งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการประกันภัยพืชผล การเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการประกันภัยพืชผล การเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการประกันภัยพืชผล การเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
นางคมคาย ธูสรานนท์ รองเลขาธิการ สายกำกับ โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย Office of Insurance Commission

2 บทบาทหน้าที่ของสำนักงาน คปภ.
กำกับดูแลธุรกิจ คุ้มครองประชาชน ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ น่าเชื่อถือ โปร่งใส

3 OIC Moving Forward พันธกิจ สำนักงาน คปภ. กำกับและ คุ้มครองสิทธิ
ส่งเสริมสนับสนุนให้ ธุรกิจประกันภัยมีบท บาทสร้างเสริมความ แข็งแกร่งให้ระบบ เศรษฐกิจสังคมของ ประเทศและคุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชน กำกับและ พัฒนาธุรกิจประกันภัย ให้มีความ เข้มแข็งมั่นคง คุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ ของประชาชน ด้านการประกันภัย พันธกิจ สำนักงาน คปภ.

4 มาตรฐานด้านการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย
ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ประกันภัย และ การนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภค กำหนดหลักเกณฑ์ และพิจารณาอนุมัติการให้ความเห็นชอบ แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัย ในแต่ละประเภท ติดตามการออกกรมธรรม์ประกันภัย และการใช้อัตราเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันภัย รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เหมาะกับสภาพสังคมของประเทศไทย

5 ความเป็นมา ปี 2513 ปี 2521-2523 การประกันภัยพืชผลในประเทศไทย
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัยศึกษารูปแบบการ ประกันภัยจากต่างประเทศเพื่อจัดทำโครงการประกันภัยพืชผลขึ้นในประเทศไทย โดยมีรัฐช่วยสมทบจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย กรมการประกันภัย กรมส่งเสริมการเกษตร และสมาคมประกัน วินาศภัย ทดลองจัดทำโครงการประกันภัยฝ้ายขึ้นเป็นครั้งแรก ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยใช้การตรวจสอบพื้นที่เสียหายจริงผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังตารางที่ 1 ปี 2513 ปี

6 ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงาน ปี 2521-2523
รายการ/ปี 2521 2522 2523 รวม ผู้เอาประกันภัย (ราย) พื้นที่ประกัน (ไร่) ค่าเบี้ยประกันหลังหักภาษี (บาท) พื้นที่เสียหาย (ไร่) ค่าสินไหมทดแทน (บาท) กำไร (ขาดทุน) (บาท) 496 3,760 181,316 62 86,595 94,721 542 3,762 181,388 58 81,827 88,696 83 1,151 58,023 121 169,015 (123,117) 1,221 8,673 420,727 241 337,437 60,300 ที่มา : สำนักงาน คปภ. หมายเหตุ : ค่าเบี้ยประกันภัย 50 บาท/ไร่ คุ้มครองไร่ละ 1,400 บาท

7 ความเป็นมา (ต่อ) ปี 2529 ปี 2531-2534
แต่งตั้งคณะกรรมจัดทำโครงการการประกันภัยพืชผล โดยกรม ส่งเสริมการเกษตรดำเนินการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติให้ดำเนินการประกัน ภัยฝ้ายและถั่วเหลือง เพื่อขยายพื้นที่รับประกันภัยออกไปมากขึ้น (เนื่องจากมีการยุบสภา ก่อน โครงการดังกล่าวนี้จึงไม่ได้นำเข้าคณะรัฐมนตรี) บริษัทเอกชนได้ดำเนินงานประกันภัยข้าวโพด ข้าวฟ่างและถั่วเหลือง แบบครบวงจร มีบริษัทประกันภัยเข้าร่วม 3 บริษัทคิดค่าเบี้ยประกันภัยร้อยละ 8 ของทุนประกันภัย ผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปี ทำให้ขาดทุนต้องยุติการดำเนินงาน ดังตารางที่ 2 ปี

8 ตารางที่ 2 ผลการดำเนินงาน ปี 2531-2534
รายการ/ปี 2531 2532 2533 2534 รวม ผู้เอาประกันภัย (ราย) จำนวนเงินเอาประกันภัย(บาท) ค่าเบี้ยประกันภัย (บาท) ค่าสินไหมทดแทน (บาท) กำไร(ขาดทุน) (บาท) 90 1,186,800 105,994 95,239 10,755 552 5,330,100 361,429 532,849 (171,420) * 9,725,725 778,058 3,319,058 (2,541,000) 228 1,988,700 206,230 960,780 (754,550) > 870 18,232,325 1,451,711 4,907,926 (4,907,926) ที่มา : สำนักงาน คปภ. หมายเหตุ : * หมายถึง ไม่มีข้อมูล , > หมายถึง มากกว่า

9 การประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีภูมิอากาศ (Weather Index)
ความร่วมมือ สำนักงาน คปภ. (กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์) สมาคมประกันภัยวินาศภัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ ธนาคารโลก เพื่อร่วมมือกันพัฒนาการประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีภูมิอากาศ (Weather Index) ซึ่งมีความแตกต่างจากการประกันพืชผล (Crop Insurance) แบบดั้งเดิม คือ ไม่ต้องมีการประเมินความเสียหายก่อนการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่ใช้ดัชนีภูมิอากาศ เป็นตัวกำหนดการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

10 พืชที่คุ้มครอง : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี 2549 สถานที่ : อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เริ่ม โครงการ นำร่อง พืชที่คุ้มครอง : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

11 พืชที่คุ้มครอง : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี 2550 สถานที่ : จ.นครราชสีมา เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี รับ ประกันภัย จริง พืชที่คุ้มครอง : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

12 พืชที่คุ้มครอง : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี 2551 สถานที่ : 8 แห่งใน 5 จังหวัด คือ 1. เพชรบูรณ์ 2. ลพบุรี 3. นครสวรรค์ 4. นครราชสีมา 5. สระบุรี รับ ประกันภัย จริง พืชที่คุ้มครอง : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

13 ตัวอย่าง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
(ความคุ้มครองวันที่ 26 ก.ค ต.ค.52) ช่วง ดัชนี ค่าชดเชย/มิลลิเมตร ค่าชดเชยสูงสุด(บาท) ช่วงเพาะปลูก 30 วัน 50-100 (ดัชนีความแห้งแล้ง) 8.58 455 ช่วงเติบโต 20 วัน 20-50 (ดัชนีน้ำฝน) 10.98 549 ช่วงออกดอกออกผล 30-60 15.53 777

14 ผลการดำเนินงานปี ปี เกษตกร (ราย) พื้นที่เอาประกันภัย(ไร่) จำนวนเงินเอาประกันภัย ค่าเบี้ยประกันภัย (ไม่รวมภาษี) (รวมภาษี) ค่าสินไหมทดแทน(บาท) Loss Ratio 2550 35 962 1,331,900 82,873 89,030 - 2551 58 7,238 7,609,220 715,955 769,180 116,287 16.24 % 2552 817 13,454 13,303,726 1,252,363 1,345,400 817,102 65.24 % รวม 910 21,654 22,244,846 2,051,191 2,203,610 933,389 45.50 %

15 การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance)
ข้อดี ข้อจำกัด 1. ช่วยโอนความเสี่ยงของเกษตรกร 2. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความ เสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงิน เอาประกันภัย 3. เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องการบริหาร ความเสี่ยงโดยผ่านระบบประกันภัย 4. กรมธรรม์ประกันภัยใช้เป็น หลักประกันเงินกู้ 1. ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยและการดำเนินงานสูง 2. ต้องประเมินความเสียหายก่อนการจ่ายค่าสินไหมทดแทน อาจยุ่งยากและใช้เวลานาน 3. อาจเกิดปัญหาภัยที่เกิดจากความไม่ซื่อ สัตย์สุจริต (Moral Hazard) 4. ภาคธุรกิจไม่สามารถรองรับความเสี่ยงที่ เกิดขึ้นได้ทั้งหมด 5. เกษตรกรขาดกำลังซื้อ(เบี้ยประกันภัย)

16 ประโยชน์ที่ได้รับจากการประกันภัยพืชผล
ต่อเกษตรกร 1. ช่วยลดคามเสี่ยงในการลงทุนและเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร เกษตรกร มั่นใจว่าทุนและแรงงานที่ลงไปไม่สูญเปล่า 2. ช่วยให้เกษตรกรสามารถหาแหล่งเงินกู้ยืมได้สะดวกขึ้น โดยอาศัย กรมธรรม์เป็นหลักประกันในการกู้ยืม 3. ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือตนเองและเพื่อน เกษตรกรด้วยกัน 4. มีความรู้สึกมั่นคงในอาชีพ เนื่องจากหากเกิดภัยขึ้นเกษตรกรจะไม่ อยู่ในสภาวะหมดตัว

17 ประโยชน์ที่ได้รับจากการประกันภัยพืชผล (ต่อ)
ต่อรัฐบาล 1. ช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพ คือในปีใดไม่ประสบภัย ธรรมชาติพืชก็จะเจริญงอกงาม ปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 2. ลดภาระของรัฐบาลในการต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาช่วยเหลือ เกษตรกร 3. สร้างภาพพจน์ที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

18 ประโยชน์ที่ได้รับจากการประกันภัยพืชผล (ต่อ)
ต่อสถาบันการเงิน 1. ทำให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการที่จะขยายสินเชื่อให้เกษตรกร มากขึ้นเพราะการประกันภัยจะช่วยลดความเสี่ยง 2. ทำให้เกษตรกรมีเงินออมและเงินออมเหล่านี้จะเป็นแหล่งเงินทุนของ สถาบันการเงินต่อไป 3. เป็นการเปิดโอกาสให้สถาบันเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานกับ เกษตรกรมากขึ้น

19 ปัญหาอุปสรรคจากผลการดำเนินงานประกันภัยพืชผล
1. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันภัยค่อนข้างสูง อัตราเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บ 2. เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันภัยพืชผล ทำให้ ไม่สามารถขยายโครงการต่อได้ 3. ขาดแคลนข้อมูลในการประเมินผลเสียหายทางผลผลิตพืช การกำหนด จำนวนความคุ้มครอง เบี้ยประกันภัย 4. ขาดการประสานงาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. บริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยมากกว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บทำให้ ประสบภาวะขาดทุน

20 โครงการ Model ของ JBIC สำนักงาน คปภ. ธ.ก.ส. พัฒนาการต่อเนื่อง
ศึกษาการประกันภัยพืชผลใช้ดัชนีภูมิอากาศ ประเภทข้าว โครงการ Model ของ JBIC พื้นที่นำร่อง 5 อำเภอ จ.ขอนแก่น อ.เมือง อ.พล อ.หนองสองห้อง ชุมแพ บ้านไผ่ สำนักงาน คปภ. บริษัทสมโพธิ์เจแปนฯ ธ.ก.ส. ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)

21 Contact Us สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) Office of Insurance Commission (OIC) สถานที่ติดต่อ : 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Address : 22/79 Ratchadapisek Rd. Chandrakasem District Chatuchak Bkk โทรศัพท์ : สายด่วนประกันภัย 1186 Website :

22 ขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
Office of Insurance Commission ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการประกันภัยพืชผล การเกษตรที่เกิดจากภัยธรรมชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google