นางเกษรา อุ่นใจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการ: การพัฒนาศักยภาพผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัส ด้วยกระบวนการเสริมพลังการพึ่งตนเอง โดย นางเกษรา อุ่นใจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลลับแล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
เป้าหมาย : พัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองของกลุ่มผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ในการร่วมมือต่อการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อเพิ่มระดับ CD4 และ ลดการเกิดโรคฉวยโอกาสและ การดื้อยาต้านไวรัสเอดส์
ปัญหาและสาเหตุ จากปี 2553 ผู้ติดเชื้อ/ ผู้ป่วยเอดส์ ที่กินยาต้านไวรัส จำนวน 72 คน พบผลเลือดมีระดับ CD4 ต่ำกว่า 100 Cell/mm จำนวน 14 ราย ระดับ CD4 เท่ากับ 101-200 Cell/mm จำนวน 17 ราย ระดับ CD4 เท่ากับ 201-300 จำนวน 34 ราย ระดับ CD4 เท่ากับ 300 ขี้นไป จำนวน 7 ราย คิดเป็น ร้อยละ 19.45, 23.61, 47.22 และ 9.72 ตามลำดับ ทำให้ต้องได้รับยาป้องกันโรคฉวยโอกาส จำนวน 31 ราย คิดเป็น ร้อยละ 43 ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ดื้อยา จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.78 ซึ่งในอนาคตหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสและเกิดการดื้อยาได้มากขึ้น
กิจกรรมการแก้ปัญหา/พัฒนา การสร้างกระบวนการเสริมพลังโดยให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ขั้นตอนกิจกรรมในคลินิกใจสว่างแบบ One stop service ปฏิบัติดังนี้ 1.เมื่อผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มาที่คลินิกใจสว่างแกนนำผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ค้นบัตรต่อการรักษา ชั่งน้ำหนัก วัด V/S วัดรอบเอว สอบถามถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา และประเมินเหตุการณ์หรือความรู้สึกของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์โดยใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL- BREF-THAI) มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ และจัดให้นั่งรอการตรวจ
กิจกรรมการแก้ปัญหา/พัฒนา การสร้างกระบวนการเสริมพลังโดยให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ขั้นตอนกิจกรรมในคลินิกใจสว่างแบบ One stop service ปฏิบัติดังนี้ 2. แกนนำให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การกินยาต้านไวรัส การมาตามนัดรับยา การเจาะเลือด การกินอาหาร การออก กำลัง กาย การพักผ่อน การบรรเทาการเจ็บป่วย และการ ป้องกันโรคแทรกซ้อน
กิจกรรมการแก้ปัญหา/พัฒนา การสร้างกระบวนการเสริมพลังโดยให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ขั้นตอนกิจกรรมในคลินิกใจสว่างแบบ One stop service ปฏิบัติดังนี้ เจ้าหน้าที่คลินิกปฏิบัติ -ซักประวัติตรวจร่างกาย ประเมินDrug Adherence - คัดกรอง บุหรี่ สุราและคัดกรองภาวะซึมเศร้า - ให้คำปรึกษารายบุคคล ให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยได้ตัดสินใจในการ แก้ปัญหา ให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ตั้งเป้าในการรักษาพยาบาล เช่น ให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์รับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลตนเอง
กิจกรรมการแก้ปัญหา/พัฒนา การสร้างกระบวนการเสริมพลังโดยให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ขั้นตอนกิจกรรมในคลินิกใจสว่างแบบ One stop service ปฏิบัติดังนี้ - ลงบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม บันทึกการรักษา การจ่ายยา และนัดครั้งต่อไป เภสัชกร ปฏิบัติดังนี้ - จัดและจ่ายยา อธิบายการกินยา ผลข้างเคียงของยา ให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์กลับบ้าน
กระบวนการในชุมชน แกนนำผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์เยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหา โดยการเสริมสร้างคุณค่าตัวเองให้ กำลังใจ ให้คำปรึกษา ติดตามผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ให้มาตามนัด
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 1. ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัส ครบ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 72 ราย สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ 2. รับประทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง 3. มาตามนัดทุกครั้ง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 4. ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัส ครบ 6 เดือนขึ้นไป ได้รับการตรวจเลือดระดับ CD4ทุก 6 เดือนคิดเป็น ร้อยละ76 5. ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัส นานกว่า 6 เดือน ขึ้นไปได้รับการตรวจเลือดระดับVLอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี คิดเป็นร้อยละ 86.6
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 6.ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสได้รับการประเมินหรือ ติดตามDrug Adherenceคิดเป็นร้อยละ 98.5 7.ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสไม่พบโรค ฉวยโอกาส และดื้อยา
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 8.ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านสามารถพี่งตัวเองได้โดยการ ประกอบอาชีพเองได้ เช่น รับจ้าง ค้าขาย ทำเกษตรกรรม อยู่ใน สังคมอย่ามีความสุขปกติ 9. ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัส ครบ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 72 ราย ได้รับการตรวจเลือดระดับCD4 ทุก 6 เดือน ผลเลือดมีระดับ CD4 เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโครงการดังนี้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 10.ร้อยละ ของระดับ CD4 ในเลือดผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ก่อน-หลัง เข้าโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ รับยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ด้วย กระบวนการเสริมพลังการพึ่งตนเอง
ระดับ CD4 ก่อนเข้าโครงการ หลังเข้าโครงการ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่า 100 cell/mm 14 19.45 1 1.39 100-200 cell/mm 17 23.61 6 8.33 201-300 cell/mm 34 47.22 13 18.06 300 cell/mm ขึ้นไป 7 9.72 52 72.22
บทเรียนที่ได้รับ ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์เข้าใจกับโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ มีความมุ่งมั่น ที่จะรักษาและดูแลตัวเอง และมีความเข้าใจ เห็นใจ การสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือร่วมแรงทำงานที่ดี ได้เรียนรู้กลวิธีที่ผู้ป่วยใช้ในการเตือนตนเองให้กินยาสม่ำเสมอและตรงเวลา ได้เรียนรู้ถึงการสร้างแรงจูงใจในการให้ผู้ป่วยร่วมมือในการกินยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ได้เรียนรู้การปรับตัวของผู้ป่วยในการดำเนินชีวิตที่บ้านและในชุมชน เกิดการเข้าใจในการดำเนินชีวิตที่หลากหลายของผู้ป่วยในการปรับตัวกิดกระบวนการสร้างความร่วมมือในการกินยาของผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 1.การดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย เอดส์ที่กินยาต้านไวรัส ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องมีความพร้อม จึงควรมีโครงการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและผู้ดูแล อย่างต่อเนื่อง 2. การสร้างทัศนะคติที่ดีต่อยาเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อยาโดยผู้รับผิดชอบควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
สวัสดี