ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ความหมายของศิลปะ "ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ (http://www.prc.ac.th/newart/webart/art_meaning.html) ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่ง สุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530 )
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ความหมายของศิลปะ ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏในสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความมีอัจฉริยภาพพุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. 2541: 26) ศิลปะ คือ ผลงานการสร้างสรรค์รูปลักษณ์แห่งความพึงพอใจขึ้นมา และรูปลักษณ์ก่อให้เกิดอารมณ์ รู้สึกในความงาม อารมณ์รู้สึกในความงามนั้นจะเป็นที่พึงพอใจได้ก็ต่อเมื่อประสาทสัมผัสของเราชื่นชมในเอกภาพ หรือความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน ( Herbert Read, 1959)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ความหมายของศิลปะ คำว่า “art” ตามแนวสากลนั้นมาจากคำว่า arti และ arte ซึ่งเริ่มนิยมใช้ในสมัยเฟื่องฟูศิลปวิทยา ความหมายของคำ arti นั้น หมายถึง กลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14,15และ 16 คำ arte มีความหมายถึง ฝีมือ ซึ่งรวมถึงความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปินด้วย เช่นการผสมสีลงพื้นสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียมและการใช้วัสดุอื่นอีก (วิรัตน์ พิชญไพบูรณ์. 2528: 1) สรุปได้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อ แสดงออกถึงฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อ รสนิยม บุคลิกและภูมิหลังของผู้สร้างงาน โดยมีทักษะ ความเพียร ความประณีตและภูมิปัญญา วิจิตรศิลป์ในการสร้างสรรค์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ประเภทของศิลปะ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) เป็นการถ่ายทอดศิลปะที่มุ่งประโยชน์ด้านความงาม ความพึงพอใจสุขใจเป็นหลัก หรืออาจถ่ายทอดออกมาโดยปราศจากความคาดหวัง และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ก็ตาม การถ่ายทอดเป็นการเติมเต็มจินตนาการที่ไร้ขอบเขตของศิลปิน แบ่งออกเป็น 8 ประเภท 1. จิตรกรรม (Painting) คือ งานเขียนภาพลงบนวัตถุต่างๆ เป็นงานแบบ 2 มิติ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร 2. ประติมากรรม (Sculpture) คือ การสร้างงานที่เป็นรูปทรงสามมิติ อย่างเช่นงานปั้นต่างๆ ที่เห็นทางด้านกว้าง ยาว และหนา 3. สถาปัตยกรรม (Architecture) คือ ศิลปะที่สร้างสรรค์อยู่บนสิ่งก่อสร้าง อาคารรูปแบบต่างๆ ให้มีความสวยงามลงตัวตามยุคสมัย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร 4. ภาพพิมพ์ (Print) ลักษณะคล้ายงานจิตรกรรมมองเห็น เพียง2มิติ แต่เป็นการสร้างงานบนแม่พิมพ์ 5. สื่อผสม (Mixed Media) คือ ศิลปะที่สามารถนำวิจิตรศิลป์หลายแบบมาผสมผสานกันอาจเป็นแบบ 2 หรือ 3 มิติก็ได้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร 6. ศิลปะภาพถ่าย (Photography) การภาพถ่ายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้เกิดประโยชน์ทางสติปัญญาอย่างมีคุณค่า 7. วรรณกรรม (Literature) คือ งานเขียน บทประพันธ์ต่างๆที่มีศิลปะในการใช้ภาษาอย่างไพเราะสวยงาม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร 8. ดนตรีและนาฏศิลป์ (Music and Drama) ดนตรีคือการเรียบเรียง 7. วรรณกรรม (Literature) คือ งานเขียน บทประพันธ์ต่างๆที่มีศิลปะในการใช้ภาษาอย่างไพเราะสวยงาม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ศิลปะประยุกต์ (Appiled Arts) คือ การถ่ายทอดผลงานทางศิลปะที่มุ่งเน้นประโยชน์ด้านการนำไปใช้งาน เพื่อความต้องการทางร่างกายเป็นหลัก และมุ่งเน้นประโยชน์ด้านความงามเป็นรอง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. พาณิชยศิลป์ (Commercial Art) คือ ศิลปะที่สร้างเพื่อธุรกิจ สร้างความตื่นตาตื่นใจเพื่อดึงดูด หวังผลทางการค้า เช่น สื่อโฆษณา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร 2. มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) คือ ศิลปะที่เกี่ยวกับการออกแบบตกแต่งภายใน เครื่องใช้ต่างๆให้เกิดความสอดคล้องลงตัวกับประโยชน์ใช้สอยกับอาคารสถานที่ 3. ศิลปหัตถกรรม (Art and Crafts) ศิลปะที่สร้างสรรค์ด้วยมือ เพื่อประโยชน์ในการทำงานด้วยประเพณีหรือวิถีชีวิตพื้นบ้านจนสามารถนำไปสู่ความเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่า
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร 4. อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art) คือ ศิลปะที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยและความงาม เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยใช้เครื่องจักในการสร้างงานออกมา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ความหมายของ “การสื่อสาร” การสื่อสาร “Wilbur Schramm” คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง 1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ 2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารเนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น 3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์ 4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้อง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ความสำคัญของการสื่อสาร การสื่อสาร เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยของคนทุกคน และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุ จุดประสงค์ทั้งสิ้น การสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้าน คือ 1. ด้านชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันหนึ่งๆ แต่ละคนจะต้องสื่อสาร กับตัวเองและสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา นับตั้งแต่เวลาตื่นนอนก็ต้องสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว การฟังวิทยุ อ่านหนังสือ ออกจากบ้านไปปฏิบัติภาระกิจประจำวัน ก็ต้องพบปะบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ความสำคัญของการสื่อสาร 2. ด้านสังคม การรวมกลุ่มในสังคมทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ จะต้องมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆ มีกระบวนการทำให้คนยอมอยู่ในกฏเกณฑ์กติกาของสังคม 3. ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรการบริหารติดต่อประสานงาน การฝึกอบรมพนักงาน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสาร 4. ด้านการเมืองการปกครอง กิจกรรมด้านการเมืองการปกครองจะต้องใช้การสื่อสารทุกขั้นตอน เช่น การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องต่างๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก แบ่งเป็น 2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึง การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร 2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึง การสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็ว ในการพูด เป็นต้น (ปรมะ สตะเวทิน 2529 : 31)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะและการสื่อสาร