บทที่1 ความรู้ทั่วไปสำหรับ การจัดการโซ่อุปทาน ความรู้ทั่วไปสำหรับ การจัดการโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ความหมายของห่วงโซ่อุปทาน เมนท์เซอร์ และคณะ (Mentzer et al., 2001, p.11) ให้คำนิยามห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain ว่าเป็นกลุ่มของธุรกิจตั้งแต่ 3 ธุรกิจขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของการไหลของสินค้า บริการ การเงิน และข้อมูลระหว่างกัน โดยเริ่มตั้งแต่แหล่งกำเนิดสินค้าหรือบริการผ่านไปยังผู้บริโภค และได้แบ่ง Supply Chain ออกเป็น 3 ระดับ คือ ห่วงโซ่อุปทานขั้นพื้นฐาน, ห่วงโซ่อุปทานขั้นที่ 2 และห่วงโซ่อุปทานขั้นสูง คริสโตเฟอร์ (Christopher, 2005, p.4) กล่าวว่า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างต้นน้ำกับปลายน้ำ หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งมอบสินค้ากับลูกค้าเพื่อ ส่งมอบคุณค่าที่เพิ่มขึ้นให้กับลูกค้าโดยที่มีต้นทุนของทั้งห่วงโซ่อุปทานน้อยลง พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล (2550, หน้า 3) หมายถึง การบริหารแบบเชิงกลยุทธ์ที่คำนึงถึงความเกี่ยวเนื่องหรือความสัมพันธ์กันแบบบูรณาการของหน่วยงานหรือแผนกในองค์กรและคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า (Customer) หรือผู้ส่งมอบ (Supplier) ในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำส่งสินค้าหรือบริการตามความต้องการของผู้บริโภคให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา ราคา หรือคุณภาพ สรุปได้ว่า ห่วงโซ่อุปทาน เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ การจัดหาจัดซื้อ การจัดการสินค้าคงคลัง การผลิต การจัดเก็บ การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การจัดการสินค้าที่ย้อนกลับ เป็นการไหลของวัตถุดิบ (Physical Flow of Materials) ข้อมูลสารสนเทศ (Flow of Information) และการไหลของเงิน (Flow of Money)
ประวัติการจัดการอุตสาหกรรม เจมส์ วัตต์ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ เกิดการทำงานแบบโรงงานครั้งแรก อาดัม สมิธ แบ่งส่วนคนงานเป็นกลุ่มทำงานเฉพาะที่ได้รับมอบหมาย อีไล วิทนี ประดิษฐ์ชิ้นส่วนมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพ เฟรดเดอริค เทเลอร์ บิดาแห่งการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เฮนรี่ ฟอร์ด นำสายพานการผลิตมาใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์ วอลเตอร์ ชิวฮาท นำความรู้ทางสถิติมาใช้กับการควบคุมคุณภาพ เอ็ดวาดส์ เดมมิ่ง การควบคุมคุณภาพ(วงจรคุณภาพ) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและค่าตอบแทนที่ดีระบบคุณภาพจะค่อยๆดีขึ้นมา
ปีที่ค้นพบ ผลงานที่ค้นพบ ผู้ค้นพบ 1790 1798 1880-1910 1913 1916 1922 1924 1950 1957 1995-2005 แบ่งแผนกงานให้กับคนงาน ค้นพบการใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ สายพานการผลิตมาใช้ในอุสาหกรรม แผนภูมิแกนท์ การศึกษาการเคลื่อนไหว การควบคุณภาพ PERT / CPM ผลิตจำนวนมากตามสั่ง , โลกาภิวัตน์ อินเตอร์เนทต์, การวางแผนทรัพยากรองค์การ องค์การเรียนรู้ , คุณภาพระดับนาๆชาติ การจัดการโซ่อุปทาน อาดัม สมิธ อีไล วิทนี เฟรดเดอริค เทเลอร์ เฮนรี่ ฟอร์ด เฮนรี่ แอล แกนท์ แฟรงค์และลิเลียน กิลเบริท วอเตอร์ ชิววาท เอ็ดวาทส์ เดมมิ่ง บริษัท ดูพอนท์ ระบุบุคคลและองค์การไม่ได้เพราะผู้สร้างและอุทิศคนละเล็กน้อยและต่อเนื่องหลายคนจำนวนมาก
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน Lambert และคณะได้ให้ความหมายของการจัดการโซ่อุปทาน เป็นการบูรณาการของกระบวนการธุรกิจหลักๆ ตั้งแต่ผู้ใช้ปลายทางไปจนถึงผู้จัดหาวัตถุดิบตั้งต้นที่จัดหาผลิตภัณฑ์ บริการ และข้อมูลที่เพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่นๆ Tompkins Associates ได้ให้ความหมายของการจัดการโซ่อุปทาน เป็นกระบวนการและเครื่องมือในการปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกัน ที่ใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ภายในโซ่อุปทานผ่านการสื่อสารส่วนตัวและการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองและข้อมูลที่สำคัญต่อพันธกิจ ทั้งข้อมูลสารสนเทศของการขาย การพยากรณ์ การวางแผน การจัดซื้อ และการเติมเต็ม โดยมีวัตถุประสงค์สูงสุดคือการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน และเพิ่มกำไร โดยการทำให้มั่นใจว่ามีการนำส่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง โดยหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งและมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกัน ทำให้ไม่มีการแข่งขันระหว่างบริษัทอีกต่อไป แต่เปลี่ยนเป็นการแข่งขันระหว่างโซ่อุปทาน
พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ได้ให้ความหมายของการจัดการห่วงโซ่อุปทานว่า การบริหารแบบเชิงกลยุทธ์ที่คำนึงถึงความเกี่ยวเนื่องหรือความสัมพันธ์กันแบบบูรณาการของหน่วยงานหรือแผนกในองค์กรและคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า (Customer) หรือผู้ส่งมอบ (Supplier) ในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำส่งสินค้าหรือบริการตามความต้องการของผู้บริโภคให้ดีที่สุด เป็นเรื่องของเวลา ราคา หรือคุณภาพ โดยจะบริหารจัดการในเรื่องของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์กรและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขจัดความล่าช้าในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงขจัดปัญหาในการส่งหรือรับมอบสินค้าและบริการ ที่มีผลจากระบบการจัดการด้านการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำหรือแหล่งวัตถุดิบ ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ป้อนเข้าโรงงานจนถึงปลายน้ำหรือมือผู้บริโภค สามารถสรุปได้ว่า เป็นการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างต้นน้ำกับปลายน้ำ หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งมอบสินค้ากับลูกค้า เป็นการบูรณาการเชิงกลยุทธ์ที่คำนึงถึงความเกี่ยวเนื่อง หรือความสัมพันธ์กันของกระบวนการธุรกิจหลักๆ แบบบูรณาการผ่านการสื่อสารตั้งแต่ผู้ใช้ปลายทาง ไปจนถึงผู้จัดหาวัตถุดิบตั้งต้นที่จัดหาผลิตภัณฑ์ บริการ และข้อมูลที่เพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่นๆ และการจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นการนำกลยุทธ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการจัดการ การส่งต่อ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการจากหน่วยหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานไปยังอีกหน่วยหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนรวมในห่วงโซ่อุปทานต่ำที่สุด และได้รับวัตถุดิบ สินค้า หรือการบริการตามเวลาที่ต้องการ
องค์ประกอบของการจัดการโซ่อุปทาน จะต้องมีการประสานงานร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆภายในองค์กร และระหว่างองค์กรพันธมิตรภายโซ่อุปทาน นับตั้งแต่ ผู้ส่งมอบวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนไปจนกระทั้งถึงลูกค้าขั้นสุดท้าย เพื่อสร้างคุณค่าในผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าให้มากยิ่ง ขึ้น ด้วย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดัง นั้นกลยุทธ์การบริหารโซ่อุปทานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพจึงจำเป็นจะต้อง การร่วมมือกันของเครือข่ายพันธมิตรในทุกๆระดับของโซ่อุปทานด้วย หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครือข่ายโลจิสติกส์ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ส่งมอบวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนประกอบ (Suppliers) โรงงานผลิต คลังสินค้า ผู้ขายส่ง หรือ ผู้กระจายสินค้า ผู้ขนส่ง ร้านค้าปลีก และลูกค้า พร้อมทั้งวัตถุดิบ งานระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปที่ไหลระหว่างหน่วยต่างๆ ภายในโซ่อุปทาน ดังภาพที่ 1.5
Logistics Systematic Concept แสดงเครือข่ายภายในโซ่อุปทานซึ่งประกอบด้วยผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า และลูกค้า ( การส่งกำลังบำรุงและการจัดการโซ่อุปทาน) Customer Supplier Distribution center Manufacturing site Carrier Logistics Systematic Concept
การสร้างกระบวนการร่วมมือโดยปัจจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ดังนี้ 1. ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (trust) 2. การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (information sharing) 3. คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (quality of shared information) 4. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communication technologies)
หลักการสำคัญที่มีผลต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 1. หน้าที่ของหน่วยธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน 1.1 การจัดหาหรือจัดซื้อ (Procurement or Purchasing) 1.2 การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) 1.3 การผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Management) 1.4 การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) 1.5 การส่งมอบและการกระจายสินค้า (Delivery and Distribution) 1.6 การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) 1.7 การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือผู้จัดหา (Customer/Supplier Relationship Management)
2. การตัดสินใจในห่วงโซ่อุปทาน 2.1 กลยุทธ์หรือการออกแบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Strategy or Design) 2.2 การวางแผนห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Planning) 2.3 การปฏิบัติการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Operation) 3. มุมมองเชิงกระบวนการของห่วงโซ่อุปทาน มุมมองของเชิงกระบวนการที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน สามารถแสดงเป็น 2 แนวทาง คือ 3.1 มุมมองเชิงวัฏจักร (Cycle View) กระบวนการทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานสามารถแบ่งออกเป็น 4 วัฏจักร ได้แก่
มุมมองเชิงวัฎจักร (Cycle View of Supply Chain)
กรณีผู้ผลิตไม่ได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยตรง กล่าวคือ บริษัทมีคลังเก็บสินค้าไว้สำหรับจัดส่งให้กับลูกค้าตามใบสั่งซื้อโดยตรง อาจมีหน่วยงานอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นระหว่างลูกค้าและผู้ผลิตในกรณีร้านค้าปลีกขนาดเล็กห่วงโซ่อุปทานอาจมีเพียงผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่ายอยู่ระหว่างผู้ผลิตและห้างสรรพสินค้าสำหรับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน ดังภาพที่ 1.7
ผังโซ่อุปทาน ซับพลายเออร์ จัดหา จัดซื้อ ผลิต โลจิสติกส์ การตลาด ลูกค้า
3.2 มุมมองแบบผลักและดึง (Push and Pull View) วัฎจักรสั่งซื้อของลูกค้า Customer Pull Processes Distributor Customer order arrives วัฎจักรการเติมเต็มสินค้าและการผลิต Manufacturer Push Processes วัฎจักรการจัดซื้อ Supplier
4.1 การไหลของวัตถุดิบ (Material flow) มีดังนี้ 4. ลักษณะงานภายในห่วงโซ่อุปทาน ตามหลักการ การจัดการตามคุณค่าของงาน (Value Stream Management) 4.1 การไหลของวัตถุดิบ (Material flow) มีดังนี้ 1) Non Value Added (NVA) คือ กิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า ไม่มีความจำเป็นต้องทำเป็นความสูญเปล่า 2) Necessary but Non Value Added (NNVA) คือ ความสูญเปล่าหรือกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า แต่อาจจำเป็นต้องยอมให้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต 3) Value Added (VA) คือ กิจกรรมที่มีคุณค่าในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ตลอดจนการใช้แรงงานคน 4.2 การไหลของข้อมูลสารสนเทศ (Information Flow) 1) Non Value Added (NVA) คือ กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า ในแง่ของการไหลของข้อมูล ข่าวสาร หรืองานเอกสาร ซึ่งถูกแยกแยะในรูปของ “Type Two Muda” 2) Necessary but Non Value Added (NNVA) คือ กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า แต่มีความจำเป็นต้องทำ หรือเป็นกิจกรรมที่หลีกเลียงไม่ได้ เป็นการกระทำเพื่อแก้ไขเกี่ยวกับข้อจำกัดทางเทคโนโลยีหรือการตรวจสอบระบบซึ่งเรียกว่า “Type One Muda” Value Added (VA)
ประโยชน์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 1. เพิ่มความรวดเร็วและว่องไวให้กับธุรกิจ (Speed and Agility) 2. การลดต้นทุนของสินค้าและต้นทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิผล 3. การตัดสินใจทางธุรกิจตั้งอยู่บนฐานของข้อมูล และข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำและ มีเครือข่ายโดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Core Competency) 5. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction) 6.ในทุกกระบวนการสามารถทำดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพได้อย่างเที่ยงตรง 7. เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ (Profit Gain) และเป็นการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งประโยชน์ข้อนี้จะเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ
ความสำคัญของการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้ประสบความสำเร็จ 1. การทำกำไรในปัจจุบันทำได้ยากขึ้นในอนาคตองค์การอาจต้องมีการจัดการผลกำไรอย่างเจาะจงตามประเภทลูกค้าและสินค้า และมองหาโอกาสในการสร้างกำไรในอนาคตระยะยาว 2. ผู้นำองค์การในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการสร้างพันธมิตร ในอนาคตการพัฒนาองค์การจะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking Organization) 3. การทำงานของบุคลากรจะเน้นการทำงานได้หลากหลาย ทำงานข้ามวัฒนธรรม และได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน และให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของร่วม 4. ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางดั้งเดิม กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อรักษาสภาพทางการตลาดมีการกำหนดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และช่องทางใหม่มีการรวบรวมคนกลางและกำหนดการลงทุนธุรกิจใหม่ๆ 5. การมีช่องทางมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ การมีลูกค้าที่หลากหลาย จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ทำให้การบริหารองค์การทำได้ยากขึ้น ทำให้องค์การเข้าสู่การเป็นองค์การขยาย และเน้นการตอบสนองลูกค้าเป็นราย ๆ
6. มีการใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) 7. การประเมินผล และการนำทิศทางองค์การ มุ่งเน้นมูลค่าของหุ้นและมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ 8. เน้นหนักสินค้าบริการเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับราคามากขึ้น ลูกค้ามีความคาดหวังต่อบริการมากขึ้น 9. คุณภาพถือเป็นสิ่งบังคับที่ต้องมีอยู่แล้วลูกค้าไม่ต้องการสินค้าหลากหลายแต่ต้องการสินค้าที่เหมาะกับตน องค์การจะต้องเน้นการทำตลาดเจาะจงโดยใช้แหล่งวัตถุดิบร่วมกัน รวมทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น 10. การตลาดมุ่งเน้นลูกค้าแต่ละราย 11. การบริหารเน้นการสร้างพันธมิตรมากขึ้น เช่น การเป็นพันธมิตรกับคู่แข่งมากขึ้นทั้งในลักษณะเอกเทศและพหุภาคี
จบบทที่ 1 แล้วจ้า จบการนำเสนอ พบกันใหม่ Next week!