งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“การใช้สิทธิของประชาชนและชุมชนในการคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“การใช้สิทธิของประชาชนและชุมชนในการคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “การใช้สิทธิของประชาชนและชุมชนในการคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม”

2 ภาพรวมการบรรยาย ๒. ภาพรวมสิทธิทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่สำคัญ
๑. กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมขุดดินดูดทราย ๒. ภาพรวมสิทธิทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่สำคัญ ๓. กลไกในการแก้ไขและเยียวยาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม

3 กรณีศึกษา ปัญหาผลกระทบจากการขุดดินดูดทราย
กรณีศึกษา ปัญหาผลกระทบจากการขุดดินดูดทราย ปี 2548 เอกชนขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานขุดดินดูดทรายในพื้นที่ตำบลลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ บริเวณที่ขออนุญาตติดกับที่นา ที่สวนและ อยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยของประชาชน การประกอบกิจการในช่วงแรกยังไม่ก่อผลกระทบเพราะเป็นการขุดหน้าดิน

4 กรณีศึกษา ปัญหาผลกระทบจากการขุดดินดูดทราย
กรณีศึกษา ปัญหาผลกระทบจากการขุดดินดูดทราย หลังเปิดดำเนินการได้ไม่นานการดูดทรายก็ก่อปัญหาให้กับชุมชนบ้านสะอาดอย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑. นายแสงปล่อยน้ำเสียลงคลองสาธารณะโดยไม่บำบัด ๒. มีรถขนดินจำนวนมากวิ่งผ่านหมู่บ้านทำให้เกิดอุบัติเหตุและถนนพังเสียหาย ๓.ที่ดินข้างเคียงทรุดลงไปในบ่อดิน เพราะไม่มีการเว้นระยะห่างตามที่กฎหมายกำหนด ประชาชนในพื้นที่มาปรึกษาท่าน ท่านในฐานะนักกฎหมายจะมีข้อแนะนำให้ชาวบ้านในการแก้ไขปัญหา อย่างไรบ้าง

5 บริเวณบ่อดิน

6 ภาพความเสียหายพื้นที่ใกล้เคียง

7 ภาพความเสียหายพื้นที่ใกล้เคียง

8 ภาพความเสียหายพื้นที่ใกล้เคียง

9 ภาพความเสียหายพื้นที่ใกล้เคียง

10 ภาพความเสียหายพื้นที่ใกล้เคียง

11 ภาพความเสียหายพื้นที่ใกล้เคียง

12 ภาพความเสียหายบ้านที่อยู่ใกล้เคียง

13 ภาพความเสียหายบ้านที่อยู่ใกล้เคียง

14 ภาพความเสียหายบ้านที่อยู่ใกล้เคียง

15 สิ่งที่ชาวบ้าน อ.ลาดหลุมแก้วทำ เพื่อแก้ไขปัญหา
๑. เจรจากับผู้ประกอบการให้แก้ไขปัญหา ๒. ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาแก้ไขปัญหา เช่น อบต., ผู้ว่าราชการจังหวัด, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สภาทนายความ, EnLAW และนักข่าว ๓. ขอข้อมูลข่าวสารจาก อบต., กรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๔. ชุมนุมกดดันให้มีการแก้ไขปัญหา ๕. ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมและศาลปกครอง

16 การฟ้องคดี ปี 2550 ชาวบ้านที่มีที่ดินและบ้านรอบบ่อดิน ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชดใช้ค่าเสียหายและให้มีการเข้าแก้ไขเยียวยามิให้มีการพังทลายเพิ่มเติม 30 มกราคม 2551 กรมโรงงานมีคำสั่งให้ปิดโรงงาน แต่สภาพผังทลายและทรุดตัวของดินข้างเคียงก็ไม่หยุดลง

17 การฟ้องคดี ระหว่างการไต่สวนเจ้าหน้าที่กรมโรงงานกับเจ้าหน้าที่กองทุนสิ่งแวดล้อมตอบข้อซักถามผู้ฟ้องคดีที่เรียกร้องให้กรมโรงงานเข้าไปป้องกันการผังทลายของที่ดินบริเวณข้างเคียงว่าไม่สามารถทำได้เพราะปิดโรงงานไปแล้ว และไม่มีระเบียบให้ขอใช้เงินกองทุนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูปัญหาที่เกิดจากโรงงานได้ แม้ พ.ร.บ.โรงงานจะบัญญัติไว้ก็ตาม 5 มีนาคม 2551 ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยสั่งให้บริษัทหยุดประกอบกิจการไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ปี 2555 การผังทลายก็ยังคงมีต่อไปโดยเฉพาะในฤดูน้ำหลาก 24 ธันวาคม ๒๕๕๕ ศาลพิพากษาให้หน่วยงานรัฐชำระเงินและฟื้นฟู อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มที่

18 คำถามชวนคิด ใครควรเป็นผู้เข้าไปดำเนินการแก้ไขเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น มาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลเหมาะสมหรือไม่อย่างไร การปิดโรงงานเหมาะสมหรือเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาหรือไม่อย่างไร ท่านเห็นอย่างไรที่ศาลใช้เวลา 5 ปี ในการพิจารณาคดี จึงมีคำพิพากษา ควรมีมาตรการอื่นในการแก้ไขเยียวยาผู้เสียหายหรือไม่อย่างไร

19 1. สิทธิเสรีภาพของประชาชน
และชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ในการคุ้มครองสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

20 1.1 หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
และชุมชน ในการคุ้มครองสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

21 รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ… 1.) วางแผนเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงจัดทำบริการสาธารณะ 2.) ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ

22 “ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
มีสิทธิมีส่วนร่วม ในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาตรา 66 “ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม

23 “องค์กร ปกครองท้องถิ่น”
มาตรา 290 มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา จัดการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตน “องค์กร ปกครองท้องถิ่น” มีส่วนร่วมในการบำรุง รักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ร่วมพิจารณาริเริ่มโครงการใดนอกเขตพื้นที่ ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ได้

24 มีสิทธิที่จะคุ้มครอง
มาตรา 67 บำรุงรักษา และ ใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ “ประชาชน” แต่ละคน ในชุมชน มีส่วนร่วม กับรัฐ องค์กร ปกครอง ท้องถิ่น มีสิทธิที่จะคุ้มครอง ส่งเสริมรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมเพื่อ ให้ตนเองมีสุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ที่ปลอดภัยจากมลพิษ ในสิ่งแวดล้อม

25 หากยังไม่ได้ ดำเนินการ โครงการใดๆ ที่เกิด
ในชุมชนที่อาจก่อผลกระทบรุนแรง ต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะทำไม่ได้ หากยังไม่ได้ ดำเนินการ EIA & HIA รับฟังความคิดเห็น องค์การอิสระ ให้ความเห็น

26 กรณีศึกษา การฟ้องให้ยุติโครงการในพื้นที่มาบตาพุด
คำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีหมายเลขแดงที่ ๑๔๕๒/๒๕๕๒ ศาลปกครองกลางพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมที่อยู่ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ที่ออกให้กับผู้ประกอบการหลังจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับ โดยไม่ได้ดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้กว่า ๖๐ โครงการ

27 ทั้งที่มีแรงกดดันอย่างมากศาลไทยยังยืนยันบนหลักการได้อย่างมั่นคง
คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลปกครองต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กับสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ สำนักข่าวบางแห่งรายงานข่าวว่าคำพิพากษาของศาลปกครองกลางส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ทั้งที่มีแรงกดดันอย่างมากศาลไทยยังยืนยันบนหลักการได้อย่างมั่นคง

28 ขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน

29 วันฟังคำพิพากษาคดีมาบตาพุด

30 1.2 เสรีภาพในการดำเนินการ ของประชาชนเพื่อคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

31 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
มาตรา 45 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มาตรา 63 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ มาตรา 64 เสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิ

32 กรณีศึกษา การสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
กรณีศึกษา การสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย รัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย ตกลงให้บริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซีย ดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา - ชาวบ้านอำเภอจะนะคัดค้าน เพราะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม การประมง ทรัพยากรท้องถิ่น และชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ - 20 ธ.ค ชาวบ้านผู้ชุมนุมพันกว่าคนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ระหว่างการเดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้าน ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย

33

34

35 ประเด็นในการดำเนินคดี
ชาวบ้านใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ ต่อนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รัฐละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ขัดขวางการใช้สิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐออกคำสั่งและใช้กำลังสลายการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

36 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๗๗๑/๒๕๕๕
การชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือคัดค้านโครงการฯ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เพราะไม่มีพฤติการณ์ใดๆ แสดงว่าจะใช้ความรุนแรง ไม่มีกฎหมายเฉพาะจำกัดเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามมาตรา 44 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ โดยการสลายการชุมนุมเป็นการละเมิดทางปกครองให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหาย เสรีภาพการชุมนุมทั้ง 24 คนเป็นเงินรวม 10,0000 บาท

37 1.3 สิทธิอื่นๆที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้ประชาชนและชุมชน มีส่วนร่วมในการคุ้มครอง สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

38 สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก ทางราชการ
มาตรา 56 สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก ทางราชการ มาตรา 57 สิทธิในการมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นก่อนการดำเนิน โครงการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

39 สิทธิในการร้องทุกข์และมีส่วน ร่วมในขั้นตอนการพิจารณาของ หน่วยงานของรัฐ
มาตรา 58 และ 59 สิทธิในการร้องทุกข์และมีส่วน ร่วมในขั้นตอนการพิจารณาของ หน่วยงานของรัฐ มาตรา 60 สิทธิในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ

40 สิทธิและเสรีภาพ ออกฎหมาย ตีความ กฎหมาย บังคับใช้ กฎหมาย
รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครอง ให้มีผลผูกพัน (มาตรา 27) ออกฎหมาย รัฐสภา ตีความ กฎหมาย คณะรัฐมนตรี ศาล บังคับใช้ กฎหมาย หน่วยงาน ของรัฐทั้งหมด

41 สิทธิและเสรีภาพ หากถูกละเมิด สามารถยกบทบัญญัติตาม
รัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ (มาตรา 28)

42 ไม่อาจนำมาบังคับใช้ กับ
หากกฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานรัฐใด ขัดแย้งกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและชุมชนในการคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ถือว่า ไม่อาจนำมาบังคับใช้ กับ ประชาชนได้ (มาตรา 6)

43 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552 เกี่ยวกับผลบังคับผูกพันของรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ มีเจตนารมณ์ให้สิทธิ และเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้มีสภาพบังคับได้ทันทีที่ รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับโดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติ กฎหมายอนุวัติการมาใช้บังคับก่อน การบังคับใช้มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องและ เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองด้วย

44 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552
เกี่ยวกับผลบังคับผูกพันของรัฐธรรมนูญ (ต่อ) ดังนั้นหากปรากฏว่าการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมอาจก่อให้เกิด ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพต่อบุคคลหรือชุมชน บุคคลหรือชุมชน ย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสามเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ดำเนินโครงการนั้นต้องจัดให้มีการศึกษาและ ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน จัดให้มีการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการให้องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพให้ความเห็นก่อนดำเนินโครงการตามมาตรา 67 วรรคสอง

45 2. สิทธิของประชาชน และชุมชน ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

46 2.1 พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
2.1 พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535

47 2.1.1 เพื่อประโยชน์ในการร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ ประชาชนมีสิทธิ... (ม.๖)

48 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ
ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ความเสียหายจากมลพิษ อันมีสาเหตุ จากโครงการที่ริเริ่ม หรือสนับสนุนโดยหน่วยงานรัฐ ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ ในการให้ ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

49 การหรือกิจการของหน่วยงานรัฐ หรือเอกชนที่มีผลกระทบต่อ
ก่อนดำเนิน โครงการ ประเภท ขนาดของโครง การหรือกิจการของหน่วยงานรัฐ หรือเอกชนที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม (๓๕&๑๑) ต้อง จัดทำ EIA

50 2.2 พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสาร
ของทางราชการ พ.ศ. 2540

51 หลักคือ เปิดเผยทุกเรื่อง ยกเว้น ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยนั้น
จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ หรือกระทบถึงสิทธิส่วนบุคคล

52 2.3 พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

53 สิทธิของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครอง
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ สิทธิที่จะได้รับการแจ้งเหตุผลจากเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่คำสั่งใดๆ จากเจ้าหน้าที่นั้นจะมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องหรือของชุมชน

54 สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาหรือผู้ทำการแทน หากการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ในการทำคำสั่งใดๆ นั้น ผู้ร้องไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว สิทธิที่จะได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิ หน้าที่ต่างๆ ในกระบวนพิจารณา เมื่อมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่

55 สิทธิที่จะได้ตรวจดูพยานหลักฐานในการพิจารณาของเพื่อการโต้แย้งป้องกันสิทธิของตนต่อไป
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยเร็ว

56 สิทธิในการโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน เจ้าหน้าที่จะต้องให้โอกาสที่เพียงพอแก่เอกชน
สิทธิที่จะได้รับแจ้งวิธีการอุทธรณ์โต้แย้ง ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์

57 การอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่ง
คำร้องขอของผู้ร้อง ถ้าเจ้าหน้าที่แจ้งผล ให้ทราบแล้ว ผู้ร้องไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์โต้แย้งเป็นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานเดิม ให้พิจารณาทบทวนอีกครั้ง หากยังไม่พอใจผลการอุทธรณ์ ก็มีสิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง

58 กรณีศึกษา การใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกรอง
กรณีศึกษา การใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกรอง ข้อเท็จจริง บริษัทที่ปรึกษาจัดทำ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ EIA ผ่านความเห็นชอบของ คชก. ใบอนุญาตไปแล้ว โดยใน EIA ระบุว่าทะเลบริเวณที่กำหนดให้เป็นที่ทิ้งขี้เถ้าถ่านหินเป็นแนวหินโสโครก การทิ้งขี้เถ้าดังกล่าวจึงไม่กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ว่าพื้นพี่บริเวณดังกล่าวเป็นแนวปะการังน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ที่มีความอุดมสมบูรณ์

59 ปะการัง VS หินโสโครก

60 ปะการัง VS หินโสโครก

61 ชาวบ้านจึงใช้สิทธิคัดค้านร้องเรียนทำให้ คชก
ชาวบ้านจึงใช้สิทธิคัดค้านร้องเรียนทำให้ คชก. ลงไปตรวจสอบและพบข้อเท็จจริงดังที่ชาวบ้านร้องเรียน จึงสั่งให้บริษัทฯทำ EIA ฉบับแก้ไขมายื่นใหม่และสั่งระงับการดำเนินการตามใบอนุญาตที่อาศัยฐานจาก EIA ที่เป็นเท็จ ลงโทษพักใบอนุญาตบริษัทฯที่จัดทำ EIA

62 2.4 พระราชบัญญัติความรับผิด
ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

63 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ อันเป็นเหตุให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับความเสียหาย ประชาชนหรือชุมชนย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดได้

64 วิธีการใช้สิทธิ 1. ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานรัฐให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยระบุข้อเท็จจริง พฤติการณ์ในการจงใจ หรือประมาทเลินเล่อเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้ละเอียด ระบุความเสียหายที่เกิดขึ้น ค่าสินไหมทดแทน หรือจำนวนเงิน ที่ประสงค์ให้รัฐชดใช้ เอกสาร พยานหลักฐาน

65 2. ฟ้องร้องต่อศาล การฟ้องร้องต่อศาลจะต้อง ดำเนินการภายใน 1 ปี
นับแต่รู้เหตุที่ทำให้ผู้ร้องเสียหาย หรือรู้ตัวหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ

66 3. หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง กับการใช้สิทธิ ของประชาชน และชุมชน

67 3.1 หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตามกฎหมาย

68 3.2 องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ หรือรัฐสภา
3.2 องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ หรือรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการของ ส.ส. และ ส.ว. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาชี้แจง

69 3.3 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
3.3 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย /นอกเหนืออำนาจหน้าที่ / ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมีอำนาจส่งเรื่อง ที่ร้องเรียนไปยังศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ

70 ผลการพิจารณา พิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ร้องเรียน
หากเห็นว่าหน่วยงานรัฐดำเนินการไม่ชอบ ก็จะจัดทำรายงานสรุปข้อเท็จจริง ความเห็น/ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

71 หากเห็นว่าหน่วยงานรัฐดำเนินการชอบด้วยกฎหมาย
แต่กฎหมาย ระเบียบดังกล่าวไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว หากหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามความเห็น หรือข้อเสนอแนะ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐนั้นๆ เพื่อให้การสั่งการปรับปรุงแก้ไขได้

72 หากดำเนินการแล้ว หน่วยงานรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรียังไม่ปฏิบัติตามความเห็นข้อเสนอแนะ โดยไม่มีเหตุอันควร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจ ทำรายงานเสนอต่อรัฐสภา และเปิดเผยรายงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบ เพื่อให้รัฐสภา โดย ส.ส. ส.ว. และประชาชนตรวจสอบ ในกระบวนการทางการเมืองต่อไป

73 3.3.2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มีอำนาจในการพิจารณารับเรื่องร้องเรียน การละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นหน่วยงานรัฐ หรือธุรกิจเอกชน หรือเอกชนคนหนึ่งคนใดก็ตาม และมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายทั้งต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและศาลยุติธรรม ยกเว้น เรื่องที่มีการพิจารณาเป็นคดีอยู่ในศาล หรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาด

74 ผลการพิจารณา กรณีที่เห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้จัดทำรายงาน ผลการตรวจสอบ ความเห็น ข้อเสนอ วิธีการให้บุคคล หรือหน่วยงานใดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด กรณีเห็นว่าไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มีการปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม คณะกรรมการสิทธิฯ อาจเสนอแนวทางแก้ไข ต่อบุคคล หรือหน่วยงานดำเนินการแก้ไขตามความเหมาะสม ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

75 หากบุคคล หรือหน่วยงานมิได้ดำเนินการตามมาตรการที่เสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือดำเนินการแล้วแต่ไม่แล้วเสร็จ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการสิทธิฯ ต้องรายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้มีการปฏิบัติภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน กรณีที่ไม่มีการดำเนินการ แม้ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว คณะกรรมการสิทธิฯ จะรายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไปและมีอำนาจเผยแพร่ปัญหาให้สาธารณชนทราบ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบในกระบวนการทางการเมืองต่อไป

76 4. การใช้สิทธิ ฟ้องร้องต่อ ศาลปกครอง

77 มีอำนาจพิจารณาคดีพิพาท
ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาคดีพิพาท ระหว่าง หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ระหว่างหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ด้วยกัน

78 ข้อพิพาทในคดีปกครอง ออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำการปกครอง
ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า การกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจากการ ใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือการละเลยหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า สัญญาทางปกครอง

79 การขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อม
ร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายที่เป็นธรรม ติดตามบังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่

80 ชุมชนในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย
กฎหมายที่ไม่ถูกบังคับใช้ เป็นเพียงตัวหนังสือ ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นส่วนสำคัญในการบังคับใช้กฎหมาย ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่จะทำให้สิทธิต่าง ๆได้รับการคุ้มครอง

81 ความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันประเด็นสิ่งแวดล้อม
ชุมชน องค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นักวิชาการ สื่อมวลชน หน่วยงานรัฐ


ดาวน์โหลด ppt “การใช้สิทธิของประชาชนและชุมชนในการคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google