งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวางแผนระบบการผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวางแผนระบบการผลิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวางแผนระบบการผลิต
Production System Planning อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี

2 วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต
การผลิต มีมาตั้งแต่โบราณกาลในยุคประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การสร้าง ปิรามิดของอียิปต์ การสร้างกำแพงเมืองจีนของประเทศจีน ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีและการกะเกณฑ์แรงงาน ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ มาร่วมกันทำการผลิต แต่ก็ไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับ สำหรับการผลิตเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนทำอย่างง่าย ๆ โดยใช้ที่อยู่อาศัยเป็นที่ทำการผลิต งานที่ทำก็ใช้แรงงานคนและทำคนเดียวตั้งแต่เริ่มจนเสร็จ สินค้าที่ทำมักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนโดยไม่มีมาตรฐานใดๆ เป็นข้อกำหนด

3 วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต (ต่อ)
คริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป โดยมีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติแทนแรงงานคน เครื่องจักรยุคนั้นจะใช้พลังงานไอน้ำ ซึ่งคิดค้นโดย James Watt คนงานจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบภายในโรงงาน ในขณะเดียว ค.ศ. 1776 Adam Smith คิดค้นทฤษฏี “The Wealth of Nations” ซึ่งจะแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยหลายส่วนให้คนงานแต่ละคนทำเฉพาะงานส่วนที่ตนถนัดและมีความชำนาญ และเครื่องจักรก็ถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องจักรใช้เฉพาะงาน เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนลดลงและเกิดขนาดการผลิตที่ประหยัด ค.ศ.1790 Eli Whitney ได้คิดค้นชิ้นส่วนที่แลกเปลี่ยนกันได้ (Interchangeable Parts) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตอย่างมีมาตรฐานพร้อมกับการพัฒนาระบบการควบคุมและระบบบัญชีต้นทุนขึ้นมาใช้

4 วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต (ต่อ)
ค.ศ. 1900 ได้มีหัวหน้าวิศวกรในโรงงานเหล็กชื่อ Frederick W. Taylor ได้พัฒนาการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่ว่าด้วยการค้นหาวิธีการทำงานอย่างเป็นมาตรฐานและการจูงใจให้คนงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แนวคิดถูกนำไปขยายโดย Frank และ Lillian Gilbreth, Henry Genry Gantt และ Henry Ford ผู้ประดิษฐ์รถยนต์คนแรกของโลก โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ Ford รุ่น Model T. ที่สามารถลดเวลาในการประกอบรถยนต์จาก 720 ชั่วโมง ลงเหลือ 1 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งทำได้โดยการผลิตอย่างเป็นมาตรฐานในปริมาณสูง ซึ่งเรียกว่า การผลิตแบบมวลรวม (Mass Production) ค.ศ. 1930 เริ่มมีการศึกษาด้านจิตใจของคน ดังนั้น ในยุคต่อมาซึ่งเรียกว่า ยุคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Relation) และได้มีการทดลองทางจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากก็คือ การทดลองที่โรงงาน ฮอว์ธอร์น (Hawthorne Studies) เป็นการทดลองเพื่อศึกษาระดับของแสงสว่างในที่ทำงานที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต โดยการแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ทำงานโดยเพิ่มแสงสว่างมากขึ้น กลุ่มสอง คงแสงสว่างเท่าเดิม สรุป ปรากฏว่าสองกลุ่มผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อทดลองลดระดับแสงสว่างลงปรากฏว่าผลผลิตยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงสรุปว่าไม่เพียงแต่ปัจจัยทางกายภาพ เช่นแสงสว่าง อุณหภูมิ เสียง ความชื้นฯลฯ จะมีผลต่อคนงานเท่านั้น ขวัญและกำลังใจมีส่วนช่วยให้คนงานทำงานอย่างเต็มอกเต็มใจและทำให้เพิ่มผลผลิตในการทำงานได้ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ สหรัฐอเมริกาได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในสังคมโลกกลายเป็นประเทศผู้นำทางอุตสาหกรรม วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ได้ถูกนำมาใช้กับการผลิต เช่น ตัวแบบจำลอง (Simulation) โปรแกรมเชิงเส้น การวิจัยขึ้นดำเนินงาน ฯลฯ วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ โดยการใช้คอมพิวเตอร์หรือสมองกลในการวางแผนและควบคุมระบบการทำงาน ซึ่งทำให้สามารถลดการใช้แรงงานคนลงได้อย่างมาก

5 วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต (ต่อ)
ค.ศ. 1970 ญี่ปุ่นกลับมามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมของโลกเป็นอย่างสูง ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเข้าสู่ตลาดสินค้าของสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วยสินค้าภายใต้ยี่ห้อขั้นนำ เช่น SONY, PANASONIC, JVC, TOYOTA, NISSAN, HONDA, MITSUBISHI ฯลฯ ระบบการบริหารงานของญี่ปุ่นอันได้แก่ การบริหารการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Lean production หรือ Just-in-time Production) และการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกันทั่วโลก คริสต์ศตวรรษที่ 21 แนวโน้มในอนาคต ข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทต่อการบริหารการผลิตเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้การรวมระบบการผลิตโดยคอมพิวเตอร์ (Computer-integrated Manufacturing หรือ CIM) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ประกอบกับกระแสของโลกา ภิวัตน์ (Globalization) จะทำให้สามารถสร้างเครือข่ายของการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้

6 วิวัฒนาการในยุคต่างๆ ทฤษฎีการบริหารการผลิตของศาสตร์ต่างๆ ดังนี้
วิวัฒนาการในยุคต่างๆ ทฤษฎีการบริหารการผลิตของศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 1.วิศวกรรมอุตสาหกรรม (Industrial Engineering) ได้แก่ การวางผังโรงงาน การศึกษางาน การจัดการกระบวนการผลิต 2.วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Science) ได้แก่ สถิติศาสตร์ การจัดการและหลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาเพิ่มผลผลิต 3.วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ กายวิภาคเพื่อการแปลงสภาพวัตถุดิบ และการออกแบบงานที่เหมาะสมกับสรีระของคนงาน 4.วิทยาการข้อมูลข่าวสาร (Information Science) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผล ตลอดจนการแพร่กระจายถ่ายทอดข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

7 แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผน
เป็น หน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่ต้องวางแผนเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการ ปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางเพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จที่คาดหวังในอนาคต มีผู้กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผน และถ้าวางแผนดี ก็เท่ากับปฏิบัติงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง

8 ความหมายของการวางแผน
การวางแผน คือ การหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ปัจจัยต่างๆและมี เหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานในอนาคตเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพที่ สุดวามหมายของการวางแผนโดยใช้ปัจจัยต่างๆและ การวางแผน คือ กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่า จะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และ วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร การวางแผน หมายถึง กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาข้างหน้า และกำหนดสิ่งที่จะกระทำต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

9 ความหมายของการวางแผน (ต่อ)
การวางแผน เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อน และต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนจะมีการดำเนินกิจกรรม การวางแผน หมายถึง วิธีการในการไปถึงเป้าหมาย การวางแผน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินใจในปัจจุบันว่าจะทำอะไร ทำโดยใคร และทำเพื่ออะไร สำหรับการปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

10 ความสำคัญของการวางแผน
1. ช่วยลดการสูญเสียจากการทำงานซ้ำซ้อน 2. ทำให้มีการกำหนดขอบเขตในการทำงานที่แน่นอน และมีนโยบายที่ชัดเจน 3. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนป้องกันการขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงาน 4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการบริหารของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลา และทรัพยากร 5. การวางแผนจะช่วยให้เกิดการประสานสัมพันธ์ภายในองค์กร ทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความราบรื่นและสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้า หมายได้

11 ประเภทของการวางแผน 1. การวางแผนระยะยาว (long-range planning) เป็นการวางแผนระยะยาวที่มองไปข้างหน้า เพื่อทำให้ธุรกิจหรือกิจการนั้นดำเนินหรือดำรงอยู่ต่อไป เป็นการวางนโยบายและเป้าหมายของงานทั่วๆ ไป มีช่วงระยะเวลาระหว่าง 5 – 10 ปี 2. การวางแผนระยะปานกลาง (intermediate planning) เป็นการวางแผนระยะเวลาพอประมาณ โดยเฉพาะด้านการเงิน มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ช่วงการวางแผน 2-5 ปี 3. การวางแผนระยะสั้น (short-range planning) เป็นการวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆ เพื่อทำให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวัตถุดิบ การตัดสินใจ การผลิต จำนวนเครื่องมือ เครื่องจักร ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ถึง 2 ปี

12 แนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิต
ปัจจัยนำเข้าInput คน เงินทุน เครื่องจักร วัตถุดิบ การบริหารจัดการ ทรัพยากร กระบวนการ Process การวางแผน วิธีการในการผลิต วิธีการจะลำดับการผลิต การจัดสรรกำลังคนเพื่อทำการผลิต อื่น ๆ ผลลัพธ์ Output สินค้าหรือบริการที่ต้องการในปริมาณ คุณภาพ เวลาตามที่กำหนด การควบคุม Control การควบคุมการผลิต (Production Control) การควบคุมปริมาณ/เวลา (Quantity Control /Time) การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)

13 ความหมายการผลิต การผลิต (Production) คือ กระบวนการที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ ระบบบริหารการผลิต

14 ความหมายการผลิต (ต่อ)
การผลิต (Production/Operations) เป็นการสร้างสินค้าและบริการโดยใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยที่ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตต้องมีอรรถประโยชน์ในด้านหน้าที่ใช้สอยที่เกิด ประโยชน์ มีรูปร่างลักษณะที่สวยงาม ผลิตในปริมาณที่เพียงพอกับความ ต้องการ ได้ผลผลิตทันเวลาและอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกต้องตัวอย่างของ ประเภทของการผลิต

15 ความหมายการผลิต (ต่อ)
การผลิต จัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการประกอบธุรกิจไม่ว่าองค์การนั้นจะประกอบธุรกิจลักษณะซื้อมาขายไป ไม่ได้ทำการผลิตสินค้าเองโดยตรง ทั้งนี้เป็นการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้ต้นทุนของสินค้าสูง ส่งผลให้การขายสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำการศึกษาเกี่ยวกับการผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบธุรกิจต่อไป การผลิต หมายถึง การนำปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์สร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าของสิ่งของให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น Value added การผลิตอาจใช้ปัจจัยการผลิตน้อยหรือมากตามชนิดของสินค้าและบริการแต่ละชนิด

16 ความหมายการผลิต (ต่อ)
การผลิต (Production) มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ชาติเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันและการประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ผลผลิต เกิดมาจากการดำเนินการผลิตโดยอาศัยกระบวนการผลิต จะเป็นผลออกมาในรูปของ 2 สิ่ง คือ 1. ผลผลิตที่ออกมาเป็นสินค้า / ผลิตภัณฑ์ (goods) 2. ผลผลิตที่เกิดมาจากการปฏิบัติการ (operation)

17 แผนภาพปัจจัยการผลิต (Map production Factor)
ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน ผู้ประกอบการ สินค้าและบริการ

18 วัตถุประสงค์ของการผลิต มีดังต่อไปนี้
1. การสร้างคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนดได้ 2. การมีระดับต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งแสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การมีความสามารถที่จะส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลาที่กำหนดแก่ลูกค้า 4. การมีความยืดหยุ่นที่จะปรับปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าและ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

19 ประเภทของการผลิต ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์
1. การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made-to-order) เป็นการผลิตที่คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละรายการเตรียมการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องการจะใช้ตลอดจนกระบวนการผลิตจึงไม่สามารถ คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบอเนกประสงค์ และผู้ผลิตต้องมีความสามารถและความชำนาญหลายอย่าง เพื่อทำการผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ ตัวอย่างของการผลิตตาม คำสั่งซื่อได้แก่การตัดเย็บชุดวิวาห์ การรับสร้างบ้านบนที่ดินของลูกค้า การทำผม ฯลฯ

20 ประเภทของการผลิต (ต่อ)
2. การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (Made-to-stock) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ การจัดหาวัตถุดิบและการเตรียมกระบวนการผลิตสามารถทำได้ล่วงหน้า เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นเครื่องมือเฉพาะงานและผู้ผลิตถูกอบรมมาเพื่อทำงานตามหน้าที่ เฉพาะอย่าง ตัวอย่างของการผลิตเพื่อรอจำหน่ายได้แก่การผลิตสบู่ การผลิตรถยนต์การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน ฯลฯ

21 ประเภทของการผลิต (ต่อ)
3. การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (Assembly-to-order) เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่จะประกอบเป็นสินค้า สำเร็จรูปได้หลายชนิด ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านั้นจะมีลักษณะแยกออกเป็นส่วนจำเพาะหรือโมดูล (Module) โดยผลิตโมดูลรอไว้ก่อนเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจึงทำการประกอบโมดูลให้เป็นสินค้าตามลักษณะที่ลูกค้าต้องการ จึงนับได้ว่าการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อได้นำเอาลักษณะของการผลิตเพื่อรอจำหน่ายซึ่งมีการผลิตชิ้นส่วนเป็นโมดูลมาตรฐาน ที่ใช้ประกอบเป็นสินค้าหลายชนิดรอไว้ มาผสมเข้ากับลักษณะของการผลิตตามคำสั่งซื้อซึ่ง นำโมดูลมาประกอบและแต่งเติมรายละเอียดให้สินค้าสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย ตัวอย่างการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หลายรุ่นที่มีการใช้อะไหล่เหมือนกัน 2 ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต

22 ประเภทของการผลิต (ต่อ)
4. การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ราคาแพง และมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายเช่น การสร้างเขื่อน การสร้างทางด่วน การต่อเรือดำน้ำ การต่อเครื่องบิน ฯลฯ การผลิตแบบโครงการมักมีปริมาณการผลิตต่อครั้งน้อยมากหรือผลิตครั้งละชิ้นเดียวและใช้เวลานาน การผลิตจะเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) เมื่อเสร็จงานโครงการหนึ่งจึงย้ายทั้งคนและวัสดุสิ่งของเครื่องมือต่างๆ ไปรับงานใหม่เครื่องมือที่ใช้จึงเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย และคนงานต้องสามารถทำงานได้หลายอย่างจึงต้อง ใช้แรงงานมีฝีมือที่ผ่านการอบรมอย่างดี

23 ประเภทของการผลิต (ต่อ)
5. การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermit ten Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยมีปริมาณการผลิตต่อครั้งเป็นล็อต มีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตค่อนข้างบ่อย และผลผลิตไม่มีมาตรฐานมากนัก เช่น การบริการคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกรวมกันตามหน้าที่การใช้งานไว้ในสถานีการผลิตแยกเป็นหมวดหมู่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของผังโรงงานในจุดที่จะสามารถทำให้กระบวนการผลิตทุกผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินไปตามขั้นตอนการผลิตที่กำหนดไว้อย่างคล่องตัว การเดินเครื่องจักรผลิตจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งจนได้ปริมาณตามที่ต้องการแล้วจึงเปลี่ยนไป ผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยใช้เครื่องจักชุดเดิม

24 ประเภทของการผลิต (ต่อ)
6. การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) เป็นการผลิตที่คล้ายกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องมาก จนบางครั้งจัดเป็นการผลิตประเภทเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่การผลิตแบบกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแยกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต ในขณะที่การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า ลักษณะการจัดเครื่องจักรอุปกรณ์ของการผลิตแบบกลุ่มจะเหมือนกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องคือจัดเครื่องจักรตามหน้าที่การ ใช้งานเป็นสถานี แล้วงานจะไหลผ่านไปแต่ละสถานีตามลำดับขึ้นตอนของงาน และเนื่องจากการผลิตแบบกลุ่มเป็น การผลิตของเป็นล็อต ขั้นตอนการผลิตจึงมีแบบแผนลำดับเหมือนกันเป็นกลุ่มๆ ตามล็อตการผลิตเหล่านั้น การผลิตแบบกลุ่มนี้ใช้ได้กับ การผลิตตามคำสั่งซื้อและการผลิตเพื่อรอจำหน่าย เช่นการเย็บเสื้อโหล เป็นต้น

25 ประเภทของการผลิต (ต่อ)
7. การผลิตแบบไหลผ่าน หรือการผลิตตามสายการประกอบ หรือการผลิตแบบซ้ำ (Line- Flow หรือ Assembly หรือ Repetitive Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในปริมาณมาก เช่น การผลิตแชมพู การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องซักผ้า การผลิตแบบไหลผ่านจะมีเครื่องจักรอุปกรณ์เฉพาะของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แยกต่างหากโดยไม่มีการใช้เครื่องจักรร่วมกัน เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะงานสำหรับแต่ละ สายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตที่รวดเร็ว และได้ปริมาณมากการผลิตแบบนี้จะเหมาะสมกับการผลิตเพื่อรอจำหน่ายหรือใช้ในการประกอบโมดูล ในการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่อไป 8. การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process หรือ Continuous Flow Production) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่างซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป เช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ ฯลฯ

26 ความหมายของการวางแผนการผลิต
การวางแผนการผลิต (production planning) หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อวางแผนเกี่ยวกับ การจัดหา วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร และบุคคลที่มีความสามารถมาผลิตสินค้า หรือบริการให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการอยู่ตลอดเวลา การวางแผนการผลิต หมายถึง การจัดวางแผนในหน่วยงานต่างๆ เครื่องมือ เครื่องจักรและระบบวิธีในการผลิต เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือการบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย ระยะเวลาและความสะดวกเป็นพื้นฐาน

27 ความจำเป็นและความสำคัญในการวางแผนการผลิต
เมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง การวางแผนการผลิตต้องให้ความสนใจทางด้านการตอบสนองของลูกค้า คือ สินค้าหรือการปฏิบัติการบริการต้องสมดุลย์กับความต้องการของผู้อุปโภคบริโภค เมื่อต้องการเพิ่มหรือลดผลผลิต คือ ต้องวางแผนทันทีล่วงหน้าก่อนว่า ต้องเพิ่มเครื่องจักร เครื่องมือหรือรับคนเพิ่ม 3. เมื่อต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ เพราะผลผลิตบางชนิดออก สู่ตลาดแล้วได้รับความนิยมไม่เท่ากัน บางชนิด 1-2 ปี บางชนิด 5-10 ปี การวางแผนการผลิตจึงต้องนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนและปรับปรุงอยู่ ตลอดเวลา

28 วัตถุประสงค์ในการวางแผนการผลิต
การบริหารการผลิตเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจและองค์การอันมีพันธะกิจ (Mission) คือผลกำไรที่ทำให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว เมื่อมีการแยกพันธะกิจออกเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักจะพบว่า ฝ่ายการตลาด : วัตถุประสงค์หลัก คือ การขยายตัวของส่วนแบ่งตลาด (Market Share) และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ฝ่ายการเงิน : วัตถุประสงค์หลักคือ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (Liquidity) ฝ่ายการผลิต : วัตถุประสงค์หลัก คือ คุณภาพ (Quality) และผลิตภาพ (Productivity) แต่แม้คุณภาพและผลิตภาพคือหัวใจของการผลิต

29 หน้าที่ของการวางแผนการผลิต
เป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายขายหรือ ฝ่ายการตลาด วิศวกรรมการผลิต ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเงิน

30 คำถามท้ายบทที่ 1 แนวคิดการบริหารยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร
การวางแผนมีความสำคัญอย่างไร การวางแผนมีกี่ประเภทอะไรบ้าง อธิบาย จงอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิต จงอธิบายระบบบริหารการผลิตมีกระบวนการอย่างไร ประเภทของการผลิตแบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์กี่ประเภทอธิบายพอสังเขป การวางแผนการผลิตหมายถึงอะไร อธิบาย

31 คำถามท้ายบทที่ 1 (ต่อ) ความจำเป็นและความสำคัญในการวางแผนการผลิต คืออะไรอธิบาย จงอธิบายพันธะกิจเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักของฝ่ายคืออะไร วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต ในอนาคตเป็นอย่างไร อธิบาย


ดาวน์โหลด ppt การวางแผนระบบการผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google