งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์ สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๑๔ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์ สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๑๔ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์ สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๑๔ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร 1

2 วาระการประชุม ระเบียบวาระที่ ๑เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๒รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ ระเบียบวาระที่ ๓เรื่องเพื่อทราบ ๓.๑สำเนาหนังสือสำนักงานประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและ อุทกภัย ที่ สบอช(กบอ)/๑๐๒ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของ คณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ระเบียบวาระที่ ๔เรื่องเพื่อพิจารณา ๔.๑ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ๔.๒ผลการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำรายสัปดาห์ ระเบียบวาระที่ ๕เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) 2

3 3 ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา 3 ๔.๑ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้าตามข้อเสนอแนะของการประชุมครั้งที่แล้ว (๑๘ พค ๒๕๕๕) ๑.กรมทรัพยากรน้ำ สรุปข้อมูลประมาณการการใช้น้ำ และประสานงานการประปานครหลวงและการประปา ส่วนภูมิภาคในส่วนของข้อมูลการประเมินปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (นำส่งรายงาน ๒๕ ลุ่มน้ำ ๒๔ พค ๕๕) ๒.กรมชลประทาน สรุปข้อมูลแผนการใช้น้ำในภาคชลประทานของแต่ละพื้นที่ (นำส่งข้อมูล ๒๔ พค ๕๕) ๓.GISTDA ให้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม กำหนดมาตรฐานพิกัดเป็น lat lon มีภาพ drought index, soil moisture, land use (อัพเดททุกเดือน), flood map, NDVI อัพเดททุกอาทิตย์ (นำส่งข้อมูล ๒๔ พค ๕๕) ๔.คณะทำงาน เพิ่มเติมข้อมูลการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม (จากรายงาน ๒๕ ลุ่มน้ำ ๒๔ พค ๕๕) ๕.คณะทำงาน เพิ่มเติมข้อมูลการคาดการณ์ฝนจากกรมอุทกศาตร์ กองทัพเรือ (แก้ไขแล้ว ๒๔ พค ๕๕) ๖.คณะทำงาน แก้ไขแผนที่การแบ่งพื้นที่ย่อยและรายละเอียดในโครงสร้างแบบจำลอง (แก้ไขแล้ว ๒๔ พค ๕๕)

4 4 ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา 4 ๔.๒ผลการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำรายสัปดาห์ ๑.วิเคราะห์สมดุลน้ำในแต่ละพื้นที่ย่อย ๒.คาดการณ์สถานการณ์น้ำ ๓.ข้อเสนอแนะ

5 5 ผลการวิเคราะห์สมดุลน้ำ 5 สัปดาห์ที่แล้ว คาดการณ์สัปดาห์หน้า พื้นที่ สัปดาห์ที่ แล้ว คาดการณ์ สัปดาห์หน้า BLOCK 1 -0.322.91 BLOCK 8 -4.85-4.97 BLOCK 11 -89.59-93.63 ผลสมดลุน้ำรายพื้นที่ (เฉพาะพื้นที่ชลประทาน) หน่วย ล้าน ลบ.ม.

6 6 ผลการวิเคราะห์สมดุลน้ำ 6 สรุปสมดุลน้ำ 1.พื้นที่ Block 1 เขื่อนแม่งัดและเขื่อนแม่กวง ยังระบายน้ำน้อยกว่าความต้องการน้ำของ พื้นที่ชลประทาน แต่การคาดการณ์สัปดาห์หน้า เขื่อนจะระบายน้ำมากขึ้น และ เพียงพอต่อความต้องการณ์ 2.พื้นที่ Block 8 เขื่อนทับเสลา ยังระบายน้ำน้อยกว่าความต้องการน้ำของพื้นที่ ชลประทาน ทั้งในสัปดาห์ที่แล้ว และการคาดการณ์สัปดาห์หน้า 3.พื้นที่ Block 11 การรับน้ำเข้าพื้นที่ของปตร.มโนรมย์และปตร.มหาราช รวมทั้งการ ระบายจากเขื่อนป่าสัก ยังคงน้อยกว่า ความต้องการน้ำของพื้นที่ชลประทาน ทั้งใน สัปดาห์ที่แล้วและการคาดการณ์สัปดาห์หน้า หมายเหตุ -ผลสมดุลน้ำยังเป็นวิเคราะห์เฉพาะพื้นที่ชลประทานในแต่ละ Block -ยังไม่สามารถคำนวณผลสมดุลน้ำนอกเขตชลประทานได้เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการ ต้องการในระดับรายสัปดาห์/รายเดือน -การวิเคราะห์นี้ใช้สัมประสิทธิน้ำท่าจากการศึกษาในอดีต ควรมีการปรับให้มีความ ถูกต้องเป็นปัจจุบันมากขึ้น โดยจะขออนุเคราะห์ข้อมูลจากกรมชลประทาน -การใช้น้ำชลประทานรายสัปดาห์ ยังไม่มีแผนการจัดการน้ำรายสัปดาห์ของฤดูฝนปี 2555 จึงใช้ค่าของสัปดาห์สุดท้ายของแผนการจัดการน้ำฤดูแล้ง ในการคำนวน

7 7 การคาดการณ์สถานการณ์ฝน-ระยะสั้น 7 การคาดการณ์ระยะสั้น เฝ้าระวังฝนตกหนักบริเวณเหนือฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2555 25 พค 55 26 พค 5527 พค 55

8 8 การคาดการณ์สถานการณ์ฝน-ระยะสั้น 8 30 พค 5531 พค 55 29 พค 5528 พค 55

9 9 การคาดการณ์สถานการณ์ฝน-ระยะยาว 9 การคาดการณ์ระยะยาว ล่วงหน้า 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ภาคเหนือจะมีฝนค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ ปกติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเกิดฝน ค่อนข้างมากกว่าเกณฑ์ปกติ ภาคกลางมีโอกาสเกิดฝนค่อนข้างมากกว่า เกณฑ์ปกติ ภาคตะวันออกมีโอกาสเกิดฝนค่อนข้าง มากกว่าเกณฑ์ปกติ ภาคใต้จะมีฝนค่อนข้างมากกว่าเกณฑ์ปกติ IRI (International Research Institute for Climate and Society)

10 10 การคาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อน 10 สถานการณ์ปัจจุบัน ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้ง 33 อ่าง ณ วันที่ 23 พ.ค. 55 อยู่ที่ 37,243 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53% เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 13,745 ล้าน ลูกบาศกเมตร คิดเป็น 20% เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างรวมกัน 11,905 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% น้อยกว่ากว่าปีที่แล้ว 7% หรือ -844 ล้านลูกบาศก์เมตร

11 11 การคาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อน 11 คาดการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล กรณีน้ำน้อย เดือนธันวาคมจะมีปริมาณน้ำกักเก็บ 57% กรณีน้ำปาน กลาง เดือนธันวาคมจะมีปริมาณน้ำกักเก็บ 70% กรณีน้ำมาก เดือนธันวาคมจะมีปริมาณน้ำกักเก็บ 83%

12 12 การคาดการณ์สถานการณ์น้ำในเขื่อน 12 คาดการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ กรณีน้ำน้อย เดือนพฤศจิกายนจะมีปริมาณน้ำกักเก็บ 61% กรณีน้ำปานกลาง เดือนพฤศจิกายนจะมีปริมาณน้ำกักเก็บ 78% กรณีน้ำมาก เดือนพฤศจิกายนจะมีปริมาณน้ำกักเก็บ 95%

13 13 สรุปประเด็นจากที่ประชุมคณะทำงาน 13 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม 1.กรมทรัพยากรน้ำและสำนักระบายน้ำ กทม. เสนอให้ทำ link เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล และ ประชุมคณะทำงานเพียงครั้งคราวเท่านั้น 2.กรมทรัพยากรน้ำเสนอให้ทำ Hydrograph ของแต่ละ Block เพื่อศึกษา Scenario เพื่อ นำไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน 3.กรมชลประทาน เสนอให้ สสนก. List รายชื่อสถานีวัดระดับน้ำ และปตร. ที่จำเป็นต่อการใช้ งานส่งให้ทางกรมชลประทาน เนื่องจากสถานีสำคัญของกรมชลประทานมีเป็นจำนวนมาก สสนก. อาจจะไม่ได้ใช้ทั้งหมด 4.กรมอุตุนิยมวิทยาไม่สามารถส่งข้อมูลปริมาณฝนคาดการณ์ล่วงหน้า มาให้ได้ เนื่องจากไม่มี Output ที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดย Output จะเป็นเปอร์เซ็นต์ปริมาณฝนต่อพื้นที่ รวมทั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่สมรรถนะไม่ดีพอ 5.วันนี้ ( 24 พ.ค. 55) ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตรียมมาให้ ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจาก รูปแบบข้อมูลไม่สะดวกในการนำไปใช้งาน จะปรับให้ถูกต้องในครั้งต่อไป

14 14 สรุปประเด็นจากที่ประชุมคณะทำงาน 14 หน้าที่มอบหมายจากประชุม 1.กรมอุตุนิยมวิทยา 1.1 เสนอความเห็นถึงเหตุการณ์ฝนตกหนักที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. 55 1.2 ข้อมูลที่ต้องจัดเตรียมมาให้ได้ในการประชุมคณะทำงานครั้งต่อไป ประกอบด้วย 1) ผลการคำนวณปริมาณฝนย้อนหลัง 7 วัน ในแต่ละ Block 2) ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละ block 2. กรมชลประทาน 2.1 สำหรับข้อมูลความต้องการใช้น้ำ ทางกรมชลประทานจะส่งข้อมูลแผนการระบายน้ำ ล่วงหน้า 7 วัน มาให้ 2.2 ทางกรมชลประทานจะต้องส่งข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดกลางให้เพิ่มเติม เมื่อ แบบจำลองพร้อมใช้งาน 3.3 ในส่วนของข้อมูลคาดการณ์การระบายน้ำจากประตูระบายน้ำ ทางกรมชลประทานจะ ส่งข้อมูลแผนการระบายน้ำ 7 วันล่วงหน้า ในสภาวะปกติมาให้ใช้งาน

15 15 สรุปประเด็นจากที่ประชุมคณะทำงาน 15 หน้าที่มอบหมายจากประชุม 3. สสนก. 3.1 สสนก. ต้อง list รายชื่อ สถานีวัดระดับน้ำ ประตูระบายน้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ส่งให้ทางกรมชลประทาน 3.2 สสนก. ต้องจัดรูปแบบการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลให้มีความชัดเจน และสะดวกต่อ การทำงานของผู้ให้ข้อมูล

16 สรุป 16 สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการเสนอต่อ ครม. วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555 ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งต่อไป วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ กรมชลประทาน

17 17


ดาวน์โหลด ppt ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์ สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๑๔ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google