งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Review - Techniques of Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Review - Techniques of Environmental Law"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Review - Techniques of Environmental Law
1 Direct or "Command and Control" 2 Self-Regulation 3 Provision of Environmental Information & Education 4 Judicial Review & Citizen Suit 5 Environmental Protection through Property Rights Chapter 5 Provision of Laws

2 1 Direct or "Command and Control"
รัฐเป็นผู้ดูแล หรือ อำนวยการ ในการรักษา เช่น การรักษาความสะอาด การกำจัดของเสีย การออกระเบียบในการควบคุม และมีสภาพบังคับ เช่น พรบ.อุทยานแห่งชาติ ห้ามกระทำการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต พรบ.โรงงานอุตสาหกรรม ในการควบคุมมาตรฐานการปล่อยของเสียจากโรงงาน พรบ.อาหาร, พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค การมีฉลาก และควบคุมส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Chapter 5 Provision of Laws

3 Chapter 5 Provision of Laws
2 Self-Regulation การกำหนดกฎเกณฑ์ ในสภาพแวดล้อมในชุมชน เช่น การรักษาแม่น้ำ ลำคลอง การกำหนดกติกาขึ้นมาใช้ในชุมชน – ตามแนวคิดของสัญญา (ข้อตกลงร่วมกัน – แนวคิด ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ประชาชนย่อมมีอำนาจกระทำการได้) Self-Regulation (การกำหนดกติกาที่ใช้ในชุมชน) & Self-Monitoring (การตรวจสอบดูแล) ปัญหาคือ เมื่อระเบียบของชุมชน ขัดต่อกฎหมายในระดับที่สูงขึ้นไป ทำอย่างไร? ตัวอย่างกติกาในการจัดการป่าชุมชน หลักการใช้บังคับกฎหมาย ระดับกฎหมายสูง-ต่ำกว่า สิทธิชุมชน พหุนิยมทางกฎหมาย legal pluralism ISO กับการกำหนดมาตรฐานการผลิต – เพื่ออะไร? Chapter 5 Provision of Laws

4 การจัดการทรัพยกรของชุมชน Elinor Ostrom – Governing the Commons
ระดับสากล ตัวบทบัญญัติ กฎหมายระหว่างประเทศ การบังคับใช้ เช่น การร้องเรียน การบอยคอต การค้า อย่างไม่เป็นทางการ - การเจรจาต่อรอง ระดับชาติ รัฐธรรมนูญ พรบ.ป่าไม้/อุทยาน การจับ ปรับ ย้ายออกจากพื้นที่ อย่างไม่เป็นทางการ – มติครม. การร่วมมือระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ระดับชุมชน กติกาป่าชุมชน การไล่ออกจากพื้นที่ อย่างไม่เป็นทางการ – การซุบซิบนินทา การไม่คบหาสมาคม Chapter 5 Provision of Laws

5 3 Provision of Environmental Information & Education
การประกาศกฎเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ สุขภาวะ สิ่งแวดล้อม อาหาร/ของใช้ต่างๆ เช่นคลื่นจากโทรศัทพ์มือถือ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค การอบรม รณรงค์และเผยแพร่การแยกขยะ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ต้องการข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และต่อตัวคน Chapter 5 Provision of Laws

6 4 Judicial Review & Citizen Suit
ระวังเรื่องนิติวิธี ของระบบกฎหมาย – การใช้กฎหมายในระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (ที่คำพิพากษาเป็นเพียงการตีความ และการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรตุลาการ) กับระบบกฎหมายแบบ Common Law/ Case Law (ที่คำพิพากษาของศาลถือว่าเป็นที่มาหลักของกฎหมาย) การฟ้องคดี เพื่อสร้างบรรทัดฐาน ในการใช้กฎหมาย ข้อสังเกตสำคัญ – ในระบบกฎหมายไทย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร Chapter 5 Provision of Laws

7 Chapter 5 Provision of Laws
การจัดประเภทของศาลเป็น 3 ศาล (ไม่รวมศาลทหาร) 1 ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชน (รวมถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อม การฟ้องหน่วยงานของรัฐ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม) 2 ศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการดูแล รักษา ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการตามหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนด 3 ศาลยุติธรรม ในการดำเนินคดีอาญา สำหรับผู้ละเมิดกฎหมายที่จัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสำหรับการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง รวมถึงการงดเว้นกระทำการที่ละเมิดสิทธิในสิ่งแวดล้อม Chapter 5 Provision of Laws

8 5 Environmental Protection through Property Rights
การใช้สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สิน มองได้ทั้งสองทาง เจ้าของกรรมสิทธิ์ มีอำนาจจะกระทำอย่างใดๆก็ได้ในทรัพย์สินของตนเอง (ตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของผู้อื่น) ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อจำกัดกรรมสิทธิ์ – เรื่องเดือดร้อนรำคาญ Nuisance Zoning ผังเมือง Individual rights & collective rights Chapter 5 Provision of Laws

9 Chapter 5 Provision of Laws
Anatomy of Law บททั่วไป – ชื่อกฎหมาย เวลาในการประกาศใช้ บทนิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย (เพื่อออกกฎหมายลำดับรองลงไป – ข้อสังเกต ปกติจะเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ แต่หากผู้รักษาการตามกฎหมายเป็น นายกรัฐมนตรี แสดงว่ากฎหมายนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆกระทรวง) ส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ – ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดว่ากฎหมายนั้นต้องการจะทำอะไร เช่น การกำหนดว่ามีคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการบางอย่าง – ที่มาของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ของกรรมการนั้น รวมถึงการกำหนดว่าห้ามทำ/ให้ทำอะไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ส่วนที่เป็นสภาพบังคับ – การกำหนดโทษทางอาญา/แพ่ง/มาตรการทางปกครอง เพื่อให้การละเมิดกฎหมายนั้นมีผลทางกฎหมาย บทเฉพาะกาล – เป็นการกำหนดระยะเปลี่ยนผ่านของกฎหมายว่าจำเป็นต้องสร้างอำนาจเฉพาะกิจ เช่นให้องค์กรเดิมยังมีหน้าที่อยู่ การกำหนดให้มีการออกกฎหมายลำดับรองในการกำหนดขั้นตอนรายละเอียดต่างๆ หรือการกำหนดให้มีบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ในการกำหนดชนิดประเภทสิ่งต่างๆที่กฎหมายคุ้มครอง/ควบคุม (กฎหมายบางฉบับอาจไม่มีระยะเปลี่ยนผ่านก็ได้) กฎหมายในรูปแบบของพระราชบัญญัติ มักจะประกอบด้วยโครงสร้างเช่นนี้ Chapter 5 Provision of Laws

10 กฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม
แหล่งพลังงาน จากซากฟอสซิล/ Renewable energy การผลิตสินค้า 1 เกษตรกรรม 2 อุตสาหกรรม 3 พาณิชยกรรม กฎหมายเกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ 1 ที่อยู่อาศัย 2 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม 3 ยา รักษาโรค 4 ยานพาหนะ 5 การสื่อสาร การจัดการของเสีย มลพิษ สารพิษ วัตถุอันตราย กฎหมายจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 1 ที่ดิน 2 น้ำ 3 แร่ธาตุ 4 พืชและสัตว์ หน่วยงานกลางที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ส่วนท้องถิ่น ที่ดูแล Chapter 5 Provision of Laws

11 การศึกษาลำดับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. กฎหมายที่ให้การสนับสนุน ในจัดการสิ่งแวดล้อม 2. กฎหมายที่กำหนดเฉพาะเรื่องในการจัดการสิ่งแวดล้อม 1. กฎหมายแม่บท ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม พรบ.ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พรบ.การนิคมอุตสาหกรรม พรบ.สาธารณสุข กฎหมายท้องถิ่น ฯลฯ พรบ.แร่ พรบ.โรงงาน พรบ.วัตถุอันตราย พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กลไกทางกฎหมายในการฟื้นฟูและเยียวยาความเสียหาย

12 ในกฎหมายด้านต่างๆ มีพรบ.อะไรบ้าง?
เวปไซด์เพื่อค้นหากฎหมาย กฎหมายจำแนกตามประเภทในการจัดการ กฎหมายโดยรวมที่ให้อำนาจดูแลสิ่งแวดล้อม แหล่งข้อมูลจาก เวปไซด์จาก public-law.net (ดูห้องสมุดกฎหมาย > กฎหมายมหาชนทางสิ่งแวดล้อม) Chapter 5 Provision of Laws

13 Chapter 5 Provision of Laws
การบ้าน – ให้นักศึกษา ไปค้นหากฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มา 1 ฉบับ อธิบายว่ากฎหมายฉบับนั้น มีการกำหนดโครงสร้างและการบังคับใช้อย่างไร ความยาว 1 หน้ากระดาษ A 4 Chapter 5 Provision of Laws

14 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
แนวคิดในการจัดการ บทบัญญัติของกฎหมาย โครงสร้างของกฎหมายและความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ดูแล การบังคับใช้

15 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ - แนวคิดในการจัดการ
ทรัพยากรเป็นของใคร Private Property ทรัพย์สินของเอกชน – แดนกรรมสิทธิ์ Public Domain: ของรัฐ/ของประชาชน/ของชุมชน State Property, Common Property

16 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ - บทบัญญัติของกฎหมาย
การจัดการป่า การจัดการแร่และปิโตรเลียม (การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ) การจัดการน้ำ การจัดการพืชและสัตว์ (ความหลากหลายทางชีวภาพ)

17 โครงสร้างของกฎหมายและความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ดูแล
หน่วยงานและองค์กร ราชการ – กระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน คน เงิน ของ แผน นโยบายแห่งชาติ – สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่นคงแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี SDGs กำลังคน – กพ. (ข้าราชการพลเรือน) กฎหมายระเบียบข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เงิน – สำนักงบประมาณ พรบ.งบประมาณแผ่นดิน ของ – กฎหมายการจัดการซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

18 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ - การบังคับใช้
สภาพบังคับคืออะไร มาตรการทางแพ่ง มาตรการทางอาญา มาตรการทางปกครอง ระบบการควบคุมตรวจสอบ ความเชื่อมโยงกับพันธกรณีระหว่างประเทศ

19 พื้นที่ป่า กฎหมายป่าไม้ 4 ฉบับ พรบ.ป่าไม้ 2484 – พื้นที่ “ป่าไม้”
พรบ.ป่าสงวน 2507 – ป่าสงวนแห่งชาติ พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2504 – อุทยานแห่งชาติ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 – เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

20 การพิจารณา นิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย
พื้นที่ป่าในกฎหมายนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดอย่างไรต่อพื้นที่ป่า (command & control) สภาพบังคับ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า สภาพบังคับทางปกครอง บทกำหนดโทษทางอาญา การเรียกค่าเสียหาย (PPP – หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย)

21 พื้นที่คุ้มครอง โบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ 2551

22 Chapter 6 International Environmental Law
พื้นที่ลุ่มน้ำ การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำจำแนกตามมติคณะรัฐมนตรี แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้นย่อย คือ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ ในปี พ.ศ สำหรับลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ชี มูล และลุ่มน้ำภาคใต้ ปี พ.ศ สำหรับลุ่มน้ำภาคตะวันออก และปี พ.ศ สำหรับลุ่มน้ำตะวันตก ภาคกลาง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนอื่นๆ (ลุ่มน้ำชายแดน) พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1B, เป็นพื้นที่ที่สภาพป่าส่วนใหญ่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน พ.ศ.2525 Chapter 6 International Environmental Law

23 Chapter 6 International Environmental Law
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ที่มีค่าดัชนีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตามที่การศึกษาเพื่อจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำของแต่ละลุ่มน้ำได้กำหนดไว้ พื้นที่ดังกล่าวเหมาะต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองจากลุ่มน้ำชั้นที่ 1 สามารถนำพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ที่สำคัญอย่างอื่นได้ เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นต้น พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งการทำไม้ เหมืองแร่ และการปลูกพืชกสิกรรมประเภท ไม้ยืนต้น Chapter 6 International Environmental Law

24 Chapter 6 International Environmental Law
พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4 โดยสภาพป่าของลุ่มน้ำชั้นนี้ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นที่ใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการพืชไร่เป็นส่วนใหญ่  พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5 พื้นที่นี้โดยทั่วไปเป็นที่ราบหรือที่ลุ่มหรือเนินลาดเอียงเล็กน้อย และส่วนใหญ่ป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาและ กิจการอื่นไปแล้ว  Chapter 6 International Environmental Law

25 มาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1A, มติคณะรัฐมนตรีกำหนดห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบอื่นอย่างเด็ดขาดทุกกรณี ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, ก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคงในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 จำนวน 3 เส้นทาง โดยยกเว้นไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2519 เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ต่อไปจะไม่อนุมัติให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A, อีกไม่ว่ากรณีใด พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1B, มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ในกรณีที่ต้องมีการก่อสร้างถนนผ่าน หรือการทำเหมืองแร่ หน่วยงานรับผิดชอบจะต้องควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน และกรณีส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่ต้องใช้ที่ดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องจัดทำรายงานการเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป Chapter 6 International Environmental Law

26 มาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ (ต่อ)
พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 2 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ในกิจกรรมป่าไม้ เหมืองแร่ แต่ต้องควบคุมวิธีการปฏิบัติในการใช้ที่ดินอย่างเข้มงวดกวดขัน และการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางด้านการเกษตรกรรม ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ในกิจกรรมป่าไม้ เหมืองแร่ กสิกรรม หรือกิจการอื่น ๆ แต่ต้องมีการควบคุมวิธีการปฏิบัติอย่างเข้มงวดให้เป็นไปตามหลักอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 4 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ทุกกิจกรรม แต่หากใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ต้องเป็นบริเวณที่มีความลาดชันไม่เกิน 28 เปอร์เซ็นต์ และต้องมีการวางแผนใช้ที่ดินตามมาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 5 มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้พื้นที่ได้ทุกกิจกรรม Chapter 6 International Environmental Law

27 Chapter 6 International Environmental Law
25 ลุ่มน้ำ ของไทย Chapter 6 International Environmental Law

28 ตัวอย่าง ลุ่มน้ำปิง

29 ภาพโครงสร้างของกิจกรรมของลุ่มน้ำ

30 Chapter 6 International Environmental Law
การจัดการลุ่มน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ ระบบการจัดการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ  ระบบข้อมูลกฎหมายในการบริหารจัดการน้ำ เปรียบเทียบ ร่างพรบ.น้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) รวมรายชื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ ข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ Chapter 6 International Environmental Law

31 กฎหมายการจัดการน้ำ การจัดการพื้นที่ต้นน้ำ (ซ้อนอยู่กับพื้นที่ป่า)
การจัดการน้ำท่า ประมวลแพ่ง – สาธารณสมบัติที่พลเมืองใช้ร่วมกัน (กรมเจ้าท่าเป็นผู้ดูแล – พรบ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 – ตรวจเรือ ตรวจท่า ที่งอกถมที่ รวมถึงที่ในทะเลด้วย) สิทธิในการใช้น้ำ พรบ.รักษาคลอง รศ. 121 (ทางน้ำทางหลวง) การจัดการสัตว์น้ำและการประมง – พรก.ประมง 2558 คลองชลประทาน – พรบ.ชลประทานหลวง น้ำประปา คลองประปา – พรบ.การประปานครหลวง/ส่วนภูมิภาค การจัดการน้ำใต้ดิน – พรบ.น้ำบาดาล

32 การกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรม
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรม และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรม ป่าเสื่อมโทรม หมายความว่า ป่าที่มีสภาพเป็นป่าไม้ร้าง หรือทุ่งหญ้า หรือเป็นป่าที่ไม่มีไม้มีค่าขึ้นอยู่เลย หรือมีไม้มีค่าลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อยและป่านั้นยากที่จะฟื้นคืนดีตามธรรมชาติได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 คือ เป็นป่าไม้ที่มีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นคืนดีได้ตามธรรมชาติ โดยมีไม้ขนาดความโตวัดโดยรอบลำต้นตรงที่สูง 130 เซนติเมตร ตั้งแต่ 50 – 100 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ 8 ต้น หรือมีไม้ขนาดความเกิน 100 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ 2 ต้น ในกรณีที่ป่านั้นอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้นที่ 1A, ชั้นที่ 1B, และชั้นที่ 2 แม้จะมีต้นไม้น้อยเพียงใดก็ตาม ก็มิให้กำหนดเป็นป่าเสื่อมโทรม Chapter 6 International Environmental Law

33 กฎหมายการจัดการพืชและสัตว์
การจัดการภายใต้พื้นที่คุ้มครอง – เขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า – ห้ามทำอันตรายต่อพืชและสัตว์ในเขตคุ้มครอง (ห้ามล่า ห้ามค้า) การกำหนดชนิดพืชและสัตว์คุ้มครอง สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง – ช้าง สัตว์พาหนะ – ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะ มีตั๋วรูปพรรณ (chip) พรบ.รักษาช้างป่า 2464 ลักษณะช้างสำคัญ – ช้างเผือก พรบ.งาช้าง 2558 – แจ้งการครอบครองช้าง ร่างพรบ.ช้างแห่งชาติ ช้างป่าช้างเลี้ยง specie เดียวกัน กม.เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง พรบ. ป้องกันการทารุณและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ 2557

34 กฎหมายเกี่ยวกับพืช พรบ.พันธุ์พืช 2518 – เมล็ดพันธุ์ (ควบคุม รับรอง ขึ้นทะเบียน/ พืชสงวน รับรอง ต้องห้าม อนุรักษ์) กรมวิชาการเกษตร พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช คุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ ขึ้นทะเบียน

35 กฎหมายเพื่อการดำรงชีวิต
ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บ้าน พรบ.ผังเมือง จัดสรรที่ดิน 2543 ควบคุมอาคาร 2522 อาหาร คุ้มครองผู้บริโภค เครื่องสำอาง ควบคุมการจำหน่ายเนื้อสัตว์ 2559 ยา 2510 สาธารณสุข 2535 โรคระบาดสัตว์/ โรคติดต่อ 2558 สุขภาพแห่งชาติ 2550

36 กฎหมายระบบการผลิต เกษตรกรรม ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม โรงแรม สถานบริการ สถานพยาบาล เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2561 การท่าเรือ 2496 มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม พลังงาน – พรบ.ส่งเสริมกิจการพลังงาน 2550 ประกอบกิจการพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2511 พลังงานนิวเคลียรเพื่อสันติ 2559

37 การจัดการของเสีย และวัตถุอันตราย
พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 พรบ.วัตถุอันตราย 2535

38 สิทธิในสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญ 2560 “มาตรา 43 บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ
(1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ (2) จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

39 สิทธิในสิ่งแวดล้อม (3) เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการดำเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชนและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาข้อเสนอแนะนั้นโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (4) จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน สิทธิของบุคคลและชุมชนตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงสิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการดำเนินการดังกล่าวด้วย”

40 สิทธิในสิ่งแวดล้อม สิทธิในการสนับสนุนสิทธิในสิ่งแวดล้อม
การมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร การฟ้องรัฐ ดำเนินคดี (การเป็นผู้ทรงสิทธิ - เป็นผู้เสียหายหรือไม่) การมีส่วนร่วม ในการให้ความเห็น ในการตัดสินใจ ในการดำเนินการ

41 สิทธิในสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญ 2540 สิทธิชุมชน
มาตรา 46 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนรวมในการจัดการ การบํารุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

42 สิทธิในสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญ 2540 สิทธิชุมชน
มาตรา 56 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ว่า บุคคลมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ บุคคลสามารถฟ้องร้องรัฐได้เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและการมีส่วนร่วมดังกล่าว (หายไปจากรัฐธรรมนูญ 2550 ม.67)

43 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
บทนิยาม "สิ่งแวดล้อม หมายความว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น" "คุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายความว่า ดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพ ของประชาชน และความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ”

44 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
บทนิยาม “มลพิษ” หมายความว่า ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกาเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้หมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุราคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกาเนิดมลพิษด้วย”

45 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
บทนิยาม “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทาให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทาให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

46 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
สิทธิและหน้าที่ “มาตรา 6 เพื่อประโยชน์ในการร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ บุคคลอาจมีสิทธิและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) การได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเป็นความลับเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล สิทธิในทรัพย์สิน หรือสิทธิในทางการค้า หรือกิจการของบุคคลใดที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย (2) การได้รับชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษ อันมีสาเหตุมาจากกิจการหรือโครงการใดที่ริเริ่ม สนับสนุน หรือดาเนินการ โดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

47 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
(3) การร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทาผิดต่อเจ้าพนักงานในกรณีที่ได้พบเห็นการกระทาใด ๆ อันเป็นการละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (4) การให้ความร่วมมือ และช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (5) การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการนั้นบัญญัติไว้”

48 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
อำนาจหน้าที่ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมนี้ มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป (มาตรา 32) ในเรื่องต่อไปนี้ได้ - คุณภาพน้ำ ทั้งที่เป็นน้ำท่า น้ำบาดาล และน้ำในทะเล - อากาศ - เสียงและความสั่นสะเทือน - ของเสียอันตราย

49 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
การควบคุมมลพิษดังกล่าว อาจเป็นทั้งการกำหนดมาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด และการกำหนดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้องดำเนินการเพื่อการขจัดมลพิษให้หมดไป รวมถึงการตรวจสอบและควบคุมไม่ให้ค่ามลพิษเกิดกว่ามาตรฐานที่กำหนด

50 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
2. การกำหนดบริหารจัดการกองทุนสิ่งแวดล้อม ที่มาจากเงินหมุนเวียน เงินจากกองทุนน้ำมัน และค่าปรับที่จัดเก็บจากกฎหมายฉบับนี้ และสามารถนำเงินจากกองทุนนี้ไปใช้ในกรณีที่หน่วยงานราชการหรือส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการเพื่อการบำบัดมลพิษ เช่น สร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย ระบบบำบัดอากาศเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ดี กองทุนนี้โดยลักษณะของการบริหารจัดการเป็นเงินสำหรับหมุนเวียน เหมือนการยืมเงินและต้องนำมาคืนกองทุน เพื่อให้เงินในกองทุนยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์ต่อการขอใช้สำหรับรายต่อไปด้วย

51 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
3. การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เมื่อพบว่าพื้นที่ใดเกิดปัญหาในระบบนิเวศตามธรรมชาติถูกทำลาย หรือได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ อาจจะประกาศเป็น เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ (มาตรา 43)

52 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
4. การวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สามารถจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลให้ส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม โดยอาจขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนรองรับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้นได้ (มาตรา 35) ซึ่งอาจรวมถึงราชการส่วนท้องถิ่นด้วย เมื่อมีแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว กฎหมายกำหนดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในท้องที่ที่เป็น เขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือเขตควบคุมมลพิษ มีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับจังหวัดได้ (มาตรา 37)

53 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
5. การทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนหน้าที่ในการกำหนดประเภท และขนาดของโครงการ หรือกิจการของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (มาตรา 46) กรณีที่โครงการ หรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการ หรือกิจการที่ต้องขออนุญาต จากทางราชการ ตามกฎหมายก่อนเริ่มการก่อสร้าง หรือดำเนินการ ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสำนักนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อมก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะนั้น ต้องรอการสั่งอนุญาต จนกว่าผลการพิจารณารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบฯ นั้น จะเสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะดำเนินโครงการได้

54 กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม 2535
6. การควบคุมตรวจสอบ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนี้ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดมลพิษซึ่งมีระบบบำบัดมลพิษหรือของเสียต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทางานของระบบ หรืออุปกรณ์และเครื่องมือดังกล่าวในแต่ละวัน และจัดทาบันทึกรายละเอียดเป็นหลักฐานไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น และจะต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบ หรืออุปกรณ์และเครื่องมือดังกล่าวเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกาเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (มาตรา 80)


ดาวน์โหลด ppt Review - Techniques of Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google