ผู้สอนวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร(bus226) ว่าที่ร.ต.เศรษฐ์ อินสกุล ปริญญาตรี(นบ.)สาขานิติศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย(นบ.ท. )สมัยที่53 ปริญญาโท(นม.) สาขากฎหมายธุรกิจ (เกียรตินิยมเรียนดี) 087-0452111-082-9990744 Ses_insakul@hotmail.com อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และ ทนายความ
ความหมายของกฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ซึ่งมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ
ระบบกฎหมาย ๑.ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (The Civil Law System) ๒.ระบบกฎหมายจารีตประเพณี(The Common Law System)
ข้อแตกต่างสำคัญของกฎหมายทั้ง ๒ ระบบ (๑) civil law จะเป็นแบบลายลักษณ์อักษรแต่ common law คำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย (๒) civil law รัฐสภาเป็นที่มาของกฎหมายcommon law คำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย (๓) civil law ศาลต้องตีความตามความหมายที่แท้จริงของตัวบท common law ศาลจะพิพากษาคดีตามคำพิพากษาฉบับก่อนๆ (๔) civil law ถือคำพิพากษาของศาลเป็นตัวอย่างในการใช้กฎหมายcommon law ถือคำพิพากษาของศาลคือกฎหมาย (๕) civil law แยกประเภทกฎหมายเป็นมหาชนและเอกชน common law ไม่มีการแบ่งแยก
ประเภทของกฎหมาย ประเภทของกฎหมายแบ่งเป็น ๓ ประเภท (๑) กฎหมายเอกชน (๑) กฎหมายเอกชน (๒) กฎหมายมหาชน (๓) กฎหมายระหว่างประเทศ
ความหมาย ประเภท และความสามารถของบุคคล 1. บุคคล “บุคคล” หมายถึง ผู้ที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคคลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 บุคคลธรรมดา 1.2 นิติบุคคล
1.1 บุคคลธรรมดา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย นอกจากนี้ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากภายหลังเกิดมารอดอยู่
1) ความสามารถของบุคคล ความสามารถของบุคคล ตามความหมาย มี 2 ความหมาย คือ ความสามารถในการมีสิทธิต่างๆ เช่น การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นต้น ความสามารถในการใช้สิทธิต่างๆ เช่น การทำนิติกรรม ทำสัญญา ทำการสมรส ทำพินัยกรรม เป็นต้น
(1) ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ หมายถึง ทารก เด็ก วัยรุ่นที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามป.พ.พ. มาตรา 19 *ผู้เยาว์ย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ เมื่อทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย*
ผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ ผู้ใช้อำนาจปกครอง ตามปกติก็คือ บิดา มารดา
ผู้เยาว์อาจทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมในกรณีต่อไปนี้ ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ตนฝ่ายเดียวได้ เช่น รับทรัพย์สินที่มีผู้อื่นยกให้โดยไม่มีพันธะผูกพันใดๆ ผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่ต้องทำเองเฉพาะตัวได้ เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตรของตนเอง ผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่สมควรแกเฐานานุรูป และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควรได้ เช่น ซื้ออาหาร ซื้อสมุด หนังสือ ปากกา เป็นต้น เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำกิจการค้า ผู้เยาว์ก็มีสิทธิทำนิติกรรมในขอบเขตการค้าของตนกับบุคคลทั่วไปได้
(2) คนไร้ความสามารถ “คนไร้ความสามารถ” คือ คนวิกลจริตที่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว โดยคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการได้ขอร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าว
(3) คนเสมือนไร้ความสามารถ “คนเสมือนไร้ความสามารถ” คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้เพราะมีกายพิการ เช่น เป็นอัมพาต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ แต่ไม่ถึงวิกลจริต
2) การสิ้นสภาพบุคคล บุคคลธรรมดาย่อมสิ้นสภาพบุคคลเมื่อถึงแก่ความตาย หรือมีคำสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญ การสาบสูญเป็นการสิ้นสภาพบุคคลโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ ๑ บุคคลที่จากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรตลอดระยะเวลา 5 ปี ๒ บุคคลที่ไปทำการรบหรือสงคราม หรือตกอยู่ในเรือเมื่ออับปาง หรือไปตกในฐานะที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตประเภทอื่นใด เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้วนับได้เวลาถึง 2 ปี ยังไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นเป็นตายร้ายดีอย่างไร
1.2 นิติบุคคล นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นเพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ที่กำหนด ในการดำเนินงานของนิติบุคคลจะมีผู้แทนของนิติบุคคลทำการแทน
ตัวอย่างนิติบุคคล เช่น ๑. ทบวงการเมือง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ (กรมในกองทัพไม่เป็นนิติบุคคล) ๒ วัดอาราม ถ้าเป็นมัสยิดหรือวัดของโรมันคาทอลิค ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงจะเป็นเจ้าของที่ดินได้ ๓ ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล การลงโทษทางอาญาของนิติบุคคลทำได้ ๒ ประการคือ ๑ ปรับ ๒ ริบทรัพย์สิน
2. ทรัพย์ “ทรัพย์” หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง ความหมาย และประเภทของทรัพย์ “ทรัพย์” หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง “ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์ ทั้งวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
ประเภทของทรัพย์ ๑ อสังหาริมทรัพย์ ๑.๑ ที่ดิน ๑.๒ ทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร ๑.๓ ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ๑.๔ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ ๑.๑ ๑.๒ ๑.๓
๒.สังหาริมทรัพย์ ๒.๑ ทรัพย์สินอื่นนอกจากสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ๒.๒ สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง และรวมถึงสิทธิในวัตถุที่ไม่มีรูปร่างด้วย เช่นลิขสิทธิ์ สิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า สิทธิในหุ้นส่วนด้วย
๓. ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้ ๓.๑ ทรัพย์แบ่งได้ ได้แก่ ทรัพย์ที่อาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆได้โดยยังคงสภาพเดิมอยู่ เช่น ข้าว กรวด ทราย เป็นต้น ๓.๒ ทรัพย์แบ่งไม่ได้ ได้แก่ - ทรัพย์ที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้โดยสภาพ เช่น ช้าง ม้า บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น -ทรัพย์ที่กฎหมายถือว่าแบ่งไม่ได้ เช่น ห้างหุ้นส่วนบริษัท ส่วนควบของทรัพย์ สิทธิจำนอง
๔. ทรัพย์นอกพาณิชย์ ได้แก่ - ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ เช่น ก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ เป็นต้น - ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ที่ธรณีสงฆ์ ยาเสพติด
3. ส่วนประกอบของทรัพย์ 3.1 ส่วนควบ ส่วนควบ ได้แก่ ส่วนที่ซึ่งว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจจะแยกจากกันได้
3.2 อุปกรณ์ อุปกรณ์ ได้แก่ สังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ประธานเป็นอาจิณ และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานด้วย นำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นในฐานะเป็นเครื่องใช้ ประกอบกับตัวทรัพย์เป็นประธานนั้น
3.2 ดอกผล ดอกผล คือ ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นเองโดยสม่ำเสมอ ตามกฎหมายแบ่งดอกผลออกเป็น 2 ประเภท คือ ดอกผลธรรมดา ดอกผลโดยนิตินัย
ความหมาย และรูปแบบของนิติกรรม 4.นิติกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”
องค์ประกอบของนิติกรรม ต้องมีการแสดงเจตนา ต้องกระทำโดยสมัครใจ มุ่งให้มีผลผูกพันทางกฎหมาย เป็นการทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย
ปะเภทของนิติกรรม ๑.นิติกรรมฝ่ายเดียว - เช่น การตั้งมูลนิธิ การทำพินัยกรรม การปลดหนี้ การบอกเลิกสัญญา คำมั่น โฆษณาว่าจะให้รางวัล ๒.นิติกรรมหลายฝ่าย - คือมีฝ่ายทำค่ำเสนอและอีกฝ่ายทำคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองตรงกันจึงเกิดเป็นนิติกรรม ๒ ฝ่าย หรือเรียกว่า “สัญญา” - เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาค้ำประกันเป็นต้น
ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม ความสามารถในการทำนิติกรรม ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วัตถุประสงค์ในการทำนิติกรรม ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย พ้นวิสัย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แบบแห่งนิติกรรม การทำเป็นหนังสือ การทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. การแสดงเจตนาบกพร่อง ๔.๑ เจตนาอย่างหนึ่งแต่แสดงออกอีกอย่างหนึ่ง - เจตนาซ่อนเร้น - เจตนาลวง - นิติกรรมอำพราง
๔.๒ การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด - สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม ก. การสำคัญผิดในประเภทของนิติกรรม ข. การสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม ค. การสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม - สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ - สำคัญผิดเพราะกลฉ้อฉล
๔.๓ การแสดงเพราะถูกข่มขู่ - การข่มขู่นั้นจะต้องถึงขนาดที่ทำให้ผู้ถูกขู่กลัวจริงๆ - การข่มขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมก็ดี หรือกลัวเพราะนับถือยำเกรงก็ดี ไม่ถือเป็นการข่มขู่
ผลแห่งความไม่สมบูรณ์ของนิติ โมฆะ หมายถึงนิติกรรมนั้นเสียเปล่าตั้งแต่ต้นไม่มีผลบังคับตามกฎหมายถือเสมือนว่าไม่มีการทำนิติกรรมนั้นๆเลยจะฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้และจะให้สัตยาบันก็ไม่ได้ โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะมีการบอกล้าง โดยการบ้องล้างนั้นจะต้องบอกล้างภายในระยะเวลา ๑ ปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือ ๑๐ ปีนับแต่ทำนิติกรรม หรือมีการให้สัตยาบัน ได้แก่การรับรองนิติกรรมที่ได้ทำไปแล้วโดยบุคคลที่กฎหมายกำหนด นิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์ตลอดไป
ความหมายและสาระสำคัญของสัญญา สัญญา เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงกันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ทำให้เกิดมีความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ มีหน้าที่ต่อกัน
องค์ประกอบของสัญญา ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ต้องมีการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกัน ต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำสัญญา
ประเภทของสัญญา สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์ สัญญาเพื่อบุคคลภายนอก เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
สิทธิในการบอกเลิกสัญญา สิทธิในการบอกเลิกสัญญา มี ๒ กรณี ๑ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ๒ สิทธิการบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
ผลของการบอกเลิกสัญญา ผลของการบอกเลิกสัญญา คือ ๑ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่สถานะเดิม ๒ การเลิกสัญญาไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาค่าเสียหาย