งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อาชีวอนามัย บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อาชีวอนามัย บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อาชีวอนามัย บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 อาชีวอนามัย มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกายและสติปัญญาเป็นเลิศ
แต่มนุษย์ยังต้องอาศัยปัจจัยสี่เพื่อสุขภาพอนามัยของร่างกายและสติปัญญาในการประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องกระทำเพื่อให้มาซึ่งรายได้ในการดำรงชีพ การที่คนเราจะมีสุขภาพอนามัยที่ดีก็ด้วยการพึ่งรายได้ในการจับจ่ายสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ คนวัยทำงานส่วนมากไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง หรือลูกจ้าง จำเป็นต้องใช้ชีวิตนอกบ้านและอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมการทำงานทั้งดีและเลว

3 ประเทศต่างๆ ในโลกมีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ จากการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ
มีคนส่วนมากเข้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมและใช้ชีวิตอยู่ในสถานประกอบการไม่น้อยกว่าวันละ 8 ชั่วโมง ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการหรือโรงงานเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพทั้งหลายจึงอยู่ในภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ (occupational diseases) และเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ( occupational accidents)

4 สถิติการเจ็บป่วยจากการทำงาน พ.ศ.2551

5 อาชีวอนามัย (Occupational Health) มาจากคำว่า “อาชีวะ” และคำว่า “อนามัย”
อาชีวอนามัย หมายถึง สุขภาพอนามัยในการประกอบอาชีพ โดยทั่วไปความหมายรวมไปถึงความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพด้วย ความปลอดภัย ( Safety) หมายถึง สภาวะที่ปราศจากอันตราย การบาดเจ็บ ความเสี่ยงและการสูญเสีย

6 งานอาชีวอนามัย หมายถึง การดำเนินงานหรือการให้บริการซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพ หมายถึง ผู้ทำงานในอาชีพต่างๆ ที่อาจเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายและความไม่ปลอดภัยขณะทำงาน จำต้องดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองเป็นอย่างดีและได้รับการบริการอาชีวอนามัย เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนนาน

7 แขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย
อาชีวสุขศาสตร์(Occupational hygiene) หรือสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นแขนงวิชาการเกี่ยวข้องในด้านการค้นหาปัญหา การประเมินหรือตรวจสอบปัญหาและการควบคุมหรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพ

8 อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational medicine ) หรือเวชศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นแขนงวิชาการที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางการแพทย์ การวินิจฉัยและรักษาโรคและความพิการจากการประกอบอาชีพ ตลอดจนการฟื้นฟูความพิการอีกด้วย

9 อาชีวนิรภัย(Occupational safety) หรือความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นแขนงวิชาการที่มุ่งเน้นหนักในการป้องกันอุบัติเหตุและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน เออร์กอนอมิกส์ (Ergonomics) เป็นแขนงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจของคนงาน

10 วัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัย
เพื่อการดูแลผู้ประกอบอาชีพให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม โดยจัดให้มีการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพความพิการ เพื่อการควบคุมสิ่งแวดล้อมการทำงาน โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยง การวางแผนป้องกันอัคคีภัย การตรวจเช็คสภาพของเครื่องจักรและการจัดสถานที่ทำงานให้เหมาะสม

11 องค์ประกอบของงานอาชีวอนามัย
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. การบริการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการทำงาน สิ่งแวดล้อมการทำงานเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและผู้ร่วมกิจการทำให้เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนดำเนินการตั้งแต่ต้น โดยให้การดูแลทางด้านความปลอดภัย การดูแลทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและการดูแลทางด้านเออร์กอนอมิกส์

12 2. การบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของคนงาน การดูแลให้คนงานที่มีร่างกายและจิตใจแตกต่างกัน สามารถทำงานร่วมกันได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าคนงานเป็นทรัพยากรที่ต้องมีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมการทำงาน ดังนั้นการดูแลสุขภาพอนามัยของคนงานจึงเป็นสิ่งที่ต้องจัดการ โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูความพิการ

13 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย
งานอาชีวอนามัยจะดำเนินไปได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรและนักวิชาการสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผู้ประกอบอาชีพต่างๆให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และมีความปลอดภัยจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพต่างๆ บุคลากรเหล่านี้ได้แก่

14 1. นักอาชีวอนามัย หรือนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นนักวิชาการที่ทำหน้าที่ค้นหาปัญหา การประเมินปัญหา และการเสนอแนะมาตรการในการควบคุมหรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมภายในโรงงาน 2. วิศวกรความปลอดภัย เป็นนักวิชาการที่มีบทบาทในการตรวจสอบสภาพการทำงานให้ปลอดภัย ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

15 3. แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือนักเวชศาสตร์อุตสาหกรรม มีหน้าที่เฝ้าระวังทางการแพทย์ การวินิจฉัยและรักษาโรค การฟื้นฟูสภาพความพิการ และป้องกันการเกิดโรคจากการทำงาน 4. พยาบาลอาชีวอนามัย เป็นบุคคลที่ทำงานประสานกับแพทย์ทั้งทางด้านส่งเสริม การฟื้นฟูและการรักษาเพื่อให้คนงานมีสุขภาพอนามัย 5. แพทย์กายภาพบำบัด เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูสภาพร่างกายของคนงานที่ได้รับอุบัติเหตุและการบาดเจ็บให้สามารถดำเนินชีวิตและกลับมาทำงานได้ตามปกติหรือทำงานใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย

16 งานอาชีว อนามัย นักอาชีว พยาบาล อาชีวอนามัย แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
วิศวกรความปลอดภัย แพทย์กายภาพบำบัด พยาบาล อาชีวอนามัย บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย

17 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หน่วยงานต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม

18 กระทรวงสาธารณสุข 1. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ทำหน้าที่วิจัย สืบค้นข้อมูลมาสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการเสนอเป็นกฏหมายเพื่อป้องกันโรค 2. งานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทำหน้าที่สืบค้นปัญหา เฝ้าระวังทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3. โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่วินิจฉัยโรคของผู้ป่วยจากการทำงาน

19 กระทรวงอุตสาหกรรม 1. สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี รับผิดชอบงานเกี่ยวกับเครื่องจักร การทำเหมืองแร่ 2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม ควบคุมโรงงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนต่อประชาชน 3. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่ในเขตเดียวกันอย่างมีระเบียบ เป็นกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมให้กระจายสู่ภูมิภาค

20 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
1. สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน สนับสนุนวิชาการ จัดสัมมนา ตรวจ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแรงงาน 2. กองตรวจความปลอดภัย สังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 3. กองคุ้มครองแรงงาน ตรวจ การจ้างแรงงาน และการใช้แรงงาน ตามกฏหมาย

21 หน่วยงานต่างประเทศ 1. สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The National Institute for Occupational Safety and Health; NIOSH) เป็นหน่วยงานภาครัฐ มีหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย 2. สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (The Occupational Safety and Health Administration; OSHA) เป็นหน่วยงานภาครัฐ ทุกรัฐ มีหน้าที่กำหนดมาตรฐาน ออกกฏหมาย ตรวจสถานประกอบการ

22 3. สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Conference of Government Industrial Hygienists; ACGIH) จัดตั้งโดยกลุ่มนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสื่อกลาง แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความร่วมมือ

23 สิ่งแวดล้อมการทำงาน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment)
สิ่งแวดล้อมทางเคมี (chemical environment) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (biological environment) สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม (psychosocial environment) สิ่งแวดล้อมการทำงานทั้ง 4 ประเภท ที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิด อันตรายต่ออวัยวะต่างๆในร่างกายของผู้ทำงาน จนอาจทำให้ พิการหรือเสียชีวิต

24 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่คุกคามสุขภาพ
คลื่นเสียง:-เสียงความถี่สูงและต่ำ เสียงรบกวน อุณหภูมิ:- ความร้อน ความเย็น รังสีแม่เหล็ก :-เครื่องตรวจโดยอาศัยการสร้างภาพจากคลื่นแม่เหล็ก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า:-แสงสว่าง เลเซอร์ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ รังสีเหนือม่วง เอ็กซ-เรย์ สนามคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กัมมันตภาพรังสี:-รังสีและสารกัมมันตรังสี (แอลฟ่า เบต้าและแกมมา) อื่นๆ:-ความดันอากาศต่ำ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นหิน

25 สิ่งแวดล้อมทางเคมีที่คุกคามสุขภาพ
สารเคมีอุตสาหกรรม :- โลหะหนัก สารระเหย สารทำละลาย แก๊สพิษ สารระคายเคือง สารเคมีการเกษตร :- สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูสัตว์เลี้ยง สารกำจัดวัชพืช สารเคมีในบ้านเรือน :- สารกำจัดยุง แมลงสาบ สารกำจัดหนู เครื่องสำอาง :- ครีมทาฝ้า โลชั่น แชมพู น้ำยาดัดผม น้ำยาย้อมผม ยาว :-ยาระงับความเจ็บปวด ยาลดน้ำมูก ยากดประสาท

26 การจำแนกประเภทสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
1. สารพิษ 2. สารก่อพิษ 3. สารก่อมะเร็ง 4. สารก่อให้เกิดการแพ้ 5. สารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ 6. สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแก่เด็กในครรภ์

27 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพที่คุกคามสุขภาพ
เชื้อก่อโรค:- ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา สัตว์พิษ:- งูพิษ แมลงพิษ พืชพิษ:- เห็ดพิษ ฝุ่นละอองจากซากสิ่งมีชีวิต

28 การจำแนกประเภทสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
1. สารพิษ 2. สารก่อพิษ 3. สารก่อมะเร็ง 4. สารก่อให้เกิดการแพ้ 5. สารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ 6. สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแก่เด็กในครรภ์

29 สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม
ส่วนมากเป็นเรื่องของสิ่งคุกคามทางจิตที่เกิดขึ้นจากการทำงานภายใต้ความกดดันทางเศรษฐกิจและสังคม การได้รับค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม การได้รับมอบหมายภาระงานมากเกินกำลัง งานกะ งานเร่งนโยบายขององค์กร กฏระเบียบที่เคร่งครัด และสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม หลากหลายปัจจัยเหล่านี้เมื่อมาผสมรวมกันเข้ามักจะเป็นสาเหตุของ ความเครียด (stress) เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในร่างกายและทำให้เกิดโรคหรืออารมณ์ที่แปรปรวนได้ ความเครียดเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญ จะมีผลต่อการควบคุมการทำงานของร่างกายและชักนำให้เกิดโรคต่างๆได้

30 การดำเนินงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นหน้าที่ของนักอาชีวอนามัย เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม ต้องใช้หลักการที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. การตระหนัก (Recognition) คือ การค้นหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอันตรายต่างๆในที่ทำงาน 2. การประเมิน (Evaluation) คือ การประเมินระดับอันตรายโดยใช้ข้อมูลที่สืบค้นหรือตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 3. การควบคุม (Control) คือ การควบคุมอันตรายที่แฝงอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดและการประเมินระดับอันตรายที่แฝงอยู่

31 การคุ้มครองผู้บริโภค

32 ผู้บริโภคสินค้าไม่อาจทราบได้ว่าสินค้าที่ซื้อนั้นมีคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ เนื่องจากการผลิตสินค้าในปัจจุบันมีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากเกินกว่าความสามารถของผู้บริโภคจะหยั่งรู้ได้ ไม่มีฉลากกำกับรายละเอียดส่วนประกอบ วิธีใช้ผลิตภัณฑ์ หรือคำเตือนถึงอันตราย

33 การโฆษณาเกินจริง หลอกลวงให้หลงเชื่อ ไม่รู้เท่าทัน
ยา เช่น ยาลดความอ้วน ลดหน้าท้อง อาหารเสริมสุขภาพ เช่น อาหารบำรุงสมอง ป้องกันโรคครอบจักรวาล การบำบัดรักษาแพทย์ทางเลือก เช่น อุปกรณ์แม่เหล็ก รักษาโรค เครื่องสำอาง เช่น ครีมหน้าขาวที่มีสารปรอท สมุนไพร เช่น ยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์

34 Consumer protection การคุ้มครอง (protection) หมายความถึง การป้องกัน ปกป้อง ระวัง ดูแล พิทักษ์รักษา ให้อารักขา กันไว้ไม่ให้เกิดอันตราย บาดเจ็บหรือเกิดความเสียหาย ผู้บริโภค (consumer) หมายความถึง ผู้นำเอาสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่ซื้อมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และอาจเป็นผู้ได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ

35 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. การคุ้มครองผู้บริโภคในระหว่างขั้นตอนการผลิต (pre-marketing consumer protection) เช่น การผลิตสินค้าหรือการบริการที่มีความสำคัญ เป็นต้น หรืออาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่สุขภาพของผู้บริโภคได้

36 2. การคุ้มครองผู้บริโภคในช่วงที่มีการวางจำหน่ายสินค้า หรือการบริการในท้องตลาดแล้ว(intra-marketing consumer protection) เช่น การสุ่มตรวจคุณภาพ ราคา ฉลากของสินค้าในท้องตลาด รวมทั้งเตือนผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากสินค้านั้น 3. การคุ้มครองผู้บริโภคภายหลังการวางจำหน่าย สินค้า หรือการบริการ (post-marketing consumer protection) เช่น การรับเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยใช้มาตรการทางกฎหมาย

37 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 2 พ.ศ.2541
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมความหมายคำว่า ผู้บริโภค ผู้บริโภค หมายความถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

38 สิทธิของผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541ในมาตรา 4
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริง และปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

39 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยปราศจากการผูกขาดทางการค้า และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินในกรณีใช้ตามคำแนะนำ หรือระมัดระวังตามสภาพสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

40 4. ทวิสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา (พรบ. ฉบับที่2) 5
4. ทวิสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา (พรบ.ฉบับที่2) 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2 และ 3 ดังกล่าว

41 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
การโฆษณาเป็นพฤติกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อผู้บริโภคพร้อมกันกับกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งทางการค้า การใช้โฆษณาเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อการค้าของคู่แข่งย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคด้วยในทำนองเดียวกัน ดังนั้นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมนี้จึงถูกถือว่าเป็นความผิดต้องห้ามและมีโทษ การควบคุมการโฆษณาจึงมิได้มุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข่าวสารที่เป็นจริงแต่ฝ่ายเดียว หากแต่มุ่งหมายจะขจัดการกระทำที่ไม่เป็นธรรมทางการค้าไปพร้อมๆกัน

42 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
ฉลากสินค้าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการโฆษณาสินค้า ผู้บริโภคจะอ่านรายละเอียดของสินค้าในฉลากก่อนเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นสินค้าที่ติดฉลากย่อมได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากกว่าสินค้าที่ไม่ติดฉลาก ข้อความบนฉลากควรตรงความเป็นจริงและไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า

43 ป้ายโฆษณา ร่มโฆษณา ฉลากสิ้นค้า

44 การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าแบบเงินผ่อน จึงทำให้เกิดข้อผูกพันระหว่างผู้ซื้อหรือลูกหนี้และผู้ขายหรือเจ้าหนี้ โดยการทำนิติกรรมสัญญาซื้อขายภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นสัญญาสำเร็จรูป (standard from contact) ที่กำหนดโดยผู้ประกอบธุรกิจที่พิทักษ์ประโยชน์ของตนมากกว่าผู้บริโภค จึงเกิดความไม่เป็นธรรมในการทำสัญญา

45 การคุ้มครองผู้บริโภคประการอื่นๆ
นอกเหนือจากการโฆษณาและการติดฉลาก หากสินค้าที่โฆษณานั้นมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค เช่น สินค้าประเภทอาหารและยา อาจถูกสั่งให้พิสูจน์คุณภาพก่อนวางจำหน่าย หากเป็นกรณีเร่งด่วนอาจสั่งห้ามขายสินค้าชั่วคราว เช่น ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ำ” หรือ “ตัวดูด”

46 การควบคุมเครื่องสำอางตามกฎหมายใน พรบ. แบ่งออกเป็น 4 ระดับ
1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เพราะมีส่วนประกอบมีพิษ หรือวัตถุอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงต่อสวัสดิภาพและอนามัยบุคคล 2. เครื่องสำอางควบคุมการผลิต การนำเข้าเพื่อจำหน่าย 3. เครื่องสำอางที่ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่ายเพื่อความปลอดภัย 4. เครื่องสำอางควบคุมฉลาก เพื่อให้ผู้บริโภคทราบละเอียดของเครื่องสำอาง

47 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ. ศ
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ แบ่งวัตถุอันตรายตามการควบคุมเป็น 4 ชนิด วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด โดยไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนและไม่ต้องขออนุญาต วัตถุอันตรายชนิดที่ 2  ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนและแจ้งการดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาต วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง

48 ผลิตภัณฑ์อาหารในความควบคุมดูแลของ อย. ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลาก
1. อาหารควบคุมเฉพาะ เป็นอาหารที่ต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยต้องนำสูตรอาหาร และส่วนประกอบอาหารไปขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หากยังไม่ได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนจะผลิตไม่ได้ 2. อาหารควบคุมมาตรฐาน ผลิตตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องนำสูตรอาหารไปขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร 3. อาหารควบคุมฉลาก เพื่อระบุรายละเอียดของอาหาร แต่ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

49 การควบคุมยาตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
(1) ยาอันตราย ที่มีส่วนผสมหรือตัวยาที่จะเป็นอันตราย (2) ยาควบคุมพิเศษ ที่รัฐมนตรีประกาศให้การจำหน่ายอยู่ภายใต้การควบคุมพิเศษ (3) ยาใช้ภายนอก ที่มิใช่เพื่อการรับประทานทางปากหรือนำเข้าร่างกายโดยวิธีอื่น (4) ยาสามัญประจำบ้าน ที่มีไว้ประจำบ้านและหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป (5) ยาสมุนไพร ที่ผลิตจากพืชโดยไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี

50 โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
1. โรคการได้ยินเสื่อม สาเหตุมาจากเสียงดัง 2. โรคฮีทสโตรก สาเหตุมาจากความร้อน 3. โรคเท้าเปื่อย หรือโรค Frostnip - Frostbite สาเหตุมาจากความเย็น คนในเขตหนาวเย็นมักเป็นกัน 4. โรคโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนหรือหลอดเลือดตีบ สาเหตุมาจากความสั่นสะเทือน 5. โรคเจ็บป่วยเหตุรังสี สาเหตุมาจากรังสีแม่เหล็ก 6. โรคเคซอง (Caisson disease) สาเหตุมาจากความกดอากาศลด 7. โรคซิลิโคซิส สาเหตุมาจากฝุ่นหิน โรคปอดอักเสบ สาเหตุมาจากฝุ่นดิน

51 โรคพิษจากโลหะหนัก 1. โรคพิษตะกั่ว สาเหตุมาจากตะกั่ว อาการของโรค ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ ชา อ่อนแรง เม็ดเลือดแดงแตก 2. โรคมินามาตะ สาเหตุมาจากปรอท อาการของโรค ได้แก่ เริ่มที่มือและหน้าบวม มีอาการเจ็บชา อัมพาต เดินเซ ปวดศีรษะ ความจำเสื่อม บางคนเสียสติ ในที่สุดเสียชีวิต 3. โรคพิษสารหนู สาเหตุมาจากสารหนู อาการของโรค ได้แก่ แสบคอ คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ 4. โรคอิไต-อิไต สาเหตุมาจากแคดเมียม อาการของโรคได้แก่ เจ็บกระดูกที่ส่วนน่อง กระดูกสันหลัง เมื่อปวดมากจะร้องครวญคราง 5. โรคพิษฟอสฟอรัส สาเหตุมาจากฟอสฟอรัส อาการของโรค ได้แก่ กระดูกที่สัมผัสฟอสฟอรัสจะผุกร่อน ระบบต่างๆจะเป็นพิษเมื่อสัมผัสฟอสฟอรัสนานๆ

52 โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
1 แบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ โรคบรูเซลโลซิส โรคเลปโตสไปโรซิส โรคตับอักเสบ โรควัณโรค 2 ไวรัส ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคเอดส์ โรสมองอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เหลือง โรคไข้หวัดใหญ่ 3 เชื้อรา ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคผิวหนังกลากเกลื้อน 4 พยาธิ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคพยาธิปากขอ โรคพยาธิใบไม้ 5 ฝุ่นละออง จากเศษซากพืชและสัตว์ ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ โรคบิสซิโนซิส(โรคปอดฝุ่นฝ้าย)

53 การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (personal protective equipment)

54 Thank You Kingsoft Office Make Presentation much more fun


ดาวน์โหลด ppt อาชีวอนามัย บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google