้น สำหรับคณะผู้พิพากษาศาลจะประกอบด้วยผู้พิพากษา ๑๕ คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูงและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทางด้านกฎมายระหว่างประเทศ โดยจะมีสัญชาติเดียวกันไม่ได้ และแต่ละคนจะปฏิบัติหน้าที่คนละ ๙ ปี ทั้งนี้ในส่วนขอบเขตอำนาจศาล รัฐเท่านั้นที่จะสามารถเป็นคู่คดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยอำนาจศาลประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่คู่คดีเสนอต่อศาลและเรื่องต่าง ๆ ซึ่งบัญญัติไว้ให้ศาลเป็นผู้พิจารณา ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้แก่ ข้อตกลงระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักการทั่วไปแห่งกฎหมาย และ คำพิพากษาของศาลและแนวความคิดของนักนิติศาสตร์ - สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริหารองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติและบริหารโครงการตามที่องค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติกำหนดไว้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากประเทศต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานร่วมกันที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานอื่น ๆ โดยมีผู้บริหารสูงสุดคือ เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี ทั้งนี้เลขาธิการจะมีอำนาจหน้าที่ ทั้งทางด้านการบริหารและการเมืองควบคู่กันไป ขณะที่เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติในสำนักเลขาธิการจะปฏิบัติหน้าที่ในนามของสหประชาชาติโดยเฉพาะเท่านั้น โดยจะต้องไม่ถือว่าตนเป็นตัวแทนของรัฐที่ตนมีสัญชาติอยู่

24 การปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติ
๑. ด้านการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ๒. ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ๓. ด้านการส่งเสริมการได้รับเอกราชและสิทธิการปกครองตนเองของดินแดนต่างๆ ๔. ด้านการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ - สหประชาชาติได้ปฏิบัติภารกิจที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประชาคมโลกหลายประการ ได้แก่ ๑. ด้านการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น การจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพ การเป็นเวทีเปิดกว้างให้ประเทศคู่กรณีนำข้อพิพาทขึ้นมาอภิปรายแสวงหาข้อยุติร่วมกัน บทบาทในการลดอาวุธตามสนธิสัญญาต่าง ๆ และการเข้าไปมีส่วนดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศต่าง ๆ ๒. ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ซึ่งถือว่าการปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติในด้านนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง สวัสดิภาพ และความกินดีอยู่ดีของประชาชนทั่วโลก ทั้งนี้มีการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ ๒.๑ ด้านการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสหประชาชาติได้จัดสรรงบประมาณประจำปีทั้งในรูปเงินกู้และเงินให้เปล่า ๒.๒ ด้านการช่วยเหลือทางด้านการเงิน ซึ่งสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือโดยผ่านธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ๒.๓ ด้านสังคม ซึ่งสหประชาชาติได้ดำเนินการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สิทธิทางการเมือง สิทธิพลเรือน สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งการพัฒนาเกษตรกรรม ๒.๔ ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสหประชาชาติได้มีบทบาทสำคัญในการจัดการประชุมและการจัดทำอนุสัญญาหลายฉบับ ๒.๕ ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม โดยสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานรักษาโบราณสถาน ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ๒.๖ ด้านความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ซึ่งสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยจากสงคราม ผู้ลี้ภัยความอดอยาก และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ๓. ด้านการส่งเสริมการได้รับเอกราชและสิทธิการปกครองตนเองของดินแดนต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่สหประชาชาติได้รับความสำเร็จมากที่สุด โดยปัจจุบันดินแดนในภาวะทรัสตีได้รับเอกราชทั้งหมดแล้ว ๔. ด้านการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศให้เป็นระบบมากขึ้น โดยมีการจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ” เพื่อพยายามที่จะประมวลกฎเกณฑ์จารีตประเพณีให้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายทะเล รวมทั้งได้ริเริ่มจัดทำอนุสัญญาใหม่เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก เช่น อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธนิวเคลียร์

25 บทบาทและข้อจำกัดของสหประชาชาติ
๑. สหประชาชาติมิใช่รัฐบาลโลก ๒. สหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิกที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก ๓. สหประชาชาติมีความซับซ้อนเชิงโครงสร้าง ๔. สหประชาชาติขาดศูนย์กลางในการดำเนินงาน ๕. การกำหนดให้มีสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงเพียง ๕ ประเทศ ๖. ความล้าสมัยของกฎบัตรสหประชาชาติ - การดำเนินงานของสหประชาชาติที่ผ่านมามีบทบาทและข้อจำกัดดังนี้ ๑. สหประชาชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมิใช่ “รัฐบาลโลก” หรือองค์การแบบเหนือรัฐ ซึ่งความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติจะขึ้นอยู่กับความร่วมมือของรัฐสมาชิกเป็นสำคัญ ๒. สหประชาชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับสากล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก ทั้งทางด้านการปกครอง อุดมการณ์ ตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิศาสตร์ ทำให้การประสานประโยชน์เพื่อให้ทุกประเทศพึงพอใจเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ๓. สหประชาชาติเป็นองค์การที่มีความซับซ้อนเชิงโครงสร้างและมีการบริหารงานแบบราชการ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนในขอบเขตหน้าที่การปฏิบัติงานในบางหน่วยงานที่ทำหน้าที่คล้ายกัน ๔. การดำเนินงานของสหประชาชาติมีลักษณะแบ่งแยกงานตามหน่วยงาน ทำให้ขาดศูนย์กลางในการดำเนินงาน โดยที่ทบวงชำนัญพิเศษ แต่ละแห่งต่างมีอิสระในการดำเนินงานไม่พึ่งพาอาศัยกันและกัน ทำให้สหประชาชาติขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกันหลาย ๆ ด้าน หรือที่เรียกว่า “ปัญหาข้ามชาติ” ๕. โครงสร้างองค์กรภายในสหประชาชาติไม่สะท้อนถึงความเป็นจริงสำหรับสมาชิก โดยสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงมีเพียง ๕ ประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกขาด และไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ๖. สหประชาชาติยังมีข้อจำกัดประการสำคัญในเรื่องความล้าสมัยของกฎบัตรสหประชาชาติ ในสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศปัจจุบัน โดยกฎบัตรสหประชาชาติให้ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อความร่วมมือของมหาอำนาจ พร้อมทั้งให้สิทธิยับยั้งแก่มหาอำนาจทั้ง ๕ ทำให้อาจเกิดผลต่อการดำเนินงานของสหประชาชาติได้ นอกจากนี้กฎบัตรสหประชาชาติมุ่งให้ความสนใจต่อความขัดแย้งระหว่างประเทศ ขณะที่ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าสงครามที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในลักษณะของสงครามภายในรัฐหรือสงครามกลางเมืองมากขึ้น ดังนั้นการที่กฎบัตรสหประชาชาติเข้าไปคลี่คลายความขัดแย้งแบบสงครามกลางเมือง จึงกลายเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการดำเนินการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ - นอกจากนี้สหประชาชาติยังมีปัญหาในด้านการบริหารอื่น ๆ ได้แก่ การติดค้างชำระค่าบำรุงของประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมาก การที่เลขาธิการสหประชาชาติไม่สามารถใช้อำนาจในการบริหารงานประจำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากประเทศสมาชิกใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซง และปัญหาในเรื่องการประสานงาน

26 สมาคมแห่งประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
- สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia : ASA) และกลุ่มประเทศ Maphilindo - ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) - ก่อนที่จะมีการก่อตั้ง ASEAN ขึ้น ได้มีความพยายามที่จะก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization : SEATO) สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia : ASA) และกลุ่มประเทศ Maphilindo - SEATO ก่อตั้งจากสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Collective Treaty) หรือกติกาสัญญามะนิละ (Manila Pact) ซึ่งเป็นผลจากนโยบายของสหรัฐฯ เพื่อสกัดกั้นการแผ่ขยายตัวของคอมมิวนิสต์ (Containment Policy) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อรักษาอิทธิพลในเอเชียให้คงอยู่ โดยสมาชิก SEATO ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ ก.ย.๑๙๕๔ แต่เนื่องจากโครงสร้างของ SEATO ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในขณะนั้น จึงมีมติให้ยุบองค์การฯ ในปี ค.ศ.๑๙๗๗ แต่ยังคงมีพันธกรณีทางกำหมายอยู่ - ASA ได้รับแรงจูงใจจากความล้มเหลวของ SEATO ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ริเริ่มจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคขึ้นเองโดยปราศจากการแทรกแซงของมหาอำนาจจากภายนอก เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงภายใน โดย ASA ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ ๓๑ ก.ค.๑๙๖๑ มีสมาชิกประกอบด้วย สหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งการดำเนินงานต้องประสบปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก มีการโจมตีว่าเป็นองค์การที่นิยมประเทศตะวันตกและต่อต้านคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้การที่มีสมาชิกจำนวนน้อยส่งผลให้ไม่ได้รับความเชื่อถือเท่าที่ควร - กลุ่มประเทศ Maphilindo ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๕ ส.ค.๑๙๖๓ จากความริเริ่มของฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความขัดแย้งระหว่างรัฐที่ประกอบด้วยชนชาติมาเลย์เป็นหลัก คือ สหพันธรัฐมาลายา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยอาศัยเจตนารมณ์ในการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ แต่ก็ล้มเลิกไปหลังจากจัดตั้งได้ไม่นาน เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก โดยที่ประเทศสมาชิกมีอยู่จำกัด และไม่สามารถขยายรับสมาชิกเพิ่มได้

27 วัตถุประสงค์ของ ASEAN
๑. เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค ๒. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เคารพหลักความ ยุติธรรมและหลักนิติธรรม ยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ๓. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคนิค วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ - ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของ ASEAN ไว้ดังนี้ ๑. เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค ๒. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรม และหลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ๓. ส่งเสริมความร่วมมืออย่างแข็งขันและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในผลประโยชน์ร่วมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคนิค วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ

28 วัตถุประสงค์ของ ASEAN (ต่อ)
๔. ให้ความช่วยเหลือกันในรูปการฝึกอบรมและเครื่องมือการ ทำวิจัย ๕. ร่วมมือกันเพื่อการใช้การเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายตัวทางการค้า การศึกษาปัญหาการค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร การยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ๖. ส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๗. รักษาความร่วมมือของ ASEAN กับประชาคมระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค ๔. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบการฝึกอบรมและเครื่องมือการทำวิจัยด้านการศึกษา อาชีพ เทคนิคและการบริหารจัดการ ๕. ร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการใช้การเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายตัวทางการค้า ตลอดจนการศึกษาปัญหาการค้าสินค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงการคมนาคมขนส่งและความสะดวกในการสื่อสาร รวมถึงการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ๖. ส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๗. รักษาความร่วมมือที่มีสัมฤทธิผลและใกล้ชิดของอาเซียนกับประชาคมระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค ซึ่งมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน ตลอดจนสำรวจแนวทางใหม่ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

29 IIIustrative ASEAN Organizational Structure
AEM A?M AFMM Others SEOM Sub-Commmittees/ Working Groups ASFOM Committees ASC SOM Working Groups ASEAN Secretariat ASEAN Summit ตามผังโครงสร้าง ASEAN ที่แสดงชื่อย่อต่าง ๆ มีชื่อเต็มดังนี้ - AEM  การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน - AMM  การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - AFMM  การประชุมรัฐมนตรีการคลังอาเซียน - Others  การประชุมรัฐมนตรีเฉพาะด้านอื่น ๆ - SEOM  การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ - ASC  คณะกรรมการประจำอาเซียน - SOM  การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเมือง - ASFOM  การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลัง - Committees  คณะกรรมการ - ASEAN Secretariat  สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

30 กลไกการบริหารของ ASEAN
๑. การประชุมสุดยอดอาเซียน (The Meeting of the ASEAN Heads of state Government : ASEAN Summit) ๒. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ๓. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Ministers Meeting : AEM) ๔. การประชุมรัฐมนตรีการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers Meeting : AFMM) ๕. การประชุมรัฐมนตรีเฉพาะด้านอื่น ๆ (Other ASEAN Ministers Meeting) - จากโครงสร้าง ASEAN ดังกล่าวข้างต้น สามารถกำหนดกลไกการบริหารของ ASEAN ได้ดังนี้ ๑. การประชุมสุดยอดอาเซียน (The Meeting of the ASEAN Heads of State/Government : ASEAN Summit) เป็นกลไกสูงสุดในการกำหนดนโยบายและแนวทางความร่วมมือของอาเซียน ซึ่งในระยะแรกไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาสำหรับการประชุม แต่ต่อมาได้กำหนดให้มีการประชุมอย่างเป็นทางการทุก ๓ ปี และมีการพบปะหารือระหว่างผู้นำรัฐบาลอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในระหว่างที่ไม่มีการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วย จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการจัดประชุมเป็นประจำทุกปี และยกเลิกการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ๒. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบในการกำหนดแนวทางในระดับนโยบายและทบทวนข้อตัดสินใจต่าง ๆ ทั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศจะเป็นผู้ลงนามในความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ของอาเซียน โดยนอกจากจะมีการประชุมประจำปีแล้ว อาจมีการประชุมสมัยพิเศษตามความจำเป็น นอกจากนี้ภายหลังการประชุม AMM ในแต่ละปีจะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือและความช่วยเหลือในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับนโยบายเกี่ยวกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ๓. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting : AEM) เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีที่ดูแลและรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อวางแนวนโยบายและเร่งรัดการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและพึ่งพาตนเองได้ โดยจะจัดประชุมประมาณปีละครั้ง และอาจมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการตามความจำเป็น ซึ่งจะเป็นความร่วมมือด้านการค้า การคลังและการธนาคาร อาหาร เกษตรและป่าไม้ อุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่งและสื่อสาร การบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และโครงสร้างพื้นฐาน ๔. การประชุมรัฐมนตรีการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers Meeting : AFMM) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการคลังระหว่างประเทศสมาชิกให้บรรลุความยั่งยืนของเศรษฐกิจมหภาคี โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องการตลาด การเงิน และการคลัง ๕. การประชุมรัฐมนตรีเฉพาะด้านอื่น ๆ (Other ASEAN Ministers’ Meeting) จัดขึ้นตามความจำเป็น เพื่อเร่งรัดการทำงานของคณะกรรมการต่าง ๆ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรและป่าไม้ กรศึกษาสวัสดิการ สังคม พลังงาน กฎหมาย สาธารณสุข แรงงาน สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การขนส่ง โทรคมนาคม

31 กลไกการบริหารของ ASEAN (ต่อ)
๖. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ASEAN Secretariat Organizational Structure Secretary-General of ASEAN Deputy Secretary-General Operations Deputy Secretary-General Affairs Director Economic Cooperation Director Functional Cooperation Director Financial Cooperation Director Programme Coordination & Externall Relations - Administration Finance Personel Information Technology Special Projects Public Information - สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) จัดตั้งขึ้นตามความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (Agreement on the Establishment of the ASEAN Secretariat) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑ เมื่อ ๒๔ ก.พ.๑๙๗๖ ทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การอาเซียน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยหัวหน้าสำนักงานเลขาธิการ คือ เลขาธิการอาเซียน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี และมีรองเลขาธิการอาเซียน ๒ คน ดำรงตำแหน่งวาระละ ๓ ปี สำนักงานเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

32 กลไกการบริหารของ ASEAN (ต่อ)
๗. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ๗.๑ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเมือง (Senior Official Meeting : SOM) ๗.๒ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (Senior Economic Officials Meeting : SEOM) ๗.๓ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านคลัง (ASEAN Senior Finance Officials Meeting : ASFOM) ๘. คณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committ : ASC) ๙. คณะกรรมการ (Committees) ๗. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส แบ่งเป็น ๓ ส่วนได้แก่ ๗.๑ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเมือง (Senior Official Meeting : SOM) ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียน ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านการเมือง ความมั่นคง รวมทั้งประเด็นสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการเมือง โดยขึ้นตรงกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ๗.๒ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (Senior Economic Officials Meeting : SEOM) ประกอบด้วยปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบงานเศรษฐกิจของอาเซียน ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านเศรษฐกิจ โดยขึ้นตรงกับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ๗.๓ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลัง (ASEAN Senior Finance Officials Meeting : ASFOM) ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมระดับสูง โดยขึ้นตรงกับการประชุมรัฐมนตรีการคลังอาเซียน (AFMM) ๘. คระกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee : ASC) ประกอบด้วยเลขาธิการอาเซียนและอธิบดีกรมอาเซียนของแต่ละประเทศสมาชิก ทำหน้าที่ดูแลดำเนินงาน ติดตามผล และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติงานของอาเซียน โดยจะมีการประชุมปีละ ๔ – ๕ ครั้ง ซึ่งประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพตามลำดับตัวอักษร ๙. คณะกรรมการ (Committees) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องจัดประชุมในประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันไป ได้แก่ เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและข่าวสาร งบประมาณ และการตรวจสอบบัญชี

33 พัฒนาการความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงของ ASEAN
- ปฏิญญากรุงเทพฯ มิได้ระบุถึงจุดยืนทางการเมืองร่วมกัน - ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก - แนวคิดพื้นฐานการทำงานและรูปแบบความร่วมมือระหว่างกัน - ปฏิญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และการวางตนเป็นกลาง (Zone of Peace , Freedom and Neutrality Declaration : ZOPFAN) - การก่อตั้งอาเซียนเป็นที่เข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกถึงเป้าประสงค์ทางการเมืองแต่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนในปฏิญญากรุงเทพฯ เนื่องจากไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นความพยายามรวมกลุ่มทางการทหาร จึงระบุมุ่งเน้นเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม - ช่วงแรกของการก่อตั้ง อาเซียนต้องเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกทำให้เกิดความร้าวฉานและนำไปสู่ความชะงักงัน ตลอดจนความล้มเหลว โดยความขัดแย้งที่สำคัญ ได้แก่ กรณีพิพาทปัญหาซาบาร์ระหว่างมาเลเซียกับฟิลิปปินส์ กรณีความขัดแย้งระหว่างสิงคโปร์กับอินโดนีเซีย จากการที่สิงคโปร์สั่งลงโทษทหารอินโดนีเซีย ๒ คน ข้อหาลอบก่อวินาศกรรมในประเทศ ความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์จากความหวาดระแวงต่อกันหลังจากสิงคโปร์ขอแยกตัวออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย และปัญหากัมพูชาจากการที่กองกำลังของเวียดนามเข้ารุกรานกัมพูชา อย่างไรก็ตาม อาเซียนได้พยายามระงับปัญหาข้อพิพาท ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง - อาเซียนได้พัฒนาแนวคิดพื้นฐานการทำงานและรูปแบบความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับอื่น ๆ เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและปรารถนาดีเพื่อพัฒนาไปสู่ความคุ้นเคยในการทำงานร่วมกันแบบไม่เป็นทางการและเปิดเผย ต่อมาเกิดกลไกการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี ๑๙๗๖ ซึ่งผู้นำได้พบปะหารือกันเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันกำหนดแนวทางและแผนงานในอนาคต รวมทั้งยังเป็นการแสดงถึงความเป็นเอกภาพและความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน - การประชุมรัฐมนตรีตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ย.๑๙๗๑ ได้มีการลงนามปฏิญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และวางตนเป็นกลาง (Zone of Peace , Freedom and Neutrality Declaration : ZOPFAN) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก และเสนอให้อาเซียนขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกด้าน

34 พัฒนาการความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงของ ASEAN (ต่อ)
- เอกสารสำคัญ ๓ ฉบับ จากการประชุมสุดยอดครั้งที่ ๑ ๑. ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord หรือ Bali Concord I) ๒. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC) ๓. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน (Agreement on the Establishment of ASEAN Secretariat) - ในการประชุมสุดยอดครั้งที่ ๑ มีการออกเอกสารสำคัญ ๓ ฉบับ ซึ่งถือเป็นพันธกรณีร่วมกันของสมาชิกได้แก่ ๑. ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord หรือ Bali Concord I) ระบุถึงการขยายความร่วมมือในครอบคลุมความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีหลักการสร้างความมั่นคงในภูมิภาคและแผนปฏิบัติการความร่วมมือทางการเมือง ประกอบด้วย ๑.๑ จัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ๑.๒ ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ๑.๓ ระงับความขัดแย้งภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี ๑.๔ พัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างความร่วมมือทางการเมือง ๑.๕ ศึกษาการพัฒนาความร่วมมือทางกฎหมายซึ่งครอบคลุมความเป็นไปได้ของสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนในอาเซียน ๑.๖ เสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง โดยประสานทัศนะท่าทีร่วมกัน และการลงมือปฏิบัติร่วมกัน ๒. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC) กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างกันโดยที่ TAC มีหลักการสำคัญดังนี้ ๒.๑ การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและอัตลักษณ์ประจำชาติ ๒.๒ การไม่แทรกแซงกิจการภายในกันและกัน ๒.๓ ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี ๒.๔ การไม่ใช้การขู่บังคับหรือการใช้กำลัง ๒.๕ ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก ๓. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน (Agreement on the Establishment of the ASEAN Secretariat) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือภายในอาเซียน และส่งเสริมความสัมพันธ์ของอาเซียนกับประเทศที่สาม ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศและองค์การระดับภูมิภาคอื่น ๆ

35 พัฒนาการความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงของ ASEAN (ต่อ)
- สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ใน๓มิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon - Free Zone : SEANWFZ) - ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Partics in the South China Sea : DOC) - ปฏิญญาการดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้าย ค.ศ.๒๐๐๑ (2001 ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) - กลุ่มประสานงานอาเซียน (ASEAN Troika) - อาเซียนได้ร่วมลงนามในเอกสารด้านการเมืองเพื่อเป็นหลักประกันต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค - ในการประชุมสุดยอดครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๕ ธ.ค.๑๙๙๕ ที่กรุงเทพฯ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon - Free Zone : SEANWFZ) จัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสมาชิกมีพันธกรณีที่จะไม่พัฒนา ผลิต หรือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และไม่อนุญาตให้รัฐอื่นเข้ามาพัฒนา ผลิต หรือเก็บอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในดินแดนของตน ยกเว้นเกี่ยวกับการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ - อาเซียนพยายามดำเนินการแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ (ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม และบรูไน) และจีน ไต้หวัน ได้อ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะ เช่นหมู่เกาะสแปรตลีย์ และหมู่เกาะพาราเซลส์ โดยวันที่ ๔ พ.ย.๒๐๐๒ ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea : DOC) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมและพันธกรณีทางการเมืองระหว่างอาเซียนกับจีนในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค โดยกำหนดแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์และกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ในบริเวณทะเลจีนใต้ ภายหลังเหตุการณ์ ๙/๑๑ ได้เกิดประเด็นความร่วมมือใหม่ (non – traditional security issves) อันมีปัญหาการก่อการร้ายเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งผู้นำอาเซียนได้ออกปฏิญญาการดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้าย ค.ศ.๒๐๐๑ (2001 ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้วที่ ๗ เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๒๐๐๑ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไน เพื่อย้ำถึงพันธกรณีและความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย.๑๙๙๙ ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ไทยได้เสนอให้จัดตั้งกลุ่มประสานงานอาเซียน (ASEAN Troika) เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจ (ad hoe) เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย ASEAN Troika จะประกอบด้วย ๑. รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอาเซียน (ASC) ในปีนั้น ๆ ๒. รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกที่เป็นประธานฯ คนก่อน ๓. รัฐมนตรีต่างประเทศของสมาชิกที่จะเป็นประธานฯ ในปีถัดไป

36 พัฒนาการความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงของ ASEAN (ต่อ)
- การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) : เป็นเวทีปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาค : วัตถุประสงค์ของ ARF ๑. เสริมสร้างการเจรจาและการปรึกษาหารือในประเด็นทางการเมืองและ ความมั่นคง ๒. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการทูตเชิงป้องกันในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิก ในทศวรรษที่ ๑๙๙๐ อาเซียนมีพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญคือ การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) ซึ่งเป็นเวทีที่ปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค โดยมุ่งที่จะส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจ ความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศผู้เข้าร่วม และพัฒนาแนวทางการดำเนินการทูตเชิงป้องกัน (preventive diplomacy) ซึ่งมุ่งป้องกันการเกิดและขายายตัวความขัดแย้ง - ได้มีการเสนอแนวความคิดในการก่อตั้ง ARF เป็นครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๑๙๙๒ ที่สิงคโปร์ โดยประกาศเจตนารมณ์ที่จะแสวงหาเวทีในการนำรัฐสมาชิกเข้ามาเกี่ยวพันในกรอบความร่วมมือทางด้านความมั่นคงและส่งเสริมการหารือด้านความมั่นคงกับประเทศคู่เจรจา - ARF จัดประชุมครั้งแรกเมื่อ ๒๕ ก.ค.๑๙๙๔ ที่กรุงเทพฯ และได้ดำเนินการต่อเนื่องทุกปีในช่วงเดียวกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) โดยมีจุดมุ่งหมายในการเป็นเวทีสำหรับการเจรจาและปรึกษาหารืออย่างเปิดเผย และจริงใจทางด้านการเมืองและความมั่นคง - ปัจจุบันมีปะเทศเข้าร่วม ARF จำนวน ๒๖ ประเทศ กับ ๑ องค์การ คือ สมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ ประเทศคู่เจรจา ๑๐ ประเทศ และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์พิเศษของอาเซียน (Special Observer) ๒ ประเทศ คือ ปาปัวนิวกินี และติมอร์เลสเต และประเทศอื่นในภูมิภาค ๔ ประเทศ คือ บังกลาเทศ มองโกเลีย เกาหลีเหนือ และศรีลังกา - วัตถุประสงค์ของ ARF ได้แก่ ๑. เสริมสร้างการเจรจาและการปรึกษาหารือในประเด็นทางการเมืองและความมั่นคง ๒. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการทูตเชิงป้องกันในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก - ในการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ ๒ ในปี ๑๙๙๕ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไน ได้มีการกำหนดพัฒนาการของ ARF ๓ ขั้นตอน คือ ๑. การใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Confidence Building Measvers : CBMs) ๒. การทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy : PD) ๓. การแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution)

37 พัฒนาการความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงของ ASEAN (ต่อ)
- การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) : การประชุมและกิจกรรมของ ARF ๓ ระดับ ๑. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (ARF Ministerial Meeting) ๒. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ARF Senior Officials Meeting) ๓. การประชุมในระดับอื่น ๆ ระหว่างสมัยประชุม (inter - sessional) - การประชุมและกิจกรรมของ ARF มี ๓ ระดับดังนี้ ๑. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (ARF Ministerial Meeting) ๒. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ARF Senior Officials Meeting) ๓. การประชุมในระดับอื่น ๆ ระหว่างสมัยประชุม (inter - sessional) - การประชุมและกิจกรรมของ ARF จะมีอาเซียนเป็นหลัก เนื่องจาก ARF ไม่มีกลไกกลางหรือสำนักเลขาธิการ โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสจะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อพิจารณาข้อเสนอของที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่และหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือใน ARF ทั้งนี้ภายหลังจากการประชุมระดับรัฐมนตรีแล้ว ประธานจะออกแถลงการณ์ (Chairman’s Statement) เพื่อแสดงถึงผลการหารือ

38 พัฒนาการความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคงของ ASEAN (ต่อ)
- การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) : ประเภทกิจกรรมของ ARF ๒ แนวทาง (tracks) ๑. กิจกรรมที่เป็นทางการ (Tracks 1) กิจกรรมระหว่างสมัยประชุม ๒. กิจกรรมที่ไท่เป็นทางการ (Tracks 1)  คณะคิด (Think - tank) : ฝ่ายทหารใน ARF ๒ ระดับ ๑. การประชุม ARF Security Policy Conference (ASPC) ๒. การประชุม ARF Defense Officials’ Dialoge (ARF DOD) - ARF แบ่งประเภทกิจกรรมออกเป็น ๒ แนวทาง (tracks) คือ ๑. กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track ๑) รียกว่า กิจกรรมระหว่างสมัยประชุม ซึ่งเป็นกิจกรรมระดับเจ้าหน้าที่ที่หารือเกี่ยวกับกิจกรรมเฉพาะเรื่อง เช่น มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การต่อต้านการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น โดยกิจกรรมแต่ละกลุ่มจะมีประธานร่วมจากสมาชิกอาเซียน ๑ ประเทศ และประเทศภายนอกอาเซียน ๑ ประเทศ ๒. กิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track ๒) เป็นลักษณะของ “คณะคิด” (Think – tank) จัดโดยสถาบันวิจัยหรือสถาบันวิชาการของประเทศผู้เข้าร่วม ตามความเห็นชอบจากที่ประชุม ARF ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรี โดยมีนักวิชาการกลุ่ม NGOs และเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าร่วมประชุมในฐานะส่วนบุคคล เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงที่ประเทศผู้เข้าร่วมยังไม่พร้อมที่จะหารืออย่างเป็นทางการ - ประเทศที่เข้าร่วม ARF พยายามให้ฝ่ายทหารเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องมากขึ้น โดยปัจจุบันฝ่ายทหารมีส่วนน่วมใน ARF ๒ ระดับ คือ ๑. การประชุม ARF Security Policy Conference (ASPC) ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงของฝ่ายทหาร )รัฐมนตรีช่วยหรือระดับเทียบเท่าปลัดกระทรวง) เพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างฝ่ายทหารและเกิดความโปร่งใสระหว่างกองทัพของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการใช้กำลังหรือมาตรการทางทหารระหว่างกัน ๒. การประชุม ARF Defense Officials’ Dialogue (ARF DOD) ซึ่งเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือของฝ่ายทหารในกรอบ ARF ทั้งนี้จะลดประชุมขึ้นในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และก่อนการประชุม ASPC เพื่อช่วยในการเตรียมการประชุมดังกล่าว

39 พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของ ASEAN
- โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ - เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) - เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) กรอบความตก ลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement on the ASEAN Investment Area) - ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มครั้งแรกจากการประชุมสุดยอดครั้งที่ ๑ ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย เมื่อปี ๑๙๗๖ โดยมีโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ระบบสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน โครงการร่วมลงทุนทางอุตสาหกรรมของอาเซียน ซึ่งโครงการต่าง ๆ ไม่ก้าวหน้าตามที่คาดหวังด้วยปัญหาหลายประการ - จากสถานการณ์ที่มีการกีดกันทางการค้าและเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมากขึ้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๔ ระหว่าง ๒๗ – ๒๘ ม.ค.๑๙๙๒ ที่สิงคโปร์ มีมติให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ขึ้นภายใน ๑๕ ปี ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ ๒๖ ระหว่าง ๒๒ – ๒๓ ก.ย.๑๙๙๔ ได้มีการเร่งรัดการดำเนินการ AFTA ให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๐ ปี คือ ๑ ม.ค.๒๐๐๓ ทั้งนี้ AFTA มีกลไกสำคัญคือ Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme ซึ่งเป็นกลไกในการลดภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าอาเซียนให้เหลือในอัตราร้อยละ ๐ – ๕ โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันและกันแบบต่างตอบแทน - ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕ เมื่อเดือน ธ.ค.๑๙๙๕ ที่กรุงเทพฯ ได้เห็นชอบให้จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) เพื่อเสริมสร้างอาเซียนให้เป็นแหล่งลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกภูมิภาค ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ ๓๐ เมื่อ ๗ ต.ค.๑๙๙๘ ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ได้มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement on the ASEAN Investment Area) ซึ่งครอบคลุมการลงทุนทางตรงทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้และเหมืองแร่ และภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับทั้ง ๕ สาขาการผลิตดังกล่าว โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ ให้อาเซียนเป็นเขตการลงทุนที่มีศักยภาพ โปร่งใสและเสรี ทั้งนี้ได้มีการจัดตั้งคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามความตกลง AIA - ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕ เมื่อเดือน ธ.ค.๑๙๙๕ ที่กรุงเทพฯ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) ซึ่งกำหนดให้เจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ โดยการจัดทำข้อผูกพันในด้านการเข้าถึงตลาด การใช้หลักปฏิบัติเยี่ยงชาติและด้านอื่น ๆ สำหรับบริการ ๗ สาขา ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางทะเล โทรคมนาคม การก่อสร้าง การเงิน การท่องเที่ยว และธุรกิจวิชาชีพ

40 พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของ ASEAN (ต่อ)
- ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) - การจัดตั้งระบบระวังภัยอาเซียน (ASEAN Surveillance Process) และ ASEAN Surveillance Technical Support Unit - การเสริมสร้างกลไกสนับสนุนและเกื้อกูลระหว่างกันในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออก (Enhancing self - help and support meehanism in East Asia) ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement : ASA) และความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (Bilateral Swap Arrangement : BSA) - อาเซียนได้จัดตั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) มุ่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการผลิตโดยถือหลักการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแบ่งส่วนการผลิตตามความเหมาะสมและความถนัด ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากทั้งประเทศสมาชิกและประเทศนอกกลุ่มด้วยการใช้มาตรการทางภาษีภายใต้ CEPT และสิทธิพิเศษอื่นที่มิใช่ภาษีเป็นสิ่งจูงใจ - เมื่อ ๔ ต.ค.๑๙๙๘ อาเซียนได้จัดตั้งระบบระวังภัยอาเซียน (ASEAN Surveillance Process)เพื่อสอดส่องดูแลสภาวะเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาคและในโลก โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเงินทุน โดยจัดการฝึกอบรมด้านเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่ประเทศสมาชิก และจัดตั้ง และ ASEAN Surveillance Technical Support Unit ในสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อสนับสนุนระบบดังกล่าว - อาเซียนได้เห็นชอบเรื่องการเสริมสร้างกลไกสนับสนุนและเกื้อกูลระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Enhancing self - help and support meehanism in East Asia) โดยกำหนดแนวทางความร่วมมือกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่สำคัญคือ ๑. จัดทำความตกลงทวิภาคีด้านการแลกเปลี่ยนการซื้อ - ขายคืนเงินตราหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศ ๒. หารือเกี่ยวกับการจัดตั้งระบบเตือนภัยในภูมิภาค ๓. การแลกเปลี่ยนด้วยการหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ - มีการปรับปรุงความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement : ASA) ในด้านโครงสร้าง รูปแบบและวงเงิน และให้เสริมด้วยเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (Bilateral Swap Arrangement : BSA) โดยได้ขยายให้ ASA ครอบคลุมประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ

41 พัฒนาความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียน
- ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration 1995) จิตสำนึกในความ เป็น อาเซียน (ASEAN Awareness) - การดำเนินงานความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียน ๕ ระยะ - อุปสรรคสำคัญของอาเซียนในการพัฒนาความร่วมมือเฉพาะด้าน : การขาดแคลนทรัพยากร : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาของ ประเทศคู่เจรจา : ความแตกต่างในระดับของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก - ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕ ได้มีการลงนามร่วมกันในปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Summit Declaration of 1995) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะยกระดับความร่วมมือเฉพาะด้านให้ทัดเทียมกับความร่วมมือทางการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การคุ้มครองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศของอาเซียน อันเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนชาวอาเซียน ตลอดจนปลุกจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน - การดำเนินความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียนแบ่งออกได้เป็น ๕ ระยะ คือ ๑. ระยะที่ ๑ ระหว่างปี ๑๙๖๗ – ๑๙๗๗ เป็นช่วงของเปลี่ยนแปลงรูปแบบความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคจากระดับทวิภาคมาเป็นพหุภาคี และการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน และพยายามก่อตั้งกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม ๒. ระยะที่ ๒ ระหว่างปี ๑๙๗๗ – ๑๙๘๗ เป็นช่วงของการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียนและการสถาปนาความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอกในรูปแบบความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอย่างแข็งขัน ซึ่งเป็นผลให้อาเซียนได้รับความร่วมมือจากประเทศคู่เจรจาในการดำเนินกิจกรรมและโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาเป็นอย่างมาก ๓. ระยะที่ ๓ ระหว่างปี ๑๙๘๗ – ๑๙๙๗ เป็นช่วงที่อาเซียนขยายสมาชิกภาพจนครบ ๑๐ ประเทศในภูมิภาค การประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจ และการแพร่ขยายของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้อาเซียนมีการกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.๒๐๒๐ และแผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งเป็นแผนความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเฉพาะด้าน รวมทั้งมีการจัดตั้งกลไกระดับภูมิภาคเพื่อประสานความร่วมมือในกรอบความร่วมมือใหม่ ๆ ๔. ระยะที่ ๔ ระหว่างปี ๑๙๙๗ – ๒๐๐๗ เป็นช่วงของการปรับปรุงองค์กรที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและการส่งเสริมกระบวนการในการสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน ซึ่งมุ่งเร่งรัดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ให้ทันกับระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม โดยอาเซียนได้ปรับองค์กรด้านการพัฒนาสังคมใหม่ และมีการขยายกลไกความร่วมมือไปยังกรอบอาเซียน +3 (กับ จัน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) จนเกือบครบทุกด้าน ๕. ระยะที่ ๕ ระหว่างปี ๒๐๐๗ – การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ที่ชะอำ หัวหิน ประเทศไทย เป็นช่วงที่อาเซียนพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่กติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย เน้นการเป็นองค์การฯ ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งดำเนินการพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต โดยมีการพัฒนาโครงสร้างและกลไกการดำเนินงานของอาเซียนภายหลังกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อ ธ.ค.๒๐๐๘ - อาเซียนได้ดำเนินการความร่วมมือเหล่านี้ทั้งในรูปแบบของความตกลงในระดับต่าง ๆ (MOU/Agreement/Declaration) และโครงการความร่วมมือทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันและระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค - ในการพัฒนาความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียนมีอุปสรรคสำคัญ คือ ๑. การขาดแคลนทรัพยากรในการดำเนินการร่วมกัน เนื่องจากประเทศคู่เจรจาได้ลดการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาลง ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา มีทรัพยากรจำกัด ๒. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาจากแนวทางในลักษณะผู้ให้และผู้รับมาเป็นการเป็นหุ้นส่วนที่ทัดเทียมกันโดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายด้วย ๓. ความแตกต่างในระดับของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ของอาเซียน

42 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
- เอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 - ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ ๒ (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) - ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ๓ เสาหลัก (pillars) ๑. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community : ASC) ๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community : ASCC) - จากการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๕ ธ.ค.๑๙๙๗ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ได้จัดทำเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐ โดยกำหนดเป้าหมายและทิศทางของอาเซียนในปี ๒๐๒๐ ที่จะให้อาเซียนเป็น ๑. วงสมานฉันท์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๒. หุ้นส่วนในการพัฒนาที่มีพลวัต ๓. มุ่งปฏิสัมพันธ์กับภายนอก ๔. ประชาคมแห่งสังคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน - จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้กำหนดแผนปฏิบัติไว้ดังนี้ ๑. แผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action :HPA) สำหรับช่วงปี ๑๙๙๘ – ๒๐๐๔ ๒. แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Program : VAP) สำหรับช่วงปี ๒๐๐๕ – ๒๐๑๐ - ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ ระหว่าง ๗ – ๘ ต.ค.๒๐๐๓ ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ ๒ (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ระบุให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๐๒๐ - ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ๓ เสาหลัก (pillars) คือ ๑. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community : ASCC) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน ซึ่งประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ ๑.๑ ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ ๑.๒ ริเริ่มกลไกใหม่ ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงและกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือ ๑.๓ ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐ ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ โดยอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือโดยเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ ๑๑ สาขา คือ Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสารสำหรับแต่ละสาขา คือ ASEAN Sectoral Integration Protoeal อีก ๑๑ ฉบับเพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่ใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา ๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community : ASCC) ได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community Plan of Action) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร (caring society) ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้จะเน้นการดำเนินการใน ๔ ประเด็น คือ ๓.๑ สร้างประชาคมแห่งสังคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ๓.๒ แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ๓.๓ ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง ๓.๔ เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๒๐

43 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
- ปฏิญญากลัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (Kuala Lumpur Declaration on the Establelishment of the ASEAN Charter) - คณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน (Eminent Persons Group (EPG) on the ASEAN Charter) - ปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทสำหรับกฎบัตรอาเซียน (Cebu Declaration on the Bveprint of the ASEAN Charter) - คณะทำงานระดับสูงในการยกร่างกฎบัตรอาเซียน (High Level Task Force (HLTF) on the Drafting of the ASEAN Charter) - ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๐ เมื่อเดือน พ.ย.๒๐๐๔ ณ กรุงเวียงจันทน์ ลาว ผู้นำอาเซียนได้ประกาศแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP) สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๐๒๐ - ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๑ ระหว่าง ๑๒ – ๑๔ ธ.ค.๒๐๐๕ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ได้ออกปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (Kuala Lumpur Declaration on the Establelishment of the ASEAN Charter) และมีมติแต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน (Eminent Persons Group (EPG) on the ASEAN Charter) ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการต่างประเทศจากแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะการวางกรอบสำหรับการจัดทำกฎบัตรอาเซียน - มีการนำเสนอรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน (Report of the Eminent Persons Group (EPG) on the ASEAN Charter) ในการการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๒ ระหว่าง ๙ – ๑๕ ม.ค.๒๐๐๗ ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ โดยได้มีการออกปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทสำหรับกฎบัตรอาเซียน (Cebu Declaration on the Blueprint of the ASEAN Charter) และได้จัดตั้งคณะทำงานระดับสูงในการยกร่างกฎบัตรอาเซียน(High Level Task Force (HLTF) on the Drafting of the ASEAN Charter) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง - คณะทำงานระดับสูงฯ ได้ยกร่างกฎบัตรอาเซียนแล้วเสร็จและนำเสนอต่อผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๓ เมื่อ ๒๐ พ.ย.๒๐๐๗ ที่สิงคโปร์ โดยเนื้อหาสาระของกฎบัตรอาเซียนเป็นทั้งการประมวลค่านิยม เป้าหมาย หลักการและแนวทางปฏิบัติที่เคยมีมาของอาเซียน และมีบางส่วนที่เป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์และโครงสร้างองค์การเดิม หรือสร้างกลไกใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนี้กฎบัตรอาเซียนยังกำหนดให้อาเซียนมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเป็นเสมือนธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน - ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันรับรองกฎบัตรอาเซียนจรครบทั้ง ๑๐ ประเทศ โดยไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้สัตยาบันเมื่อ ๑๔ พ.ย.๒๐๐๘ และกฎบัตรได้มีผลบังคับใช้เมื่อ ๑๕ ธ.ค.๒๐๐๘

44 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) (ต่อ)
- องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียน ๑. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ๒. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ๓. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council) ๔. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) - องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียนมีดังนี้ ๑. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน ประกอบด้วยประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกจัดประชุมาองครั้งต่อปี โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาหารือ ให้แนวนโยบาย และตัดสินใจในประเด็นหลักของอาเซียน อนุมัติการจัดตั้งและยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่น ๆ ของอาเซียน รวมทั้งการแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน ๒. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี มีอำนาจหน้าที่ในการเตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานการอนุวัติความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดฯ รวมทั้งประสานงานกับคณะมนตรีต่าง ๆ ทั้งในด้านการทำงาน และการเสนอรายงานต่อที่ประชุมสุดยอดฯ พิจารณารายงานประจำปี และรายงานของเลขาธิการอาเซียน ๓. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council) ประกอบด้วยคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการอนุวัติข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดฯ ประสานการปฏิบัติงานของสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการดำเนินงาน และเสนอรายงานต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ๔. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานตามที่มีการกำหนด อนุวัติความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดฯ เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กร และเสนอรายงานต่อคณะมนตรีประชาคมฯ

45 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) (ต่อ)
- องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียน (ต่อ) ๕. สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ๖. คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN) ๗. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats) ๘. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human right body) ๙. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundations) ๕. สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอาเซียน ได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดฯ มีสถานะเทียบเท่ารัฐมนตรี และมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี โดยมีรองเลขาธิการอาเซียน ๔ คน สถานะเทียบเท่ารัฐมนตรีช่วยว่าการ และมีพนักงานประจำสำนักงานฯ ตามที่จำเป็น ๖. คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN) ประกอบด้วยผู้แทนถาวรรัฐละ ๑ คน มาประจำอาเซียนในระดับเอกอัครราชทูตที่มีถิ่นพำนัก ณ กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย มีอำนาจหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมฯ และองค์กรรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา ติดต่อประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน ๗. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats) เป็นหน่วยงานระดับชาติซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกจัดตั้งขึ้น ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ เก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียน ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติของการประชุมอาเซียน ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสำนึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ และมีส่วนร่วมสร้างประชาคมอาเซียน ๘. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human right body) มีความมุ่งประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ๙. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundations) สนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและดำเนินการร่วมกับองค์กรของอาเซียนในการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน โดยให้มูลนิธิอาเซียนรับผิดชอบต่อเลขาธิการอาเซียน - การสร้างประชาคมอาเซียนตามกฎบัตรฯ ไม่ได้ทำให้อาเซียนมีลักษณะเป็นองค์กรแบบเหนือชาติ (Supranational Body) เหมือนสหภาพยุโรป และไม่ทำให้ประเทศสมาชิกต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยแต่อย่างใด

46 ความสัมพันธ์กับภายนอก
- คู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) - คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Country) - อาเซียนได้มีความร่วมมือและสถาปนาความสัมพันธ์กับคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ประกอบด้วย ๑๐ ประเทศ คือ ออสเตรเลีย (๑๙๗๔) นิวซีแลนด์ (๑๙๗๕) แคนาดา (๑๙๗๗) ญี่ปุ่น (๑๙๗๗) สหรัฐอเมริกา (๑๙๗๗) เกาหลีใต้ (๑๙๙๑) อินเดีย (๑๙๙๕) จีน (๑๙๙๖) รัสเซีย (๑๙๙๖) และปากีสถาน (๑๙๙๗) ๑ กลุ่มประเทศ คือ สหภาพยุโรป (๑๙๗๗) และ ๑ องค์การระหว่างประเทศ คือ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) (๑๙๗๗) ทั้งนี้อาเซียนจะแบ่งกันทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา โดยมีการปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอกับประเทศคู่เจรจาในลักษณะการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC) ซึ่งจะมีขึ้นภายหลังการประชุม AMM ทุกปี และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมีการประชุมระดับผู้นำอาเซียน +1 และอาเซียน +3 ซึ่งมีขึ้นภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน - อาเซียนได้จัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Country) ประกอบด้วยหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศเจ้าภาพ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศ มีหน้าที่ในการปรึกษาหารือและประสานงานกับรัฐบาลประเทศคู่เจรจาเกี่ยวกับความช่วยเหลือและความร่วมมือที่ให้แก่ประเทศอาเซียน - อาเซียนยังมีความร่วมมือเฉพาะทางในบางสาขากับสหประชาชาติและความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สภาความร่วมมือรัฐอาหรับแห่งอ่าว (Gulf Cooperation Council : GCC) ซึ่งเป็นองค์กรของประเทศที่มีน้ำมันเป็นสินค้าออกหลัก สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation : SAARC)

47 จบการบรรยาย


ดาวน์โหลด ppt องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google