งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ
อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี

2 ความหมายการควบคุมการผลิต
การควบคุมการผลิต (production control) กระบวนการควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติการผลิตให้เป็นไปตามแผนการ และกำหนดการผลิตเป็นกิจกรรมที่สามารถกำกับดูแลได้ตั้งแต่ระบบปัจจัยป้อน (Input) เข้ามา แล้วสู่กระบวนการผลิต (process) และควบคุมไปถึงผลผลิต (Output) การควบคุมการผลิต Production Control ปัจจัยการผลิต Input กระบวนการผลิต Process ผลผลิตหรือสินค้า Output ข้อมูล สั่งการ แสดงการควบคุมการผลิตกับระบบการผลิต

3 ความหมายการควบคุมการผลิต (ต่อ)
การควบคุมการผลิต คือ การบังคับหรือกำกับดูแลให้การดำเนินการผลิตสู่เป้าหมาย ซึ่งการควบคุมย่อมเป็นหลักประกันว่าผลงานที่ได้ตรงกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดการควบคุมการผลิตจะทำให้เราทราบว่างานที่ทำกำลังเดินไปสู่เป้าหมายหรือไม่ ถ้าไม่ตรงตามความต้องการก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันการ การควบคุมจะทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจะต้องมีการวางแผนและตั้งมาตรฐานเอาไว้ล่วงหน้า และมีการเปรียบเทียบผลงานจริงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ การควบคุมการผลิต เป็นการควบคุมดูแลเกี่ยวกับแผนการผลิตที่ได้วางไว้ให้ทำงานจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

4 ความสำคัญและประโยชน์ของการควบคุม
เป้าหมายหลักที่สำคัญ คือ การควบคุมดูแลให้การผลิตที่วางแผนไว้เป็นไปตามแผนและตามตารางกำหนดการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตออกไปสู่ท้องตลาดหรือสู่ผู้บริโภคได้ถูกต้องและตามเวลาที่ต้องการ ประโยชน์ของการควบคุมการผลิต 1. ทำให้การผลิตเกิดต้นทุนที่คงที่ไม่บานปลาย 2.ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 3. ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 4. ทำให้ปริมาณวัสดุคงคลังมีปริมาณน้อยลง 5. ลดการทำงานซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นลง 6. ทำให้ฝ่ายจัดการหรือผู้บริหารระดับสูงทราบผลการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา 7. ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตได้รวดเร็ว

5 หน้าที่ของฝ่ายควบคุมการผลิต
โดทั่วไปสายการผลิตนั้น การควบคุมการผลิต มักจะอยู่ภายใต้การบังคับบัฐชาของหวัหน้าแผนการวางแผนการควบคุมการผลิต หน้าที่ของการควบคุมการผลิต ให้คำแนะนำ คือ ทำหน้าที่เป็น Staff มีความสำคัญเทียบเท่ากับฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิศวกร ทำหน้าที่ขึ้นตรงต่อผู้จัดการโรงงาน 1. รับคำสั่ง (Order) จากลูกค้า 2. แจ้งฝ่ายบัญชีเกี่ยวกับรายละเอียดของข้อกำหนดต่างๆ ในการผลิต 3. หาข้อมูลจากฝ่ายวิศวกร เพื่อขอทราบแผนการผลิต 4. กำหนดรายละเอียดของวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่จะใช้ในการผลิต 5. ควบคุมและจัดหาวัตถุดิบและเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีคุณภาพในการผลิต 6. กำหนดวิธีหรือขั้นตอนการผลิต

6 หน้าที่ของฝ่ายควบคุมการผลิต (ต่อ)
7. วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต 8. ให้คำรับรองและกำหนดวันเวลาในการส่งมอบ 9. ออกคำสั่งให้เริ่มการผลิต 10. ออกใบเบิกวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิต 11. ควบคุมการขนย้ายวัตถุดิบหรือการขนส่งสินค้าให้เป็นไปด้วยควมเรียบร้อย 12. ดำเนินการควบคุมกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคปัญหาต่างๆ

7 ระบบของการควบคุมการผลิต
ถือเป็นส่วนหนึ่งของในระบบการผลิตทางอุตสาหกรรม การพยากรณ์ความต้องการ การวางแผนกำลังการผลิต การควบคุมและติดตามระดับสินค้า การวางแผนความต้องการ ข้อมูลการขายและสิ่งผลิต ดำเนินการผลิต ผลผลิต สินค้าคงเหลือ ลูกค้า การขนส่ง พ่อค้า การทำงานในโรงงานการกำหนดตารางการติดตามและการควบคุม

8 ขั้นตอนการควบคุมการผลิต
บันทึกรวบรวม ข้อมูลการผลิต วิเคราะห์ข้อมูลรวมหลังเสร็จเพื่อเป็นแนวคราวต่อไป วิเคราะห์เทียบกับแผนงานที่วางไว้ ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงแผนการผลิต

9 เทคนิควิธีการควบคุมการผลิต
เป็นการควบคุมอัตราการทำงานตามสายงานของสถานีการผลิตตามจุดต่างๆ เช่น การป้อนวัตถุดิบ คุณภาพ และปริมาณสินค้าที่ผลิตสำเร็จ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย เหมาะกับการผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous manufacturing) ซึ่งมีการกำหนดสายงานการผลิต (production line) ไว้แน่นอน 1. Flow control เรียกว่า การควบคุมตามคำสั่งซื้อ มักเป็นงานเหมา (Job lot) จะใช้กับประเภทการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (intermittent manufacturing) เพื่อให้ง่ายและสะดวกจะแยกงานแต่ละงานเป็นอิสระ โดยการกำหนดค่าใช้จ่ายให้หมายเลขกำกับ กำหนดวัสดุ เวลา ผูกติดอยู่กับงานนั้นๆ จึงต้องแปรเปลี่ยนไปตามของที่สั่งแต่ละครั้ง 2.Order control พบมากในงานอุตสากรรมที่ผลิตของเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบกันภายหลัง เพราะการวางแผนการผลิต จัดเป็นกลุ่มงาน (Block or group) การควบคุมจึงต้องจัดไปตามกลุ่มงาน เช่น งานสี งานไฟ ฟ้า งานสุขภัณฑ์ ดังนั้น การควบคุมจะมีการแบ่งเป็นชุดๆ ไป 3. Block control

10 เทคนิควิธีการควบคุมการผลิต (ต่อ)
พบมากในการผลิตสินค้าบริโภค เช่น การผลิตไอศครีมในแต่ละชนิดต้องใช้สัดส่วนผสมกับรสชาติแตกต่างกันออกไปตามความต้องการอลูกค้า รผลิตจึงต้องมีการควบคุมในส่วนนี้เป็นส่วนๆ ไป 4. Batch control การผลิตที่ใช้กรรมวิธีการผลิตแบบเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตยา หรือผลิตสารเคมี ส่วนใหญ่เป็นการควบคุมแบบอัตโนมัติ ปัจจุบันใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมในระบบการผลิต 5. Process control เป็นงานที่มีโครงการ (project) ขนาดใหญ่มีค่าใช้จ่ายสูง ระยะเวลานาน การดำเนินงานไปตามแผน อาจมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด การควบคุมนี้จะต้องใช้วิธีวิเคราะห์เครือข่ายงานแล้วแสดงออกมาในรูปของ Gentt chart หรือ Bar Chart) หรือใช้วิธีPERT / CPM เป็นต้น เพื่อดูว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ 6. Project control

11 ความสัมพันธ์ของฝ่ายควบคุมการผลิตกับฝ่ายอื่นๆ ในบริษัท
1. ความสัมพันธ์กับฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายขาย เพื่อให้ทราบข้อมูล ความต้องการ ทั้งด้านคุณลักษณะและปริมาณของสินค้า ประสานในเรื่องการกำหนดส่งสินค้า หรือระดับสินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า 2. ความสัมพันธ์กับฝ่ายวิศวกรรมการผลิต ประสานในเรื่องขั้นตอนและรายละเอียดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการควบคุมดูแล ประสานเรื่องขั้นตอน ภาระงาน แผนการผลิตและตารางการผลิตด้วย 3. ความสัมพันธ์กับฝ่ายวางแผนการผลิต เป็นฝ่ายที่กำหนดสายงานและลำดับขั้นการผลิตทุกขั้นตอน ฝ่ายควบคุมต้องไปประสานเพื่อให้ทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแผน จึงสามารถประสานงานหรือรายงานไปยังฝ่ายขายและผู้บริหารระดับสูงในแต่ละช่วงเวลา

12 คำถามท้ายบทที่ 2 การควบคุมการผลิตคืออะไร
ประโยชน์ของการควบคุมการผลิตมีอะไรบ้าง ท่านมรแนวทางการควบคุมอย่างไร วิธีการควบคุมการผลิตมีอย่างไรบ้าง จงอธิบายขั้นตอนในการควบคุมการผลิตมาพอเข้าใจ


ดาวน์โหลด ppt การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google