งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)
รองศาสตราจารย์ดิเรก ควรสมาคม ครั้งที่ 9 นิติวิธี

2 นิติวิธี 1.ที่มา/ความหมาย
-หนทางที่จะทำ อันเป็นแบบแผน เยี่ยงอย่างในทางกฎหมาย -แนวความคิดที่ฝังตัวอยู่ในบ่อเกิดทางกฎหมายชนิดต่างๆ รวมทั้งวิธีการใช้ วิธีการตีความกฎหมาย โดยเปรียบเทียบได้ว่า "ตัวบทกฎหมายเป็นร่างกาย ในขณะที่นิติวิธีคือวิญญาณกฎหมาย

3 นิติวิธี -วิธีคิด วิธีการศึกษา(รวมทั้งการสอน)กฎหมาย วิธีการบัญญัติกฎหมาย ตลอดจนวิธีการใช้และการตีความกฎหมาย ซึ่งเกิดจากประวัติศาสตร์หรือภูมิหลังของระบบกฎหมายที่มีมาตั้งแต่อดีต -แบบแผนของการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ -การมองปัญหาหรือพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้น -วิธีคิด / วิธีใช้ / ทัศนคติ มุมมองในการแก้ไขปัญหาในทางกฎหมาย

4 นิติวิธี เริ่มจาก กฎหมาย ความยุติธรรม โรงเรียนกฎหมายผลิต นักกฎหมาย

5 นิติวิธี นิติวิธี หมายถึง หนทาง/แนวทางที่ผู้เกี่ยวข้องในกฎหมายจะทำ ตั้งแต่การเรียนการสอน การใช้ การตีความกฎหมาย และทั้งหมดของกฎหมายให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม

6 ระบบกฎหมาย 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil law) 2.ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common law) 3.ระบบกฎหมายศาสนา (Canon law)

7 1. ที่มา/บ่อเกิดของกฎหมาย
ระบบ Common law เกิดจากคำพิพากษาของศาล Case law แล้วเกิดเป็นบรรทัดฐานและเป็นหลักกฎหมายขึ้นมา ระบบ Civil law กฎหมายเกิดจากกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรียกว่า ประมวลกฎหมาย Code law

8 2. วิธีการศึกษากฎหมาย ระบบ Common law เน้นการศึกษากฎหมายจากคดีที่ศาลตัดสินแบบ Case law หรือการศึกษาที่เน้นการคิดวิเคราะห์จากคดีต่างๆที่ศาลตัดสิน ระบบ Civil law ศึกษากฎหมายโดยเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายสำคัญๆซึ่งมีหลักในทางทฤษฎีอยู่มากมาย และศึกษาแนวคำพิพากษาเป็นตัวอย่างในการปรับใช้/แปลความ

9 3. ระบบองค์กรตัดสินคดี ระบบ Common law ไม่มีการแยกสาขากฎหมายมหาชนออกจากกฎหมายมหาชน ศาลเดียว ระบบ Civil law จะมีการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนออกจากกฎหมายเอกชน ศาลคู่

10 4. ระบบวิธีพิจารณาคดี ระบบ Common law การพิจารณาคดีในศาลแพ่ง ศาลอาญา ใช้ระบบกล่าวหา (Accusatorial System) ระบบ Civil law โดยเฉพาะในคดีปกครองใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวน (Accusatorial System)

11 5. ระบบงานวิชาชีพกฎหมาย
ระบบ Common law โดยเฉพาะอังกฤษ จะมุ่งเน้นการศึกษาและฝึกอบรมนักกฎหมายตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันเฉพาะทางเพื่อประกอบวิชาชีพทนายความสอง แบบคือ ทนายว่าความ (Barrister)และทนายให้คำปรึกษา (Solicitor) ระบบ Civil law จะเน้นทางด้านทฤษฎีทางกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญไม่เน้นการฝึกอบรม หากจะไปทำงานด้านวิชาชีพ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ จะต้องผ่านการศึกษาในระดับเนติบัณฑิตก่อนแล้วสอบคัดเลือกเข้าไปทำหน้าที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่จะไปประกอบอาชีพด้านอื่น เช่น นิติกร จะมีระบบการศึกษาอบรมต่างหากเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากเนติบัณฑิต

12 การใช้กฎหมาย 1.ความหมาย
= การนำกฎหมายไปปรับกับข้อเท็จจริงในคดีหรือเรื่องที่เป็นปัญหา และชี้ว่ามีผลทางกฎหมายอย่างไร = การนำเอาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาปรับกับตัวบทกฎหมาย(มาตรา) และวินิจฉัยชี้ขาดว่ามีผลทางกฎหมายอย่างไร ผลทางกฎหมาย ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย

13 การใช้กฎหมาย ปรับบท การสืบพยาน ข้อเท็จจริง ผล1 ผลทางกฎหมาย ข้อกฎหมาย
ข้อจริง ผล1 ข้อกฎหมาย ผลทางกฎหมาย ปรับบท ผล 2 ผล 3

14 ลำดับ : การใช้กฎหมาย ปพพ.มาตรา 4 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2.จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น 3.กฎหมาย(ลายลักษณ์อักษร)ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง 4.หลักกฎหมายทั่วไป

15 ปพพ มาตรา 4 “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”

16 การตีความกฎหมาย ความหมาย
1.การค้นหาคำตอบทางกฎหมายอย่างมีเหตุผล เพื่อให้ได้มาซึ่งความหมายที่ถูกต้องในตัวบทกฎหมาย 2 การขบคิดค้นหา “ถ้อยคำของกฎหมาย” ให้ได้เป็นข้อความ เพื่อนำไปวินิจฉัยคดีได้อย่างถูกต้อง ระวัง ไม่ใช่การแปลความ???

17 การตีความกฎหมาย Common law ได้แก่
1. การตีความตามตัวอักษร (Literal Rule) 2. การตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule) 3. การตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Mischief Rule) Civil law ได้แก่ 1.การตีความตามตัวอักษร (Grammatical /Literal Interpretation) ประกอบไปกับ 2.การตีความตามความมุ่งประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Teleological /Purposive Interpretation)

18 เทคนิคการตีความ 1.ทำความเข้าใจบทบัญญัติ 2.ทำความเข้าใจความหมายถ้อยคำ
3.ในขั้นต้นต้องตีความตามตัวอักษรก่อน 4.การให้น้ำหนักกรณีกำกึ่ง

19 4.การให้น้ำหนักกรณีกำกึ่ง
-ถ้าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตีความโดยพิจารณาถึง……….. -ถ้าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ให้ตีความ….อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐ???? -ถ้าเป็นกฎหมายอาญา ตีความในทางเป็น……..แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย -ถ้าเป็นระหว่างผู้ได้สิทธิกับผู้เสียสิทธิ ตีความในทางเป็นคุณแก่……. -ถ้าเป็นระหว่างผู้มีโอกาสเหนือกว่ากับผู้ด้อยโอกาสในสังคม ตีความเป็นคุณแก่……………… -ถ้าเป็นระหว่างเรื่องการมีผลกับการไร้ผล ตีความไปในทาง……………..

20 การตีความโดยการพิจารณาตามขอบเขตการให้ความหมาย
ตีความอย่างแคบ/เคร่งครัด จะใช้ในการตีความ 1.บทบัญญัติที่เป็น “ข้อยกเว้น” 2.กฎหมายอาญา ตามหลักว่ากฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด 3.กฎหมายที่เป็นการรอนสิทธิหรือกำหนดภาระแก่บุคคล ตีความอย่างกว้าง ใช้สำหรับกฎหมายที่ 1.ให้สิทธิ ประโยชน์แก่บุคคล 2.เป็นนโยบายสาธารณะ เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีหรือเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ด้อยโอกาส

21 การตีความในพุทธศาสนา
การตีความระดับถ้อยคำ การตีความระดับประโยคหรือข้อความที่ยาวกว่าประโยค ความไม่ชัดเจนนี้มี ๒ ลักษณะได้แก่ ๑.ความคลุมเครือ (Vagueness) คือ สื่อความกว้างเกินไป ไม่เฉพาะเจาะจง ๒.ความกำกวม (Ambiguity) คือ สื่อความหมายได้หลายแง่ EX คำว่า “Sister” พี่น้องเพศหญิง พี่สาว น้องสาว นักบวชเพศหญิง ??? วิธีตีความเมื่อเกิดปัญหากำกวม ????

22 วิธีตีความเมื่อเกิดปัญหากำกวม ????
1.เริ่มจากการวิเคราะห์ความหมายพื้นฐานของถ้อยคำหรือข้อความ 2พิจารณาจากบริบท ทั้งบริบทในตัวภาษาคือ ถ้อยคำหรือข้อความที่ห้อมล้อม และบริบทนอกตัวภาษา ได้แก่ สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมตามยุคสมัยที่ถ้อยคำหรือข้อความนั้นปรากฏอยู่ ตัวอย่าง ในครั้งพุทธกาล มีภิกษุณีชื่อว่า “ถลุลนันทา” แปล “ถลฺล” ตามรูปสันสฤตว่า “หยาบช้า” ในภาษาไทยคือ สถุล จึงแปลว่า หยาบช้าหรือต่ำช้า เป็นการตีความ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องภิกษุณีที่ชื่อนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ถลุล ถุลละ” ก็คือ อ้วน ใหญ่ โต “ถุลลกุมารี” คนมีร่างกายอ้วนใหญ่

23 การตีความในพุทธศาสนา
เจตนารมณ์ ในพุทธศาสนา (กฎหมาย = วินัย) วัตถุประสงค์ของวินัยและสิกขาบท ๑ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวม ในแง่กฎหมาย : ประโยชน์สาธารณะ ๒ เพื่อประโยชน์แก่ตัวบุคคล เพื่อส่งเสริมให้โอกาสคนดี และปิดกั้นโอกาสคนไม่ดี ในแง่กฎหมาย : รัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ๓ เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์เอง ประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์ไม่ใช่แค่ได้ทรัพย์สิน เงินทอง ที่แท้คือประโยชน์ที่เกิดต่อเนื้อตัวร่างกาย จิตใจและปัญญา (หลักประโยชน์ตน) ๔ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ในแง่กฎหมาย : นโยบายให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือการที่กฎหมายมีผลใช้บังคับได้โดยทั่วไป ๕ เพื่อประโยชน์แก่ตัวพระศาสนาเอง ในแง่กฎหมาย : สร้างความมั่นคงปลอดภัยของมนุษย์

24 หลักในการตีความกฎหมาย
1.พิเคราะห์ถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามตัวอักษร) 2.พิเคราะห์ความมุ่งหมายบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามเจตนารมณ์) 3.พิเคราะห์ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ (ในการค้นหาเจตนารมณ์ความมุ่งหมาย) 4.พิเคราะห์ความสัมพันธ์บทบัญญัติและคุณธรรมทางกฎหมาย

25 1.พิเคราะห์ถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามตัวอักษร)
วัตถุ (Object) คือ ตัวบทกฎหมาย Common law การอ่านเพื่อตีความ -รายงานการประชุมร่างกฎหมายของสภาหรือกรรมาธิการ -จะใช้อ่านเฉพาะชื่อกฎหมาย บทบัญญัติ คำปรารภ หัวข้อในกฎหมาย เหตุผลในการร่างกฎหมาย เท่านั้น Civil law ไม่มีข้อห้าม ดังกล่าว ห้าม ไม่ห้าม ศาลไทย ???

26 พิเคราะห์ถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามตัวอักษร)
= การค้นหาความหมายโดยการอ่านพิเคราะห์ถ้อยคำโดยคำนึงถึงเหตุผลพร้อมกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ตัวอย่าง 1 ปพพ. มาตรา 149 “การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์….. คำถาม การใดๆ หมายถึงอะไร ?? 1.การทำนิติกรรม 2.การละเมิด 3.การจัดการงานนอกสั่ง 4.การกระทำอื่นๆ ถูกทุกข้อ

27 พิเคราะห์ถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามตัวอักษร)
ศัพท์สามัญ ศัพท์กฎหมาย 1.หนี้ 2.ผู้เยาว์ นิยามศัพท์ อาวุธ =“อาวุธโดยสภาพ หรือได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้าย” EX ก.ใช้ไขควง จี้จะทำร้าย ข.เพื่อเอาทรัพย์ ข.ไป ก.มีความผิดฐานใด ??? สามัญ ศัพท์กฎหมาย

28 2.พิเคราะห์ความมุ่งหมายบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามเจตนารมณ์)
ตีความตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ ตัวอย่าง กฎหมายมีบทบัญญัติ “ห้ามมิให้นำยานพาหนะ(Vehicle) เข้าไปในสวนสาธารณะ” คำถาม ยานพาหนะในข้อใดต้องห้ามตามมาตรานี้ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถเข็นเด็กเล็ก ถูกทุกข้อ

29 2.พิเคราะห์ความมุ่งหมายบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามเจตนารมณ์)
ตัวอย่าง กฎหมายบัญญัติว่า “ห้ามเดินลัดสนาม” คำถาม ถ้านาย ก. วิ่ง คลาน กระโดด ???? ผิดหรือไม่ ตัวอักษร หรือ เจตนารมณ์ ??? ตัวอักษรและเจตนารมณ์ ????

30 2.พิเคราะห์ความมุ่งหมายบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามเจตนารมณ์)
EX ทำแท้งของแพทย์ ปอ.มาตรา ๓๐๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา ๓๐๑ และมาตรา ๓๐๒ นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ (๑) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น คำถาม “สุขภาพของหญิงนั้น” สุขภาพกายหรือสุขภาพจิตใจ ???? ชั่งน้ำหนักประโยชน์ที่สูงกว่า ประโยชน์ที่มากกว่า ยอมสละประโยชน์ที่น้อยกว่า

31 2.พิเคราะห์ความมุ่งหมายบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามเจตนารมณ์)
ข้อกฎหมาย “เจ้าพนักงานตำรวจอาจสั่งให้บุคคลซึ่งขับรถอยู่นั้นหยุดเพื่อตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด” คำถาม 1.หากนาย ก.ดื่มสุราและขับรถอยู่ 2.ถ้านาย ก.ที่ดื่มสุรามีแอลกอฮอล์เกินและขับรถมาหยุดแล้ว เดินลงจากรถไปซื้อหนังสือข้างถนน ตำรวจจะเรียกตรวจได้หรือไม่? 3.นาย ข.ดื่มสุราอยู่ที่บ้าน/ที่บาร์ แต่ยังไม่ออกมาขับรถยังท้องถนน แม้ว่านาย ข.ตั้งใจว่าอีกสักพักจะขับรถออกมา

32 2.พิเคราะห์ความมุ่งหมายบทบัญญัติของกฎหมาย (การตีความตามเจตนารมณ์)
มาตรา ๓๕๗ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร  คำถาม นาย ค.รับฝากสร้อยทองคำที่นาย ก.ลักมาจากนาย ข. แต่นาย ค.รับฝากสร้อยนั้นไว้เพื่อคืนเจ้าของ 1.ตีความตามตัวอักษรตัวอักษร “รับไว้โดยประการใด…….” = 2.ตีความตามเจตนารมณ์/ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินี้?? =

33 3.พิเคราะห์ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ทฤษฎี Three layer of Law 1.กฎหมายชาวบ้าน ศีลธรรม จารีต 2.กฎหมายของนักกฎหมาย 3.กฎหมายเทคนิค ค้นหาเจตนารมณ์จากการอ่านเอกสารการประชุม บันทึกร่างกฎหมาย ความเห็นที่อภิปรายในสภา ในการประชุมร่างกฎหมายนั้นๆ

34 4.พิเคราะห์ความสัมพันธ์บทบัญญัติและคุณธรรมทางกฎหมาย
เพื่อเห็นความคล้ายหรือแตกต่างกัน / คุณธรรมทางกฎหมาย Legal Interest EX ความผิดฐานลักทรัพย์ กรณีกระแสไฟฟ้า (877/2501) ลักทรัพย์ มุ่งคุ้มครองกรรมสิทธิ์และการครอบครอง กรรมสิทธิ์ คือสิทธิในสิ่งที่มีรูปร่าง ?? EX ความผิดฐานเอาทรัพย์ไปหลังจากฆ่าคนตายแล้ว = ลักทรัพย์หรือยักยอก ?? (1626/2500) EX ความผิดกรณีภริยาเอาเสื้อผ้ามากองที่ลานซีเมนต์หน้าบ้านห่าง 5-6วา แล้วจุดไฟเผาเสื้อผ้า ตำรวจตั้งข้อหา วางเพลิงเผาทรัพย์

35 2. หลักการ/วิธีการใช้การตีความกฎหมาย
ระบบ Common law ได้แก่ 1. การตีความตามตัวอักษร (Literal Rule) 2. การตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule) 3. การตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Mischief Rule) ระบบ Civil law ได้แก่ 1.การตีความตามตัวอักษร (Grammatical /Literal Interpretation) ประกอบไปกับ 2.การตีความตามความมุ่งประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Teleological /Purposive Interpretation)

36 การตีความตามตัวอักษร
หมายความว่า เป็นการตีความหรือแปลความโดยยึด ความหมายของถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายกับสิ่งที่เป็นปัญหา ทั้งนี้หากเป็นถ้อยคำธรรมดาสามัญก็แปลไปตามปกติของถ้อยคำนั้นๆเป็นสำคัญ เว้นแต่จะมีความหมายเป็นบทนิยามศัพท์เฉพาะไว้

37 อาวุธ เช่น “ปืน หอก ดาบ” โดยสภาพของวัตถุนี้จัดเป็นอาวุธ แต่บางครั้งวัตถุอย่างอื่นก็อาจใช้เป็นอาวุธได้เช่น มีดปอกผลไม้ ไขควง หรือรถยนต์ที่ใช้พุ่งชนคนให้ตาย ก็จัดเป็นอาวุธได้เช่นกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(5) บัญญัติว่า “อาวุธ”หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ

38 ตัวอย่าง 1.ห้ามเดินลัดสนาม ถ้า -วิ่ง/คลาน?? 2.ข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ห้ามมิให้นำยานพาหนะ(Vehicle) เข้าไปในสวนสาธารณะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน??

39 ตัวอย่าง เจ้าพนักงานตำรวจอาจสั่งให้บุคคลซึ่งขับรถอยู่นั้นหยุดเพื่อตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 1.นาย ก.ดื่มสุราและขับรถอยู่ ย่อมอยู่ในสถานะบุคคลดังกล่าวที่จะถูกตรวจและมีความผิดได้ 2.ถ้านาย ก.ที่ดื่มสุรามีแอลกอฮอล์เกินและขับรถมาหยุดแล้ว เดินลงจากรถไปซื้อหนังสือข้างถนน ตำรวจจะเรียกตรวจได้หรือไม่?

40 2.2 การตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
เป็นหลักรองของการตีความตามตัวอักษรในประเทศ Common law เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันเอง หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม ไม่ให้เกิดผลที่ไม่พึงปรารถนาหรือผลประหลาด หากถ้อยคำนั้นอาจแปลได้มากกว่าหนึ่งความหมายหรือเป็น 2 นัย ผู้ตีความควรจะตีความไปในทางที่มีความหมายอันควรจะเป็นไม่ให้เกิดสิ่งไม่พึงปรารถนา

41 2.3 การตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
เป็นหลักการตีความที่เปิดโอกาสให้ผู้ตีความอาศัยสิ่งช่วยจากภายนอกเพื่อค้นหาเจตนาของฝ่ายนิติบัญญัติ หากพิจารณาบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาตราขึ้นโดยคำนึงถึงความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ที่ตรากฎหมายนี้ขึ้นมา ดูจากเหตุผลการออกกฎหมายหรือคำปรารภในกฎหมายฉบับนั้นๆ หรือจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างกฎหมายประกอบก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย

42 ตัวอย่าง ปัญหาการตีความตามกฎหมายมหาชน
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) ขายสินค้าหรือให้บริการโดยมีการแจก แถม ให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ แล้วแต่กรณี (2) ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยแจก แถม ให้หรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นหรือการให้บริการอย่างอื่นประกอบ (3) ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือแก่ผู้นำหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบมาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ

43 ประเด็นปัญหา -หากนาย ก.ขายสินค้า โดยแถมบุหรี่ ให้นาย ข. เช่นนี้ นาย ก. มีความผิด ตามมาตรา 6 (1) -หากนาย ก.ขายบุหรี่ โดยแถมคูปองมาซื้อสินค้าส่วนลดได้อีก เช่นนี้ นาย ก.ก็มีความผิดตามมาตรา 6(2) แต่ประเด็นก็คือ -หากนาย ก.ขายบุหรี่ แล้ว แถม บุหรี่ ให้แก่นาย ข.หรือผู้อื่น จะเป็นความผิดตามมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.นี้หรือไม่

44 ประเด็นปัญหา การตีความที่ว่า ตีความตามตัวอักษร จะมีผลทำให้นาย ก.ไม่มีความผิด เพราะนาย ก.มิได้กระทำตาม มาตรา 6(1)หรือ(2) ตามตัวอักษร ดังนั้นจึงเกิดปัญหาว่ากรณีเช่นนี้ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ กล่าวคือ การกระทำดังกล่าวของนาย ก.เป็นการพยายามเลี่ยง มาตรา 6 (1) (2) เพราะ ในมาตรานี้อธิบายง่ายๆว่า (1) ขายสินค้า.....โดยแถมบุหรี่ (2) ขายยาสูบ.....โดยแถมสินค้าอื่น แต่ข้อเท็จจริงที่ว่ามานี้คือ นาย ก. “ขายยาสูบ แถมยาสูบ”

45 4. นิติวิธีในทางกฎหมายมหาชน
หมายถึง หลักหรือแบบแผนของการคิด วิเคราะห์ หรือการพิจารณาปัญหาอย่างเป็นระบบในเรื่องทางกฎหมายมหาชน ตามแนวทางหรือตามแบบแผนของกฎหมายมหาชน

46 นิติวิธี:วิธีคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน
ประเภทของนิติวิธี นิติวิธี:วิธีคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน นิติวิธีหลัก นิติวิธีประกอบ -ปฏิเสธ NO เปรียบเทียบ -สร้างสรรค์ CREATE

47 ใครใช้นิติวิธี นักกฎหมาย/ประชาชน -นักศึกษา ----เรียนศึกษาสอบเกรด
-นักศึกษา เรียนศึกษาสอบเกรด -ครู อาจารย์ สอน/ศึกษา/พัฒนา -ตำรวจ สืบ จับ สำนวน ฟ้อง -นิติกร แนะนำ ควบคุม -อัยการ ฟ้อง ดำเนินคดี -ศาล ตัดสินคดีความ

48 (1) นิติวิธีหลัก (1.1) นิติวิธีเชิงปฏิเสธ : SAY NO
-ปฏิเสธที่จะนำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้โดยตรง สัญญาปกครอง =ไม่นำเอาหลักเสรีภาพ ความเสมอภาคในการทำสัญญา/การเลิกสัญญา ละเมิด=ไม่นำหลักความรับผิดร่วม ของละเมิดทางแพ่งมาใช้ วิแพ่ง = ระบบกล่าวหา ระบบไต่สวน (1.2) นิติวิธีเชิงสร้างสรรค์ = CREATE สร้างหลักกฎหมายทางมหาชน โดยศาล/องค์กรวินิจฉัยอื่นๆ

49 (2) นิติวิธีประกอบ การเปรียบเทียบกฎหมาย -เพื่อนำมาบัญญัติเป็นกฎหมาย
-เพื่อการตีความกฎหมาย

50 สรุปนิติวิธี พิจารณาว่า ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน(คู่กรณี) เป็น เอกชน เท่าเทียมกัน มหาชน ไม่เท่าเทียมกัน ประชาชน ประชาชน รัฐ/หน่วยงาน /จนท.รัฐ ประชาชน

51 นิติวิธี VS ศาล นิติวิธี ของเอกชน – เอกชน
ศาลยุติธรรม = ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลแรงงาน ศาลภาษี ศาลทรัพย์สิน ศาลล้มละลาย นิติวิธี ของเอกชน – มหาชน ศาลได้แก่ ศาลปกครอง / ศาลรัฐธรรมนูญ

52 ตัวอย่าง ดูจาก -คำวินิจฉัยศาลปกครอง
-สัญญาทางปกครอง 104/2544 ,545/2547,192/2548 - คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ -คำวินิจฉัยกฤษฎีกา


ดาวน์โหลด ppt กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google