การอุ้มหายในสังคมไทย
ผลกระทบจากกรณีการทรมาน บังคับให้สูญหาย ผลกระทบจากกรณีการทรมาน บังคับให้สูญหาย สถานการณ์การละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายในรูปแบบการ ทรมาน/ บังคับให้สูญหาย มีความรุนแรงมาก และถ้าเกิดขึ้น อย่างเป็นระบบอาจหมายถึงการกระทำที่เป็นอาชญกรรมต่อ มนุษยชาติที่ส่งผลต่อ หลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักการตามกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายไทย หลักสิทธิมนุษยชน ส่งผลต่อสังคม เช่น การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา มากกว่าเรื่องกฎหมายเท่านั้น เป็นเรื่องของศิลธรรมและ ความเป็นมนุษย์ผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และบุคคล ญาติของผู้สูญหายถือว่าเป็นเหยื่อของการทรมานด้วย
ธนรัตน์ ทั่งทอง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ธนรัตน์ ทั่งทอง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
การเชิญตัวบุคคล/ การไปรายงานตัว การเชิญตัวบุคคลด้วยอำนาจดังกล่าว แม้จะมีการกำหนดให้ไปรายงานแต่ การกำหนดให้รายงานตัวนั้นหากไม่ไปมีบทโทษทางอาญา จึงเท่ากับว่า ไม่ใช่การ เชิญตัว แต่เป็นการไปมอบตัวตามกฎหมายอาญาทำให้เกิดสิทธิของผู้ถูกจับตาม มาตรา 7 (1) ในทันที โดยจะอ้างกฎหมายหรือคำสั่งของตนเองอีกไม่ได้ เพราะไม่มี รายละเอียดของการกำหนดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมไว้ดังนี้ ผู้ถูกเชิญตัวทุกคนต้องได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเท่าเทียมกันอย่าง เสมอหน้าตามหลักกฎหมายสากล การจำกัดสิทธิผู้ถูกเชิญตัว (ผู้ถูกจับ) ในการไม่ให้พบทนายความ แพทย์หรือบุคคลที่ ร้องขอจึงเป็นการละเมิดกฎหมายภายในประเทศที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ หากมีการใช้ วิธีการบังคับขู่เข็ญให้ไป (abduction) หรือการจับกุมควบคุมตัว (arresting) ด้วยเพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับทัศนคติตามอำนาจคสช. ย่อมก่อให้เกิดสิทธิใน กระบวนการยุติธรรมตามมาตรา 7 (1) ด้วยเช่นกัน
ม. 7 /1 1.มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงาน แจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม และสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้น สอบสวน (3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
การควบคุมตัวบุคคล การควบคุมตัวบุคคลไว้เพื่อการปรับทัศนคติ 7 วันอาจเข้าข่าย การควบคุมตัวไม่ชอบ ในที่นี่ตามหลักสิทธิมนุษยชนนั้น “ทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับเสรีภาพและความปลอดภัยในตัวบุคคล ไม่มี ใครสมควรถูกจับกุมหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” และ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ระบุว่าการควบคุมตัว บุคคลโดยไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอกเป็นการควบคุมตัวไม่ ชอบ เพราะเป็นการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมืองและเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การทรมาน การปฏิบัติหรือ ลงโทษอย่างไร้มนุษยธรรม ย้ำยีศักดิ์ศรี การบังคับให้สูญหาย เป็นต้น
การควบคุมตัวตามอำเภอใจ การควบคุมตัวตามอำเภอใจ (การควบคุมตัวไม่ชอบ)หมายถึง การ กระทำที่เป็นการควบคุมตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและ/หรือ โดยไม่อาจ คาดคะเนได้ โดยไม่มีหลักเกณฑ์ หรือโดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตาม กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงานของ รัฐ หรือบุคคลอื่นที่กระทำในฐานะของเจ้าพนักงานของรัฐหรือโดยการ ยุยงส่งเสริม ความยินยอม หรือการนิ่งเฉยของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือที่เป็นการพรากเสรีภาพไปจากบุคคลหนึ่งโดยการจับบุคคลนั้นไปขัง ในเรือนจำหรือในสถานที่ใดที่มีลักษณะการคุมขังเหมือนเรือนจำ โดยปราศจากเหตุผลของการกักบริเวณที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย, ไม่มี เหตุอันควรหรือ ไม่จำเป็นในพฤติการณ์ของคดีและ/หรือการปฏิบัติตาม กระบวนการต่างๆ ซึ่งได้กำหนดไว้โดยกฎหมายว่าด้วยกระบวนการจับกุม และการคุมขัง
การควบคุมตัวลับ หรือในสถานที่ลับ ยอมรับว่ามีการจับกุม ควบคุมตัว แต่ไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว (ไม่ให้เยี่ยม ขาดการติดต่อจากโลกภายนอก) เป็นระยะเวลายาวนาน เช่น เกิน 24 ชม. 48 ชม. หรือมากกว่านั้น
นักโทษทางความคิด / นักโทษทางการเมือง บุคคลที่แสดงออกทางความคิดเห็นโดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงและไม่มีลักษณะที่เป็น การสร้างความเกลียดชังด้วยพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติ แม้คสช.จะอ้างกฎหมายของตนในการใช้อำนาจเชิญตัว และต่อมาควบคุมตัวนั้นก็ พิจารณาได้ว่าไม่มีอันควร หรือไม่จำเป็น เนื่องจากการเชิญตัวพึงกระทำได้บ่อยครั้ง โดยไม่จำเป็น จึงเป็นการควบคุมตัวเกินจำเป็น การควบคุมตัวบุคคลที่การแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมืองเป็นไปใน แนวทางสันติวิธีที่ควรได้รับการเคารพนั้นเป็นการบังคับใช้กฎหมายคำสั่งที่เกินความ จำเป็นและไม่สมควร ดังที่องค์กรสิทธิมนุษยชนได้ระบุรับรองถึงสถานะของผู้ถูกควบคุมตัวอันเนื่องมาจาก การแสดงความคิดเห็นของตนว่า “นักโทษทางความคิด” หรือที่เรียกว่า Prisoners of Conscience ข้อเรียกร้องต่อนักโทษทางความคิดแม้จะถูกบังคับใช้กฎหมายใน ประเทศนั้นๆ คือการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข
การอุ้มหาย / Enforced Disappearances จับกุม คุมขัง ลักพา หรือกระทำการด้วยประการใดใดที่เป็น การลิดรอนเสรีภาพในร่างกายบุคคล โดยจนท.รัฐ หรือบุคคล กลุ่มบุคคลที่ได้รับคำสั่ง สนับสนุน รู้เห็นเป็นใจของจนท.รัฐ มีการปฏิเสธว่ามิได้มีการจับกุม คุมขัง ลักพา หรือกระทำการ ใดใดที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพในร่างกาย หรือมีการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลนั้น
รูปแบบการทรมานที่พบ การทุบตี แตะ ต่อย ตบหน้า ทุบที่ท้ายทอย ด้วยมือ หรือ ปืน การตบที่บ้องหู กดที่ติ่งหูจนทำให้ไม่สามารถขยับกรามหรือ คางได้ และไม่สามารถรับประทานอาหารได้ การข่มขู่ด้วยการเอาปืนจี้หัว หรือ ขู่ทำร้ายบุคคลใน ครอบครัว การทำให้หายไป การให้เปลือยต่อหน้าเพศตรงข้าม เหยียบ , ขยี้ หรือ ดึง อวัยวะเพศอย่างแรง
รูปแบบการซ้อมทรมานที่พบ การทำให้ขาดอากาศหายใจทั้งครอบด้วยถุงพลาสติก การรัดคอ การจุ่มศีรษะ ลงในอ่างน้ำหรือโยนลงในบ่อน้ำ การช๊อตด้วยไฟฟ้า การให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเช่นการวางรังมดแดงบนศีรษะ การฉีด สารบางอย่างสู่ร่างกาย และการบังคับให้ดื่มสารบางอย่างที่มีกลิ่นน้ำมัน ให้นอนในหลุมขนาดที่ว่าไม่คับแคบและลึกมากนัก หัวอยู่เหนือพื้นดิน จากนั้นก็เอาดินทรายมาถมในหลุมจนมิด และก็เอาน้ำมาราดบนทรายที่ถม ต่อมาทหารก็รุมการทำร้ายทรมานสารพัด (เตะ ตบ ต่อย ทุบด้วยเท้า มือ ปาก และด้ามปืนยาวM16) ให้นอนคว่ำราบไปกับพื้นที่เป็นคูน้ำและเจ้าหน้าที่เดินบนหลัง การจี้ตามร่างกายด้วยบุหรี่ที่มีไฟ
การส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมาน /การอุ้มหาย(1) อธิบายถึงมาตรฐานสากลเรื่องการร้องเรียนหมายถึงอะไร หากมี การร้องเรียนแล้วต้องมีการสืบสวนสอบสวน ส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานว่ามีความสำคัญ อย่างไร เช่น ทำให้เริ่มต้นการสืบสวนสอบสวน เริ่มต้นการหา พยานหลักฐาน เรียกคืนศักดิ์ศรี ได้รับการเยียวยา นำคนผิดมา ลงโทษ ป้องกันไม่ให้เกิดกับบุคคลอื่นอีก เป็นต้น ชี้แจ้งว่าใครควรมีสิทธิในการร้องเรียนเรื่องการทรมานและเมื่อไร ผู้เสียหาย ญาติ ทนายความ อาสาสมัคร หน่วยบังคับบัญชา องค์กรในประเทศ องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
การส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมาน (2) การส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมาน (2) แสวงหาช่องทางการส่งต่อเรื่องร้องเรียนเพื่อการแก้ไขเหตุการณ์ เฉพาะ การสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดี แพ่ง อาญา ปกครอง หลักการร้องเรียน ให้ร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัว หรือ ผู้บังคับบัญชา และถ้าจำเป็นร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่มีส่วนในการ ตรวจสอบ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ปรับปรุงแก้ไข หรือการยื่นต่อ องค์การสหประชาชาติ ลดข้อจำกัดผู้ถูกคุมขังและบุคคลอื่นๆ มีสิทธิในการร้องเรียน เพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาพยานหลักฐาน การจดบันทึก การใช้หลักการอิสตันบูล นิติวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ
การส่งเสริมการห้ามทรมานอย่างเด็ดขาด รณรงค์ให้ประเทศไทยต้องดำเนินการดังนี้ (1) ประเทศไทยต้องป้องกันไม่ให้มีการทรมาน ออกกฎหมายห้าม ให้การทรมานเป็นข้อหาอาญา มีโทษที่เหมาะสมทั้งผู้กระทำ และผู้ยุยง รู้เห็นเป็นใจ เมื่อมีการทรมานเกิดขึ้น ต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่อง ร้องเรียนสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ถูกทรมานจะได้รับโอกาสในการ ร้องเรียนขอความเป็นธรรมโดยไม่ถูกทำให้ตกเป็นเหยื่อซ้ำสอง
การส่งเสริมการห้ามทรมาน/อุ้มหายอย่างเด็ดขาด รณรงค์ให้ประเทศไทยต้องดำเนินการดังนี้(2) เมื่อมีการร้องเรียนเรื่องการทรมานนั้น ประเทศไทยต้อง สืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ โดยพลัน เป็นอิสระและอย่างมี ประสิทธิภาพ เมื่อมีการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานเกิดขึ้น แล้วนั้น รัฐภาคีจะต้องมีส่วนรับผิดชอบทางกฎหมายในการนำ คนผิดมาลงโทษอย่างเป็นธรรมตามกฎหมาย และให้เหยื่อ สามารถได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างเหมาะสม
มาตรฐานสากลเรื่องพันธกรณีที่รัฐต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเรื่องการทรมาน คำว่า “โดยพลัน” หมายความว่าอย่างไร ในการสืบสวน สอบสวนเรื่องการทรมาน คำว่า “เป็นกลาง” หมายความว่าอย่างไร ในการสืบสวน สอบสวนเรื่องการทรมาน คำว่า “ที่มีประสิทธิภาพ” หมายความว่าอย่างไรในการสืบสวน สอบสวนเรื่องการทรมาน
โดยพลัน โดยทันทีหลังได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมาน การสืบสวนสอบสวนไม่ควรจะเกิดขึ้นถ้าพบว่าเป็นข้อร้องเรียนที่ไม่มีมูล หรือไม่ มีน้ำหนักน่าเชื่อถือใดๆ ข้อกล่าวหาทั้งหมดต้องมีการสืบสวนสอบสวนและเจ้าพนักงานของรัฐที่ถูก กล่าวหาควรมีคำสั่งให้ออกจากหน้าที่ไว้ก่อน อย่างไรก็ดี การพักราชการไว้ ก่อนควรจะเกิดขึ้นเมื่อพบว่าข้อกล่าวหามีน้ำหนักน่าเชื่อถือพอสมควร เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องถ้าไม่ใช่เรื่องร้องเรียนที่ตลก หรือไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ใดๆ ในหลักการฯ ได้ระบุว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องควรได้รับการตอบรับและ ดำเนินการโดยพลันและตอบกลับอย่างไม่ล่าช้า
“โดยเป็นกลาง” IMPARTIAL “ความเป็นกลาง”เป็นกุญแจสำคัญที่สำคัญที่สุดในการสืบสวนสอบสวน เรื่องการทรมาน “ความเป็นกลาง” หมายถึงปราศจากความลำเอียง ไม่ใช่ ความเป็น“อิสระ”ซึ่งหมายถึงไม่เป็นการสืบสวนสอบสวนโดย บุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ถูกกล่าวหาหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ถูกกล่าวหา (อาจไม่รู้จักใกล้ชิดกัน แต่ฝักใฝ่ก็ได้) มีอคติเพราะเขาไม่ได้พิจารณาหลักฐานทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นธรรม มีความจำเป็นที่รัฐควรจัดให้มีหน่วยงานอิสระที่ได้รับมอบหมายให้รับ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เพื่อทำ สืบสวนสอบสวนและสร้างความยุติธรรม
“ที่มีประสิทธิภาพ” รายงานการสืบสวนสอบสวนควรจัดทำขึ้นในเวลาที่เหมาะสม โดยมีแนว ทางการสืบสวนหาข้อเท็จจริง วิธีการสืบสวนสอบสวน วิธีการในการประเมินพยานหลักฐาน พร้อมกับการเขียนบทสรุปและ ข้อเสนอแนะ โดยอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและวิธีการที่ได้มาตามกฎหมาย รายงานที่ สมบูรณ์ควรจัดทำเผยแพร่ต่อสาธารณะ
แนวทางของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป การสืบสวนสอบสวนกรณีทรมาน แนวทางของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป การสืบสวนสอบสวนกรณีทรมาน “ความมีประสิทธิภาพของการเยียวยากรณีการทรมาน หมายถึงการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน อย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องดำเนินการให้มีการ ชี้ตัวผู้กระทำผิดและลงโทษผู้กระทำผิดที่มีส่วนรับผิดชอบในการ ปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และต้องอนุญาตให้ผู้ร้องเรียนได้เข้าถึงข้อมูล ในกระบวนการสืบสวนสอบสวนด้วย”
เจ้าพนักงานของรัฐจะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้การสืบสวนสอบสวนมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล เจ้าพนักงานของรัฐจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เหยื่อที่ถูกทรมานได้รับ การปกป้องและทำอย่างไรที่พวกเขาจะได้รับสิทธิในการมีส่วน ร่วมในการสืบสวนสอบสวน เจ้าพนักงานของรัฐจะต้องมีมาตรการเพื่อให้ผู้ต้องขังและผู้อื่น ได้รับสิทธิร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและจัดให้มีการสืบสวน สอบสวน มีนโยบายที่สั่งการหรือเป็นกฎระเบียบบังคับหรือไม่ที่ให้เจ้า พนักงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ระดับบริหารต้องสืบสวนสอบสวน การร้องเรียนเรื่องทรมานจากเหยื่อ
วิธีการที่ดี ได้แก่ การสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหานั้นควรมีเหตุมีผลและสมควร แก่เวลา ไม่มีอคติ มีทัศนคติของเจ้าหน้าที่ที่ดีต่อเหยื่อและผู้ที่ถูกกล่าวหา การสอบถามพยานที่ทันท่วงที/โดยพลัน การค้นหาพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ (ยกตัวอย่างเช่น การค้นสถานที่คุมขัง ตรวจสอบบันทึกการควบคุมตัว หรือการ ตรวจร่างกายโดยแพทย์ที่มีการรับรอง);
ข้อเสนอเพิ่มเติม การสืบสวนสอบสวน เป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะเปิดโอกาสให้มีการสืบสวนสอบสวนโดย รัฐเองแม้ว่าจะไม่มีเรื่องร้องเรียน ถ้ามีมูลว่ามีการทรมานเกิดขึ้น เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่าในบางกรณีผู้ถูกทรมานอาจไม่อยู่ในภาวะที่ สามารถร้องเรียนได้ เช่นกรณีที่เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่ไม่ สามารถดำเนินการใดๆได้เอง หรือมีข้อจำกัดทางภาษา ไม่รู้กฎหมาย ไม่มีทนายสิทธิฯ กรณีกล่าวหาต่าง ๆ ที่ได้มาจากการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือ บุคคลต่าง ๆ ก็น่าจะมีมูลน่าเชื่อถือเพียงพอ
เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควรที่จะดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ตกเป็นเหยื่อการทรมาน/ อุ้มหาย ดังนี้ แจ้งให้ทราบว่ามีการชดเชยเยียวยาและมีวิธีร้องเรียนอย่างไร ต้องจัดให้พบทนายความ แพทย์ และสมาชิกของครอบครัว และในกรณีที่เป็นชาว ต่างประเทศ จัดให้พบผู้แทนสถานทูตหรือกงสุล ให้ยื่นหนังสือร้องเรียนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นความลับ โดยไม่ล่าช้า ให้สามารถยื่นหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานภายนอกได้ เช่น หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรม และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจเยี่ยม รวมทั้งการให้สิทธิในการติดต่อสื่อสารอย่าง เสรีกับหน่วยงานนั้นๆ บังคับสั่งการให้เจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายทำการสืบสวนสอบสวน มีระบบการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการตรวจร่างกาย อย่างทันท่วงที
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (1) ขอให้แก้ไขกฎหมายให้การทรมานเป็นความผิดอาญาโดยไม่ชักช้า ทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง เช่นไม่ควรควบคุมตัว โดยไม่ตั้งข้อหา ไม่ให้ติดต่อญาติทนายความ ห้ามไม่ให้ยกเว้น ความผิดจนท. ห้ามใช้คำสารภาพที่ได้จากการทรมานเป็นหลักฐาน ในชั้นศาล รัฐภาคีควรใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อป้องกันการบังคับให้ สูญหาย และเพื่อการต่อสู้กับการลอยนวลพ้นผิดเนื่องจากความผิด ฐานบังคับให้สูญหายยังไม่มี
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (2) 4. ป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดกรณีทรมานลอยนวลรัฐควรดำเนินการตามเหล่านี้โดยเร่งด่วน: (ก) ประณามต่อสาธารณะ ควบคู่ไปกับการเตือนอย่างชัดแจ้งว่าผู้กระทำการดังกล่าวหรือยินยอม รู้ เห็นเป็นใจในการกระทำทรมาน จะถูกดำเนินคดีอาญา หากมีคำพิพากษาว่ากระทำผิดจริงจะต้องรับ โทษตามความสมควรแก่ความผิด (ข) ใช้มาตรการที่จะได้รับการสอบสวน ทันที อย่างละเอียด และยุติธรรม โดยหน่วยงานพลเรือนที่เป็น อิสระอย่างเต็มที่ ผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดี และหากพบว่ามีความผิดจริงตามข้อกล่าวจะต้องได้รับ การลงโทษตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งความผิด (ค) พักการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในระหว่างการสืบสวนข้อกล่าวอ้างว่ามีการกระทำทรมานและการ ปฏิบัติที่โหดร้าย (ง) ดำเนินการให้แน่ใจว่าบุคลากรทางทหารจะได้รับการพิจารณาคดีในศาล พลเรือน สำหรับ ข้อหาการกระทำการทรมานและการกระทำอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน (จ) จัดทำระบบรับข้อร้องเรียนที่เป็นอิสระสำหรับทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (3) 5. การคุ้มครองพยานและผู้ตกเป็นเหยื่อ รวมถึง ญาติ (ก) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานฯ เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการ ใดๆ รวมทั้งการดำเนินคดีทางแพ่ง คดีปกครอง และการขยายประเภทของบุคคลที่ สามารถได้รับการคุ้มครอง (ข) ให้ความมั่นใจว่าผู้กระทำผิดจะไม่มีอิทธิพลต่อกลไกการคุ้มครองพยาน และ ผู้กระทำผิดจะต้องรับผิด (ค) ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบว่ามีพระราชบัญญัติคุ้มครอง พยานฯ และให้พยานในกรณีการกระทำทรมานสามารถเรียกร้องบริการคุ้มครองพยาน ได้ (ง) การยกเลิกการดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาหรือการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ ร้องเรียนและพยานในกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำทรมานจากการดำเนินคดีดังกล่าว
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (4) การป้องกันการทรมานและการประติบัติและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยี ศักดิ์ศรี (ก) ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโดย การตรวจเยี่ยมปกติ และการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยการตรวจสอบ ระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ ที่เป็นอิสระ การตรวจสอบยังรวมถึงการตรวจสอบจาก องค์กรพัฒนาเอกชน (ข) นำเสนอข้อเสนอแนะจากการตรวจเยี่ยมเผยแพร่สู่สาธารณะ และติดตามผลของระบบการ ตรวจสอบดังกล่าว (ค) เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ เวลา และระยะเวลา การตรวจสอบ รวมถึงการตรวจ เยี่ยมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ตามสถานที่ที่ควบคุมบุคคลที่สูญสิ้นเสรีภาพ ตลอดจนข้อค้นพบและ การติดตามผลของการตรวจเยี่ยมดังกล่าว (ง) ให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและประติบัติ หรือการลงโทษที่ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และจัดตั้งกลไกป้องกันการทรมานแห่งชาติ
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (5) รัฐภาคีควรให้แน่ใจว่า กสม. สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม อาณัติของตน ให้สอดคล้องกับหลักการปารีส (มติสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ที่ 48/134, โปรดพิจารณา ภาคผนวก ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการ เสริมสร้างบทบาทของกสม. ในการดำเนินการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งให้ทราบ ล่วงหน้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับฟังถ้อยคำจากผู้ถูกควบคุมตัวเป็น การลับ รัฐภาคีควรนำข้อเสนอแนะของ กสม. มาปฏิบัติ และให้หลักประกันความเป็น อิสระและการมีตัวแทนจากองค์ประกอบที่มีความหลากหลายของกสม. คณะกรรมการฯแนะนำให้รัฐภาคีพิจารณาทบทวนขั้นตอนการเลือกสรร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ที่เคยเป็นมา ให้มีมุมมองที่จะเพิ่ม จำนวนของคณะกรรมาธิการ และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วม
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (6) การอบรมเจ้าหน้าที่รัฐ (ก) จัดให้มีโครงการฝึกอบรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีความ ตระหนักถึงบทบัญญัติของอนุสัญญา และเข้าใจว่าจะไม่ยินยอมให้มีการละเมิดโดยเด็ดขาด แต่จะมี การตรวจสอบและนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม (ข) จัดให้มีการฝึกอบรมเฉพาะทางด้านวิธีตรวจสอบว่ามีการทรมานและการประติบัติที่โหดร้าย หรือไม่ รวมทั้งการฝึกอบรมการใช้ คู่มือการสืบสวนและการบันทึกการกระทำทรมานและการประ ติบัติ หรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีอย่างมีประสิทธิภาพ (พิธี สารอิสตันบูล) สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน รวมทั้งบุคลากรการแพทย์ (ค) เสริมสร้างความพยายามที่จะใช้วิธีการที่มีความอ่อนไหวทางเพศในการฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลการสอบสวน หรือการปฏิบัติต่อสตรี ที่อยู่ภายใต้การจับกุมคุมขังหรือจองจำในทุก รูปแบบ (ง) ประเมินประสิทธิภาพและผลกระทบของโครงการการฝึกอบรมและการให้ศึกษาต่อเหตุการณ์ การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย
ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (7) ประเทศไทยควรรวบรวมข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการ ปฏิบัติตามอนุสัญญาในระดับชาติ รวมถึง(1)ข้อมูลเกี่ยวกับการ ร้องเรียน การสอบสวน การดำเนินคดี และการตัดสินลงโทษกรณีการ กระทำทรมานและการประติบัติที่โหดร้าย (2)การเสียชีวิตระหว่าง ถูกควบคุมตัว การวิสามัญฆาตกรรม การบังคับให้บุคคลสูญหาย ความรุนแรงอันมีทางเพศ การค้ามนุษย์ (3)และข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการชดเชย การชดใช้และการฟื้นฟู เยียวยาให้กับผู้ประสบการกระทำทรมาน เมื่อรวบรวมแล้วพึงส่ง ข้อมูลดังกล่าวไปยังคณะกรรมการ CAT