การวางแผนระบบการผลิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
nt of Production and Operation Management)
Advertisements

วันที่ 13 มกราคม 2555 การวางแผนการผลิตรวม
การบริหารการผลิต Operation Management
ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing)
THE MANAGEMENT AND CONTROL OF QUALITY
Production Planning and Control
Some images courtesy of © Copyright © 1999 Houghton Mifflin Company. All rights reserved บทที่ 9 กระบวนการการ จัดการในธุรกิจเชิง.
การบริหารการผลิต Operation Management
Operations as a Transformation Process
Enterprise Resources Planning (ERP )
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา มกราคม 2559.
Standard requirements
Chemical Industrial Process, Chemeng, KKU, Mm.Thabuot CIP บทบาทของวิศวกรเคมี
บทบาทของวิศวกรเคมี Lecture1_intro_ Chemical Industrial Process, Chemeng, KKU, Mm.Thabuot CIP 1.
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ธันวาคม 2558.
ประเภทบุคลากร นักวิชาการสาธารณสุข, นักทรัพยากรบุคคล, จพ.ธุรการ Production Line 1.จัดทำแผนบุคลากร 2.จัดประชุม/สัมมนา 3.ประเมินผลและจัดการความรู้ 4.ร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์
กิจกรรมที่ 3 คำถาม สเตฟาน เป็น ครูสอนคอมพิวเตอร์ ทำงานใน โรงเรียนบัวแก้ววิทยาลัย สเตฟาน ได้รับคำสั่ง จากผู้บริหาร ให้นำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยใน การทำงานด้านต่างๆ.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
วิชา การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่ม ผลผลิต (Work Development with Quality Management.
Information Systems Development
การเพิ่มผลผลิต.
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
ระบบการผลิต อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี.
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0
เทคนิคการแก้ไขปัญหาแบบ QCC (QC Circle Techniques)
บทที่ 6 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา
บทนำ 1 ความหมายของการตลาด แนวความคิดหลักทางการตลาด
การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ
11 May 2014
Information System Development
E. I. SQUARE. All rights reserved
การบริหารคลังสินค้า.
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการกระบวนการ
บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ
Operating System Overview
งานสนับสนุนบริการ สู่การบริการที่เป็นเลิศ
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การคำนวณต้นทุนผลผลิต วันที่ ก. พ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
หลักการและแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาการทำงาน
Introduction to information System
Introduction to information System
CPE 491 Proposal (สอบเสนอหัวข้อเพื่อทำ Project)
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
บทที่1 ความรู้ทั่วไปสำหรับ การจัดการโซ่อุปทาน
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Chapter 9 กฎหมายพาณิชย์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส Edit
บรรยายโดย คุณครูกิริยา ทิพมาตย์ สพม. เขต 23
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า
การผลิตและการจัดการการผลิต
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
การควบคุม (Controlling)
การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ
การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ
- การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
หลักการจัดการ Principle of Management
การจัดการสินค้าคงคลัง
บทบาทของโลจิสติกส์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
องค์การและการจัดการ Organization and management (Mpp 5504)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวางแผนระบบการผลิต Production System Planning อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี

วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต การผลิต มีมาตั้งแต่โบราณกาลในยุคประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การสร้าง ปิรามิดของอียิปต์ การสร้างกำแพงเมืองจีนของประเทศจีน ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีและการกะเกณฑ์แรงงาน ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ มาร่วมกันทำการผลิต แต่ก็ไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับ สำหรับการผลิตเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนทำอย่างง่าย ๆ โดยใช้ที่อยู่อาศัยเป็นที่ทำการผลิต งานที่ทำก็ใช้แรงงานคนและทำคนเดียวตั้งแต่เริ่มจนเสร็จ สินค้าที่ทำมักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนโดยไม่มีมาตรฐานใดๆ เป็นข้อกำหนด

วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต (ต่อ) คริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป โดยมีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติแทนแรงงานคน เครื่องจักรยุคนั้นจะใช้พลังงานไอน้ำ ซึ่งคิดค้นโดย James Watt คนงานจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบภายในโรงงาน ในขณะเดียว ค.ศ. 1776 Adam Smith คิดค้นทฤษฏี “The Wealth of Nations” ซึ่งจะแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยหลายส่วนให้คนงานแต่ละคนทำเฉพาะงานส่วนที่ตนถนัดและมีความชำนาญ และเครื่องจักรก็ถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องจักรใช้เฉพาะงาน เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนลดลงและเกิดขนาดการผลิตที่ประหยัด ค.ศ.1790 Eli Whitney ได้คิดค้นชิ้นส่วนที่แลกเปลี่ยนกันได้ (Interchangeable Parts) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตอย่างมีมาตรฐานพร้อมกับการพัฒนาระบบการควบคุมและระบบบัญชีต้นทุนขึ้นมาใช้

วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต (ต่อ) ค.ศ. 1900 ได้มีหัวหน้าวิศวกรในโรงงานเหล็กชื่อ Frederick W. Taylor ได้พัฒนาการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่ว่าด้วยการค้นหาวิธีการทำงานอย่างเป็นมาตรฐานและการจูงใจให้คนงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แนวคิดถูกนำไปขยายโดย Frank และ Lillian Gilbreth, Henry Genry Gantt และ Henry Ford ผู้ประดิษฐ์รถยนต์คนแรกของโลก โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ Ford รุ่น Model T. ที่สามารถลดเวลาในการประกอบรถยนต์จาก 720 ชั่วโมง ลงเหลือ 1 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งทำได้โดยการผลิตอย่างเป็นมาตรฐานในปริมาณสูง ซึ่งเรียกว่า การผลิตแบบมวลรวม (Mass Production) ค.ศ. 1930 เริ่มมีการศึกษาด้านจิตใจของคน ดังนั้น ในยุคต่อมาซึ่งเรียกว่า ยุคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Relation) และได้มีการทดลองทางจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากก็คือ การทดลองที่โรงงาน ฮอว์ธอร์น (Hawthorne Studies) เป็นการทดลองเพื่อศึกษาระดับของแสงสว่างในที่ทำงานที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต โดยการแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ทำงานโดยเพิ่มแสงสว่างมากขึ้น กลุ่มสอง คงแสงสว่างเท่าเดิม สรุป ปรากฏว่าสองกลุ่มผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อทดลองลดระดับแสงสว่างลงปรากฏว่าผลผลิตยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงสรุปว่าไม่เพียงแต่ปัจจัยทางกายภาพ เช่นแสงสว่าง อุณหภูมิ เสียง ความชื้นฯลฯ จะมีผลต่อคนงานเท่านั้น ขวัญและกำลังใจมีส่วนช่วยให้คนงานทำงานอย่างเต็มอกเต็มใจและทำให้เพิ่มผลผลิตในการทำงานได้ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ. 1940-1960 สหรัฐอเมริกาได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในสังคมโลกกลายเป็นประเทศผู้นำทางอุตสาหกรรม วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ได้ถูกนำมาใช้กับการผลิต เช่น ตัวแบบจำลอง (Simulation) โปรแกรมเชิงเส้น การวิจัยขึ้นดำเนินงาน ฯลฯ วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ โดยการใช้คอมพิวเตอร์หรือสมองกลในการวางแผนและควบคุมระบบการทำงาน ซึ่งทำให้สามารถลดการใช้แรงงานคนลงได้อย่างมาก

วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต (ต่อ) ค.ศ. 1970 ญี่ปุ่นกลับมามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมของโลกเป็นอย่างสูง ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเข้าสู่ตลาดสินค้าของสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วยสินค้าภายใต้ยี่ห้อขั้นนำ เช่น SONY, PANASONIC, JVC, TOYOTA, NISSAN, HONDA, MITSUBISHI ฯลฯ ระบบการบริหารงานของญี่ปุ่นอันได้แก่ การบริหารการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Lean production หรือ Just-in-time Production) และการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกันทั่วโลก คริสต์ศตวรรษที่ 21 แนวโน้มในอนาคต ข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทต่อการบริหารการผลิตเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้การรวมระบบการผลิตโดยคอมพิวเตอร์ (Computer-integrated Manufacturing หรือ CIM) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ประกอบกับกระแสของโลกา ภิวัตน์ (Globalization) จะทำให้สามารถสร้างเครือข่ายของการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้

วิวัฒนาการในยุคต่างๆ ทฤษฎีการบริหารการผลิตของศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ วิวัฒนาการในยุคต่างๆ ทฤษฎีการบริหารการผลิตของศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 1.วิศวกรรมอุตสาหกรรม (Industrial Engineering) ได้แก่ การวางผังโรงงาน การศึกษางาน การจัดการกระบวนการผลิต 2.วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Science) ได้แก่ สถิติศาสตร์ การจัดการและหลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาเพิ่มผลผลิต 3.วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ กายวิภาคเพื่อการแปลงสภาพวัตถุดิบ และการออกแบบงานที่เหมาะสมกับสรีระของคนงาน 4.วิทยาการข้อมูลข่าวสาร (Information Science) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผล ตลอดจนการแพร่กระจายถ่ายทอดข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผน เป็น หน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่ต้องวางแผนเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการ ปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางเพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จที่คาดหวังในอนาคต มีผู้กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผน และถ้าวางแผนดี ก็เท่ากับปฏิบัติงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง

ความหมายของการวางแผน การวางแผน คือ การหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ปัจจัยต่างๆและมี เหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานในอนาคตเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพที่ สุดวามหมายของการวางแผนโดยใช้ปัจจัยต่างๆและ การวางแผน คือ กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่า จะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และ วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร การวางแผน หมายถึง กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาข้างหน้า และกำหนดสิ่งที่จะกระทำต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

ความหมายของการวางแผน (ต่อ) การวางแผน เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อน และต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนจะมีการดำเนินกิจกรรม การวางแผน หมายถึง วิธีการในการไปถึงเป้าหมาย การวางแผน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินใจในปัจจุบันว่าจะทำอะไร ทำโดยใคร และทำเพื่ออะไร สำหรับการปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ความสำคัญของการวางแผน 1. ช่วยลดการสูญเสียจากการทำงานซ้ำซ้อน 2. ทำให้มีการกำหนดขอบเขตในการทำงานที่แน่นอน และมีนโยบายที่ชัดเจน 3. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนป้องกันการขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงาน 4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการบริหารของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลา และทรัพยากร 5. การวางแผนจะช่วยให้เกิดการประสานสัมพันธ์ภายในองค์กร ทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความราบรื่นและสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้า หมายได้

ประเภทของการวางแผน 1. การวางแผนระยะยาว (long-range planning) เป็นการวางแผนระยะยาวที่มองไปข้างหน้า เพื่อทำให้ธุรกิจหรือกิจการนั้นดำเนินหรือดำรงอยู่ต่อไป เป็นการวางนโยบายและเป้าหมายของงานทั่วๆ ไป มีช่วงระยะเวลาระหว่าง 5 – 10 ปี 2. การวางแผนระยะปานกลาง (intermediate planning) เป็นการวางแผนระยะเวลาพอประมาณ โดยเฉพาะด้านการเงิน มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ช่วงการวางแผน 2-5 ปี 3. การวางแผนระยะสั้น (short-range planning) เป็นการวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆ เพื่อทำให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวัตถุดิบ การตัดสินใจ การผลิต จำนวนเครื่องมือ เครื่องจักร ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ถึง 2 ปี

แนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิต ปัจจัยนำเข้าInput คน เงินทุน เครื่องจักร วัตถุดิบ การบริหารจัดการ ทรัพยากร กระบวนการ Process การวางแผน วิธีการในการผลิต วิธีการจะลำดับการผลิต การจัดสรรกำลังคนเพื่อทำการผลิต อื่น ๆ ผลลัพธ์ Output สินค้าหรือบริการที่ต้องการในปริมาณ คุณภาพ เวลาตามที่กำหนด การควบคุม Control การควบคุมการผลิต (Production Control) การควบคุมปริมาณ/เวลา (Quantity Control /Time) การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)

ความหมายการผลิต การผลิต (Production) คือ กระบวนการที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ ระบบบริหารการผลิต

ความหมายการผลิต (ต่อ) การผลิต (Production/Operations) เป็นการสร้างสินค้าและบริการโดยใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยที่ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตต้องมีอรรถประโยชน์ในด้านหน้าที่ใช้สอยที่เกิด ประโยชน์ มีรูปร่างลักษณะที่สวยงาม ผลิตในปริมาณที่เพียงพอกับความ ต้องการ ได้ผลผลิตทันเวลาและอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกต้องตัวอย่างของ ประเภทของการผลิต

ความหมายการผลิต (ต่อ) การผลิต จัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการประกอบธุรกิจไม่ว่าองค์การนั้นจะประกอบธุรกิจลักษณะซื้อมาขายไป ไม่ได้ทำการผลิตสินค้าเองโดยตรง ทั้งนี้เป็นการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้ต้นทุนของสินค้าสูง ส่งผลให้การขายสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำการศึกษาเกี่ยวกับการผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบธุรกิจต่อไป การผลิต หมายถึง การนำปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์สร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าของสิ่งของให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น Value added การผลิตอาจใช้ปัจจัยการผลิตน้อยหรือมากตามชนิดของสินค้าและบริการแต่ละชนิด

ความหมายการผลิต (ต่อ) การผลิต (Production) มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ชาติเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันและการประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ผลผลิต เกิดมาจากการดำเนินการผลิตโดยอาศัยกระบวนการผลิต จะเป็นผลออกมาในรูปของ 2 สิ่ง คือ 1. ผลผลิตที่ออกมาเป็นสินค้า / ผลิตภัณฑ์ (goods) 2. ผลผลิตที่เกิดมาจากการปฏิบัติการ (operation)

แผนภาพปัจจัยการผลิต (Map production Factor) ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน ผู้ประกอบการ สินค้าและบริการ

วัตถุประสงค์ของการผลิต มีดังต่อไปนี้ 1. การสร้างคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนดได้ 2. การมีระดับต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งแสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การมีความสามารถที่จะส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลาที่กำหนดแก่ลูกค้า 4. การมีความยืดหยุ่นที่จะปรับปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าและ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

ประเภทของการผลิต ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ 1. การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made-to-order) เป็นการผลิตที่คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละรายการเตรียมการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องการจะใช้ตลอดจนกระบวนการผลิตจึงไม่สามารถ คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบอเนกประสงค์ และผู้ผลิตต้องมีความสามารถและความชำนาญหลายอย่าง เพื่อทำการผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ ตัวอย่างของการผลิตตาม คำสั่งซื่อได้แก่การตัดเย็บชุดวิวาห์ การรับสร้างบ้านบนที่ดินของลูกค้า การทำผม ฯลฯ

ประเภทของการผลิต (ต่อ) 2. การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (Made-to-stock) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ การจัดหาวัตถุดิบและการเตรียมกระบวนการผลิตสามารถทำได้ล่วงหน้า เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นเครื่องมือเฉพาะงานและผู้ผลิตถูกอบรมมาเพื่อทำงานตามหน้าที่ เฉพาะอย่าง ตัวอย่างของการผลิตเพื่อรอจำหน่ายได้แก่การผลิตสบู่ การผลิตรถยนต์การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน ฯลฯ

ประเภทของการผลิต (ต่อ) 3. การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (Assembly-to-order) เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่จะประกอบเป็นสินค้า สำเร็จรูปได้หลายชนิด ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านั้นจะมีลักษณะแยกออกเป็นส่วนจำเพาะหรือโมดูล (Module) โดยผลิตโมดูลรอไว้ก่อนเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจึงทำการประกอบโมดูลให้เป็นสินค้าตามลักษณะที่ลูกค้าต้องการ จึงนับได้ว่าการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อได้นำเอาลักษณะของการผลิตเพื่อรอจำหน่ายซึ่งมีการผลิตชิ้นส่วนเป็นโมดูลมาตรฐาน ที่ใช้ประกอบเป็นสินค้าหลายชนิดรอไว้ มาผสมเข้ากับลักษณะของการผลิตตามคำสั่งซื้อซึ่ง นำโมดูลมาประกอบและแต่งเติมรายละเอียดให้สินค้าสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย ตัวอย่างการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หลายรุ่นที่มีการใช้อะไหล่เหมือนกัน 2 ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต

ประเภทของการผลิต (ต่อ) 4. การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ราคาแพง และมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายเช่น การสร้างเขื่อน การสร้างทางด่วน การต่อเรือดำน้ำ การต่อเครื่องบิน ฯลฯ การผลิตแบบโครงการมักมีปริมาณการผลิตต่อครั้งน้อยมากหรือผลิตครั้งละชิ้นเดียวและใช้เวลานาน การผลิตจะเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) เมื่อเสร็จงานโครงการหนึ่งจึงย้ายทั้งคนและวัสดุสิ่งของเครื่องมือต่างๆ ไปรับงานใหม่เครื่องมือที่ใช้จึงเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย และคนงานต้องสามารถทำงานได้หลายอย่างจึงต้อง ใช้แรงงานมีฝีมือที่ผ่านการอบรมอย่างดี

ประเภทของการผลิต (ต่อ) 5. การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermit ten Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยมีปริมาณการผลิตต่อครั้งเป็นล็อต มีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตค่อนข้างบ่อย และผลผลิตไม่มีมาตรฐานมากนัก เช่น การบริการคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกรวมกันตามหน้าที่การใช้งานไว้ในสถานีการผลิตแยกเป็นหมวดหมู่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของผังโรงงานในจุดที่จะสามารถทำให้กระบวนการผลิตทุกผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินไปตามขั้นตอนการผลิตที่กำหนดไว้อย่างคล่องตัว การเดินเครื่องจักรผลิตจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งจนได้ปริมาณตามที่ต้องการแล้วจึงเปลี่ยนไป ผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยใช้เครื่องจักชุดเดิม

ประเภทของการผลิต (ต่อ) 6. การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) เป็นการผลิตที่คล้ายกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องมาก จนบางครั้งจัดเป็นการผลิตประเภทเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่การผลิตแบบกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแยกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต ในขณะที่การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า ลักษณะการจัดเครื่องจักรอุปกรณ์ของการผลิตแบบกลุ่มจะเหมือนกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องคือจัดเครื่องจักรตามหน้าที่การ ใช้งานเป็นสถานี แล้วงานจะไหลผ่านไปแต่ละสถานีตามลำดับขึ้นตอนของงาน และเนื่องจากการผลิตแบบกลุ่มเป็น การผลิตของเป็นล็อต ขั้นตอนการผลิตจึงมีแบบแผนลำดับเหมือนกันเป็นกลุ่มๆ ตามล็อตการผลิตเหล่านั้น การผลิตแบบกลุ่มนี้ใช้ได้กับ การผลิตตามคำสั่งซื้อและการผลิตเพื่อรอจำหน่าย เช่นการเย็บเสื้อโหล เป็นต้น

ประเภทของการผลิต (ต่อ) 7. การผลิตแบบไหลผ่าน หรือการผลิตตามสายการประกอบ หรือการผลิตแบบซ้ำ (Line- Flow หรือ Assembly หรือ Repetitive Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในปริมาณมาก เช่น การผลิตแชมพู การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องซักผ้า การผลิตแบบไหลผ่านจะมีเครื่องจักรอุปกรณ์เฉพาะของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แยกต่างหากโดยไม่มีการใช้เครื่องจักรร่วมกัน เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะงานสำหรับแต่ละ สายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตที่รวดเร็ว และได้ปริมาณมากการผลิตแบบนี้จะเหมาะสมกับการผลิตเพื่อรอจำหน่ายหรือใช้ในการประกอบโมดูล ในการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่อไป 8. การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process หรือ Continuous Flow Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่างซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป เช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ ฯลฯ

ความหมายของการวางแผนการผลิต การวางแผนการผลิต (production planning) หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อวางแผนเกี่ยวกับ การจัดหา วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร และบุคคลที่มีความสามารถมาผลิตสินค้า หรือบริการให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการอยู่ตลอดเวลา การวางแผนการผลิต หมายถึง การจัดวางแผนในหน่วยงานต่างๆ เครื่องมือ เครื่องจักรและระบบวิธีในการผลิต เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือการบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย ระยะเวลาและความสะดวกเป็นพื้นฐาน

ความจำเป็นและความสำคัญในการวางแผนการผลิต เมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง การวางแผนการผลิตต้องให้ความสนใจทางด้านการตอบสนองของลูกค้า คือ สินค้าหรือการปฏิบัติการบริการต้องสมดุลย์กับความต้องการของผู้อุปโภคบริโภค เมื่อต้องการเพิ่มหรือลดผลผลิต คือ ต้องวางแผนทันทีล่วงหน้าก่อนว่า ต้องเพิ่มเครื่องจักร เครื่องมือหรือรับคนเพิ่ม 3. เมื่อต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ เพราะผลผลิตบางชนิดออก สู่ตลาดแล้วได้รับความนิยมไม่เท่ากัน บางชนิด 1-2 ปี บางชนิด 5-10 ปี การวางแผนการผลิตจึงต้องนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนและปรับปรุงอยู่ ตลอดเวลา

วัตถุประสงค์ในการวางแผนการผลิต การบริหารการผลิตเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจและองค์การอันมีพันธะกิจ (Mission) คือผลกำไรที่ทำให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว เมื่อมีการแยกพันธะกิจออกเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักจะพบว่า ฝ่ายการตลาด : วัตถุประสงค์หลัก คือ การขยายตัวของส่วนแบ่งตลาด (Market Share) และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ฝ่ายการเงิน : วัตถุประสงค์หลักคือ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (Liquidity) ฝ่ายการผลิต : วัตถุประสงค์หลัก คือ คุณภาพ (Quality) และผลิตภาพ (Productivity) แต่แม้คุณภาพและผลิตภาพคือหัวใจของการผลิต

หน้าที่ของการวางแผนการผลิต เป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายขายหรือ ฝ่ายการตลาด วิศวกรรมการผลิต ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเงิน

คำถามท้ายบทที่ 1 แนวคิดการบริหารยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร การวางแผนมีความสำคัญอย่างไร การวางแผนมีกี่ประเภทอะไรบ้าง อธิบาย จงอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิต จงอธิบายระบบบริหารการผลิตมีกระบวนการอย่างไร ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์กี่ประเภทอธิบายพอสังเขป การวางแผนการผลิตหมายถึงอะไร อธิบาย

คำถามท้ายบทที่ 1 (ต่อ) ความจำเป็นและความสำคัญในการวางแผนการผลิต คืออะไรอธิบาย จงอธิบายพันธะกิจเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักของฝ่ายคืออะไร วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต ในอนาคตเป็นอย่างไร อธิบาย