งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Civil Disobedience กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 คำถามตั้งต้น เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายเสมอหรือ? หรือบางครั้งเราอาจไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืน กฎหมายโดยที่มีความชอบธรรมก็ได้? การตอบคำถามดังกล่าวได้มีสิ่งที่ต้องตอบกับตัวเองให้ได้ก่อนว่า “กฎหมายคืออะไร?” จากนั้นจึงเริ่มถามต่อไปว่า “แล้วทำไมเราต้องทำตามกฎหมาย?” เมื่อบางบริบทไม่สอดคล้องกับเหตุที่เราต้องทำตามกฎหมายแล้ว เราจึงไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย การที่เราฝ่าฝืนกฎหมายแล้วมีความชอบธรรม (Legitimacy) นี่แหละคือหัวใจของ Civil Disobedience

3 Trial of Socrates

4 โสกราตีส: ในบทสนทนา “ไครโต”
กฎหมาย คือเหตุผลอัน “ถูกต้อง” ไม่ได้ขึ้นกับเสียงของมหาชน หรือเป็นอัตวิสัย กฎหมายเป็นยิ่งกว่าคำสั่งของบิดามารดา รัฐ-สังคมการเมือง ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ปกครอง แต่เป็นผู้มีบุญคุณกับพลเมือง พลเมืองของรัฐต้องเคารพกฎหมาย ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนั้นก็ตาม พลเมืองจะอ้างว่ากฎหมายของรัฐไม่ดีแล้วไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ เพราะบุคคลได้ยอมรับอำนาจของรัฐอยู่โดย ตลอดก่อนจะมีข้อพิพาทขึ้นแล้ว และการขัดขืนกฎหมาย คือการทำลายสังคมการเมืองลง เราไม่เชื่อและไม่ทำตามกฎหมายได้ เพื่อเป้าหมายที่ถูกต้อง แต่ต้องยอมรับผลของมัน

5 ทำไมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย?
นิติปรัชญาแต่ละสำนักมีแนวทางในการตอบคำถามนี้ไม่เหมือนกัน นักกฎหมายธรรมชาติทำตามกฎหมาย เพราะกฎหมายสัมพันธ์กับศีลธรรม กฎหมายสัมพันธ์กับกฎที่สำคัญ และเป็นสัจจะ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นพระเจ้า ศีลห้า อัลกรุอาน สัญญาประชาคม หรือสิทธิมนุษยชน ฯลฯ นักกฎหมายปฏิฐานทำตามกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นของรัฐซึ่งมาจากมนุษย์ (มนุษยนิยม) และรัฐก็มี เหตุผลของมันเองโดยมีระบบการเมืองคอยกำกับ และเป็น “วิทยาศาสตร์” นักกฎหมายประวัติศาสตร์ทำตามกฎหมาย เพราะกฎหมายนั้นสอดคล้องกับจิตวิญญาณประชาชาติ ซึ่ง เป็นลักษณะจริงแท้ของสังคม และเป็นคุณค่าที่ควรรักษาไว้ มารกซิสต์ทำตามกฎหมายของพรรคคอมมิวนิสต์ เพราะกฎหมายในรัฐที่เป็นคอมมิวนิสต์เป็นส่วนหนึ่งของ ภารกิจสำคัญจะนำไปสู่การสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ขึ้น ฯลฯ

6 การฝ่าฝืนกฎหมายรูปแบบต่างๆ
Crime (อาชญากรรม) การฝ่าฝืนกฎหมาย โดยไม่มีเป้าหมายพิเศษ และมีเจตนาน่าตำหนิ (เจตนาชั่วร้าย) ลักทรัพย์ เพราะอยากได้ทรัพย์, ฆ่าคนเพราะอยากหมั่นไส้ ฯลฯ Political crime/political offence (อาชญากรรมทางการเมือง) การที่บุคคลมีความผิดตามกฎหมาย เพราะเป้าหมายหรือการกระทำที่เป็นปฏิปัก์ทางการเมืองกับผู้มีอำนาจ Concioustes Refusal การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยเหตุผลทางมโนธรรม Civil Disobedience การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย/อารยขัดขืน

7 Civil Disobedience “Civil” + “Disobedience” Dis-obedience = การขัดขืน, ดื้อ, ไม่ยอมทำตาม = ต้องมีความจงใจ Civil : of or relating to the people who live in a country / of or relating to citizen of or relating to the regular business of the people in a city etc : not connect to the military of to a religion polite but not friendly: only as polite as a person needs to be in order to be not rude การขัดขืนกฎหมายของสามัญชนด้วยเหตุผลแบบ “เมืองๆ” ที่สุภาพแต่ไม่ จำเป็นต้องเป็นมิตร

8 “การขัดขืนกฎหมาย” (Disobedience)
การจงใจทำผิดกฎหมาย = ไม่ได้อ้างความไม่รู้, ไม่ได้อ้างว่าไม่มีใครเห็น ประมาณว่า รู้ดีว่าผิดกฎหมาย แต่ก็ยังทำ (ดื้อ) ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ แต่สำหรับ Civil disobedience แล้ว การขัดขืนนั้นต้องมีลักษณเป็น “civil” ด้วย

9 องค์ประกอบของ Civil Disobedience
การจงใจผิดกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม (direct civil disobedience) หรือกระกระทำที่ผิดกฎหมาย หนึ่งซึ่งมิได้มีปัญหาในตัวเอง แต่เพื่อให้เกิดผลกระทบกระกฎหมายและนโยบายของรัฐที่ไม่เป็นธรรม (indirect civil disobedience) การกระทำนั้นต้องทำไปโดยปราศจากความรุนแรง (not to be rude-non violence) การกระทำนั้นต้องกระทออกไปอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะชน (public) การยอมรับผลทางกฎหมายจากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายของตน

10 ความหมายของ Civil Disobedience
จากองค์ประกอบทั้งสี่ เห็นได้ว่าจุดเน่นของการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย คือ การทำผิดกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม โดยเปิดเผย โดยปราศจากความรุนแรง และยอมรับผลของการกระทำนั้น ซึ่งก็คือ การทำผิดกฎหมายโดยยังเคารพระบบกฎหมายอยู่

11 เคารพต่อระบบกฎหมายอย่างไร?
การดื้อแพ่งต่อกฎหมายต้องการขัดเกลาระบบกฎหมาย ไม่ใช่ล้มล้างระบบ หรือการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง แต่เพื่อแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนั้นๆ ไม่เป็นธรรม ไม่ใช่ระบบกฎหมายทั้งหมดไม่ดี ดังนั้น เมื่อเราต้องกระทำความผิดอย่างเปิดเผยด้วยเหตุที่เราเป็นพลเมืองผู้รู้ผิดชอบ เพราะเราอยาก ให้คนอื่นรับรู้ เพื่อกระตุ้นสำนึกแห่งความยุติธรรมของคนในสังคมให้มาเข้าร่วม นอกจากนี้ เราจะใช้ความรุนแรงไม่ได้ เท่ากับว่าเราทำลายความสงบสุขของสังคมเอง เราต้องยอมรับผลของกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่านอกจากกฎหมายที่เป็นธรรมซึ่งควรจะฝ่าฝืนแล้ว กฎหมายอื่นๆ ยังดีอยู่และควรค่าแก่การเคารพ อย่างไรก็ตาม สังคมที่จะใช้การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย ต้องเป็นสังคมที่เกือบจะยุติธรรม (nearly just society)

12 การดื้อแพ่งต่อกฎหมายครั้งต่างๆ

13 การเดินขบวนของคานธี เรื่องกฎหมายภาษีเกลือ

14 Salt march

15

16 อ่างเก็บน้ำห้วยละห้า บ้านโนนตาล กิ่ง อ. นาตาล จ
อ่างเก็บน้ำห้วยละห้า บ้านโนนตาล กิ่ง อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ก่อสร้างโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) รูปแบบโครงการเป็นฝายน้ำล้น เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2520 ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2521 โครงการดังกล่าวทำให้ที่นาของยายไฮและเพื่อนบ้าน 21 ราย จมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำไม่สามารถทำนาได้

17 คำบอกเล่าของยายไฮ “อ่างเก็บน้ำสร้างเสร็จปี 2521 จากนั้นมาชีวิตของฉันและครอบครัวก็จมอยู่ใต้น้ำ เสียที่ทำกินไปเกือบหมด ที่ดินที่เหลืออยู่ก็กลายเป็นที่ตาบอด ไม่มีทางออกทางเข้า ถ้าทำนาคงต้องอุ้มควายเข้าไป เคยไปขอซื้อที่ ติดกันทางเหนือเป็นเงินแปดหมื่นบาทเพื่อเป็นทางเข้าออก เจ้าของที่เขาไม่ยอมขาย แล้วฉันจะทำอย่างไร เคยปลูกข้าวแจกชาวบ้าน กลับต้องไปรับจ้างทำนา จนเล็บหลุดทั้งสองข้าง พ่อฟอง (สามี) ก็ ต้องไปรับจ้าง สารพัดเพื่อหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องลูกๆ บางทีต้องเดินไปขอข้าวที่หมู่บ้านอื่นมากิน เวลาเดินก็ต้องแยก ย้ายกันไปคนละทาง ไม่อย่างนั้นจะได้ข้าวมาไม่พอกินกันทุกคน ลูกๆไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะฉันไม่มีเงิน ส่ง”

18 ร้องเรียนทุกสมัย ‘เปรม’ ยัน ‘ชวน’
รอไม่ไหว ยายไฮขุดสันอ่างเก็บน้ำ! สรยุทธ์เชิญออกทีวี และวันที่ 11 มีนาคม 2545 ผู้ได้รับผลกระทบ จากอ่างเก็บน้ำห้วยละห้าทั้งสามครอบครัวได้เข้าชุมนุมสร้างเพิงพักที่บริเวณสันอ่างเก็บน้ำห้วยละห้า และ ยื่นข้อเสนอว่า “จะระบายน้ำเพื่อเอาที่นาคืน” ทำลายทรัพย์สินของทางราชการหรือไม่ บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นหรือไม่ จะจับดีไหม?

19 The Breaking Machine Movement in England (c.18)
Machine-breaking was criminalised by the Parliament of the United Kingdom as early as 1721, the penalty being penal transportation, but as a result of continued opposition to mechanisation the Frame Breaking Act 1812 made the death penalty available: see "criminal damage in English law"

20 ทำไมจึงควรดื้อแพ่งต่อกฎหมาย?
หากคิดตามแบบ โรนัลด์ ดวอร์กิ้น เนื่องจากดวอรกิ้นพิจาราณาว่ากฎหมายไม่ใช่ “กฎเกณฑ์” (แห้งๆ) แต่แฝงไว้ด้วย สาระสำคัญแห่ง principles&policies ซึ่งมีผลทุกครั้งที่ต้องตีความกฎหมาย เราจึงไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังกฎหมายอย่างงมงาย เรามีสิทธิเลือกที่จะฟังหรือไม่ฟัง กฎหมาย (แห้งๆ) วิเคราะห์ว่าบุคคลมีทางเลือก 3 ทาง เมื่อเผชิญหน้ากับกฎหมายที่ไม่ชัดเจนว่าเป็น ธรรมหรือไม่เป็นธรรม

21 ทางแรกบุคคลจะทำตามกฎหมายไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ทางที่สองบุคคลจะไม่ทำตามกฎหมายจนกว่าองค์กรที่มีอำนาจมาพิจารณา ว่าการนั้นผิดหรือถูกอย่างไร และทางที่สามคือบุคคลจะทำตามสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นธรรมแม้ว่าจะผิด กฎหมายก็ตาม

22 ดวอร์กินปฏิเสธสองแนวทางแรก เพราะพลเมืองไม่ได้แสดงความไม่พอใจต่อระบบที่ตนคิดว่า ไม่เป็นธรรม ดวอร์กินยังเชื่อว่าคำตัดสินขององค์กรที่มีอำนาจหรือศาลนั้นก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ ยืนยันความถูกต้องและเป็นธรรมของกฎหมายนั้น เช่น การยึดถือหลักคำพิพากษาบรรทัดฐาน (Precedent) ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าศาลอาจ ไม่ได้พิจารณาตามความถูกต้องชอบธรรมแต่ยึดถือแนวทางที่เคยปฏิบัติตีความกันมา ซึ่งอาจ ไม่ใช่ความถูกต้อง นอกจากนี้คำพิพากษาของศาลยังมีโอกาสถูกทดแทนด้วยคำพิพากษาใหม่ (Overrule) นั้นหมายความว่าคดีที่ศาลเคยตัดสินไปก็อาจไม่ถูกต้องชอบธรรม

23 ดังนั้น ดวอร์กินจึงเสนอว่าบุคคลควรเลือกทางที่สาม คือให้บุคคลไม่ควรทำ ตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและทำในสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นธรรม เพราะระบบ กฎหมายต้องได้รับการตรวจสอบและทดลอง โดยให้พลเมืองช่วยชี้จุดอ่อน จุดแข็งของกฎหมาย Dworkin เรียกว่า Civil Disobedience (การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย , อารยขัดขืน, พลเมืองขัดขืน ฯลฯ)

24 Law Abiding Citizen

25


ดาวน์โหลด ppt กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google