การดำเนิน โครงการสำนักงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม GREEN OFFICE 2017 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2561 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร
หัวข้อบรรยายการดำเนินโครงการ สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม GREEN OFFICE ผลการดำเนินงาน 2557 - ปัจจุบัน
GREEN OFFICE? ที่มา GREEN OFFICE ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา แล
ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ทุกประเทศร่วมมือกันในกรอบเหนือ-ใต้ และใต้-ใต้ ทั้งด้านเงินทุน การวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีความรับผิดชอบต่อโลก สำหรับประเทศไทยจะพยายามลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ถึง 25 ภายในปี 2030 โดยลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล ใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น Eco Car รถไฟฟ้า การจัดการขยะ การปลูกป่าอาเซียน โรดแม็ปการลดหมอกควันให้เหลือร้อยละ 0 และสิ่งสำคัญคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยึดหลักความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันบนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม ในรูปแบบ ประชารัฐด้วยความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ประชาชนมานานกว่า 5 ทศวรรษ วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14:18 น. เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 1 ธ.ค. ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยู่ระหว่างเข้าร่วมการประชุมระดับสูงของประมุขรัฐ และหัวหน้ารัฐบาลในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 11 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-2 ธ.ค. ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ร่วมการกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมฯ โดยแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรงในกรุงปารีสเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว และขอเป็นกำลังใจให้ฝรั่งเศสและทุกประเทศที่เผชิญเหตุรุนแรง ขอแสดงความเป็นหนึ่งเดียว และขอร่วมประณามการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมเช่นนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การร่วมประชุมในครั้งนี้เพื่อแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของประเทศไทยในการร่วมผลักดัน ให้การเจรจาความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่บรรลุผล สามารถปฏิบัติได้จริง ในการรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 ของสหประชาชาติ (UN) ที่นครนิวยอร์กเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตนได้ย้ำถึงการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติอย่างสมดุล เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ดังนั้น พวกเราต้องร่วมกันจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดภัยพิบัติ ภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภัยแล้ง การขาดน้ำการเกษตร ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการเพิ่มภาระให้ประเทศกำลังพัฒนา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติของโลก ไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ประชาคมโลกมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันดูแลรักษา โดยเฉพาะความพยายามจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส ยึดหลักการความเป็นธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละประเทศ “ผมขอเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันในกรอบเหนือ-ใต้ และใต้-ใต้ ทั้งด้านเงินทุน การวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีความรับผิดชอบต่อโลก สำหรับประเทศไทยจะพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ถึง 25 ภายในปี 2030 โดยลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล ใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น Eco Car รถไฟฟ้า การจัดการขยะ การปลูกป่าอาเซียน โรดแม็ปการลดหมอกควันให้เหลือร้อยละ 0 และสิ่งสำคัญคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยึดหลักความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันบนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม ในรูปแบบ ประชารัฐด้วยความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ประชาชนมานานกว่า 5 ทศวรรษ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีประเทศไทยเป็นกลุ่มจี 77 ในปีหน้า ว่า ประเทศไทยจะมุ่งมั่นอย่างเต็มความสามารถ ในการเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่างทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม จี 77 ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนร่วมกันของโลกใบนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังกล่าวถ้อยแถลง นายกฯ ได้เดินทางออกจากศูนย์ประชุมไปยังจัตุรัสแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อวางดอกไม้ เป็นเครื่องหมายเชิงสัญลักษณ์แสดงความเสียใจและระลึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
“สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปาน กลาง” ประเทศไทย 4.0 “สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปาน กลาง” การผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” การขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น เรากำลังเดินหน้าไปสู่ SDG 2030 ของสหประชาชาติ ใน ๑๕ ปีข้างหน้าเราต้องบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้ในทุกกิจกรรม ทุกเป้าประสงค์ที่ระบุไว้ใน SDGs ประเทศไทยใช้คำว่า SEP for SDGs คือ จาก”ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปสู่ SDGs ของสหประชาชาติ” สิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของ GREEN OFFICE
วัตถุประสงค์โครงการ GREEN OFFICE มุ่งเน้นส่งเสริม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณน้ำเสีย และขยะโดยการลดการใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดเลิกใช้สารเคมีอันตราย รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทำ แล้วได้อะไร GREEN OFFICE ทำ แล้วได้อะไร GREEN OFFICE ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงาน จากการใช้ทรัพยากร พลังงาน อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอนามัยของ พนักงาน สร้างการสื่อสารและการมีส่วนร่วมภายในองค์กร เป็นการยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นส่วน หนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน
ขั้นตอนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว GREEN OFFICE? ขั้นตอนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว
ขั้นตอนการดำเนินงาน GREEN OFFICE รับสมัครสำนักงานเข้าร่วมโครงการ ส่งเอกสารการประเมินตนเองเบื้องต้น คัดเลือกสำนักงานที่ผ่านการประเมินเบื้องต้น จัดอบรมสำนักงานที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจเยี่ยมเพื่อให้คำแนะนำ ตรวจประเมินสำนักงานโดยคณะกรรมการระดับพื้นที่ ตรวจประเมินสำนักงานที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 90 โดยคณะกรรมการระดับประเทศ ประชุมสรุปผลการตรวจประเมินและรับรองสำนักงานสีเขียว
ส่งเอกสารการประเมินตนเองเบื้องต้น ขั้นตอนการดำเนินงาน GREEN OFFICE รับสมัครสำนักงาน เข้าร่วมโครงการ (31 มกราคม 2561) ส่งเอกสารการประเมินตนเองเบื้องต้น http://www.deqp.go.th/service-portal/news-system/news-detail/?id=202246
ประชาสัมพันธ์สมัครเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว ปีงบประมาณ 2561 http://www.deqp.go.th/service-portal/news-system/news-detail/?id=202246
เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว GREEN OFFICE? เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว
http://www.deqp.go.th/media/878092/greenoffice2561-final.pdf
GREEN OFFICE? ผลการดำเนินงาน (ปี 2557 – 2560)
สำนักงานที่ผ่านเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (แห่ง) 2557 2558 2559 2560 รวม 54 59 71 81 265
ผลการดำเนินงาน (ปี 2560) ปีงบประมาณ 2560 มีสำนักงานกลุ่มเป้าหมาย สมัครเข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 84 แห่ง โดยแบ่งระดับการรับรองเป็น ระดับดีเยี่ยม (ทอง) จำนวน 70 แห่ง ระดับดีมาก (เงิน) 7 แห่ง ระดับดี (ทองแดง) 4 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 แห่ง
ค่าเฉลี่ยปริมาณทรัพยากรต่างๆและปริมาณก๊าซเรือนกระจก GREEN OFFICE? ค่าเฉลี่ยปริมาณทรัพยากรต่างๆและปริมาณก๊าซเรือนกระจก คณะผู้จัดทำโครงการฯ ได้ทำการศึกษาปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการสำนักงานสีเขียวที่เข้าร่วมโครงการ โดยรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากร เช่น ไฟฟ้า น้ำ กระดาษ น้ำมันดีเซล เป็นต้น ของสำนักงานต่างๆ จำนวน 27 สำนักงาน
ค่าเฉลี่ยปริมาณทรัพยากรต่างๆและปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อคน ประเภท ค่าเฉลี่ยต่อเดือน ค่าเฉลี่ยต่อปี น้ำประปา 3.2341 38.8092 ไฟฟ้า 194.0758 2,328.91 กระดาษ 1.4786 17.7432 น้ำมันดีเซล 15.5845 187.014 น้ำมันเบนซิน 0.5001 6.0012 ก๊าซโซฮอล์ 3.5364 42.4368 ก๊าซ LPG 0.4928 5.9136 ของเสียกระดาษ 3.1956 38.3472 เศษอาหาร 1.3636 16.3632 เศษผ้า 0.0448 0.5376 กิ่งไม้ ต้นหญ้า จากสวน 1.5749 18.8988 ขยะอื่นๆ 1.6383 19.6596 ปุ๋ยหมักอินทรีย์ 1.7624 21.1488 ก๊าซเรือนกระจก 193.8006 2,325.607 จากการทดสอบ พบว่า Chi - square = 91.439 สรุปได้ว่าหน่วยงานแต่ละประเภทมีค่าเฉลี่ยปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อคนแตกต่างกันที่ P-value < 0.0009 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าเอกชน
ค่าเฉลี่ยปริมาณทรัพยากรต่างๆและปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อพื้นที่ ประเภท ค่าเฉลี่ยต่อเดือน ค่าเฉลี่ยต่อปี น้ำประปา 1.3062 15.6744 ไฟฟ้า 127.5944 1,531.1328 กระดาษ 2.01 24.12 น้ำมันดีเซล 9.4941 113.9292 น้ำมันเบนซิน 6.4388 77.2656 ก๊าซโซฮอล์ 0.0493 0.5916 ก๊าซ LPG 0.0182 0.2184 ของเสียกระดาษ 0.4105 4.926 เศษอาหาร 0.2014 2.4168 เศษผ้า 0.7813 9.3756 กิ่งไม้ ต้นหญ้า จากสวน 0.1375 1.65 ขยะอื่นๆ 1.5895 19.074 ปุ๋ยหมักอินทรีย์ 0.1037 1.2444 ก๊าซเรือนกระจก 84.9767 1,019.7204 จากการทดสอบ พบว่า Chi - square = 112.183 สรุปได้ว่าหน่วยงานแต่ละประเภทมีค่าเฉลี่ยปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อพื้นที่ตกต่างกันที่ P-value < 0.0009 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า หน่วยงานสถาบันอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า เอกชน หน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันและ มีค่าเฉลี่ยมากกว่า หน่วยงานราชการ
GREEN OFFICE? Question and Answer