พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กลุ่ม 1 คุณธรรมจริยธรรมที่ร่วมสร้าง... จิตสำนึกสาธารณะ.
Advertisements

รายละเอียดใหม่บนหน้า Seller Center Homepage March 26th, 2016.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2559.
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Input&Output เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นาย ภคินนัย ชมภูนุช ม.4/1 เลขที่ 8 นางสาว ฟ้ารุ่ง วะสาร ม.4/1 เลขที่ 27 นางสาว รัฐภัทร บุญทัน.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองฮี ยินดีต้อนรับ คณะท่านผู้บริหารระดับสูง ด้วยความยินดียิ่ง.
บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
L I O รายงานผลการดำเนินงาน ประจำเดือนมกราคม 2555
ประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งกรมปศุสัตว์
นิเทศทัศน์ Visual communication.
Market System Promotion & Development Devision
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
กลุ่มพัฒนาระบบบัญชีคอมพิวเตอร์
สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
อาชีวอนามัย บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.
BUSINESS TAXATION รศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
แบบฟอร์มการรายงานข้อมูลพื้นที่แปลงบำรุงป่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
Effective Child Development สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
Buddy Happy Brain (Smart Kids) ศูนย์อนามัยที่ ๓
วันชนา จีนด้วง ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
รูปแบบมาตรฐานการเขียนโครงการ
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์
บทที่ 6. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
แนวทางการประกันภัยพืชผล การเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0405
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการดำเนินงานให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม.
วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William Harvey) ด.ญ.กัณฐิกา จันแย้ ม.4.3 เลขที่ 1
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)
โดยคุณอัมพวัน คุลภ์อนันต์
การกำจัดขยะและสารเคมี
บทที่ 4. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
10 สถานที่ท่องเที่ยว ขอแนะนำ.
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ความสำคัญของโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
นวัตกรรมกลุ่มงานวิสัญญี ปี 2562 E Mobile
โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559.
การจัดทำรายงาน ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ อาจารย์ ณัฐเสกข์ เทพหัสดิน
แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center)
ขั้นตอนการเบิก-จ่ายเงินให้กับผู้รับจ้าง
นโยบายการคลัง รายวิชา : Week 06.
ประเภทที่ 1 วิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอริยสัจ 4
การดำเนินกิจการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์.
การสนับสนุนกิจกรรม Win back ลูกค้าคู่แข่ง บภ.1.1
Product Champion Cluster วัยเรียน : โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลราชบุรี
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีแว้ง
งานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
กลุ่มที่1 การจัดการข้อมูลการดำเนินงานโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
บ้านเรียนดี สรรสร้างสื่อดี
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสอนซ่อมเสริมร่วมกับ
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ
แผนงานโครงการที่จะนำไปใช้เพื่อ การแก้ปัญหาสุขภาพหรือบริการ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
เนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 พ.ศ มีดังนี้ มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน และ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ : 5/21/2019 พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ : สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 5/21/2019 อารยะ ปรีชาเมตตา อารยะ ปรีชาเมตตา

ทำไมต้องเริ่มต้นที่รัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2398) 5/21/2019 ทำไมต้องเริ่มต้นที่รัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2398) ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองและเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาพที่เสียหายจากภัยสงคราม คนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในหมู่ชาวบ้านทั่วไปได้มากนัก อารยะ ปรีชาเมตตา 2 อารยะ ปรีชาเมตตา

ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) 5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) “สมเด็จพระบรมธรรมิกราชา เป็นกษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่ขึ้นครองราชสมบัติในขณะที่บ้านเมืองกำลังประสบความคับแค้นทางการเงินและทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ถึงแก่เกิดการจลาจลอลหม่านทั่วภาคกลางของเมืองไทย นอกจากนี้ ยังเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ต้องรับภาระหนักอึ้งหลายอย่างในเวลาพร้อมๆ กัน จะต้องขับไล่ข้าศึกออกไป ……. จะต้องเลี้ยงดูราษฎรซึ่งอดอยากหิวโหยให้อิ่มหนำสำราญ จะต้องหาเงินทองและทรัพย์สิ่งของต่างๆ เข้ามาเก็ฐรักษาในท้องพระคลังซึ่งว่างเปล่า จะต้องย้ายเมืองหลวงมาตั้งในที่แห่งใหม่ และจะต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่อยยับให้กลับคืนดีดังเก่า” (ชัย เรืองศิลป์ 2527, 4) อารยะ ปรีชาเมตตา 3 อารยะ ปรีชาเมตตา

ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) 5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) เพราะฉะนั้น เป้าหมายหลักในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ก็คือ การสร้างราชวงศ์และอาณาจักรใหม่ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ในระยะยาว (จะทำได้โดยเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากความสามารถในการผลิตของบางพื้นที่เพื่อให้ได้ผลผลิตส่วนเกิน) อารยะ ปรีชาเมตตา 4 อารยะ ปรีชาเมตตา

ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) 5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) นโยบายเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ค้าขายกับต่างประเทศ ในช่วงก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง) และระบบโครงสร้างปัจจัยเชิงสถาบันในช่วงเวลานั้น (ระบบการเมืองการปกครองแบบศักดินา ระบบการเช่าที่ดินซึ่งรัฐเป็นเจ้าที่ดินทั้งหมด ระบบการบังคับเกณฑ์แรงงาน ฯลฯ) จะส่งผลให้เกิดการก่อตัวของความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ได้ อารยะ ปรีชาเมตตา 5 อารยะ ปรีชาเมตตา

ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398) 5/21/2019 ทำไมต้องเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2398)  ความจำเป็นในเรื่องของการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวมขึ้นมาใหม่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (โดยเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้กลไกโครงสร้างปัจจัยเชิงสถาบันในขณะนั้นเพื่อให้สามารถทำการผลิตให้ได้ผลผลิตส่วนเกินจากบางพื้นที่) จึงน่าจะเป็นคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ได้ดีกว่า (ก) แนวคิดว่าด้วยการขูดรีดระหว่างชนชั้นเพียงอย่างเดียว หรือ (ข) แนวคิดว่าความเหลื่อมล้ำเกิดจากผลของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง …  มีผลให้เกิดนัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันไป อารยะ ปรีชาเมตตา 6 อารยะ ปรีชาเมตตา

คำถามนำทาง ในสังคมศักดินาสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้าแผ่นดินทรง เป็นเจ้าของที่ดินทั้งประเทศ มีอำนาจทางการปกครองสูงสุด มีอำนาจผูกขาดการค้าขายกับต่างประเทศ ทำไมผู้ปกครองในสมัยนั้นจึงไม่เลือกวิธีการบังคับเกณฑ์แรงงาน*แบบเข้มงวด (คือให้ได้ใกล้เคียงกับ 12 เดือนต่อปี) แทนที่จะเป็น 6 เดือนต่อปี และลดลงไปเรื่อยๆ (* สันนิษฐานว่าราวร้อยละ 95 ของจำนวนพลเมืองทั้งประเทศเป็นชาวนา (ชัย 2527, 102)) อารยะ ปรีชาเมตตา 7

คำถามนำทาง ถ้าผู้ปกครองในสมัยนั้น เลือกวิธีการบังคับเกณฑ์แรงงานแบบเข้มงวด (คือให้ได้ใกล้เคียงกับ 12 เดือนต่อปี) ก็จะไม่เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ เพราะแรงงานไพร่ส่วนใหญ่ ต่างก็จะผลิตได้แค่ ปริมาณลผลิตที่พอเลี้ยงชีพเหมือนกันหมดในแต่ละพื้นที่ ในทางตรงกันข้าม การบังคับเกณฑ์แรงงานแบบ 6 เดือนต่อปี (และลดลงรื่อยๆ ) จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชาวนาในพื้นที่ต่างกันได้ อารยะ ปรีชาเมตตา 8

ขอบเขตการศึกษา พื้นที่เขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน อารยะ ปรีชาเมตตา 9

การค้าต่างประเทศในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้เริ่มเกิดการค้าสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูง แต่ต้องใช้ระวางบรรทุกมากได้ (ต้นทุนการขนส่งลดลง) ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของสยามที่มากกว่า ของป่าจากระบบส่วยจะรองรับได้ ชนชั้นนำของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ยกเลิกวิธีการที่ชนชั้นนำสมัยอยุธยาเคยใช้ขูดรีดพ่อค้าชาวต่างชาติ (เรียกเก็บผลประโยชน์ในรูปของอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ) แล้วหันไปใช้วิธีประกาศสินค้าต้องห้ามเพื่อป้องกันคู่แข่งทางการค้า  การส่งออกเป็นแหล่งรายได้ของภาครัฐ สมัยรัชกาลที่ 3 มีสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 เพื่อจำกัดการผูกขาดของพระคลังสินค้า จึงต้องหันมาพึ่งพารายได้จากการเก็บภาษีมากกว่ารายได้จากการส่งออก อารยะ ปรีชาเมตตา 10

เศรษฐกิจในประเทศ ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชาวนาส่วนใหญ่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชาวนาแบ่งผลผลิตออกเป็น 4 ส่วนคือ ไว้กินและทำบุญ ไว้เป็นค่านา ไว้ทำพันธุ์ และไว้แลกเป็นของกินของใช้ที่ตนเองผลิตไม่ได้ ชาวบ้านมักไม่ได้รับประโยชน์จากระบบการกระจายความเสี่ยงที่อิงกับตลาดสินทรัพย์และเงินตราในขณะนั้น เมื่อเกิดภัยพิบัติก็จะเป็นหนี้สิน อารยะ ปรีชาเมตตา 11

เศรษฐกิจในประเทศ ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน เมื่อรัฐได้รายได้จากการส่งออก จะทำให้มีรายได้ไปจ้างแรงงานชาวจีนอพยพเพิ่มขึ้น (ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ) ทำให้มีอุปสงค์ต่อข้าวภายในประเทศ ส่งผลให้ชาวนาเหล่านี้ได้รายได้เพิ่มขึ้น ชาวนาเหล่านี้จะสามารถป้องกันความเสี่ยงโดยอิงกับระบบตลาดได้ดีกว่า (เพราะมีการสะสมทรัพย์สินส่วนเกินได้มากกว่า) อารยะ ปรีชาเมตตา 12

จะอธิบายการรุกคืบของเศรษฐกิจตลาด ภายใต้สังคมเศรษฐกิจแบบยังชีพได้อย่างไร ? อารยะ ปรีชาเมตตา 13

การคืบคลานเข้ามาของเศรษฐกิจตลาด “เนื่องจากการผลิตข้าวเพื่อการตลาดทำกันในรูปที่แฝงอยู่กับการผลิตเพื่อยังชีพ การรวบรวมข้าวเหล่านี้เพื่อป้อนแหล่งชุมชนที่ไม่ผลิตข้าวเองจึงเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ง่ายนัก ข่ายของการค้าที่ครอบคลุมอาณาบริเวณอันกว้างขวางเพื่อรวบรวมข้าวที่เหลือจากการยังชีพนี้คงซับซ้อนพอสมควร ทั้งยังกระทำกันโดยการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรงด้วย การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียดยังไม่มี แต่พอจะรู้ถึงข่ายของการค้าเช่นนี้ได้จากหลักฐานในสมัยนั้นว่า มีชาวจีนอยู่ในระดับล่างสุดของข่ายการค้านี้ ระบาดไป "ตามทุ่งท่าและป่าเขา” นำเอาสินค้าจากต่างประเทศเช่นเครื่องถ้วยชามและของใช้เบ็ดเตล็ดจากเมืองจีน “ไปแลกข้าว ฝ้าย และผลผลิตอย่างอื่น ๆ จากจังหวัดต่าง ๆ ที่ตนผ่านไป” (ปาเลกัวซ์ 2506, 305)….. อารยะ ปรีชาเมตตา 14

การคืบคลานเข้ามาของเศรษฐกิจตลาด ข้าวเหล่านี้จะถูกนำมาขายแก่พ่อค้าที่ใหญ่กว่าพ่อค้าเร่ซึ่งมีทุนพอจะบรรทุกข้าวจำนวนมากลงมาถึงกรุงเทพฯ ได้ และยังอาจจะต้องผ่านพ่อค้าในกรุงเทพฯ อีกกว่าจะถึงมือผู้บริโภคข้าวในกรุงเทพฯ หรือชุมชนแบบเดียวกันนี้ ในขณะที่ราคาข้าวในกรุงเทพฯ ไม่แพงนัก ทั้งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ราคาข้าวถูกเอาไว้ด้วยราคารับซื้อจากชาวนาซึ่งพ่อค้าเร่ชาวจีนจ่ายแก่ชาวนาจึงต้องมีราคาต่ำอย่างมาก สินค้าจากต่างประเทศดูเหมือนจะเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนที่ดี สำหรับการนี้เพราะชาวนาไม่รู้ราคาที่แท้จริงของมัน ทั้งยั่วยวนให้อยากได้ไว้ครอบครองเพราะความเป็นของต่างประเทศอีกด้วย” (นิธิ 2555, 125) อารยะ ปรีชาเมตตา 15

การคืบคลานเข้ามาของเศรษฐกิจตลาด คำอธิบายของ อ.นิธิ ข้างต้นนั้น ดูเหมือนจะยังมีปัญหาข้อขัดแย้งในเชิงเหตุผลอยู่ เนื่องจากว่า (1) แม้พ่อค้าเร่ชาวจีนระดับล่างจะมีแรงจูงใจในเรื่องผลกำไร แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงใน การเก็บรวบรวมและขนย้ายข้าวปริมาณเล็กน้อยจากชาวนาที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย ตามหมู่บ้าน ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพนัก และพ่อค้าเร่จีนน่าจะรู้ดี (2) การที่ชาวนาจะยอมแลกข้าวของตนกับสินค้าถ้วยชามจากต่างประเทศที่พ่อค้าเร่นำมา แลกโดยที่ตนเองไม่ทราบราคาตลาดของสิ่งของเหล่านั้นดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ สมเหตุสมผลนักที่ชาวนาเหล่านี้จะเก็บสะสมสินค้าเหล่านี้ไว้เป็นประจำในเมื่อตัวเองก็ ไม่ได้มีรายได้ที่เหลือกินเหลือใช้ (และมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นทาสสินไถ่) อารยะ ปรีชาเมตตา 16

คำอธิบายใหม่: การรุกคืบของเศรษฐกิจตลาดโดยการประสานผลประโยชน์ กับระบบอุปถัมภ์ 1. ระบบอุปถัมภ์แบบไม่เป็นทางการ เกิดจากการที่ขุนนางซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ ยินดีรับชาวจีนอพยพเป็นผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์เพราะชาวจีนเหล่านี้จะร่ำรวย และสามารถเดินทางทำธุรกิจค้าขายจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งได้โดยเสรีนั่นเอง (อคิน 2527, 192) 2. พ่อค้าจีนที่ร่ำรวยเหล่านี้สามารถใช้ความสัมพันธ์นี้เพื่อการหาข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับชาวนาซึ่งเป็นแรงงานไพร่ที่อยู่ใต้อุปถัมภ์ของขุนนาง ด้วยวิธีนี้ พ่อค้าจีนก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผลผลิตและจำนวนชาวนาที่ผลิตเพื่อการยังชีพในเมืองต่าง ๆ โดยผ่านขุนนางในเมืองนั้นๆ (และอยู่ในเครือข่ายอุปถัมภ์แบบไม่เป็นทางการกับขุนนางที่เป็นผู้อุปถัมภ์ของตนได้) อารยะ ปรีชาเมตตา 17

คำอธิบายใหม่: การรุกคืบของเศรษฐกิจตลาดโดยการประสานผลประโยชน์ กับระบบอุปถัมภ์ 3. พ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ก็จะใช้พ่อค้าเร่ชาวจีนจำนวนมากเป็นลูกมือทำหน้าที่คล้ายกับกองทัพมด เพื่อไปรวบรวมซื้อข้าวจากชาวนาที่ผลิตเพื่อยังชีพเหล่านี้มาให้กับพ่อค้าจีนอีกต่อหนึ่งได้ ซึ่งวิธีนี้ก็จะเป็นวิธีรวบรวมซื้อข้าวจากชาวนาที่ผลิตเพื่อการยังชีพและอยู่กระจัดกระจายตามหมู่บ้านรอบเมืองต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีต้นทุนทางธุรกรรมรวมที่ต่ำกว่าวิธีอื่นนั่นเอง ส่วนชาวนาที่ผลิตข้าวเพื่อการยังชีพและอาศัยอยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ก็จะได้ประโยชน์จากระบบการแลกเปลี่ยนซื้อขายข้าวของพ่อค้าชาวจีนที่ทำงานผ่านระบบอุปถัมภ์อย่างไม่เป็นทางการดังกล่าว อารยะ ปรีชาเมตตา 18

เส้นทางการไหลของเงินตราจากการค้าต่างประเทศ และการขยายตัวของ เศรษฐกิจตลาด: ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้ปกครองรัฐที่ควบ คุมการส่งออก รายได้จาก การส่งออก ตลาดแรงงานรับจ้างที่เป็นชาวจีนอพยพ ชาวนาที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและผลิตเพื่อเศรษฐกิจแบบตลาด ชาวนาที่ผลิตเพื่อยังชีพและอยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน เครือข่ายพ่อค้าชาวจีน และ เครือ ข่ายอุปถัมภ์อย่างไม่เป็นทางการที่อยู่ในระบบราชการ อารยะ ปรีชาเมตตา 19

กลไกที่ทำให้ชาวนาผลิตข้าวได้มากจนเกิดผลผลิตส่วนเกิน อารยะ ปรีชาเมตตา 20

แบบจำลอง สะท้อนปัญหาการตัดสินใจของผู้นำรัฐในการเลือกระหว่างนโยบายการบังคับเกณฑ์แรงงานแบบเต็มเวลา 12 เดือนต่อปี กับ นโยบายที่ยืดหยุ่นกว่า คือเกณฑ์แรงงานบางส่วนและให้ชาวนาเช่าที่นาและทำการผลิตเองจากอัตราค่าเช่าที่เจ้าที่ดินเป็นผู้กำหนด ปัญหาเชิงพลวัตของเจ้าที่ดินในระยะยาวคือ การวางแผนบริหารจัดการ (ที่ดิน และแรงงาน) ให้ ราชอาณาจักรสามารถผลิตข้าวส่วนเกินที่คาดหวังได้ให้มากที่สุด โดยมีทางเลือก 2 ทางได้แก่ อารยะ ปรีชาเมตตา 21

แบบจำลอง ใช้วิธีบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่เต็มเวลา 12 เดือนต่อปีเพื่อมาทำงานในไร่นาแลอื่น ๆ ภายใต้การควบคุมดูแลของขุนนางตามลำดับชั้น และแบ่งปันผลผลิตที่ได้มาให้กับชาวนาแต่ละรายในปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการเพื่อยังชีพของชาวนาและครัวเรือน หรือ ให้ชาวนาตัดสินใจเช่านาโดยจ่ายค่าเช่านาคิดเป็นจำนวนข้าวต่อไร่ และรัฐมีการบังคับเกณฑ์แรงงานไพร่มาใช้เป็นบางเดือนในแต่ละปี โดยมีเงื่อนไขตามบริบทของสังคมขณะนั้นคือ: อารยะ ปรีชาเมตตา 22

แบบจำลอง ชาวนาอาจเลือกที่จะหนีเข้าป่า ชาวนาอาจจะเฉื่อยงาน (moral hazard) ผลผลิตข้าวขึ้นกับดินฟ้าอากาศ เจ้าที่ดินไม่สามารถสังเกตเห็นระดับความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานที่แท้จริงของชาวนาได้โดยตรง เพราะมีต้นทุนในการติดตามตรวจสอบที่สูง เจ้าของนาฟางลอยนั้นเสียอากรตามเนื้อที่นาที่เก็บเกี่ยวได้ในปีหนึ่ง ๆ ไม่ได้เก็บตามเนื้อที่ในโฉนด (ชัย 2527, 104)  อัตราค่าเช่านา แปรตามการเกิดภัยพิบัติ อารยะ ปรีชาเมตตา 23

ประพจน์ที่ 1 ระดับค่าที่เหมาะสมที่เจ้าที่ดินผู้ปกครองรัฐจะประกาศใช้เป็นอัตราค่าเช่านาสูงสุดและต่ำสุด โดยที่ผู้เช่านาจะมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเท่ากับ e* ได้หลายค่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ (1) อำนาจต่อรองของชาวนาเอง ซึ่งอำนาจกต่อรองนี้จะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์หรือทุนออมเดิมที่ชาวนานั้นมีอยู่แล้ว (แทนด้วย w) และ (2) มูลค่าทางเลือกอื่นที่ชาวนามีอยู่ (แทนด้วย m) ตัวอย่างเช่น ทางเลือกในการหนีไปใช้ชีวิตในป่าหรือการหันไปทำอาชีพอื่นแทน เป็นต้น ซึ่งสามารถแสดงได้โดยรูปต่อไปนี้ อารยะ ปรีชาเมตตา 24

ประพจน์ที่ 1 อารยะ ปรีชาเมตตา 25

นัยต่อช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ชาวนาในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพต้องทำงานหลาย ๆ ประเภทด้วยตนเองเพื่อกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของผลผลิตข้าวนั้น จะมีระดับความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน (e*) ในระดับต่ำสุด เนื่องจากมีผลรวมที่ได้จากการสะสมผลผลิตส่วนเกิน (w) และ/หรือ ค่าเสียโอกาสในการทำนา (m) ที่ค่อนข้างต่ำนั่นเอง ชาวนาที่อยู่เขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และมีผลรวมจาการสะสมผลผลิตส่วนเกิน (w) และค่าเสียโอกาสในการทำนา (m) ที่สูงกว่านั้น ก็จะมีระดับความตั้งใจทำการผลิต (e*) ที่สูงกว่า ซึ่งชาวนากลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากการที่ผู้นำรัฐดำเนินนโยบายแบบยืดหยุ่นในการบังคับเกณฑ์แรงงานและการคิดอัตราค่าเช่าที่นาที่ไม่สูงมาก อารยะ ปรีชาเมตตา 26

ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (1) “อัตราค่าจ้างแรงงานกรรมกรธรรมดาในเขตเมืองกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 2 นั้นจะเท่ากับประมาณวันละสลึงครึ่ง ซึ่งครอว์เฟิร์ดคาดว่าเป็นอัตราที่สูงเพราะจะสามารถซื้อข้าวเลี้ยงคนได้ถึง 18 คนในหนึ่งเดือน ในขณะที่ช่างไม้จะได้ค่าแรงวันละครึ่งบาท และอัตราค่าจ้างได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงรัชกาลที่ 3 ที่ค่าจ้างกรรมกรธรรมดาตกวันละ 4 เฟื้อง” (นิธิ 2555, 146) อารยะ ปรีชาเมตตา 27

ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (1) จากการคำนวณที่กำหนดให้รายได้ของชาวนาในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนซึ่งมีเศรษฐกิจแบบตลาดนั้น จะมีรายได้เฉลี่ยโดยประมาณที่ใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยของกรรมกรรับจ้างทั่วไปที่ได้รับค่าจ้างที่มากพอเหลือเก็บได้ ส่วนชาวนาที่อยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพนั้น หากประมาณการโดยคร่าวๆ แล้วว่าแต่ละครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 9 คนแล้ว เพราะฉะนั้น ระดับรายได้ที่เพียงพอแก่การยังชีพของชาวนาเหล่านี้หากคิดตามมูลค่าตลาดโดยเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานกรรมกรรับจ้างโดยทั่วไปในเมืองแล้ว ก็จะประมาณเท่ากับหนึ่งในสามส่วน (หรือ 6/18) ถึง หนึ่งในสองส่วน (หรือ 9/18) อารยะ ปรีชาเมตตา 28

ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (1) จากการคำนวณที่กำหนดให้รายได้ของชาวนาในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนซึ่งมีเศรษฐกิจแบบตลาดนั้น จะมีรายได้เฉลี่ยโดยประมาณที่ใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยของกรรมกรรับจ้างทั่วไปที่ได้รับค่าจ้างที่มากพอเหลือเก็บได้ ส่วนชาวนาที่อยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบนและอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพนั้น หากประมาณการโดยคร่าวๆ แล้วว่าแต่ละครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 9 คนแล้ว เพราะฉะนั้น ระดับรายได้ที่เพียงพอแก่การยังชีพของชาวนาเหล่านี้หากคิดตามมูลค่าตลาดโดยเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานกรรมกรรับจ้างโดยทั่วไปในเมืองแล้ว ก็จะประมาณเท่ากับหนึ่งในสามส่วน (หรือ 6/18) ถึง หนึ่งในสองส่วน (หรือ 9/18) อารยะ ปรีชาเมตตา 29

ประมาณการช่องว่างความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ (2) ในปี 2392 แมลล็อคได้ประมาณว่า พลเมืองสยามในเขตเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ได้ปลูกข้าวเอง แต่มีความต้องการบริโภคข้าวนั้นคิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 300,000 คน ถ้าข้าวส่วนเกินที่เก็บได้ส่วนใหญ่มาจากบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงแล้ว ก็จะต้องมีข้าวส่วนเกินจากพื้นที่นี้ประมาณ 100,000 เกวียน เนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวเฉลี่ยนั้นจะเท่ากับ 1/3 เกวียน/คน/ปี ดังนั้นข้าวส่วนเกินเหล่านี้จะต้องมาจากผลผลิตส่วนเกินของชาวนาผู้ถือครองที่ดินขนาดเล็กที่เฉลี่ยแล้วประมาณ 15 ไร่ต่อครัวเรือนและอยู่ในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง เพราะฉะนั้น ชาวนาเหล่านี้จะผลิตข้าวส่วนเกินได้ประมาณ 2.3 เกวียนต่อครอบครัว เพราะฉะนั้นชาวนาที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน จะมีรายได้ที่แท้จริงสูงกว่าชาวนาที่อยู่นอกเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน คิดเป็น 1.46 เท่าตัวโดยประมาณ อารยะ ปรีชาเมตตา 30

บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่เมื่อต้นรัตนโกสินทร์นั้น เป็นผลมาจากความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระหว่าง (1) เป้าหมายของชนชั้นผู้ปกครองที่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีค่าเช่านาและอำนาจการบังคับเกณฑ์แรงงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารปกครองบ้านเมือง (2) เป้าหมายในการทำงานของชนชั้นชาวนาและแรงงานไพร่ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพและเศรษฐกิจแบบตลาดเพื่อให้ตนเองและครอบครัวสามารถมีวิถีชีวิตที่ดีและพ้นจากการเป็นหนี้สิน โดยมีทางเลือกและอำนาจต่อรองกับเจ้าที่ดินที่แตกต่างกันไป และ (3) เป้าหมายในการแสวงหากำไรของพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าเร่รายย่อยชาวจีนที่ประสานผลประโยชน์กับระบบอุปถัมภ์ในสังคมยุคนั้น อารยะ ปรีชาเมตตา 31

บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลการศึกษานี้ได้นำไปสู่ข้อสรุปสำคัญที่ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ มีสาเหตุมาจากความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจที่ต้องการให้บางพื้นที่สามารถผลิตผลผลิตส่วนเกินได้เพียงพอ ซึ่งแตกต่างจากสาเหตุของการขูดรีดกันทางชนชั้น เพราะ ในกรณีนี้ มีนัยว่า หากความเหลื่อมล้ำมีผลทางลบต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ แล้ว กลุ่มชนชั้นนำ ก็จะมีผลประโยชน์ร่วมจากความพยายามในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่เช่นกัน อารยะ ปรีชาเมตตา 32

บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อารยะ ปรีชาเมตตา 33

บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีประเด็นสำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องการถ่ายโอนรายได้ระหว่างพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ประเด็นเรื่องผลกระทบจากการเปิดประเทศตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในสมัยรัชกาลที่สี่และนโยบายการรวมศูนย์อำนาจในสมัยรัชกาลที่ห้าที่มีต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ เป็นต้น อารยะ ปรีชาเมตตา 34

Thank You Make Presentation much more fun 5/21/2019 อารยะ ปรีชาเมตตา