งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

2 รายการการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นิยาม คือ การประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการหรือโครงการขนาดใหญ่ และเสนอมาตรการเพื่อลดและบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ด้วยระเบียบวิธีทางวิชาการ

3 โครงการหรือกิจการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบ
ประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่ออกตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำ EIA ลงวันที่ 24 เมษายน 2555 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำ EHIA พ.ศ.2533 กำหนดให้โครงการหรือกิจกรรมรวม 35 ประเภท กำหนดให้โครงการหรือกิจการ รวม 11 ประเภท

4 ปัญหาของระบบ EIA ไทย ๑. ปัญหาจากบทบัญญัติของกฎหมาย
๑. ปัญหาจากบทบัญญัติของกฎหมาย - ประกาศกระทรวงไม่ครอบคลุมบางโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น โรงไฟฟ้าขนาดต่ำกว่า ๙.๙ เมกะวัตต์ ไม่ต้องทำ อีไอเอ, เหมืองแร่ใต้ดินโปแตส ที่ครอบคลุมพื้นที่หลายพันไร่ แต่ไม่ต้องทำ EHIA

5 โรงไฟฟ้าขนาดไม่ถึง ๑๐ เมกะวัตต์ ไม่ต้องทำ EIA

6 ตัวอย่างวัตถุดิบของโรงไฟฟ้าชีวมวล

7 ตัวอย่างวัตถุดิบของโรงไฟฟ้าชีวมวล

8 การคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวลในหลายพื้นที่

9 ปัญหาของระบบ EIA ไทย ๒. ปัญหาจากการตีความกฎหมาย
๒. ปัญหาจากการตีความกฎหมาย กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ชัดเจน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ก็จะตีความว่าไม่ต้องทำ EIA เช่น กรณีท่าเทียบเรือบ้านโพธิ์ ที่ตามประกาศฯ ถ้าความยาวหน้าท่าตั้งแต่ ๑๐๐ เมตร ขึ้นไปต้องทำอีไอเอ แต่ถ้าเจ้าของโครงการ แยกยื่นเป็นหลายโครงการแม้จะอยู่ติดกันและความยาวหน้าที่รวมกันเกิน ๑๐๐ เมตร ก็ไม่ต้องทำอีไอเอ

10

11

12

13 โครงการท่าเทียบเรือบ้านโพธิ์

14 : โครงการท่าเรือบ้านโพธิ์กับการเลี่ยงไม่จัดทำ EIA

15

16 ปัญหาของระบบ EIA ไทย ๓. ปัญหาการจัดทำ EIA เท็จ ข้อเท็จจริง

17 ปะการัง VS หินโสโครก

18 ปะการัง VS หินโสโครก

19 ๓. ปัญหาการจัดทำ EIA เท็จ (ต่อ)
เมื่อชาวบ้านคัดค้านร้องเรียนทำให้ คชก. ลงไปตรวจสอบและพบข้อเท็จจริงดังที่ชาวบ้านร้องเรียน จึงสั่งให้บริษัทฯทำ EIA ฉบับแก้ไขมายื่นใหม่และสั่งระงับการดำเนินการตามใบอนุญาตที่อาศัยฐานจาก EIA ที่เป็นเท็จ ลงโทษพักใบอนุญาตบริษัทฯที่จัดทำ EIA

20 ปัญหาของระบบ EIA ไทย ๔. ปัญหากรณีพบข้อเท็จจริงใหม่หลัง EIA ผ่านแล้ว
ต่อมาระหว่างทำเหมืองอยู่นั้นมีการค้นพบซากฟอสซิลหอยขม ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบพบว่ามีอายุกว่า 13 ล้านปี และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่พบรวม 43 ไร่

21 ภูเขาฟอสซิลหอยอายุ ๑๓ ล้านปี

22 ภูเขาฟอสซิลหอยอายุ ๑๓ ล้านปี

23 ๔. ปัญหากรณีพบข้อเท็จจริงใหม่หลัง EIA ผ่านแล้ว (ต่อ)
มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. โดยครม.มีมติให้อนุรักษ์ซากฟอสซิลไว้เพียง 18 ไร่ กฟผ. จึงทำเหมืองต่อไปโดยมีการไถทำลายซากฟอสซิลดังกล่าวจนเหลือเพียง 18 ไร่ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบจึงมีการนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อ 1) ขอให้เพิกถอนมติ ครม.ที่ให้ลดพื้นที่อนุรักษ์จาก 43 เหลือ 18 ไร่ 2) ขอให้เพิกถอนประทานบัตรบริเวณที่พบซากฟอสซิล 3) ขอให้กฟผ.จัดทำ EIA เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับฟอสซิล

24 คำพิพากษา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการค้นพบซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ โดยมิได้มีการศึกษามาก่อน การที่ไม่ได้มีการสั่งการให้ กฟผ.หยุดทำเหมืองบริเวณที่ค้นพบซากฟอสซิลและทบทวนความเหมาะสมของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับปัจจุบัน จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ พิพากษาให้ กฟผ.ต้องจัดทำ EIA กรณีแหล่งซากฟอสซิลหอยขมเพิ่มเติมเพื่อขอความเห็นชอบจาก คชก.

25 ปัญหาของระบบ EIA ไทย ๕. ปัญหาการตีความว่า คชก. ไม่มีอำนาจที่จะมีมติไม่เห็นชอบ EIA ข้อเท็จจริง บริษัทฯได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำ EIA เพื่อขอทำเหมืองระเบิดหินในพื้นที่ เกาะสมุย และได้ยื่น EIA ให้ คชก. ตามกฎหมาย คชก. พิจารณารายงานดังกล่าวแล้วมีมติไม่เห็นชอบ โดยให้เหตุผลว่าการอนุญาตให้มีการทำเหมืองหินจะกระทบต่อทัศนียภาพและบรรยากาศการท่องเที่ยวและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รมต. กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ทำเหมืองจึงไม่ออกใบอนุญาต เอกชนรายจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล

26 คำพิพากษา การทำเหมืองในบริเวณดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดย่อมส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ที่เป็นภูเขาไปอย่างถาวร ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเกาะสมุย และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเหมืองซึ่งมีเพียงทำให้หินที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างบนเกาะสมุยหาได้ง่ายและมีราคาถูกลง กรณีย่อมไม่อาจเทียบได้กับความเสียหายที่จะเกิดแก่สภาพสิ่งแวดล้อมของเกาะสมุย ดังนั้นการที่ คชก. พิจารณาEIA แล้วเห็นพ้องกับความเห็นของคณะอนุกรรมการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม มีมติไม่เห็นชอบ EIA จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้ว

27

28

29 ตัวอย่างการเหมืองระเบิดหิน

30 ตัวอย่างเหมืองระเบิดหิน

31 ปัญหาระบบ EIA ไทย ๖. ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการจัดทำ EIA ที่ผ่านมาไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ส่งผลให้เสียงของประชาชนไม่ได้ถูกสะท้อนไว้ใน EIA ทำให้โครงการจำนวนมากถูกคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ และในหลายพื้นที่ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมก็ถูกขัดขวาง

32 ภาพการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเหมืองทองคำ

33 ภาพการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเหมืองทองคำ

34 ภาพการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเหมืองทองคำ

35 ภาพการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเหมืองทองคำ

36 ปัญหาของระบบ EIA ไทย ๗. ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ใน EIA หลักการพื้นฐานของระบบ EIA คือ การดำเนินการที่มีฐานวิชาการรองรับ โดยหลังจากที่มีการดำเนินการแล้วต้องมีการปฏิบัติการมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มาตรการลดและบรรเทาผลกระทบเกิดขึ้นจริงตามที่ศึกษา อย่างไรก็ตามหากไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการใน EIA อย่างเคร่งครัด EIA ก็ไม่มีความหมายและไม่สามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมและประชาชนได้ดังที่หวัง

37 โครงการเหมืองถ่านหินแม่เมาะ กับการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ใน EIA

38

39 จุดแข็งของระบบ EIA ของไทย
มีกฎหมายที่ดี มีระบบศาลที่เป็นกลางและเข้มแข็ง มีภาคประชาชน เอ็นจีโอ นักวิชาการและสื่อที่เข้มแข็ง


ดาวน์โหลด ppt ปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google