หน่วยการเรียนที่ 1 หลักการเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิด
1. ความเป็นมาและนิยามของระบบมาตรฐานเปิด การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวางและมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้เกิดความหลากหลายทั้งด้านมาตรฐานและความนิยมในการใช้งานทั้งหมดนี้มีการวิวัฒนาการไปตามแนวทางและมาตรฐานของตนเอง ทั้งนี้หากเงื่อนไขการนำไปใช้งานอยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ (License Software) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้นิยมซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source Software ) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีเงื่อนไขการนำไปใช้อีกทางหนึ่งในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์นั้น ถ้าต้องการนำมาใช้จะต้องซื้อลิขสิทธิ์ตามเงื่อนไขของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ระบบซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัสนั้นจะมีเงื่อนไขในการนำมาใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ภาพที่ 1.1 Open Standard and Open Source Software ที่มา : https://www.geant.org/News_and_Events
ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา การเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิด รหัสวิชา 2204-2007 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2557 จะเน้นการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มของมาตรฐานเปิด (Open Standard) และมาตรฐานซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source Software) ที่สามารถเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโปรแกรมได้อย่างเป็นขั้นตอน โดยให้คำจำกัดความเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานเปิด (Open Standard) มีลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือผูกขาดโดยผู้หนึ่งผู้ใดและไม่ห้ามการเข้ามามีส่วนร่วม มีกระบวนการสร้างมาตรฐานที่เปิดเผยโปร่งใส ทำงานได้อย่างอิสระบนระบบปฏิบัติการหลายระบบ เป็นมาตรฐานที่เปิดเผย บุคคลทั่วไปสามารถศึกษาได้ นำมาพัฒนาต่อได้โดยไม่เสียค่าอนุญาตหรือเสียค่าใช้จ่ายที่น้อยมาก เป็นมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ให้การรับรองโดยไม่จำเป็นต้องเป็นมาตรฐานของรัฐ เป็น Proprietary Standard หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในเชิงการค้าแต่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าสามารถใช้เป็นมาตรฐานเปิดได้ โดยผู้เรียนสามารถศึกษาองค์ประกอบของโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (PHP) ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Algorithm) กระบวนการเขียน โปรแกรมคำสั่งควบคุม การทำงานของโปรแกรม การเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้ในบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย โดยภาษา PHP เป็นภาษาที่ทำงานบนระบบ Web Server ที่สามารถทำงานและประมวลผลข้อมูลบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลายเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, Linux, Unix โดยลักษณะการแสดงผล
ภาพที่ 1.2 Rasmus Lerdorf ที่มา : https://twitter.com/rasmus ข้อมูลจะแสดงผ่าน Web Browser ซึ่งสามารถแสดงผลได้บนระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น Desktop, Tablet, Smart Phone ที่ทำงานทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เป็นต้น 2. ประวัติภาษา PHP PHP (Personal Home Page Tools) ถูกพัฒนาโดย Rasmus Lerdorf ได้สร้างภาษา PHP ขึ้นมาในปี ค.ศ.1994 เนื่องมาจาก Rasmus Lerdorf มีความต้องการพัฒนาโปรแกรมสำหรับจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ที่มาเยี่ยมชมเว็บไชต์ ปัจจุบันกลุ่มผู้พัฒนาได้กำหนดให้ PHP ย่อมาจาก Hypertext Preprocessor ซึ่งเป็นคำย่อในลักษณะ recursive เพราะชื่อเต็มของ PHP ก็ยังคงมีตัวอักษรย่อ PHP ภาพที่ 1.2 Rasmus Lerdorf ที่มา : https://twitter.com/rasmus
พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่จัดอยู่ในกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์การทำงานอยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส (Open Source) ภาษา PHP ใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์แบบ Dynamic Webและแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งภาษามาจากภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียนเว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้รูปแบบเว็บเพจ มีความสามารถเพิ่มขึ้นในด้านของการเขียนโปรแกรม ในการสร้างเว็บจะใช้ Script อยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ Server Side Script เป็นลักษณะของภาษาที่ทำงานบนเครื่อง Server เช่น CGI, ASP, PHP Client Side Script เป็นลักษณะของภาษาที่ทำงานบนเครื่องผู้ใช้ เช่น JavaScript, VBScript ความสามารถของ PHP นั้น สามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับ Dynamic Web ได้ทุกรูปแบบ เหมือนกับ CGI หรือ ASP ไม่ว่าจะเป็นการดูแลจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บเพจ การรับ - ส่ง Cookies เป็นต้น 3. การทำงานของเว็บเพจแบบ Dynamic Web ที่พัฒนาด้วยภาษา PHP ในปัจจุบัน Web Site ต่างๆ ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่น เรื่องของความสวยงามและแปลกใหม่ การบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย เป็นสื่อกลางในการติดต่อ และสิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมากซึ่ง ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบการขายของก็คือ E-commerce ซึ่งเจ้าของสินค้าต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าจริงและไม่จำเป็นต้องจ้างคนขายของอีกต่อไป ร้านค้าและตัวสินค้านั้น จะไปปรากฏอยู่บน Web Site แทน และการซื้อขายก็เกิดขึ้นบนโลกของ Internet
ภาพที่ 1.3 PHP Client-Server Side Script ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 Client WebBrows er Web Server PHP Preprocess or Databa se Server ภาพที่ 1.3 PHP Client-Server Side Script ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่มีความสามารถสูง สำหรับการพัฒนา Web Site ความสามารถที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของ PHP คือ database enabled web page ทำให้เอกสารของ HTML สามารถที่จะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล (Database) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงทำให้ความต้องการในเรื่องการจัดรายการสินค้าและรับรายการสั่งของตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นไปได้อย่างดี หลายเหตุผลที่ PHP ได้รับความนิยมก็คือ 1) เป็นของฟรี Open Source ทำงานได้บนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น ระบบ ระบบปฏิบัติการ Linux โปรแกรมเว็บ Apache โปรแกรมฐานข้อมูล MySQL และ Server Site Script อย่าง PHP 2)มีความเร็ว ภาษา PHP นำเอาข้อดีของทั้ง C, Perl และ Java มาผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้ทำงานได้รวดเร็วกว่า CGI หรือแม้แต่ ASP และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อใช้กับ Apache Web Server 3) Open Source การพัฒนาของโปรแกรมไม่ได้ยึดติดกับบุคคลหรือกลุ่มคนเล็กๆ แต่เปิดโอกาสให้โปรแกรมเมอร์ทั่วไปได้เข้ามาช่วยกันพัฒนา ทำให้มีคนใช้งานจำนวนมาก และพัฒนาได้เร็ว 4) Crossable Platform ใช้ได้กับหลายๆระบบปฏิบัติการไม่ว่าบน Windows, Unix, Linux หรืออื่นๆ โดย แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ดคำสั่ง 5) เรียนรู้ง่าย เนื่องจาก PHP ฝังเข้าไปใน HTML และใช้โครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาง่ายๆ 6) ใช้ร่วมกับ XML ได้ทันที 7) ใช้ร่วมกับ Database ได้หลากหลาย
ใช้กับโครงสร้างข้อมูลได้ทั้งแบบ Scalar, Array, Associative array พัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ OOP เชิงวัตถุได้ ซึ่งได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน 4. เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP ที่อยู่ในกลุ่มของ Dynamic Web ที่ทำงานแบบ Client – Server ที่จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมช่วยสำหรับพัฒนาโปรแกรมด้วยกันหลายตัว เช่น Apache Web Server PHP Script Language MySQL Database phpMyAdmin ซึ่งในการพัฒนาโปรแกรมจะต้องติดตั้งโปรแกรมทั้งหมดในการจำลองให้เครื่อง Client เป็นเครื่อง Server เพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP แต่ด้วยปัจจุบันมีโปรแกรมที่ได้รวบรวมโปรแกรมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไว้ในการติดตั้งเพียงครั้งเดียว เช่น Appserv, Xampp, WAMPSERVER ซึ่งในที่นี้จะแนะนำการติดตั้งโปรแกรมด้วย WAMPSERVER เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป การติดตั้งโปรแกรม WAMPSERVER สามารถ Download โปรแกรมได้ที่เว็บไซต์http://www.wampserver.com ในที่เลือกการติดตั้งแบบ WAMPSERVER (64 Bit & PHP5.5)
ภาพที่ 1.4 เว็บไซต์ WampServer ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
เมื่อทำการดาวน์โหลดโปรแกรม WampServer มาติดตั้งที่คอมพิวเตอร์แล้วทำการ ดับเบิลคลิก ที่ไฟล์โปรแกรมเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม WampServe เข้าสู่หน้าต่าง WampServer 2 โดยจะแสดงรายละเอียดโปรแกรมที่จะติดตั้ง ภาพที่ 1.5หน้าต่าง Welcome to the WampServer 2 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
แสดงรายละเอียดลิขสิทธิ์โปรแกรม เลือก I accept the agreement ยืนยันยอมรับเงื่อนไขการใช้งานโปรแกรม ภาพที่ 1.6 รายละเอียดลิขสิทธิ์โปรแกรม WampServer ที่มา : อิทธิพล สุขเติม , 2560 เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการติดตั้งที่ C:\wamp
เลือกการสร้าง icon แสดงที่ Desktop และ Quick Launch 1.เลือก ตำแหน่ง 2 . คลิก ภาพที่ 1.7 กำหนดตำแหน่งการติดตั้งโปรแกรม WampServer ที่มา : อิทธิพล สุขเติม , 2560 เลือกการสร้าง icon แสดงที่ Desktop และ Quick Launch
ภาพที่ 1.8 เลือกตำแหน่ง icon แสดงการทำงาน ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ยืนยันการติดตั้งโปรแกรม WampServer2 แสดงตำแหน่งที่ติดตั้งและการสร้าง icon คลิก install เพื่อติดตั้งโปรแกรม
ภาพที่ 1.9 ยืนยันการติดตั้งโปรแกรม WampServer2 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.10 กราฟแสดงสถานะการติดตั้งโปรแกรม WampServer ที่มา : อิทธิพล สุขเติม , 2560 เมื่อแถบสถานะการติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์ Windows Firewall แสดง PopUp ให้ยืนยันสถานะการทำงานของ Apache WebServer เลือก Public network และคลิก Allow access
กำหนดชื่อ SMTP Server ให้กำหนดชื่อ localhost และใส่อีเมล์แอดเดรส 1. เลือก 2. คลิก ภาพที่ 1.11 Windows Firewall แสดง PopUp ให้ยืนยันสถานะการทำงาน ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 กำหนดชื่อ SMTP Server ให้กำหนดชื่อ localhost และใส่อีเมล์แอดเดรส
ภาพที่ 1.12 ตำแหน่ง PHP mail Parameters ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.13 การติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์สามารถเลือก เริ่มต้นการทำงานโปรแกรมที่
ภาพที่ 1.14 icon WampServer เพื่อเริ่มต้นการทำงาน ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.15 Start All Services เพื่อเริ่มต้นการทำงาน WampServer ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ทดสอบโปรแกรมโดยผ่าน Web Browser เช่น โปรแกรม Internet Explorer, Chrome โดยพิมพ์ในช่อง
ภาพที่ 1.16 หน้าต่าง WampServer เมื่อติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.17 ตำแหน่ง Root Document ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ตำแหน่งงาน Root Document สามารถนำไฟล์โปรแกรมที่พัฒนาไปวางเพื่อทดสอบได้ที่ C:\warp\www\ ภาพที่ 1.17 ตำแหน่ง Root Document ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
หรือเลือกในเชื่อมต่อผ่าน Link ในผ่านหน้าโปรแกรม WarpServer การเข้าใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล MySQL ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลโดยผ่าน เครื่องมือ PHPMyAdmin โดยพิมพ์ผ่าน Web Browser ในช่อง URL หรือเลือกในเชื่อมต่อผ่าน Link ในผ่านหน้าโปรแกรม WarpServer ภาพที่ 1.18 การเชื่อมต่อโปรแกรม PHPMyAdmin ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.19 โปรแกรม PHPMyAdmin ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
5. การเชื่อมต่อ Editor Tool (Dreamwaver CS6) เข้ากับเว็บเซิร์ฟเวอร์ การพัฒนาโปรแกรมแบบ Dynamic Web ด้วยภาษา PHP นั้นจำเป็นต้องอาศัย Text Editor ช่วยในการพัฒนาโปรแกรม เช่น Notepad, Edit Plus, Net Beans, Adobe Dreamweaver ในที่นี้ได้เลือกใช้โปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพราะเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับพัฒนาเว็บเพจโดยเฉพาะทำให้ง่ายในการพัฒนาเว็บเพจได้ต่อเนื่องสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การเริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมด้วย Adobe Dreamweaver CS6 นั้นมีความจำเป็นต้องตั้งค่าสำหรับเริ่มต้นการใช้งาน เช่น การกำหนดค่าในส่วนของ Page Properties และการกำหนดค่าในส่วนการ Manage Site เพื่อเชื่อมต่อโปรแกรม Dreamweaver CS6 เข้ากับเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้ติดตั้งไว้โดยผ่านโปรแกรม Wamp Server 2.0 การตั้งค่า Page Properties เพื่อกำหนดค่าเริ่มต้น โดยเข้าสู่โปรแกรม Dreamweaver CS6 ด้วยการคลิกที่ Icon เมื่อเข้าสู่โปรแกรมเลือก Create New > PHP
ภาพที่ 1.20 Create New ภาษา PHP ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.21 ส่วนประกอบของโปรแกรม Dreamweaver เมื่อเลือกการพัฒนางานด้วยโปรแกรมภาษา PHP ในส่วนของเพจจะมีส่วน Tool Bar ในการเลือกพัฒนาด้วยกัน 3 ส่วนคือ Design, Split, Code ในที่นี้ให้เลือกใช้งานในส่วนของ Code เพราะจะใช้โปรแกรม Dreamweaver เป็นเพียง Text Editor เท่านั้น ภาพที่ 1.21 ส่วนประกอบของโปรแกรม Dreamweaver ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.22 การเข้าสู่หน้า Page Properties ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.23 Page Properties ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 การกำหนดค่าเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาโปรแกรมคือการตั้งค่าภาษาในส่วนของ Title/Encoding ให้เลือกการกำหนดค่าภาษาเป็นแบบ Unicode (UTF-8)
ภาพที่ 1.24 Title/Encoding Page Properties ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 การกำหนดค่าการเชื่อมต่อโปรแกรม Dreamweaver กับเว็บเซิฟเวอร์โดยการตั้งค่าผ่าน Manage Sites โดยเข้าที่เมนูบาร์ Site > Manage Sites คลิก
ภาพที่ 1.25 การเข้าสู่ Manage Sites ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เมื่อต้องการสร้าง Sites งานใหม่ให้เลือก New Site เพื่อทำการเชื่อมต่อโปรแกรมกับ Root Document ที่ใช้ในการเก็บไฟล์งาน
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ภาพที่ 1.26 Manage Sites ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
การตั้งค่า Site Setup for Computer การเชื่อมต่อโปรแกรม Dreamwarever CS6 เข้ากับเว็บเซิฟเวอร์และระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบ มีรายละเอียดด้วยกัน 4 ส่วน คือ 1) Site คือ การกำหนดในส่วนของชื่อ SiteName และการกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์งานในที่นี้ให้เลือก Browse For Forder ไปที่ C:\wamp\www\ชื่อโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บงาน 2) Servers คือ การกำหนดค่าให้เว็บไชต์เชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์และฐานข้อมูล ซึ่งในการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP มีความจำเป็นที่ต้องกำหนดค่าในส่วนนี้ 3) Version Control คือ ส่วนที่ใช้ในการตั้งค่าเว็บไชต์ที่มีความซับซ้อนมาก ในกรณีที่มีการสร้างเว็บไชต์ที่มีโปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมร่วมกันหลายๆคนเพื่อป้องกันการเขียนโปรแกรมทับกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายในส่วนนั้น 4) Advanced Settings เป็นส่วนที่ใช้กำหนดค่าให้ไซต์แบบละเอียด เช่น การกำหนดค่า Spry การเก็บฟอนต์ต่างๆ การจัดเก็บเทมเพลตในรูปแบบต่างๆ
ภาพที่ 1.27 Sites Setup for computer ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 การกำหนดค่าในส่วนของ Servers เพื่อตั้งค่าการเชื่อมต่อกับ WebServer, PHPScript, MySQL
ภาพที่ 1.28 Servers Configuration ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.29 Servers Basic Configuration ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.30 Servers Advanced Configuration ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.31 Servers Testing Configuration ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เราสามารถแก้ไข หรือจัดการกับไซต์ที่สร้างด้วย คำสั่งอื่นๆอีกดังรายการที่แสดงต่อไปนี้
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ภาพที่ 1.32 Manage Sites ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการ Manage Sites จะแสดงหน้าต่างในส่วนของ Bindings ที่จะแสดงในส่วนประกอบของ Files ระบุตำแหน่งของ Local Files ตำแหน่งที่จัดเก็บไฟล์งาน
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ภาพที่ 1.33 Files Bindings ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 1.34 Create New PHP ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เปิดโปรแกรม Dreamweaver CS6 ขึ้นมาเลือกหัวข้อ Create New คลิกเลือก PHP ภาพที่ 1.34 Create New PHP ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 Dreamweaver CS6 จะเปิดหน้าจอในส่วนของ Editor ขึ้นมาซึ่งจะเข้ามาที่ส่วน Design ให้เลือกการพัฒนาโปรแกรมไปในส่วน Code
ภาพที่ 1.35 Dreamweaver Tool Bar ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ตรวจสอบมาตรฐานภาษา Encoding ในส่วนของ Charset ให้เป็น UTF-8 ที่ถอดรหัสภาษาไทยแบบ Unicode เพื่อการแสดงผลภาษาไทยที่ถูกต้อง
ภาพที่ 1.36 กำหนดมาตรฐานภาษา Charset UTF-8 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 พิมพ์สคริปต์ในภาษา PHP เพื่อสั่งแสดงผลข้อความตามตัวอย่าง ดังนี้ <?PHP echo"ยินดีต้อนรับสู่การเริ่มต้นเรียนรู้ภาษา PHP"; ?>
ภาพที่ 1.37 ผลลัพธ์การเขียนโปรแกรมภาษา PHP เบื้องต้น ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 บันทึกไฟล์โดยการ คลิก เมนู File>Save As
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ภาพที่ 1.38 บันทึกข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เลือกตำแหน่งเพื่อทำการบันทึกไฟล์ ที่โฟล์เดอร์ c:\wamp\www\project
ภาพที่ 1.39 เลือกตำแหน่งไฟล์ที่จะบันทึก ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ทดสอบการทำงานของสคริปต์ภาษา PHP โปรแกรม Dreamwarever เองมีส่วนช่วยให้เราทดสอบสคริปต์ที่พิมพ์เสร็จแล้วได้อย่างสะดวกโดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ คลิกที่ ไอคอน แล้ว เลือก Preview in IExplore
ภาพที่ 1.40 Preview in IExplore ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 โปรแกรม WebBrowser จะเรียกไฟล์ hello.php ขึ้นมาทำงานทันที ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานบน Server ซึ่งได้ทำการจำลองไว้ที่เครื่องโดยใช้โปรแกรม WampServer 2.0 ช่วยในการติดตั้ง
ภาพที่ 1.41 หน้าต่างโปรแกรม hello.php ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
7. บทสรุปท้ายหน่วยเรียน การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มของมาตรฐานเปิด (Open Standard) และ มาตรฐานเปิดเผยรหัส (Open Source) ที่สามารถเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโปรแกรมได้อย่างเป็นขั้นตอนและระบบ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้และศึกษาองค์ประกอบของโปรแกรมมาตรฐานเปิด ภาษาคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Algorithm) กระบวนการเขียน โปรแกรมคำสั่งควบคุม การทำงานของโปรแกรม การเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้บนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย โดยภาษา PHP เป็นภาษาที่ทำงานบนระบบ Web Server ที่สามารถทำงานและประมวลผลข้อมูลบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, Linux, Unix โดยลักษณะการแสดงผลข้อมูลจะแสดงผ่าน Web Browser ซึ่งสามารถแสดงผลได้บนระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น Desktop, Tablet, Smart Phone ที่ทำงานทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เป็นต้น