งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
จัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545

3 พันธกิจ มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชนโดยการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนมีความสมานฉันท์ได้รับการคุ้มครอง และมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันสิทธิ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชนสู่ความเป็นสากล

4 ขอบเขตระบบงาน ประกอบด้วย 5 ระบบงาน ดังนี้ 1. ระบบงานส่งเสริมและป้องกัน
สร้างการรับรู้เรื่องสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนให้รู้จักสิทธิและหน้าที่ ของตัวเองและเคารพสิทธิผู้อื่น

5 ขอบเขตระบบงาน (ต่อ) 2. ระบบงานพิทักษ์สิทธิ ช่วยเหลือ พิทักษ์ และคุ้มครองประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยไม่ให้ตกเป็นผู้เสียหาย หรือเหยื่ออาชญากรรม หรือผู้ที่ไม่ได้รับ ความเป็นธรรมจากการถูกละเมิดสิทธิตามหลักมนุษยชนอย่างเท่าเทียมด้วย การดําเนินการช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม

6 บริการสายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร. 1111 กด 77
การดำเนินงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน บริการสายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร กด 77 ให้คําปรึกษาด้านกฎหมายรับเรื่องราวร้องทุกข์ และแนะนําสิทธิต่าง ๆ แก่ประชาชน ดําเนินการเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา และประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทาง กฎหมาย และช่องทางการติดต่อขอรับบริการ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การจัดหาล่ามภาษามือ และภาษาต่างประเทศ และการจัดหาทนายความ

7 3. ระบบงานช่วยเหลือและเยียวยา
ขอบเขตระบบงาน (ต่อ) 3. ระบบงานช่วยเหลือและเยียวยา 3.1 การช่วยเหลือเยียวยาทางการเงินแก่ผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บหรือ เสียชีวิต เนื่องจากการกระทําความผิดทางอาญาของผู้อื่นโดยตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด นั้น และเยียวยาจําเลยในคดีอาญาที่ตก เป็นแพะกรณีถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดีและมีคําพิพากษาถึงที่สุด ว่าไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและ ค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544(และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559)

8 ขอบเขตระบบงาน (ต่อ) 3. ระบบงานช่วยเหลือและเยียวยา (ต่อ) 3.2 การขอคุ้มครองพยานในคดีอาญาที่ถูกข่มขู่คุกคามให้เกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยด้วยการปฏิบัติที่เหมาะสม และได้รับค่าตอบแทนที่สมควรจากรัฐตาม พ.ร.บ. คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546

9 4. ระบบงานระงับข้อพิพาททางเลือก
ขอบเขตระบบงาน (ต่อ) 4. ระบบงานระงับข้อพิพาททางเลือก ส่งเสริมมาตรการ กลไกจากรัฐ และการสร้างกติกาชุมชนด้วยการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชนที่มีข้อพิพาทต่อกันให้มีทางเลือกที่สามารถ ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทกันเองโดยไม่จําเป็นต้องนําคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยการจัดตั้ง “ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท” ตามชุมชน ต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานสากล

10 5. ระบบงานหลักประกันสิทธิ
ขอบเขตระบบงาน (ต่อ) 5. ระบบงานหลักประกันสิทธิ สร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายและตามหลักสิทธิ มนุษยชนในระดับสากล โดยการสร้างมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผลักดันและพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ และสร้างกลไกการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ถูกละเมิดสิทธิโดยมีภารกิจ ดังนี้

11 ระบบงานการดําเนินงาน (ต่อ)
5.1 จัดทําแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ทุก หน่วยงานส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนในชาติและ เพิ่มความเข้มแข็งของหลักนิติรัฐ

12 ขอบเขตระบบงาน (ต่อ) 5.2 ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติและเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้อง ดําเนินการตาม “สนธิสัญญา 4 ประการ” คือ ประกันให้เกิดสิทธิ ปฎิบัติให้เกิดสิทธิ เผยแพร่หลักการของสิทธิ รายงานความก้าวหน้า

13 1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน 5 ฉบับ ดังนี้ 1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civiland Political Rights – ICCPR)

14 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ต่อ) 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)

15 สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ต่อ)
3. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD)

16 สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ต่อ)
4. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT)

17 สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ต่อ)
5. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับ ให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance – ICPPED)

18 การจัดทํารายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
จัดทํารายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้ กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ซึ่งเป็นกระบวนการของรัฐ ที่จะประเมินทบทวนโดยรัฐกันเองผ่านการหารือกับภาคประชาสังคมและ ภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การปรับปรุงสิทธิมนุษยชนในประเทศให้ดีขึ้น

19 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นที่ 1- 4 คลินิกยุติธรรมในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ สายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร กด 77 Line ID : rlpdconsultation ข้อมูลเพิ่มเติม แอปพลิเคชั่น RLPD Service ชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น


ดาวน์โหลด ppt กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google