บทที่ ๕ คณะกรรมาธิการ 1/20/2009.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
Advertisements

นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
การส่งเสริมและสนับสนุน ให้สหกรณ์เป็นวาระ แห่งชาติ.
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการ กรม สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สระบุรี ( กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการ จัดการสหกรณ์ ) ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม โครงการตามนโยบายรัฐบาล.
- 2 - แผนภูมิแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ผลผลิต และงบประมาณปี พ.ศ.2555 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตามระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
ไทยกับการส่งเสริม CLC’s ในประเทศเพื่อนบ้าน
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์
ครูพัทธนันท์ เปลี่ยนศรี 1. ผลการเรียนรู้ รู้และเข้าใจการแบ่งประเภท และการระบุโทษของการ กระทำความผิดแต่ละประเภท 2.
การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสาขาระดับอำเภอ 6 สาขา
สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ. ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการจัดหาวัสดุ ตำรา วารสาร ฐานข้อมูล เพื่อ ให้บริการในสำนักวิทยบริการ การพัฒนานำระบบ RFID มาใช้ในการจัดชั้น.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ประวัติ โรงเรียนวัดท่า ข้าม โรงเรียนวัดท่าข้าม ตั้งอยู่เลขที่ 54 หมู่ 3 ตำบลท่า ข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่โรงเรียนทั้งหมดรวม 1 ไร่ 2 งาน.
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
สาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติธนาคาร ที่ดิน พ. ศ..... โดย นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
ประวัติ ส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุภาวรรณ อินสวัสดิ์ อายุ ๒๘ ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙ / ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
สรุป การเมืองการปกครองท้องถิ่น ไทย POL 341 ผศ. ดร. ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
งาน Road Map ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2560
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ป.ย.ป. คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา.
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เวลา น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ชั้น 9
กลุ่มเกษตรกร.
รศ. ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
การแสดงเจตจำนงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
ข้อเสนอ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
อำนาจอธิปไตย 1.
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ นายอัษฎาวุธ.
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
“ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน คสจ. และ พชอ.”
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
“อนาคตการสื่อสารไทย โฉมหน้าใหม่ กสทช. ในร่างรัฐธรรมนูญ”
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ ๕ คณะกรรมาธิการ 1/20/2009

คณะกรรมาธิการ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Commissioner หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อให้กระทำกิจการหรือพิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๕ ที่บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจ เลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมี อำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงาน ต่อสภา 1/20/2009

ประเภทของคณะกรรมาธิการ สามารถจำแนกคณะกรรมาธิการได้เป็น ๔ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการเต็มสภา 1/20/2009

๑. คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นกรรมาธิการที่แต่ละ สภาตั้งขึ้นตามข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภา โดย คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน ๓๕ คณะแต่ละคณะประกอบไปด้วยกรรมาธิการมีจำนวน ๑๕ คน คณะกรรมาธิการประจำวุฒิสภามีจำนวน ๒๒ คณะ แต่ละคณะประกอบไปด้วยกรรมาธิการจำนวนไม่ น้อยกว่า ๙ คนและไม่เกิน ๑๕ คน 1/20/2009

องค์ประกอบของคณะกรรมาธิการสามัญ ๑. มาจากการเลือกและแต่งตั้งจากบุคคลผู้เป็นสมาชิกของแต่ละสภาเท่านั้น ๒. กรรมาธิการสามัญ ต้องแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ตามจำนวนหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ใน สภาผู้แทนราษฎร ๓. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน คณะกรรมาธิการสามัญอาจตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำ คณะกรรมาธิการก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำหนด ด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมกันของประธานคณะกรรมาธิการ สามัญ 1/20/2009

๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกบุคคลผู้ เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ วิสามัญ เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษา เรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อ สภา โดยมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจะต้องระบุกิจการ หรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกับคณะกรรมาธิการ ที่มีอยู่แล้ว 1/20/2009

องค์ประกอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ๑. การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้ตั้งจากบุคคลที่ คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวน กรรมาธิการทั้งหมด จำนวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจาก รายชื่อที่สมาชิกเสนอโดยให้มีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับ อัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่ม พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา ๒. วาระของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะสิ้นสุดลงเมื่อได้ปฏิบัติ กิจการที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลง 1/20/2009

๓. คณะกรรมาธิการร่วมกัน เป็นกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น เพื่อ พิจารณาปัญหาร่วมกัน โดยแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็น สมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากัน ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ แล้วรายงานต่อรัฐสภา ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบด้วยร่าง พระราชบัญญัตินั้น ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อประกาศในราช กิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมาย 1/20/2009

๔. คณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งจากสมาชิกทุกคนในที่ ประชุมสภา โดยประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็น ประธานคณะกรรมาธิการ 1/20/2009

การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เป็นทั้งการพิจารณาขั้น คณะกรรมาธิการและการพิจารณาของวุฒิสภาในวาระที่สองเรียง ตามลำดับมาตรารวมกันไป การพิจารณาในวาระที่สอง ให้ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง หรือกรรมาธิการเต็มสภา ตามปกติให้พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง การพิจารณา โดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดย มีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ และใน การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภานั้น วุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาใดโดยเฉพาะที่ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นก็ได้ 1/20/2009

คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๘๒ กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง คณะกรรมาธิการสามัญขึ้นสามสิบห้าคณะ แต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมาธิการมีจำนวนสิบห้าคน โดยได้ระบุ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในแต่ละคณะ เอาไว้ ดังนี้ 1/20/2009

๑. คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษา เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวนโยบายด้าน กฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองสิทธิ ชุมชนในกระบวนการยุติธรรม 1/20/2009

๒. คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่อง ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบและปรับปรุงการดำเนินกิจการ ของสภาผู้แทนราษฎร คำร้องเรียน ข้อเสนอแนะของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการ ของสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งเรื่องใด ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ สภาผู้แทนราษฎรและองค์กรรัฐสภาระหว่างประเทศ ตลอดจน ตรวจสอบรายงานการประชุมพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการ เปิดเผยรายงานการประชุมลับ และติดตามผลการปฏิบัติตามมติ ของสภาผู้แทนราษฎร 1/20/2009

๓. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ การดำเนินงานของ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการบริหารจัดการขององค์การ มหาชน และกองทุนต่าง ๆ 1/20/2009

๔. คณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ แก้ปัญหาและการพัฒนาชายแดนไทย 1/20/2009

๕. คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชนสตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศ ต่างประเทศ ประชาคมนานาชาติ เกี่ยวกับแนวทาง ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการคุ้มครอง สิทธิ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ 1/20/2009

๖. คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหนี้สินทุก ระดับ ได้แก่ ปัญหาหนี้สินของประเทศ หนี้สินภาค ธุรกิจ หนี้สินภาค อุตสาหกรรม หนี้สินข้าราชการ ตลอดจนหนี้สินเกษตรกร 1/20/2009

๗. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร การสหกรณ์ การพัฒนาการผลิต และการตลาด 1/20/2009

๘. คณะกรรมาธิการการคมนาคม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคมนาคมทั้งการจราจร ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางอวกาศ การขนส่ง มวลชน การขนส่งสินค้า และการพาณิชย์นาวี 1/20/2009

๙.คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ โดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุน และการ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดินแดนและความมั่นคงของ ประชาชน 1/20/2009

๑๐.คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค 1/20/2009

๑๑. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การ ธนาคาร ตลาดเงิน ตลาดทุน และสถาบันการเงินของ ประเทศ 1/20/2009

๑๒. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาพลักษณ์ของ ประเทศ รวมทั้งกระทำกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับ ชาวไทยซึ่งตั้งถิ่นฐานหรือไปประกอบอาชีพใน ต่างประเทศ 1/20/2009

๑๓. คณะกรรมาธิการการตำรวจ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย การป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 1/20/2009

๑๔. คณะกรรมาธิการติดตามการ บริหารงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในด้าน งบประมาณ ติดตามและประเมินผลการรับ การใช้ จ่ายเงินงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ 1/20/2009

๑๕. คณะกรรมาธิการการทหาร มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการทหารการ ป้องกัน การรักษาความมั่นคง และการพัฒนา ประเทศ 1/20/2009

๑๖. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน การแก้ไขปัญหาอุปสรรค และการพัฒนาการ ท่องเที่ยวและการกีฬาของไทยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ 1/20/2009

๑๗. คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดินการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1/20/2009

๑๘. คณะกรรมาธิการการปกครอง มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ แผ่นดินส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การพัฒนา ระบบราชการและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๙. คณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการและ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1/20/2009

๒๐. คณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และยาเสพติด มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด 1/20/2009

๒๑. คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและ มาตรการการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การ แจ้งเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ รวมทั้งติดตามการให้ความ ช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัย ดังกล่าว 1/20/2009

๒๒. คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการและมาตรการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ 1/20/2009

๒๓. คณะกรรมาธิการการพลังงาน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา การจัดหา การใช้ การอนุรักษ์พลังงาน และผลกระทบ จากการจัดหาและการใช้พลังงาน 1/20/2009

๒๔. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของ ประชาชน การส่งเสริมและเผยแพร่การเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วิถีคิดและวิถีปฏิบัติที่เป็น ประชาธิปไตย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน เสรีภาพและความรับผิดชอบในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและ สื่อมวลชน การคุ้มครองผู้เสียหายจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจน ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และการ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ 1/20/2009

๒๕. คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อการเศรษฐกิจ ของชาติ ธุรกิจภาคเอกชน ประชาชน สถานการณ์ทาง เศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจของภูมิภาคต่าง ๆ ในสังคมโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐ 1/20/2009

๒๖. คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการค้าการส่งออก ดุลการค้า ลิขสิทธิ์ ตราสาร ทะเบียน การประดิษฐ์หรือ การค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่และพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งการให้ความ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 1/20/2009

๒๗. คณะกรรมาธิการการแรงงาน มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวในประเทศ รวมทั้งแรงงานไทย ในต่างประเทศ 1/20/2009

๒๘. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและการพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1/20/2009

๒๙. คณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมราคาผลิตผล ทางการเกษตรให้สามารถคุ้มต่อต้นทุนการผลิตของ เกษตรกรทุกประเภท และสามารถแข่งขันได้ในตลาด การค้า ตลอดจนมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอาชีพ 1/20/2009

๓๐. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการอุปถัมภ์ทำนุบำรุงและ คุ้มครองศาสนาและโบราณสถาน การอนุรักษ์และ ส่งเสริมศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ท้องถิ่น วัฒนธรรมประชาธิปไตย ภูมิปัญญาชาวบ้าน เอกลักษณ์ และแบบวิถีชีวิตไทย 1/20/2009

๓๑. คณะกรรมาธิการการศึกษา มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของชาติ และการส่งเสริม วัฒนธรรมประชาธิปไตย รวมทั้งแนวทางการปรับฐาน การเรียนรู้ของประชาชนสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์ 1/20/2009

๓๒. คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมไม่ น้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐาน การสงเคราะห์ดูแลเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะผู้ยากไร้ในเมือง และชนบท และผู้ด้อยโอกาสในสังคม 1/20/2009

๓๓. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแพทย์การ สาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพตลอดจน การพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนและชุมชน 1/20/2009

๓๔. คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสาร สารสนเทศ และโทรคมนาคม 1/20/2009

๓๕. คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งศึกษาผลกระทบอันเกิดจากอุตสาหกรรม 1/20/2009

คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๗๗ กำหนดให้ วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาขึ้น เพื่อ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่าง พระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่อง ใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาหรือตามที่วุฒิสภา มอบหมาย คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาแต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบ ห้าคน และให้มีจำนวนยี่สิบสองคณะ โดยได้ระบุขอบเขตอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมาธิการในแต่ละคณะเอาไว้ ดังนี้ 1/20/2009

๑. คณะกรรมาธิการการกีฬา มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬา ของชาติ รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการ พัฒนาการกีฬาของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๒. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเกษตร อาหาร การสหกรณ์ การพัฒนาการผลิต การแปรรูป และธุรกิจการเกษตร แนวทางการแก้ไข ปัญหาอุปสรรคทางการพัฒนาการเกษตร อาหาร การ สหกรณ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๓. คณะกรรมาธิการการคมนาคม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการคมนาคม ทั้งการจราจรทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางอวกาศการขนส่งมวลชน การขนส่ง สินค้า การพาณิชยนาวี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๔. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การธนาคาร ตลาดเงิน ตลาด ทุน สถาบันการเงินของประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๕. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คนไทยโพ้นทะเล สถานการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันอาจ ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ รวมทั้งภาพลักษณ์ของ ประเทศและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๖. คณะกรรมาธิการการทหาร มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับกิจการทหาร การป้องกัน การรักษาความ มั่นคง การปกป้องผลประโยชน์ของชาติ การพัฒนา ประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๗. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการ พัฒนาการท่องเที่ยวของไทยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๘. คณะกรรมาธิการการปกครอง มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ บริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการปกครองรูปแบบพิเศษ การ พัฒนาระบบราชการ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง การกระจายอำนาจ พิจารณาศึกษานโยบายในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๙. คณะกรรมาธิการการพลังงาน มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการบริหาร การส่งเสริมพัฒนา การจัดหา การ ใช้ การอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก การศึกษาผลกระทบและแนว ทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการจัดหาและการใช้ พลังงาน ความมั่นคงด้านพลังงาน และอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๐. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการเมืองและการดำเนินการอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวาง แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๑. คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คน พิการ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศ ต่างประเทศ ประชาคมภายในประเทศและนานาชาติ และองค์กรปกครอง ท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมศักยภาพ ของชุมชนด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การคุ้มครองและดูแลผู้ยากไร้ การพัฒนาสังคม การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล การสร้างหลักประกันความมั่นคง และการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยรวม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๒. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการบริหารงาน ยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม การตำรวจ อัยการ และ ราชทัณฑ์ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๓. คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในประเทศ ทั้งในและนอกระบบแรงงานไทยในต่างประเทศ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ การให้สวัสดิการ การ ประกันสังคม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๔. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการบริหาร การส่งเสริมและการพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การ สื่อสาร การสื่อสารสาธารณะ โทรคมนาคม และอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๕. คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับศาสนา การอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา การอนุรักษ์และการสืบสานศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน การส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม เอกลักษณ์และ อัตลักษณ์ไทย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๖. คณะกรรมาธิการการศึกษา มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบของชาติ การ ให้บริการทางการศึกษาสำหรับประชาชน โดยคำนึงถึงความเป็น มาตรฐาน เป็นธรรมและทั่วถึง เน้นความเป็นเลิศทางปัญญา วินัย คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ ความเป็นไทยบน พื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และความเป็นอิสระทางวิชาการของ สถาบันอุดมศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๗. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ สาธารณสุข การพัฒนาระบบสุขภาพ การบริการ สาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยรวมถึงการ รักษาพยาบาล การควบคุมและป้องกันโรค การฟื้นฟู การ ส่งเสริมสุขภาวะและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๘. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการ บริหารจัดการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และนโยบายของ รัฐบาลในด้านงบประมาณ ติดตามและประเมินผลการรับการใช้ จ่ายเงินงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๑๙. คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน การจัดการทรัพยากรน้ำ การ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตลอดจนการ ส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศึกษาปัญหาการใช้ การป้องกัน การแก้ไข การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๒๐. คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาศึกษา และตรวจสอบเรื่องการกระทำ การทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานอื่น การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร ราชการแผ่นดิน และศึกษาเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับกลไก กระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตประพฤติมิชอบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๒๑. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ๒๑. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม การส่งเสริมพัฒนา เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

๒๒. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ๒๒. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วย ราชการ องค์กรเอกชน และองค์กรในด้านสิทธิมนุษยชน ติดตาม ตรวจสอบการกระทำหรือการละเว้นการกระทำอัน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ การคุ้มครอง ผู้บริโภค ปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคและอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

แบบฝึกหัด ๑. คณะกรรมาธิการ (Committee) หมายถึง ๒. จุดเริ่มต้นของระบบกรรมาธิการไทย เริ่มมาตั้งแต่เมื่อใดอธิบาย ๓. มีความสำคัญและประโยชน์ของคณะกรรมาธิการอย่างไร ๔. คณะกรรมาธิการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง อธิบาย ๕. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กรรมาธิการสามัญประจำสภา 16 คณะ มีอะไรบ้าง เพื่อทำหน้าที่ พิจารณาร่างกฎหมาย สอบสวน หรือศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านแล้ว โดยแต่ละคณะนัดประชุม ทันที เพื่อเลือกประธาน และผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญประจำคณะ 1/20/2009