ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา การศึกษาไทย ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ความหมายของการศึกษา ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลหรือจากสื่อใด ๆ ไปสู่บุคคล เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งความรูเหล่านี้ จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ให้ สมบูรณ์
การศึกษา การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาตามหลักสูตรที่มีการกำหนดองค์ความรู้ วิธี การศึกษา ระยะเวลา และจุดมุ่งหมายที่แน่นอน อีกทั้งมี การวัดผลและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ตาม วัตถุประสงค์ได้อย่างเต็มที่
การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นขององค์ความรู้ วิธีการศึกษา ระยะเวลา รูปแบบวิธีจัดการศึกษา ระยะเวลา ตลอดจนการวัดผล ประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนกลุ่มที่มีความจำเป็นโดยไม่สามารถไปเรียน ตามระบบการศึกษาในระบบได้
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนนั้นสามารถศึกษาเล่า เรียนได้ด้วยตนเอง ตามความพร้อม ความสนใจ โอกาส และศักยภาพของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษา 1.ช่วยขัดเกลาให้ผู้ได้รับการศึกษามีจิตใจอันดีงาม มีจิตสำนึกและ คุณธรรม รู้ว่าสิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ 2.ช่วยให้ผู้ได้รับการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ความรู้ที่ได้รับไป ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถประกอบอาชีพที่ เลี้ยงดูตนเอง และครอบครัวได้
3.ผู้ที่ได้รับการศึกษาที่ดี จะสามารถช่วยเกื้อหนุนประเทศชาติให้สามารถ ธำรงอยู่สืบไปอย่างมั่นคง สืบเนื่องจากการศึกษานั้น จะเป็นการปลูกฝังให้ ผู้ได้รับการศึกษารู้จักรักและหวงแหนในประเทศชาติของตน 4.ประเทศชาติที่มีการศึกษาที่ดี จะทำให้มีพลเมืองมีศักยภาพ ส่งผลให้ การพัฒนาประเทศก้าวล้ำตามไปด้วย ส่งผลให้ทัดเทียมต่อนานา อารยประเทศได้
จุดมุ่งหมายการศึกษา คือจุดที่ต้องพยายามไปให้ถึงเป็นสิ่งที่หวังไว้ในอนาคต เป็นเครื่องบอก ทิศทางให้ผู้ทำงานอย่างหนึ่งพยายามไปให้ถึงจุดนั้น เปรียบเสมือนผู้กำหนด ทิศทาง ดังนั้นจุดมุ่งหมาย ทางการศึกษาจึงเป็นการกำหนดทิศทางของ กิจกรรมทางการศึกษาให้ได้ดังที่พึงประสงค์ไว้
พิจารณาจากกระบวนการสอนที่เรียกว่า OLE จะประกอบด้วย 1) O = Objective = จุดมุ่งหมาย 2) L = Learning Experience = การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน 3) E = Evaluation = การประเมินผล
1. จุดมุ่งหมาย (Objective) การเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3 ด้านตาม จุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ด้านความรู้ความคิด (ด้านพุทธิพิสัย) ด้าน เจตคติ (ด้านจิตพิสัย) คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ด้านทักษะพิสัย) คือการปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย
2. การเรียนการสอน (Learning Experience) เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการศึกษา เพราะเป็นการนำ หลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของ การศึกษาจะดีหรือไม่นั้น การสอนเป็นสำคัญซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและ เสริมสร้างผู้เรียนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีประสบการณ์การ เรียนรู้เพิ่มขึ้น
3. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนบรรลุผลมากน้อย เพียงใด ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนขึ้นอยู่กับการพัฒนาทาง สติปัญญาและทางร่างกาย ซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียน จะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและวิธีการเรียน การสอน
อ้างอิง http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit3/level3-1.html https://www.im2market.com/2016/01/30/2808 http://www.educatorroundtable.org/2-2/
จัดทำโดย 1.นางสาวดาริณี ศรีคูณ 6080105113 2.นางสาวรสสุคนธ์ หมวกเหล็ก 6080105122 3.นางสาวศศิประภา ขันเงิน 6080105125 4.นายภูวดล บุญมาศ 6080105131 5.นายวิทวัส ตอพรหม 6080105132