งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4

2 คำอธิบายรายวิชา ให้นักศึกษาได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ความสัมพันธ์ของ กฎหมายกับสังคมและชีวิต กฎหมายที่ประชาชน จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กฎหมาย รัฐธรรมนูญทั้งแนวคิดและสาระสำคัญ หน้าที่และ ความเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ตามประเพณีและ วัฒนธรรมไทย

3 แผนการสอน - ความหมาย ความเป็นมาของกฎหมาย และบ่อเกิดของกฎหมายประเภทและหมวดหมู่ของกฎหมาย - การบัญญัติ การเปลี่ยนแปลงและการยกเลิกกฎหมาย - ระบบกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย การใช้สิทธิตามกฎหมาย - ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสตร์อื่นๆ

4 แผนการสอน (ต่อ) - ความสามารถของบุคคลธรรมดา - นิติบุคคล
- การสิ้นสุดของบุคคล - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและค่าสินไหมทดแทน - สอบกลางภาค

5 แผนการสอน (ต่อ) - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย, ขายฝาก
- กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าทรัพย์ - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าซื้อ - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจ้างแรงงาน - กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจ้างทำของ - กฎหมายอาญา - สอบปลายภาค

6 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
สัดส่วน ของการประเมินผล ความคิดเห็นในชั้นเรียนและการทดสอบย่อย 10% การเข้าชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม และการนำเสนองานกลุ่ม 20% สอบกลางภาค สอบปลายภาค 30%

7 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 1) ธีระ ศรีธรรมรักษ์, ชูศักดิ์ ศิรินิล, เดชา ศิริเจริญ, วิณัฏฐ วุ้นศิริ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง. 2) ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ .สังคมกับกฎหมาย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. 3) วิณัฏฐา แสงสุข, ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง ) นิมิต ชิณเครือ, กฎหมายแพ่ง, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง ) พรรษวัฒน์ พูนทองพันธ์ ประพัฒน์พงศ์ ปรีชา และอนุวัฒน์ บุญนันท์,ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับเตรียมสอบเข้านิติศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2558.

8 6) รวินท์ ลัละพัฒนะ, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ) พรชัย สุนทรพันธุ์ และณัฐพงศ์ โปษกะ บุตร, หลักกฎหมายเอกชน, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552.

9 แบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)
1. กฎหมาย หมายความอย่างไร 2. ทำไมต้องมีกฎหมาย

10 ประเภทของกฎหมาย การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีเกณฑ์ในการ แบ่งหลายเกณฑ์ ได้แก่ 1.แบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ 1.1 ระบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) กล่าวคือ กระบวนการจัดทำกฎหมายมี ขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึกมีการกลั่นกรอง ของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภามีการจัดหมวดหมู่ กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่าน การกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็น กฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษากฎหมาย

11 1.2 ระบบจารีตประเพณี (Common Law) กล่าวคือ เป็นระบบกฎหมายที่มิได้มีการจัดทำ เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่และ ไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆ มาตั้งแต่ บรรพบุรุษ รวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่ พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศทั้งหลายใน เครือจักรภพของอังกฤษ

12 2. ตามลักษณะการใช้หรือแบ่งตามแง่เนื้อหา แบ่งออกเป็น 2
2. ตามลักษณะการใช้หรือแบ่งตามแง่เนื้อหา แบ่งออกเป็น 2.1 กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive Law) คือ เป็นการบัญญัติเนื้อหาของกฎหมาย ได้แก่ - กฎหมายแพ่ง ได้แก่ การกำหนดสิทธิ และหน้าที่ระหว่างบุคคลในทางแพ่ง เช่น - การมีสภาพบุคคล (ม.15) - กฎหมายอาญา ได้แก่ การกำหนดว่า การกระทำอย่างใดเป็นความผิด และต้องรับโทษ อย่างไร เช่น - การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา (ม.288,289) - การลักทรัพย์ (ม.334,335) และ - การชิงทรัพย์ (ม.339) เป็นต้น

13 2.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Peocededural Law) คือ เป็นการบัญญัติถึงวิธีการ หรือ กระบวนการพิจารณาเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม กฎหมายสารบัญญัติ (กฎหมายแพ่งและกฎหมาย อาญา) ให้เป็นจริงขึ้นมา หรือกล่าวอีกนัย คือ การบัญญัติถึงวิธีการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไป ใช้ไปปฏิบัติ - กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่น - เรื่องเขตอำนาจศาล และ - การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง เป็น ต้น - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น - อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ ดำเนินคดีอาญาต่อ ผู้ต้องหา - วิธีการร้องทุกข์ - วิธีการสอบสวน และ - วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี เป็น ต้น

14 3. แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ 3
3. แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ 3.1 กฎหมายเอกชน (Private Law) คือ กฎหมายที่ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ของบุคคลระหว่างเอกชนกับเอกชนซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกัน เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาค มิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

15 3.2 กฎหมายมหาชน (Public Law)
คือ กฎหมายที่วางระเบียบแบบแผนนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งมีฐานะที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยรัฐอยู่เหนือเอกชน และการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนตน การบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม รัฐจึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม เช่น - รัฐธรรมนูญ - กฎหมายปกครอง

16 3.3 กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) คือ กฎ กฎเกณฑ์ และข้อตกลงที่เกิดขึ้น จากความตกลง หรือการแสดงเจตนาเข้าผูกพัน ของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป และมักใช้เป็นหลักใน การพิจารณาข้อพิพาทระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญา (Conventions) ความตกลง (Agreements) และสนธิสัญญา (Treaties) กฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public International Law) - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกบุคคล (Private International Law) - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (Criminal International Law)

17 เอกสารอ้างอิง 1) ธีระ ศรีธรรมรักษ์, ชูศักดิ์ ศิรินิล, เดชา ศิริเจริญ, วิณัฏฐ วุ้นศิริ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง. 2) ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ .สังคมกับกฎหมาย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. 3) วิณัฏฐา แสงสุข, ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง ) นิมิต ชิณเครือ, กฎหมายแพ่ง, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง ) พรรษวัฒน์ พูนทองพันธ์ ประพัฒน์พงศ์ ปรีชา และอนุวัฒน์ บุญนันท์,ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับเตรียมสอบเข้านิติศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2558.

18 6) รวินท์ ลัละพัฒนะ, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ) พรชัย สุนทรพันธุ์ และณัฐพงศ์ โปษกะ บุตร, หลักกฎหมายเอกชน, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552.


ดาวน์โหลด ppt วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google