งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558
คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558 จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21 พฤษภาคม 2558

2 ปัจจัยที่ใช้ในการคาดการณ์ฝนรายฤดูกาล
ปัจจัยระดับภูมิภาค: ดัชนีสมุทรศาสตร์ Oceanic Niño Index (ONI) - บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก Pacific Decadal Oscillation Index (PDO) - บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ Dipole Mode Index (DMI) - บริเวณมหาสมุทรอินเดีย พบว่า ดัชนี ONI PDO และ DMI ปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2530 และ 2546 ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุม Indian Monsoon Index - ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย Western Pacific Monsoon Index - ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิก Madden-Julian Oscillation (MJO) - ความผันแปรของลักษณะอากาศในเขตร้อน พบว่า ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย ปี 2558 มีค่าสูงกว่าปกติ โดยมีค่าใกล้เคียงกับปี แต่ช่วงต้นปีมีค่าดัชนีสูงกว่าปี 2546 เล็กน้อย มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง

3 ปัจจัยระดับภูมิภาค: ดัชนีสมุทรศาสตร์
ONI= +0.59 IOD = -0.07 PDO = +1.44 ดัชนี PDO ยังคงสภาพเป็นบวก ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ (เดือนก่อนหน้าเป็น +2.00) ดัชนี ONI (ENSO) มีสภาพเป็นบวกหรือเอลนีโญอ่อนๆ ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ (เดือนก่อนหน้าเป็น +0.50) ดัชนี DMI (IOD) มีสภาพเป็นกลาง ปัจจุบันมีค่าเท่ากับ (เดือนก่อนหน้าเป็น -0.16) Source ONI: PDO: IOD: ดัชนี > 0.5 แนวโน้มปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ ดัชนี <-0.5 แนวโน้มปริมาณฝนมากกว่าปกติ Pacific Decadal Oscillation (PDO) เป็นค่าเฉลี่ย SSTA เดือนเมษายน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือ 20oN Oceanic Niño Index (ONI) เป็นค่าเฉลี่ย SSTA 3 เดือน (กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน) ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณ 5oN-5oS, 120o-170oW Indian Ocean Dipole (IOD) เป็นผลต่าง SSTA ของเดือนมีนาคม บริเวณ 50-70oE, 10oS-10oN และ E, 10oS-0oN 3

4 ปัจจัยระดับภูมิภาค: กลุ่มปีที่มีดัชนีระดับภูมิภาคใกล้เคียงกัน
แนวโน้มปริมาณฝนปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2530 และปี 2546 หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดัชนีสมุทรศาสตร์ระดับภูมิภาคช่วงเดือนกันยายนปี 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2530 และ 2546 อาจคาดการณ์ได้ว่า ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม 2558 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนใกล้เคียงกับปี 2530 และปี 2546 หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยจะมีปริมาณฝนสะสม 6 เดือน ประมาณ 1,000-1,200 มิลลิเมตร

5 ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย
ปี 2530 ปี 2546 ปี 2558 สูงกว่าปกติ ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดียของปี 2558 มีค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อยตั้งแต่ต้นปี และมีค่าสูงขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม โดยมีค่าใกล้เคียงกับปี 2546 แต่ในช่วงต้นปีมีค่าดัชนีสูงกว่าปี 2546 เล็กน้อย ปัจจุบันดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดียสูงกว่าค่าปกติ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ ในระยะ 2-4 สัปดาห์จะมีฝนตกหนาแน่นบริเวณด้านรับลมมรสุม โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ

6 ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิก
ปี 2530 ปี 2546 ปี 2558 ปกติ ปัจจุบันดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิกมีค่าใกล้เคียงปกติ ไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนของประเทศไทย

7 ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนี MJO (Madden-Julian Oscillation)
ธันวาคม 2557 ฝนน้อยกว่าปกติ มกราคม 2558 กุมภาพันธ์ 2558 ฝนใกล้เคียงปกติ มีนาคม 2558 ฝนมากกว่าปกติ เมษายน 2558 พฤษภาคม 2558 ปัจจุบัน ดัชนี MJO ตรงบริเวณประเทศไทยมีค่าปกติ และมีแนวโน้มใกล้เคียงค่าปกติ ส่งผลให้ในระยะ 2-4 สัปดาห์ข้างหน้า พื้นที่ภาคใต้จะมีปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติ ที่มา: NCEP/CDAS and CFS

8 สรุปสภาพปัจจัยระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นปี 2558
ปัจจัยระดับภูมิภาค: ดัชนีสมุทรศาสตร์ ดัชนี ONI PDO DMI ปี 2558 ใกล้เคียงกับปี 2530 และ 2546 ปัจจัยระดับท้องถิ่น: ดัชนีมรสุม ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย ปี 2558 มีค่าสูงกว่าปกติ โดยมีค่าใกล้เคียงกับปี มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ดัชนีมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ปี 2558 มีค่าใกล้เคียงปกติ ลมมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีกำลังแรงตามปกติ ความผันแปรของลักษณะอากาศในเขตร้อน (MJO) มีค่าใกล้เคียงปกติ ไม่มีผลต่อสภาพฝนของประเทศไทยในระยะนี้

9 เปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
ค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2546 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี พฤษภาคม 186 mm. 138 mm. -26.14% มิถุนายน 177 mm. 175 mm. -1.24% กรกฏาคม 189 mm. 177 mm. -6.61%

10 เปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน เดือนสิงหาคม-ตุลาคม
ค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2546 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี สิงหาคม 231 mm. 211 mm. -8.63% กันยายน 242 mm. 284 mm. +17.34% ตุลาคม 163 mm. 131 mm. -19.36%

11 เปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม
ค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2546 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี พฤศจิกายน 79 mm. 44 mm. -44.53% ธันวาคม 39 mm. 39 mm. -0.79%

12 เปรียบเทียบปริมาณฝนสะสม 3 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
ค่าเฉลี่ย 30 ปี ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี ปี 2546 mm. mm. -11.47%

13 เปรียบเทียบปริมาณฝนสะสม 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
ค่าเฉลี่ย 30 ปี mm. ปี 2546 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี mm. -1.50%

14 เปรียบเทียบปริมาณฝนสะสม 2 เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
ค่าเฉลี่ย 30 ปี mm. ปี 2546 ความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย 30 ปี 82.59 mm. -30.03%

15 ปริมาณน้ำไหลเข้า - เขื่อนภูมิพล
เฉลี่ย 2553 2556 2546 2558 2557 ปี 2546 ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมน้อยกว่าค่าเฉลี่ย และน้อยกว่าปี 2553 และปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้ง แต่มากกว่าปี 2557 โดยส่วนใหญ่จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม

16 ปริมาณน้ำไหลเข้า - เขื่อนสิริกิติ์
2553 เฉลี่ย 2546 2556 2557 2558 ปี 2546 ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และน้อยกว่าปี 2553 แต่มากกว่าปี 2556 และปี 2557 โดยส่วนใหญ่จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

17 สรุปผลคาดการณ์ปริมาณฝนปี 2558 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม
ปี 2558 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนค่อนข้างต่ำกว่าปกติ หรือใกล้เคียงกับปี 2546 เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2558 จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ โดยภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือตอนบน และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติ เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2558 จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติเล็กน้อย โดยภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้จะมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติ เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2558 จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ โดยเกือบทั่วทุกภาคจะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ แต่บางพื้นที่ของภาคใต้จะมีปริมาณสูงกว่าปกติ


ดาวน์โหลด ppt คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google