บทที่ 9 นโยบายเงินปันผล และ ทฤษฎีเงินปันผล
สมาชิกในกลุ่ม นายรุจิกร ส่องแสง รหัส 58127318048 นายรุจิกร ส่องแสง รหัส 58127318048 น.ส.พัชรีพร ศรีไพศาล รหัส 58127318051 นายธนกฤต สมัยชูเกียรติ รหัส 58127318068 นายอภิรัก โคตรเจริญ รหัส 58127318069 น.ส.ฐานิต วิจิตรวงษ์ รหัส 58127318071 น.ส.อมรรัตน์ สิริสรานนท์ รหัส 58127318073 น.ส.ศิริรัตน์ พิกุลเงิน รหัส 58127318077 น.ส.กิ่งเพชร แหลมเฉียบ รหัส 58127318078
ความหมายของเงินปันผล เงินปันผล หมายถึง เงินสด สินทรัพย์อื่นๆ หรือหุ้นของบริษัทเองที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการแบ่งกำไร การพิจารณานโยบายเงินปันผลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะนโยบายเงินปันผลเป็นตัวกำหนดแหล่งเงินทุนระยะยาวจากภายในกิจการคือ กำไรสะสม ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับในงวดนั้นๆ ในรูปเงินปันผล ถ้าจ่ายเงินปันผลมาก กำไรสะสมที่เป็นแหล่งเงินทุนของกิจการก็จะน้อย
แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายเงินปันผล เมื่อผู้ลงทุนลงทุนซื้อหุ้นสามัญ สิ่งที่ผู้ลงทุนคาดหวังก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของเงินปันผลหรือผลต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายหุ้น ขณะที่ผู้บริหารธุรกิจต้องการนำผลกำไรไปลงทุนในโครงการที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในอนาคตหรือขยายกิจการเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ธุรกิจ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณาเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นกับผู้บริหารธุรกิจ ได้แก่ 1. การจัดสรรผลกำไร ธุรกิจจะจัดสรรผลกำไรในรูปของเงินปันผลจำนวนเท่าใด จึงจะเกิดความพึงพอใจแก่ผู้ถือหุ้น 2. การสะสมกำไรในรูปของกำไรสะสม ธุรกิจจะกันกำไรสุทธิที่ทำได้ไว้จำนวนหนึ่งในรูปของกำไรสะสมเพื่อนำไปลงทุนในโครงการต่างๆ และสร้างความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจจำนวนเท่าใดจึงจะเหมาะสม ซึ่งการพิจารณาทั้ง 2 ประเด็นข้างต้น จะมีความขัดแย้งกัน ดังนั้น การกำหนดนโยบายเงินปันผลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นเรื่องของการพิจารณาจัดสรรกำไรสุทธิที่ทำได้ไปเป็นผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อการขยายโอกาสในการลงทุนและเพิ่มมูลค่าของธุรกิจให้สูงขึ้น
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการกำหนดนโยบายเงินปันผล ปัจจัยที่กำหนดนโยบายเงินปันผล มีดังนี้ 1. สภาพคล่องของธุรกิจ จะต้องพิจารณาว่าธุรกิจมีความต้องการใช้เงินสดเพื่อการลงทุนหรือขยายธุรกิจหรือไม่ และมีเงินสดเหลือพอที่จะนำมาจ่ายเงินปันผลมากน้อยเพียงใด และเมื่อจ่ายเงินปันผลแล้วเงินสดคงเหลือมีเพียงพอตามนโยบายเงินสดขั้นต่ำหรือไม่ 2. ข้อจำกัดในสัญญาการกู้ยืม กรณีที่ธุรกิจมีหนี้สินและได้ทำสัญญาการกู้ยืมระหว่างเจ้าหนี้กับธุรกิจโดยมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ เช่น ไม่ให้จ่ายเงินปันผลมากเกินระดับหนึ่ง เพื่อให้มีกำไรสะสมที่สามารถนำไปลงทุนต่ออันเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน 3.เสถียรภาพของกำไร กรณีที่ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ ธุรกิจก็สามารถพยากรณ์กำไรที่จะได้รับในอนาคตได้ค่อนข้างแน่นอน 4.ความจำเป็นในการชำระหนี้ กรณีที่ธุรกิจมีหนี้สินที่ครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ก็จะต้องนำกำไรส่วนหนึ่งไปชำระหนี้ก่อน หากมีกำไรเหลือจึงจะนำมาจ่ายเงินปันผลได้บ้างหรืออาจจะทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้เลย 5.ขนาดของธุรกิจ กรณีที่ธุรกิจขนาดเล็กจำเป็นจะต้องซื้อสินทรัพย์หรือขยายกิจการเพิ่มขึ้นทำให้ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก จึงจะต้องสะสมกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมมากว่าที่จะนำกำไรไปจ่ายเงินปันผล
6.อำนาจในการควบคุม การลงทุนเพื่อขยายกิจการของธุรกิจโดยการจัดหาเงินทุนจากกำไรสะสม และการออกหุ้นสามัญใหม่ ซึ่งการจัดหาเงินทุนจากกำไรสะสมนั้นจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการออกหุ้นสามัญใหม่ เนื่องจากไม่ทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมลดลง 7.ความสามารถในการกู้ยืมของธุรกิจ หากธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก 8.อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ ธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงก็จะต้องใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ ดังนั้น ธุรกิจจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมากทำให้ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลได้ลดลง 9.ข้อกำหนดทางกฎหมาย เนื่องจากข้อกำหนดของกฎหมายไทย ระบุว่าการที่ธุรกิจมีผลกำไรสุทธิประจำปีจะต้องจัดสรรกำไรไม่ต่ำกว่าร้อยละ5 เข้าไว้ในกำไรสะสมเพื่อเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย แต่ถ้ากำไรสะสมของธุรกิจหรือทุนสำรองตามกฎหมายมีจำนวนเกินร้อยละ10 ของทุนของกิจการ ธุรกิจสามารถนำกำไรสุทธิประจำปีจ่ายเงินปันผลได้ทันที
10.ภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ผู้ถือหุ้นจะต้องการเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคต เนื่องจาก ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลงตามเวลา 11.โอกาสในการลงทุน หากธุรกิจมองเห็นโอกาสการลงทุนในโครงการที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงก็อาจจะไม่จ่ายเงินปันผลแต่จะนำกำไรสะสมไปลงทุนในโครงการนั้น 12.ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทที่ไม่พอใจในการเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ยินดีที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมมากว่าการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจาการขายหุ้น ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น
ประเภทของนโยบายเงินปันผล การกำหนดนโยบายเงินปันผลจะมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนโยบายเงินปันผลจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. จำนวนเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นคงที่ (Stable Dividend per Share) เป็นการจ่ายจำนวนเงินปันผลที่แน่นอนแก่ผู้ถือหุ้นซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท 1. นโยบายจ่ายเงินปันผลคงที่/หุ้นเป็นการเก็บเงินสำรองสำหรับจ่ายเงินปันผลในกรณีที่ปีใดไม่มีกำไรมากพอที่จะจ่ายวิธีนี้เหมาะสำหรับบริษัทที่มีกำไรมั่นคง 2.นโยบายจ่ายเงินปันผลกำหนดอัตราส่วนแน่นอน เป็นการจ่ายเงินปันผลที่กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกำไรทุกปี 3.นโยบายจ่ายเงินปันผลต่ำ บวกการจ่ายพิเศษ เป็นการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นน้อยสม่ำเสมอ บวก เงินปันผลพิเศษในปีที่บริษัทมีกำไรสูง 2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่ (Constant Dividend Payout Ratio) นโยบายเงินปันผลลักษณะนี้ธุรกิจจะกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลเป็นอัตราส่วนต่อกำไรที่ธุรกิจได้ในปีนั้นๆ ซึ่งเป็นอัตราส่วนคงที่ กล่าวคือ หากธุรกิจมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เงินปันผลต่อหุ้นก็จะเพิ่มมากขึ้น และในทางตรงกันข้ามหากธุรกิจมีกำไรสุทธิลดลง เงินปันผลต่อหุ้นก็จะลดลงตามไปด้วย
3. การจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำจำนวนหนึ่งบวกด้วยเงินปันผลส่วนเพิ่มพิเศษ (Low Regular Dividend plus Extras ) นโยบายเงินปันผลลักษณะนี้ธุรกิจจะกำหนดเงินปันผลจำนวนหนึ่งเป็นประจำ ถ้าปีใดธุรกิจมีกำไรสุทธิเกินกว่าปกติก็จะจ่ายเงินปันผลส่วนเพิ่มพิเศษ 4. อัตราการจ่ายเงินปันผลตามเป้าหมาย (Target Payout Ratio) นโยบายเงินปันผลลักษณะนี้ธุรกิจจะวางแผนการจ่ายเงินปันผลระยะยาวโดยมีเป้าหมายว่าธุรกิจจะจ่ายเงินปันผลให้ได้ตามอัตราที่กำหนดภายในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะจ่ายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ ทั้งนี้ ธุรกิจจะจ่ายเงินปันผลเพิ่มก็ต่อเมื่อแน่ใจว่ากำไรสุทธิมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ขั้นตอนการจ่ายเงินปันผล ระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับเงินปันผลที่ผู้ลงทุนควรให้ความสนใจ เนื่องจากระยะเวลาเหล่านี้มีผลต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญของธุรกิจ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. วันประกาศจ่ายเงินปันผล(Declaration Date) เป็นวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการจ่ายเงินปันผล โดยข้อความที่ประกาศนี้จะบอกถึงจำนวนเงินปันผลต่อหุ้น วันลงทะเบียน วันปิดหุ้นโอนเพื่อจัดทำบัญชีผู้ถือหุ้นในการขอรับเงินปันผล และวันจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น 2. วันปิดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล(Holder-of-Record-Date) เป็นวันที่จะปิดบัญชีทะเบียนผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้นในวันนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิรับเงินปันผล 3. วันปิดการโอนหุ้น(Ex-Dividend Date) ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดรองที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินจะเป็นผู้กำหนดว่าสิทธิในการรับเงินปันผลจะอยู่กับผู้ถือหุ้นนั้นจนกระทั่ง 3 วันทำการก่อนวันปิดทะเบียนผู้ถือหุ้น 4. วันจ่ายเงินปันผล (Payment Date) เป็นวันที่ธุรกิจจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นซึ่งมีรายชื่อในบัญชีผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล ซึ่งโดยปกติแล้วกำหนดวันจ่ายเงินปันผลจะอยู่ระหว่าง 2-3 สัปดาห์ หลังจากปิดทะเบียนการโอนหุ้น
รูปแบบการจ่ายเงินปันผล ผู้ประกอบการจะต้องตัดสินใจว่าธุรกิจจะจ่ายเงินปันผลด้วยวิธีใด ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลด้วย ซึ่งรูปแบบการจ่ายเงินปันผล มี 4 วิธี ดังนี้ 1. เงินสดปันผล ( Cash Dividend) เงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม การที่จะจ่ายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสดที่กิจการถืออยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ การจ่ายเงินสดปันผลจะทำให้ในงบดุลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสินทรัพย์( เงินสดลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย)และด้านหนี้สินและทุนก็ลดลงเช่นกัน ( กำไรสะสมลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย) 2. หุ้นปันผล ( Stock Dividend ) เป็นการจ่ายปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ ซึ่งเรียกว่า “หุ้นปันผล”ซึ่งจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ เช่น การจ่ายหุ้นปันผลร้อยละ 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น จะได้รับหุ้นปันผล 10 หุ้น นั่นคือ กิจการจะต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน โดยมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนเจ้าของในงบดุล แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลง ในขณะที่มูลค่าหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน
3. การซื้อหุ้นกลับคืน ( Stock Repurchase ) การที่ธุรกิจนำเงินกำไรส่วนที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมหรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ไปซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว ทำให้หุ้นสามัญมีจำนวนน้อยลง ถ้าปัจจัยอื่นคงที่และสมมติว่าการซื้อหุ้นคืนไม่กระทบต่อความสามารถทำกำไรของธุรกิจ จะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้น ถ้าธุรกิจนำเงินที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมไปซื้อหุ้นกลับคืน ทำให้การจ่ายเงินปันผลลดน้อยลง แต่ถ้านักลงทุนขายหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้นเนื่องจากราคาตลาดสูงขึ้น กำไรจาการขายหุ้นชดเชยได้พอดีกับเงินปันผลจ่ายที่น้อยลงการซื้อหุ้นกลับคืนจะกระทำเมื่อกิจการมีเงินทุนเหลือใช้เป็นการถาวร หรือต้องการลดจำนวนหุ้นสามัญที่หมุนเวียนในตลาดลง เพื่อทำให้ราคาตลาดหุ้นสามัญสูงอีก หรือเพิ่มอำนาจการควบคุมกิจการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นให้กับบริษัทอื่น กิจการสามารถซื้อหุ้นกลับคืนมาได้ หุ้นที่ซื้อคืนนี้ เรียกว่า Treasury Stock 4. สินทรัพย์ปันผล (Property Dividend) เป็นอีกทางเลือกของธุรกิจในการจ่ายเงินปันผลนอกเหนือจากการที่ธุรกิจจะจ่ายปันผลด้วยเงินสดหรือหุ้นปันผลแล้ว ธุรกิจอาจจ่ายปันผลด้วยสินทรัพย์ก็ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ปกติสินทรัพย์ที่นำมาจ่ายปันผล ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ หรือหลักทรัพย์ของธุรกิจอื่นที่ธุรกิจมีส่วนได้ส่วนเสียอยู่
ทฤษฎีเงินปันผล การกำหนดนโยบายเงินปันผลจะมีผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญ ซึ่งการกำหนดนโยบายเงินปันผลนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงทฤษฎีเกี่ยวกับเงินปันผล ดังต่อไปนี้ 1. ทฤษฎีการจ่ายเงินปันผล (Dividend Irrelevance Theory ) Modiglianiและ Miller ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายเงินปันผลกับราคาหุ้นสามัญได้เสนอทฤษฎีการจ่ายเงินปันผล(Dividend Irrelevance Theory) ภายใต้ข้อสมมุติฐานที่ว่า - เงินปันผลและส่วนต่างของราคาหุ้น (Capital gain)ไม่มีการเสียภาษี - ไม่มีค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายหุ้น โดย Modiglianiและ Miller กล่าวว่า นโยบายเงินปันผลนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัท เพราะผู้ถือหุ้นจะรู้สึกไม่แตกต่างไม่ว่ากิจการจะมีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ เพราะนักลงทุนเชื่อว่ามูลค่าของกิจการขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการแบ่งผลกำไร ดังนั้น นโยบายเงินจึงไม่มีความหมายต่อมูลค่าหลักทรัพย์
2. ทฤษฎีการจ่ายเงินปันผลสูงมีผลทำให้ราคาหุ้นสามัญเพิ่มสูงขึ้น(High Dividend Increase Stock Value Theory ) ทฤษฎีนี้ถูกเสนอโดย Lintnerและ Gordon ซึ่งทั้งคู่มีความเห็นที่ต่างไปจาก Modigliani and Miller โดยบอกว่านโยบายเงินปันผลมีความสำคัญต่อกิจการ เนื่องจากการจ่ายเงินปันผลจะทำให้มูลค่าของกิจการสูงขึ้นเพราะนักลงทุนจะเกิดความพอใจกับเงินปันผลที่ได้ในปัจจุบันมากกว่าความไม่แน่นอนของผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่อาจสูงขึ้นหรือลดลงในอนาคต 3. ทฤษฎีการจ่ายเงินปันผลต่ำมีผลทำให้มูลค่าหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ( Low Dividends Increase Stock Value Theory ) ผู้เสนอทฤษฎีนี้คือ Litzenbergerและ Ramaswanyเชื่อว่าการจ่ายเงินปันผลทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ เนื่องจากอัตราภาษีของเงินปันผลสูงกว่าอัตราภาษีของกำไรจากส่วนต่างราคา ทำให้ผู้ถือหุ้นต้องการอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าสำหรับหุ้นสามัญที่จ่ายเงินปันผลสูง มีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง สำหรับผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้จ่ายภาษีจะมีวัตถุประสงค์ของการลงทุนคือ การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนหลังหักภาษีที่สูงที่สุด ณ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดังนั้น เพื่อให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญของธุรกิจสูงขึ้นจึงควรจ่ายเงินปันผลในอัตราที่ต่ำ
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ / ค่ะ