ประวัติศาสตร์กฎหมาย Legal History อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คำอธิบายรายวิชา 0801151 ประวัติศาสตร์กฎหมาย ที่มาและประวัติของกฎหมายไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทย การจัดทำประมวลกฎหมายไทย กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายหลักที่สำคัญของโลก ตลอดจนอิทธิพลของระบบกฎหมายต่างประเทศที่มีต่อกฎหมายไทย
Course description Sources and historical background of Thai law in the period of Sukhothai, Ayudhya, and early Rattanakosin, transformation of law and judicial process, codification of Thai codes, origin and evolution of world legal systems as well as influence of such legal systems on Thai law
แบบทดสอบก่อนเรียน กฎหมายคืออะไร ระบบกฎหมายในโลกนี้มีกี่ระบบ อะไรบ้าง กฎหมายใดเป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประเทศใดที่จัดทำประมวลกฎหมาย (สมัยใหม่) เป็นประเทศแรก ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายใด และได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของประเทศใด กฎหมายตราสามดวงเกิดขึ้นได้อย่างไร ในสมัยใด ประเทศไทยมีประมวลกฎหมายใช้ครั้งแรกเมื่อใด
ประวัติศาสตร์ก.ม.ตะวันตก เค้าโครงการบรรยาย ความรู้เบื้องต้น ประวัติศาสตร์ก.ม.ตะวันตก ประวัติศาสตร์ก.ม.ไทย
ความหมายของกฎหมาย วิวัฒนาการของกฎหมาย ความรู้เบื้องต้น ระบบกฎหมายหลัก 1.Introduction ความหมายของกฎหมาย วิวัฒนาการของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย ระบบกฎหมายหลัก ความรู้เบื้องต้น
ประวัติศาสตร์กฎหมายตะวันตก 2.Western Legal History ประวัติศาสตร์กฎหมายตะวันตก Civil Law กฎหมายโรมัน Common Law กฎหมายอังกฤษ
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย 3.Thai Legal History ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ ก.ม.สมัยสุโขทัย ก.ม.สมัยอยุธยา ก.ม.สมัย ร.1-3 การรับก.ม.สมัย ใหม่ (ร.4) การปฏิรูป ก.ม.สมัย ร.5 การจัดทำประมวลกฎหมาย (ร.6) อิทธิพลของก.ม.ตะวันตก
ตำราและเอกสารเพิ่มเติม ตำราและเอกสารหลัก ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย – ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส ตำราและเอกสารเพิ่มเติม การปฏิรูปกฎหมายไทยภายใต้อิทธิพลยุโรป – ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ การร่างประมวลกฎหมายในประเทศสยาม – สุรพล ไตรเวทย์ ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก – รศ. สุเมธ จานประดับ วิวัฒนาการของกฎหมายโรมัน – ศ.ประชุม โฉมฉาย ระบบกฎหมายอังกฤษ – สุนัย มโนมัยอุดม
การประเมินผล 1. สอบกลางภาค 40 คะแนน ข้อสอบ 2 ข้อ ๆ ละ 20 คะแนน (กลางเดือน ต.ค.61) 2. สอบปลายภาค 60 คะแนน ข้อสอบ 3 ข้อ ๆ ละ 20 คะแนน (เดือน ธ.ค.61) รวม 100 คะแนน
ค่าระดับขั้น 80 คะแนนขึ้นไป A 75 – 79 คะแนน B+ 70 – 74 คะแนน B 65 – 69 คะแนน C+ 60 – 64 คะแนน C 55 – 59 คะแนน D+ 50 – 54 คะแนน D ต่ำกว่า 50 คะนน F ไม่สมบูรณ์ I
ทำไมต้องศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย ???
“การสอนกฎหมายนั้นมิใช่จะมุ่งแต่เพียงอบรมบุคคลผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมาย เช่น ผู้ที่จะเป็นทนายความหรือผู้พิพากษา เป็นต้น ให้คุ้นเคยมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้กฎหมายเท่านั้นก็หาไม่ ยังต้องมีจุดหมายจะอบรมบุคคลให้เป็นพลเมืองที่สามารถจะหยั่งรู้ถึงคุณค่าของระเบียบแห่งชุมนุมชน และจะช่วยทำให้ระเบียบต่าง ๆ แห่งชุมนุมชนนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นจึงน่าจะเข้าใจดีว่าประวัติศาสตร์กฎหมายนั้นเป็นเสมือนเครื่องเพิ่มเติมอันสำคัญจะขาดเสียไม่ได้ เป็นคลังความรู้แห่งบรรดานักนิติศาสตร์ที่แท้จริง” -ศาสตราจารย์ ร. แลงกาต์-
การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย คือ การศึกษาถึงเหตุการณ์ในกฎหมายที่มีผลกระทบต่อคนหมู่มาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะทราบถึงที่มาของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลง ผล และการดับสูญของกฎหมาย และเพื่อให้เกิดความเข้าใจกฎหมายแต่ละยุคแต่ละสมัยให้ดีขึ้น การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายจะทำให้เข้าใจกฎหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ดีขึ้น -รศ.สุเมธ จานประดับ-