มาตรการป้องการทุจริต และการคิดแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม นายธนกวีร์ ทาธรรม เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง
กรอบการบรรยาย สถานการณ์ปัญหาการทุจริตของไทยในระดับสากล 1 สถานการณ์ปัญหาการทุจริตของไทยในระดับสากล การคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม 2 การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์การภาครัฐ 3 4
สถานการณ์ปัญหาการทุจริตของไทย ในระดับสากล สถานการณ์ปัญหาการทุจริตของไทย ในระดับสากล 3
ดัชนีการรับรู้การทุจริต CPI คืออะไร ดัชนีการรับรู้การทุจริต องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ Transparency International Organization ทำดัชนี ชี้วัด ค่าการคอร์รัปชัน (Corruption Perception Index หรือ CPI) เพื่อ จัดลำดับ ความโปร่งใสเกี่ยวกับคอร์รัป ชันของประเทศทั่วโลก (รวมทั้ง ประเทศไทย)
CPI คืออะไร ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index : CPI) เป็นดัชนีที่จัดทำขึ้นโดยการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ และค่าดัชนีขององค์กรต่างๆ ที่สำรวจความคิดเห็นความพึงพอใจ และการประเมินสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แล้วนำมาประเมินค่าพร้อมกับจัดเรียงลำดับเผยแพร่เป็นข้อมูลที่มุ่งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการต่อต้านการทุจริตในการทำธุรกิจข้ามชาติ ดัชนี CPI นี้เริ่มนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2538 โดยการพัฒนาขององค์กรระหว่างประเทศที่มีชื่อว่า Transparency International หรือ TI ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ปัจจุบันมีค่าสูงสุด 100 หมายถึงประเทศนั้น ไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเลย และยิ่งค่าดัชนีต่ำลงแสดงว่าประเทศนั้น ๆ ยิ่งมีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันสูง
ได้คะแนน 35 คะแนน จาก 100 คะแนน ผลดัชนีการรับรู้การทุจริตประจำปี 2559 ของประเทศไทย ได้คะแนน 35 คะแนน จาก 100 คะแนน ได้อันดับ 101 จาก 176 ประเทศทั่วโลก ได้อันดับอาเซียน 5 จาก 10 ประเทศอาเซียน 6
ตารางแสดงอันดับและคะแนนดัชนีชี้วัดการรับรู้การทุจริต ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก ประจำปี 2559
ตารางแสดงอันดับและคะแนนดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ลำดับ อันดับโลก 2559 (176) ประเทศ คะแนน 2558 2559 1 7 สิงคโปร์ 85 84 2 41 บรูไน - 58 3 55 มาเลเซีย 50 49 4 90 อินโดนีเซีย 36 37 5 101 ฟิลิปปินส์ 35 ไทย 38 113 เวียดนาม 31 33 8 123 ลาว 25 30 9 136 พม่า 22 28 10 156 กัมพูชา 21 ที่มา : เรียบเรียงข้อมูลโดยมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย ซึ่งในปีนี้ไม่มีข้อมูลของประเทศ บรูไน แหล่งข้อมูล : http://transparency.org/
กราฟแสดงคะแนนดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ. ศ กราฟแสดงคะแนนดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 – 2558 หมายเหตุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีการเปลี่ยนค่าดัชนีชี้วัดจากคะแนนเต็ม 10 เป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน ที่มา : http://cpi.transparency.org/cpi2015/results/
การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม (ประโยชน์ทับซ้อน) ที่มาของแนวคิด การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม (ประโยชน์ทับซ้อน)
นโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 นโยบายที่ 10 นโยบาย การส่งเสริมการบริหาร ราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิ บาลและการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยปรับปรุงและจัดให้มี กฎหมายที่ครอบคลุมการ ป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต และการมี ผลประโยชน์ทับซ้อนใน ภาครัฐทุกระดับ โดยถือว่า เรื่องนี้เป็นวาระสำคัญ เร่งด่วนแห่งชาติ และเป็น เรื่องที่ต้องแทรกอยู่ในการ ปฏิรูปทุกด้าน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ๑.เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ๒. เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐแปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) สู่การปฏิบัติโดยกำหนดไว้ในแผนปฎิบัติราชการประจำปีและสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๐ เป็นต้นไป ยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
ยุทธศาสตร์ขาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ. ศ ยุทธศาสตร์ขาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) วิสัยทัศน์ : ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand) พันธกิจ : สร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ และปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้มีมาตรฐานสากล เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : ระดับคะแนนของดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) สูงกว่าร้อยละ 50 วัตถุประสงค์ที่ 1 สังคมมีพฤติกรรม ร่วมต้านการทุจริต ในวงกว้าง วัตถุประสงค์ที่ 2 เกิดวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) มุ่งต้านการทุจริต ในทุกภาคส่วน วัตถุประสงค์ที่ 3 การทุจริตถูกยับยั้งอย่างเท่าทันด้วยนวัตกรรม กลไกป้องกันการทุจริตและระบบบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาล วัตถุประสงค์ที่ 4 การปราบปรามการทุจริตและการบังคับใช้กฎหมาย มีความรวดเร็ว เป็นธรรมและได้รับความร่วมมือ จากประชาชน วัตถุประสงค์ที่ 5 ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทยมีค่าคะแนนในระดับ ที่สูงขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคม ที่ไม่ทนต่อการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนง ทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริต เชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกัน การทุจริตเชิงรุก ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทย
ที่ไม่ทนต่อการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเน้นปลูกฝังจิตสำนึก ปรับฐานคิด พัฒนาหลักสูตร/บทเรียน/การเรียนการสอน/การถ่ายทอด ในทุกระดับ พัฒนา/ปรับปรุงมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และประกาศใช้อย่างจริงจัง 4. เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อต่อต้านการทุจริต 1. ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม สร้างสังคม ที่ไม่ทนต่อการทุจริต สร้างชุมชนเฝ้าระวัง ต่อต้านการทุจริต Social Sanction 2. ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการ กล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต 3. ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต กล่อมเกลาทางสังคมทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัย พัฒนานววัตกรรมสื่อการเรียนรู้ พัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ สื่อสารทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เสริมบทบาทสื่อมวลชนและองค์กรวิชาชีพ พัฒนามาตรวัดทางสังคม ปรับใช้ในการกล่อมเกลา พัฒนาหลักสูตร/ปรับรูปแบบและวิธีการนำเสนอ พัฒนาระบบและองค์ความรู้
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวม การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ส่วนบุคคล ประโยชน์ส่วนรวม
ประโยชน์ส่วนรวม (ประโยชน์ สาธารณะ) ประโยชน์ส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลทั่วไปในสถานะเอกชน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในสถานะเอกชน ได้ทำกิจกรรมหรือได้กระทำการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน ครอบครัว ญาติ เพื่อนหรือของกลุ่มในสังคม ที่มีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ การทำธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อหาประโยชน์ในทางการเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ เป็นต้น ประโยชน์ส่วนรวม (ประโยชน์ สาธารณะ) หมายถึง การที่บุคคลใดๆ ในสถานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ได้กระทำการใดๆ ตามหน้าที่หรือได้ปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการดำเนินการใน อีกส่วน หนึ่งที่แยกออกมาจากการดำเนินการในสถานะของ เอกชน มีวัตถุประสงค์หรือมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือการรักษาประโยชน์ส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ของ รัฐ
เคนเนท เคอนาแฮน (Kenneth Kernaghan) ความหมายของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวมหรือ"ผลประโยชน์ทับซ้อน“ (Conflict of Interests) เคนเนท เคอนาแฮน (Kenneth Kernaghan) (Professor of Political Science and Management at Brock University,Canada) “สถานการณ์ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมี ผลประโยชน์ส่วนตนอยู่ และได้ใช้ อิทธิพลตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ทางสาธารณะไปขัดกับผลประโยชน์ ส่วนตัว”
แซนดร้า วิลเลียม (Sandra Williams) (Democratic member of the Ohio Senate) “การที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการ ได้เปิดโอกาสให้เงิน หรือผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามามี อิทธิพลต่อหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องมีต่อ สาธารณะ”
แพทริค บอเยอร์ Patrick Boyer (ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนนาดา) “สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีผลประโยชน์ส่วนตัว และได้ใช้อิทธิพลหรือจะใช้อิทธิพลของตำแหน่ง หน้าที่ไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว”
ที่มาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระบบเลือกตั้ง บรรจุแต่งตั้ง สัญญาจ้าง คำสั่ง สรรหา
นิยาม “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือน ประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นิยาม “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะ ปกครองท้องที่ บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือ ได้รับมอบให้ใช้อำนาจในทางการปกครอง ของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกฎหมายไม่ว่าการนั้นจัดตั้งขึ้นในระบบ ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ กรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ
รูปแบบความขัดแย้งระหว่าง ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม รูปแบบความขัดแย้งระหว่าง ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ต่างๆ รับของขวัญ / ผลจากการรับ มีผลต่อการตัดสินใจดำเนินการตามอำนาจหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่ การทำธุรกิจกับตัวเอง หรือเป็น คู่สัญญา เข้ามาทำธุรกิจกับหน่วยงาน ของรัฐ โดยมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานต้นสังกัด การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ ลาออกจากหน่วยงาน เพื่อไปทำงานในหน่วยงานที่ ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน
ใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ ของตนเอง การทำงานพิเศษ ใช้เวลาในระหว่างที่จะต้องปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ / ตั้งบริษัทดำเนินธุรกิจที่แข่งขัน หรือรับงานจากหน่วยงานต้นสังกัด การรู้ข้อมูลภายใน ใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ ของตนเอง การใช้สมบัติของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนตัว นำทรัพย์สินของหน่วยงาน ไปใช้ในกิจการที่เป็นของส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนตัว การนำโครงการสาธารณะลงใน เขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ ทางการเมือง รมต.อนุมัติโครงการ ไปลงในพื้นที่ตนเอง , ใช้งบสาธารณะเพื่อหาเสียง
“การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558 ) หมวด 9 มาตรา 100 “การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวม ”
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตามกฎหมาย ป.ป.ช. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558 ได้กำหนดเรื่อง การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมไว้ใน มาตรา 100
“ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ” มาตรา 100 ห้ามมิให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินกิจการ.... ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558 กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามมาตรา 100 ดังต่อไปนี้ 1. นายกรัฐมนตรี 3. ผู้บริหารท้องถิ่น 2. รัฐมนตรี 4. รองผู้บริหารท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น และรองผู้บริหารท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่นและรองผู้บริหารท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด , เทศบาลนคร , เทศบาลเมือง , เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล , กรุงเทพมหานคร , เมืองพัทยา ในตำแหน่งดังต่อไปนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร,เทศบาลเมือง,เทศบาลตำบล ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี
ผู้บริหารท้องถิ่น และรองผู้บริหารท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ได้แก่ นายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา
คู่สมรส ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้าม มิให้ดำเนินกิจการตามมาตรา 100 คู่สมรส ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้าม มิให้ดำเนินกิจการตามมาตรา 100 1. คู่สมรสของ นายกรัฐมนตรี 2. คู่สมรสของ รัฐมนตรี 3. คู่สมรสของ ผู้บริหารท้องถิ่น 4. คู่สมรสของ รองผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสีย ใน สัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ (2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของ รัฐ (3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ อันมีลักษณะเป็น การผูกขาดตัดตอน (4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้าง ในธุรกิจของเอกชน + ห้ามดำเนินกิจการ เมื่อพ้นจากตำแหน่งยังไม่ถึง 2 ปี
เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสีย ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสีย ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ จนท.ต้องมีอำนาจ กำกับ-ดูแล- ควบคุม-ตรวจสอบ เช่น ดำเนินการ ค้าขายกับ หน่วยงานของรัฐ โดยตรง คดี พ.ต.ท. ทักษิณ – คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (อม.๑/๒๕๕๐)
เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตั้งห้างหุ้นส่วน/ บริษัท มารับ งานจัดซื้อจัดจ้าง กับหน่วยงานของ รัฐ เช่น จัดหา อุปกรณ์ครุภัณฑ์ สำนักงาน, รับเหมาวางท่อ, รับเหมาก่อสร้าง ถนน ฯลฯ
รับสัมปทาน/เข้าเป็นคู่สัญญา อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน รับสัมปทาน/เข้าเป็นคู่สัญญา อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน สัมปทาน – รัฐ อนุญาตให้เอกชน เป็นผู้จัดทำบริการ สาธารณะแทนรัฐ โดยเอกชนที่ ลงทุน/ลงแรง มี สิทธิเรียกเก็บค่าใช้ บริการจาก ประชาชนที่มาใช้ บริการตลอด ระยะเวลาตาม สัญญา เช่น กรณีหวย ออนไลน์
เป็นกรรมการ ที่ปรึกษา หรือพนักงานในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ประกอบ ธุรกิจเอกชน เช่น โรงแรม, โรงงาน ที่ อยู่ในเขตพื้นที่ ของ อปท. ซึ่ง อปท.นั้นมีอำนาจ กำกับดูแล เช่น เรื่องการรักษา ความปลอดภัย, สิ่งแวดล้อม, สุขอนามัย ฯลฯ
บทกำหนดโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดระยอง นายธนกวีร์ ทาธรรม เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริต
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สินบน สินน้ำใจ
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558) หมวด ๙ มาตรา ๑๐๓ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มาตรา ๑๐๓ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลนอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดยอนุโลม
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายความว่า นายกรัฐมนตรี รมต. สส. สว ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายความว่า นายกรัฐมนตรี รมต. สส. สว.ข้าราชการการเมืองอื่น ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ผู้ว่าราชการ กทม.รองผู้ว่าราชการ กทม. ผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลนคร ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้หรืองบประมาณ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการป.ป.ช. กำหนด
รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า เป็นองค์การที่รัฐบาลเป็น เจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (มากกว่าร้อยละ ๕0) อาจมี โครงสร้างเช่นเดียวกับธุรกิจเอกชน หรือมีโครงสร้างอย่าง หน่วยงานราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร เช่น การไฟฟ้า การรถไฟ การประปา การเคหะแห่งชาติ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ขนส่ง จำกัด ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของ รัฐ พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกาศโดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา ๑๐๓ ของ พ.ร.บ. ป.ป.ช. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๓
ข้อ ๓ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา”หมายความว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ หรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม “ญาติ” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรม
การรับทรัพย์สินโดยธรรมจรรยา การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ หรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม ปกติประเพณีนิยม เช่น เทศกาลหรือวันสำคัญซึ่งอาจมีการให้ของขวัญกัน รวมถึงโอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจหรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคม
ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสม ตามฐานานุรูป (๒) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติมีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาส ไม่เกินสามพันบาท (๓) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ใน ลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป
การรับทรัพย์สินจากญาติ (ตาม ฐานานุรูป) 1. บุพการี 2. ผู้สืบสันดาน 3. พี่ น้อง 4. ลุง ป้า น้า อา 5. คู่สมรส ตลอดจนบุพการี หรือผู้สืบสันดานคู่ของสมรส 6. บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรม
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลอื่น (ไม่เกิน ๓,000 บาท) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลอื่น (ไม่เกิน ๓,000 บาท) การลดราคา การรับความบันเทิง การรับการบริการ การรับการฝึกอบรม สิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
รูปแบบของการรับผลประโยชน์ ได้แก่ ■ การรับของขวัญหรือของกำนัลที่มีค่าอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อ การปฏิบัติหน้าที่ ■ การที่บริษัทสนับสนุนการเดินทางไปประชุม/ดูงานใน ต่างประเทศของผู้บริหารและอาจรวมถึงครอบครัว ■ การที่หน่วยงานราชการรับเงินบริจาคสร้างสำนักงาน จากบริษัทธุรกิจที่ติดต่อกับหน่วยงาน ■ เจ้าหน้าที่ของรัฐรับของแถมหรือผลประโยชน์ในการ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อ ๖ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากต่างประเทศ - ผู้ให้มิได้ระบุให้เป็นของส่วนตัว - มีราคาหรือมูลค่าเกินกว่าสามพันบาทไม่ว่าจะระบุเป็นของส่วนตัว หรือไม่ ** แต่มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรายงานรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว ** หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นยึดถือทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวนั้นไว้เป็นประโยชน์ส่วนบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นสังกัดโดยทันที
ข้อ 7 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือมีราคาหรือมีมูลค่ามากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 5 *เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับมาแล้วโดยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพหรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ** เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นต้องแจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานสถาบัน หรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัด โดยทันทีที่สามารถกระทำได้ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีเหตุผล ความจำเป็นความเหมาะสม และสมควรที่จะให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นไว้เป็นสิทธิของตนหรือไม่
วรรค ๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน หรือสถาบันหรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดมีคำสั่งว่าไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวก็ให้....... * คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้โดยทันที ในกรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้ * ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้เป็นสิทธิของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว เมื่อได้ดำเนินการตามความในวรรค ๒ แล้ว ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวเลย
ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) ระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า (๒) กรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือ ของหน่วยงานของรัฐให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น ต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน (๓) ประธานกรรมการและกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๔) ผู้ดำรงตำแหน่งที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจถอดถอนให้แจ้งต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. (๕) ผู้ดำรงตำแหน่ง สส. สว. สมาชิกสภาท้องถิ่น (สก. สจ. สท. อบต.) ให้แจ้งต่อประธานสภา ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นสมาชิกเพื่อดำเนินการวินิจฉัยและมีคำสั่ง
ข้อ ๘ หลักเกณฑ์ ตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วไม่ถึง ๒ ปี ด้วย
หากมีความจำเป็นต้องรับ เพราะเพื่อรักษาไมตรี...จะทำ อย่างไร หากมีความจำเป็นต้องรับ เพราะเพื่อรักษาไมตรี...จะทำ อย่างไร แจ้งผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ วินิจฉัย มีเหตุผล รับได้ - รับไว้ ไม่มีเหตุควรรับ - ส่งคืน ส่งคืนไม่ได้ มอบให้ส่วนราชการที่ตนสังกัด
บทกำหนดโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถาม – ตอบ จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ