รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน 22 มิถุนายน 2558 ข้อมูล ณ เวลา 10.00 น. www.thaiwater.net/hourlyreport และ www.nhc.in.th 1
สถานการณ์ปัจจุบัน พายุโซนร้อน“คูจิระ”(KUJIRA) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางเหนือ เข้าสู่เกาะไหหลำ และทางตอนใต้ของประเทศจีน กลุ่มเมฆฝน มีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันตกของประเทศไทย ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร ระดับน้ำในแม่น้ำสำคัญ ระดับน้ำบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงน้อยวิกฤต ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล 0.18 กรัม/ลิตร (เกณฑ์ความเค็มมาตรฐานน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.25 กรัม/ลิตร)
สถานการณ์ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่วันที่ 22 มิ.ย. 58 ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศเหลืออยู่ 46% โดยทั้งนี้กรมชลประทานได้ปรับลดการระบายน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการใช้น้ำในฤดูฝนนี้ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 31% น้ำใช้การได้จริงเพียง 323 ล้าน ลบ.ม. โดยต้องเก็บน้ำไว้สำรองความมั่นคงทางด้านพลังงานอีก 176 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวานนี้ไม่มีน้ำไหลลงอ่างฯ สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต ปัจจุบันระบายน้ำวันละ 8 ล้าน ลบ. เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 36% เป็นน้ำใช้การได้จริง 615 ล้าน ลบ.ม. โดยต้องเก็บน้ำไว้สำรองความมั่นคงทางด้านพลังงานอีก 146 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯอยู่ที่ 2.78 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ปัจจุบันระบายน้ำวันละ 22.23 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 8% เป็นน้ำใช้การได้จริง 73 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวานนี้ไม่มีน้ำไหลลงอ่างฯ สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ปัจจุบันระบายน้ำวันละ 1.36 ล้าน ลบ.ม.
การคาดการณ์ฝนและความสูงคลื่นทะเล คาดการณ์ฝน ช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. 58 พายุโซนร้อน“คูจิ ระ”(KUJIRA) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้จะมีฝนตก ปานกลางถึงหนักบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ด้าน ตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง คาดการณ์ฝน ช่วงวันที่ 25-28 มิ.ย. 58 มรสุมตะวันตก เฉียงใต้ยังคงทวีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับ พายุ “คูจิ ระ”(KUJIRA) จะเข้าสู่เกาะไหหลำ และทางตอนใต้ของ ประเทศจีน ส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก กับ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณด้านตะวันตกของ ภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.ตาก คาดการณ์คลื่น ช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. 58 มรสุมตะวันตก เฉียงจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมฝั่งอันดามัน และฝั่ง อ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยช่วงวันที่ 24 มิ.ย. ทะเลอันดา มันตอนบน และทะเลอ่าวไทยตอนบน อาจมีความสูงคลื่น มากกว่า 2 เมตร 4
เส้นทางพายุและภาพถ่ายจากดาวเทียม MTSAT-2 วันที่ 22 มิ.ย. 58 เวลา 9.00 น. 5 5
ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงย้อนหลังสูงสุด วันที่ 22 มิ.ย. 58 เวลา 10.00 น. 6
สถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ ( 22 มิ.ย. 58) ระดับน้ำบริเวณภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ อยู่ในเกณฑ์น้อยถึง น้อยวิกฤต 7
ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างขนาดใหญ่ (22 มิ.ย. 58)
ค่าความเค็มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา (22 มิ.ย. 58) ค่าความเค็มบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา (22 มิ.ย. 58) เวลา 10.00 น. สถานีสำแล สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ที่มา: การประปานครหลวง
การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF-ROMS (ความละเอียด 3x3 กม 22 มิ.ย. 58 23 มิ.ย. 58 24 มิ.ย. 58 10
การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF-ROMS (ความละเอียด 9x9 กม 25 มิ.ย. 58 26 มิ.ย. 58 27 มิ.ย. 58 28 มิ.ย. 58 11 11
คาดการณ์ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน และน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 44 4 25 1 2 0.1 0.01 9 3 ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน ระหว่างวันที่ 22-28 มิ.ย. 58 อ่างเก็บน้ำ/ลุ่มน้ำ ปริมาณท่า (ล้าน ลบ.ม.) ภูมิพล 44 สิริกิติ์ 25 ป่าสัก 9 ลุ่มน้ำยม 5 ที่มา: สสนก. 12 XX ปริมาณน้ำท่า (ล้าน ลบ.ม.)
คาดการณ์ความสูงและทิศทางคลื่นทะเลบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน 22 มิ.ย. 2558 7.00 น. 19.00 น. 23 มิ.ย. 2558 24 มิ.ย. 2558 7.00 น. 19.00 น. 7.00 น. 19.00 น. ที่มา: สสนก. 13
ปัจจัยที่ใช้ในการคาดการณ์ฝนรายฤดูกาล ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุม Indian Monsoon Index - ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย Western Pacific Monsoon Index - ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิก Madden-Julian Oscillation (MJO) - ความผันแปรของลักษณะอากาศในเขตร้อน พบว่า ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย ปี 2558 มีค่าสูงกว่าปกติมาก ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรง ปัจจัยระดับภูมิภาค: ดัชนีสมุทรศาสตร์ Oceanic Niño Index (ONI) - บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก Pacific Decadal Oscillation Index (PDO) - บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ Dipole Mode Index (DMI) - บริเวณมหาสมุทรอินเดีย พบว่า ดัชนี ONI PDO และ DMI ปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2530 โดยจะมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย สูงกว่าปกติ ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดียของปี 2558 มีค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อยตั้งแต่ต้นปี และมีค่าสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ปัจจุบันดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดียสูงกว่าค่าปกติมาก ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผล ให้ในระยะ 2-4 สัปดาห์จะมีฝนตกหนาแน่นบริเวณด้านรับลมมรสุม โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ
ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิก สูงกว่าปกติ ปัจจุบันดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิกมีค่า สูงกว่าปกติ ลมมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีกำลังแรงขึ้น
ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนี MJO (Madden-Julian Oscillation) ธันวาคม 2557 มกราคม 2558 ฝนน้อยกว่าปกติ กุมภาพันธ์ 2558 มีนาคม 2558 ฝนใกล้เคียงปกติ เมษายน 2558 ฝนมากกว่าปกติ พฤษภาคม 2558 มิถุนายน 2558 ปัจจุบัน ดัชนี MJO ตรงบริเวณประเทศไทยมีค่าต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ในระยะ 2 สัปดาห์ข้างหน้า จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ ที่มา: NCEP/CDAS and CFS
ปัจจัยระดับภูมิภาค: ดัชนีสมุทรศาสตร์ ONI= +0.74 IOD = +0.19 PDO = +1.44 Source http://www.ospo.noaa.gov/Products/ocean/sst/anomaly/index.html ONI: http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/ensostuff/ensoyears.shtml PDO: http://jisao.washington.edu/pdo/PDO.latest IOD: http://www.jamstec.go.jp/frcgc/research/d1/iod/DATA/dmi.monthly.ascii ดัชนี PDO ยังคงสภาพเป็นบวก ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ +1.20 (เดือนก่อนหน้าเป็น +1.44) ดัชนี ONI (ENSO) มีสภาพเป็นบวกหรือเอลนีโญอ่อนๆ ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ +0.74 (เดือนก่อนหน้าเป็น +0.59) ดัชนี DMI (IOD) มีสภาพเป็นกลาง ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ +0.19 (เดือนก่อนหน้าเป็น -0.07) ดัชนี > 0.5 แนวโน้มปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ ดัชนี <-0.5 แนวโน้มปริมาณฝนมากกว่าปกติ Pacific Decadal Oscillation (PDO) เป็นค่าเฉลี่ย SSTA เดือนเมษายน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือ 20oN Oceanic Niño Index (ONI) เป็นค่าเฉลี่ย SSTA 3 เดือน (กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน) ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณ 5oN-5oS, 120o-170oW Indian Ocean Dipole (IOD) เป็นผลต่าง SSTA ของเดือนมีนาคม บริเวณ 50-70oE, 10oS-10oN และ 90-110E, 10oS-0oN 18
จัดกลุ่มปีที่มีดัชนีระดับภูมิภาคใกล้เคียงกัน แนวโน้มปริมาณฝนปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2530 ดัชนีระดับภูมิภาค ช่วงเดือนตุลาคม 2557 – เดือนมีนาคม ปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2529/2530 คาดการณ์ได้ว่าในระยะ 6 เดือนข้างหน้า หรือระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนพฤศจิกายน 2558 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนใกล้เคียงกับปี 2530 โดย หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยจะมีปริมาณฝนสะสม 6 เดือน ประมาณ 1,000-1,200 มิลลิเมตร
เปรียบเทียบปริมาณฝนสะสม 3 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ค่าเฉลี่ย 30 ปี ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2530 597.10 mm. 569.85 mm. -27.27%
เปรียบเทียบปริมาณฝนสะสม 3 เดือน ระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ค่าเฉลี่ย 30 ปี 483.67 mm. ปี 2530 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี 571.49 mm. +35.11%
เปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2530 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี มิถุนายน 177 mm. 188 mm. +11.28% กรกฏาคม 189 mm. 116 mm. -73.29% สิงหาคม 231 mm. 266 mm. +34.73%
เปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน เดือนกันยายน-พฤศจิกายน ค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2530 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี กันยายน 242 mm. 271 mm. +29.75% ตุลาคม 163 mm. 130 mm. -32.46% พฤศจิกายน 79 mm. 116 mm. +37.82%
ปริมาณน้ำไหลเข้า - เขื่อนภูมิพล เฉลี่ย 2553 2530 2556 2558 2557 ปี 2530 ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมน้อยกว่าค่าเฉลี่ย และน้อยกว่าปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้ง แต่มากกว่าปี 2556 และปี 2557 โดยส่วนใหญ่จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ปริมาณน้ำไหลเข้า - เขื่อนสิริกิติ์ 2553 เฉลี่ย 2557 2556 2558 2530 ปี 2530 ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และน้อยกว่าปี 2553 แต่มากกว่าปี 2556 และปี 2557 โดยส่วนใหญ่จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน
สรุปผลคาดการณ์ปริมาณฝนปี 2558 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม ปี 2558 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนค่อนข้างต่ำกว่าปกติ หรือใกล้เคียงกับปี 2530 เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2558 จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนกลางของประเทศ จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือตอนบน ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง แต่ตอนกลางของภาคเหนือ ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกบริเวณ จ.จันทบุรีและตราด จะมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติ เดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2558 จะมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติ โดยจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนกันยายน บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก แต่ในช่วงเดือนตุลาคม จะมีฝนต่ำกว่าปกติเกือบทั่วทุกภาค ยกเว้น ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ระยองและชลบุรี จะยังมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติ