งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
Paul Green คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists: ICJ)

2 ประเทศไทย – พันธกรณีทางกฎหมาย
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil & Political Rights: ICCPR) อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Convention against Torture: CAT) หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยความเป็นอิสระของศาลยุติธรรม (UN Basic Principles on the Independence of the Judiciary) หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของนักกฎหมาย (UN Basic Principles on the Role of Lawyers) แนวทางสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของพนักงานอัยการ (UN Guidelines on the Role of Prosecutors)

3 พันธกรณีทางกฎหมาย– ต่อ…
หลักการคุ้มครองบุคคลในเรื่องการควบคุมตัวและจองจำ (Body of Principles for the Protection of all persons under any form of Detention or Imprisonment: ‘Body of Principles’) ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและข้อแนะนำที่เกี่ยวข้อง (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners: SMR) ประมวลความประพฤติสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforcement Officials)

4 สิทธิความเสมอภาค สิทธิเสมอกันในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ
ความเสมอภาคในการเข้าถึงการพิจารณาของศาล ความเสมอภาคในการได้รับการปฏิบัติจากศาล กฎหมายไม่ควรเลือกปฏิบัติ ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ต้องไม่ปฏิบัติตนในลักษณะเลือกปฏิบัติ จำเลยทุกคนควรได้รับการปฏิบัติโดยเสมอภาค มาตรา 14(1) และ 26, ICCPR

5 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิความเสมอภาค
ในสภาพการณ์เดียวกัน มีการตั้งข้อกล่าวหาต่อจำเลยในลักษณะเดียวกันกับผู้อื่นหรือไม่? สถานะหรือความเป็นมาของจำเลยเป็นเหตุให้ได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากคนอื่นหรือไม่?

6 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
เป็น “หัวใจ” ของการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม หลักการว่าด้วย ‘ความเสมอภาคในการนำเสนอ’ แต่ละฝ่ายย่อมมีโอกาสอย่างเหมาะสมที่จะเสนอเหตุผลของตน สิทธิอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (อย่างเช่น สิทธิการแก้ต่าง) มาตรา14(1), ICCPR

7 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
ทั้งฝ่ายจำเลยและพนักงายอัยการเข้าถึงเอกสารของศาลอย่างเดียวกันหรือไม่? ผู้พิพากษาปฏิบัติต่อทนายจำเลยและพนักงานอัยการในลักษณะเดียวกันหรือไม่? ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสเข้าถึงขั้นตอนปฏิบัติเช่นเดียวกันหรือไม่? ทั้งการยื่นค้าน การขอพักการพิจารณาคดี การเปิดเผยเอกสาร คำขอเกี่ยวกับพยาน ฯลฯ

8 สิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย
การพิจารณาคดีโดยทั่วไปแล้วให้ทำด้วยทางวาจาและเปิดเผย สิทธิของสาธารณชนในสังคมประชาธิปไตย นอกจากการพิจารณาคดีต้องเปิดเผยแล้ว คำตัดสินต้องเปิดเผยด้วยเช่นกัน: ประกอบด้วยเหตุผลอันสมควร เป็นคำตัดสินที่เกิดจากการใช้เวลาพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม ศาลทหาร-ใช้ได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง (ความจำเป็นและสัดส่วนอันเหมาะสม) มาตรา 14(1), ICCPR

9 การพิจารณาอย่างเปิดเผย: องค์ประกอบ
การพิจารณาทางวาจา ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และวันเวลา การพิพากษาอย่างเปิดเผย การเข้าฟังการพิจารณาคดีของสื่อมวลชน ห้องพิจารณาคดีและอุปกรณ์พร้อมเพรียง

10 การพิจารณาอย่างเปิดเผย: ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด
การยกเว้นให้ตีความได้แคบ ๆ เหตุแห่งการยกเว้น: คดีละเมิดทางเพศ การพิจารณาโทษทางวินัย ความสงบเรียบร้อยในห้องพิจารณา ความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย – เช่น ความลับทางทหาร ชีวิตส่วนตัว – เช่น ครอบครัว เด็ก ประโยชน์แห่งความยุติธรรม – เงื่อนไขพิเศษอื่นใด การพิจารณาในทางลับมักถือเป็นการละเมิดสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย

11 หากไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง?
ขอพึ่งหลักการคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน: “บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ ทั้งโดยปัจเจกและโดยเกี่ยวเนื่องกับสิทธิอื่น ๆ ในการเข้ารับฟังการพิจารณาและขั้นตอนการไต่สวนอย่างเปิดเผย ทั้งนี้เพื่อสามารถให้ความเห็นต่อการปฏิบัติตามกฎหมายแห่งชาติและพันธกรณีและกฎบัตรนานาชาติระหว่างประเทศที่มีผลบังคับใช้”

12 การพิพากษาโดยเปิดเผย - ข้อยกเว้น
ข้อยกเว้นแคบกว่าการพิจารณาอย่างเปิดเผย เหตุแห่งการยกเว้น : ประโยชน์ของผู้เยาว์ ข้อพิพาทของคู่สมรส การเป็นผู้ปกครองเด็ก

13 หลักเกณฑ์พิจารณา: การพิจารณาอย่างเปิดเผย
การพิจารณาเป็นไปโดยเปิดเผยหรือไม่? มีการอนุญาตให้มีการสังเกตการณ์การพิจารณาหรือไม่? มีการกีดกันภาคส่วนของสังคมใดจากการพิจารณาหรือไม่? มีการประกาศและให้ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการพิจารณาอย่างเปิดเผยหรือไม่? มีการเปิดเผยผลการตัดสินต่อสาธารณะหรือไม่? คำตัดสินประกอบด้วยเหตุผลอธิบายที่มาหรือไม่? หากมีการปฏิเสธการเข้ารับฟังการพิจารณา มีการให้เหตุผลอันสมควรตามกฎหมายหรือไม่?

14 คณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและมีอำนาจ
มีอำนาจ = มีอำนาจการพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย– ป้องกันการใช้อำนาจโดยพลการ มาตรา 14(1), ICCPR, Principle 5 IOJ Principles

15 หลักเกณฑ์พิจารณา: คณะตุลาการที่มีอำนาจ
กฎหมายให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีหรือไม่? (ศาลมีอำนาจการพิจารณาคดีอย่างถูกต้องหรือไม่?) ศาลได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีที่ท่านเข้าสังเกตการณ์เป็นการเฉพาะหรือไม่?

16 ความเป็นอิสระและความเป็นกลาง
“เราไม่เพียงต้องการเห็นความยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ต้องการเห็นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรด้วย” วัตถุประสงค์ที่ซ้อนกันสองข้อ: ศาลต้องตัดสินโดยอิงกับ “เนื้อหา” ของคดีและเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ปราศจากอคติ ศาลต้องรักษาความเป็นกลาง มาตรา 14(1), ICCPR, IOJ Principles

17 ความเป็นอิสระ – เหตุใดจึงสำคัญ?
เป็นมาตรการเชิงโครงสร้างเพื่อป้องกันการแทรกแซงของฝ่ายบริหารต่อการบริหารงานตุลาการ เป็นไปตามหลักการแยกอำนาจและการคุ้มครองผู้พิพากษาให้ปลอดพ้นจากอิทธิพลอันไม่เหมาะสมของรัฐบาล

18 ความเป็นอิสระขององค์กร
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (เช่น ระยะเวลาการครอบครองตำแหน่ง) การแต่งตั้งผู้พิพากษา การปลด การโยกย้าย และการเลื่อนขั้น กระบวนการด้านวินัย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พิพากษากับพนักงานอัยการ มีทรัพยากรอย่างเพียงพอ

19 ความเป็นกลาง ‘ไม่พึงตัดสินเรื่องที่ตนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง No one should judge his own cause’ ความใจกว้าง ภววิสัย ปราศจากอคติหรือเจตนาร้าย การให้เหตุผลและพยานหลักฐานที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากภยาคติและฉันทาคติ

20 หลักเกณฑ์พิจารณา: ความเป็นอิสระและความเป็นกลาง
ผู้พิพากษาได้รับประโยชน์ส่วนตนจากผลการพิจารณาคดีหรือไม่? ผู้พิพากษามีความสัมพันธ์กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดและอาจมีอิทธิพลต่อผลการตัดสินหรือไม่? ผู้พิพากษามีความเห็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งล่วงหน้าหรือไม่?

21 การสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
การสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิด ภาระพิสูจน์ในการสั่งฟ้อง ‘จนปราศจากข้อสงสัย’ สิทธิเกี่ยวเนื่อง: สิทธิที่จะไม่ให้ปากคำใด ๆ สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้รับสารภาพผิด มาตรา 14(2), ICCPR

22 หลักเกณฑ์พิจารณา: การสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
พนักงานอัยการแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันข้อกล่าวหาต่อจำเลยหรือไม่? พนักงานอัยการเป็นผู้รับ “ภาระพิสูจน์” ตลอดการไต่สวนหรือไม่? มีการผลักภาระพิสูจน์ให้กับทนายจำเลยหรือไม่ และเหมาะสมหรือไม่? ผู้พิพากษาแสดงคำตัดสินที่เกิดจากการพิสูจน์ ‘จนปราศจากข้อสงสัย’ หรือไม่?

23 สิทธิที่จะได้รับแจ้งข้อกล่าวหา
จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกล่าวหา สภาพและเหตุแห่งความผิดที่ถูกกล่าวหา ข้อเท็จจริงของข้อกล่าวหา ทางวาจาและเป็นลายลักษณ์อักษร ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้ มาตรา 14(2)(a), ICCPR

24 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะได้รับแจ้งข้อกล่าวหา
จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อใด? จำเลยได้รับการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่? จำเลยได้รับการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุหรือไม่? จำเลยได้รับการแจ้ง ข้อกล่าวหาทั้งทางวาจาและเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่? มีการให้ความช่วยเหลือจากล่ามหรือไม่?

25 สิทธิที่จะมีเวลาและได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อต่อสู้คดี
เวลาเพียงพอหรือไม่? ข้อเท็จจริง เช่น ซับซ้อน/เรียบง่าย การเข้าถึงพยานหลักฐาน กรอบเวลาตามกฎหมายในประเทศ ความสะดวก? การเข้าถึงแฟ้มเอกสารและข้อมูล ถ้อยแถลงของพยาน การสื่อสารกับจำเลย (ในทางลับ)

26 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะมีเวลาและได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อต่อสู้คดี
ในกรณีที่ทนายจำเลยมาจากการแต่งตั้งของรัฐ มีการจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสมก่อนการพิจารณาจะเริ่มขึ้นหรือไม่? มีการให้เวลาอย่างพอเพียงเพื่อเตรียมการต่อสู้คดี โดยคำนึงถึงความซับซ้อนของคดีหรือไม่? ทนายจำเลยมีโอกาสพบกับจำเลยบ่อยครั้งเพียงใด? ทนายจำเลยสามารถเข้าพบกับจำเลยตามเวลาที่ต้องการหรือไม่? ทนายจำเลยสามารถเข้าถึงซึ่งเอกสารที่จำเป็นเพื่อเตรียมการต่อสู้คดีหรือไม่?

27 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้า
“ความยุติธรรมล่าช้าคือความอยุติธรรม” ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ความซับซ้อน ความร้ายแรงของการกระทำผิด จำนวนของพยานหลักฐาน ประเภทของหลักฐาน กฎหมายในประเทศ (เช่น กรอบเวลาที่กำหนด) ขึ้นอยู่กับว่ามีการกักขังจำเลยหรือไม่ พฤติกรรมของจำเลย (เช่น การให้ความร่วมมือ) พฤติกรรมของหน่วยงานรัฐ (เช่น การชะลอคดีโดยจงใจ)

28 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้า
หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้า การไต่สวนและการอุทธรณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันเหมาะสมจากการพิจารณาเงื่อนไขปัจจัยต่อไปนี้หรือไม่: ความซับซ้อนของคดี? กรอบเวลาที่กำหนดตามกฎหมายในประเทศ? ระยะเวลาที่จำเลยถูกกักขัง? จำเลยแสดงความไม่ร่วมมือหรือไม่? หน่วยงานของรัฐทำให้เกิดความชักช้าโดยจงใจหรือไม่จำเป็นหรือไม่?

29 สิทธิที่จะต่อสู้คดี สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าจำเลย
สิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือโดยผ่านผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบถึงสิทธิในการมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย สิทธิที่จะเลือกทนายความด้วยตนเอง สิทธิที่จะมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งมีการแต่งตั้งให้โดยปราศจากค่าตอบแทนมาตรา 14(3)(d), ICCPR

30 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าจำเลย
สันนิษฐานว่าจำเลยควรอยู่ในระหว่างการไต่สวนด้วย ข้อยกเว้น = การไต่สวนโดยที่จำเลยไม่มาศาล จำเลยมีพฤติกรรมรบกวนกระบวนการพิจารณา การไม่มาปรากฏตัวต่อศาลด้วยเหตุไม่เหมาะสม แต่ต้องมีตัวแทนด้านกฎหมายของจำเลยอยู่ร่วมด้วย

31 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะต่อสู้คดี
จำเลยอยู่ร่วมในระหว่างการไต่สวนหรือไม่? หากจำเลยถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วม ศาลให้เหตุผลอย่างไร? จำเลยได้รับแจ้งซึ่งสิทธิที่จะสามารถเลือกทนายความของตนเองหรือไม่? จำเลยมีตัวแทนด้านกฎหมายของตนหรือไม่? มีข้อกล่าวหาว่าทนายความไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของจำเลยหรือไม่? มีรายงานถึงการคุกคามหรือข่มขู่ต่อทนายความหรือไม่?

32 สิทธิที่จะเรียกและซักถามพยาน
จำเลยต้องสามารถเรียกพยานได้ จำเลยต้องได้รับแจ้งชื่อของพยานที่พนักงานอัยการเรียกเพื่อมาให้การ จำเลยควรอยู่ร่วมระหว่างการให้การของพยาน (เว้นแต่กลัวว่าจะมีการแก้แค้น) โอกาสในการซักค้าน มาตรา 14(3)(e), ICCPR

33 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะเรียกและซักถามพยาน
จำเลยได้รับแจ้งชื่อของพยานที่พนักงานอัยการเรียกเพื่อมาให้การหรือไม่? ฝ่ายจำเลยได้รับแจ้งชื่อพยานล่วงหน้าเพื่อให้สามารถเตรียมการเพื่อต่อสู้คดีอย่างเหมาะสมหรือไม่? จำเลยมีโอกาสที่จะเรียกและซักค้านพยานหรือไม่?

34 สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่าม
เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ควรประกอบด้วยการแปลเอกสารสำคัญทั้งทางวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร การแปลที่เที่ยงตรงและปราศจากค่าใช้จ่าย ทนายจำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งขอความช่วยเหลือต่อศาล มาตรา 14(3)(f), ICCPR

35 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่าม
จำเลยต้องการความช่วยเหลือจากล่ามหรือไม่? หากต้องการ มีการจัดหาล่ามที่ดีให้หรือไม่? มีข้อสงสัยว่าล่ามทำหน้าที่ไม่ดีพอหรือมีอคติหรือไม่? ทนายจำเลยสามารถพูดและเข้าใจภาษาที่ศาลและจำเลยใช้หรือไม่?

36 สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
โปรดดู การสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์และการห้ามมิให้มีการให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง ประเภทการบังคับ: การทรมานทั้งทางร่างกายหรือจิตใจหรือการละเมิดสิทธิอื่น ๆ การกรรโชกหรือข่มขู่บังคับ หากมีการกล่าวหาว่ามีการบังคับ ศาลจะต้องสอบสวน หากมีการพิสูจน์ได้ว่ามีการบังคับ หลักฐานที่ได้ไม่สามารถนำมารับฟังได้ มาตรา 14(3)(g), ICCPR and มาตรา 15, CAT

37 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
จำเลยได้รับแจ้งซึ่งสิทธิที่จะไม่ให้ปากคำใด ๆ หรือไม่? มีข้อกล่าวหาว่าหลักฐานที่ได้เกิดจากการบังคับหรือไม่? หากเกิดจากการบังคับ ศาลได้สอบสวนหรือไม่? หากหลักฐานที่ได้เกิดจากการบังคับ มีการกันหลักฐานดังกล่าวออกไปหรือไม่?

38 มาตราอื่น ๆ การห้ามลงโทษย้อนหลัง มาตรา 15, ICCPR การห้ามลงโทษซ้ำ
สิทธิการอุทธรณ์ มาตรา 14(5), ICCPR

39 หลักเกณฑ์พิจารณา: สิทธิการอุทธรณ์
กฎหมายและขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นอยู่เปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์หรือไม่? อำนาจตัดสินให้มีการพิจารณาคำอุทธรณ์เป็นของผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ? มีการพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในระยะเวลาอันเหมาะสมหรือไม่ (2 ปีขึ้นไปถือว่านานเกินไป)

40 ขอบคุณครับ!


ดาวน์โหลด ppt มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google