งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Warehouse Management Systems

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Warehouse Management Systems"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Warehouse Management Systems
ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง

2 วัตถุประสงค์สินค้าคงคลัง
เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) การสั่งซื้อครั้งละจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าต่อหน่วยลดลง เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน (Balancing Supply and Demand) เนื่องจากการเตรียมการผลิตไว้ให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาทำให้กำลังผลิตส่วนหนึ่งสูญเปล่าไปในช่วงที่ความต้องการสินค้าต่ำ เนื่องจากการขนส่งขนาดใหญ่จะมีอัตราค่าขนส่งต่ำกว่าการขนส่งขนาดเล็ก ดังนั้นกิจการควรกำหนดระดับการผลิตที่สม่ำเสมอตลอดปี

3 วัตถุประสงค์สินค้าคงคลัง (ต่อ)
เพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะทางในการผลิต (Specialization) แต่ละโรงงานควรเน้นการผลิตสินค้าที่มีความถนัดซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัด ต้นทุนรวมในการผลิต เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น (Protection from Uncertainties) อาจเกิดขึ้นจากความผันแปรด้านต่างๆ ในบางครั้งผู้ผลิตอาจสั่งซื้อวัตถุดิบที่น้อย กว่าความต้องการในแต่ละช่วง 2.จนกระทั่งเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบคงคลังจะทำให้การผลิตหยุดชะงัก แต่การมีวัตถุดิบที่มากเกินไปก็ทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสูง และทำให้ผลกำไรของธุรกิจลดลงเช่นกัน

4 สินค้าคงคลังเปรียบเสมือนกันชน (Inventory as a Buffer)
เส้นทางของโลจิสติกส์ วัตถุดิบคงคลัง งานระหว่าง ทำคงคลัง สินค้าสำเร็จรูป คงคลังที่โรงงาน คงคลังที่คลัง สินค้า วัสดุสิ้นเปลือง คงคลัง สินค้าคงคลัง ของผู้บริโภค การทำใหม่หรือ การบรรจุใหม่ ของเสียและ วัสดุเหลือใช้ ของเสียทิ้ง ของร้านค้าปลีก เส้นทางโลจิสติกส์แบบไปข้างหน้า เส้นทางโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ แสดงถึงเส้นทางการจัดส่ง และบทบาทของสินค้าคงคลัง ก็คือในช่วงแรกของโซ่อุปทานจะมีการส่งวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เข้าสู่โรงงาน เพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป หลังจากนั้นจะมีการส่งสินค้าไปยังที่ต่างๆ แล้วสินค้าก็จะถูกจัดวางจำหน่าย เพื่อรอการซื้อจากผู้บริโภค

5 ประเภทของสินค้าคงคลัง
สินค้าเก็บตามรอบ (Cycle Stock) เป็นสินค้าที่มีไว้เติมสินค้าที่ขายไปหรือสินค้าที่ใช้ไปในการผลิต ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะเก็บไว้เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน สินค้าคงคลังระหว่างทาง (In-transit Inventories) เป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างการลำเลียงจาก สถานที่หนึ่งไปยัง อีกสถานที่หนึ่ง 1.เช่น ในการสั่งสินค้านั้นคงที่ โดยการกำหนดวันให้สินค้าคงคลังในแต่ละรอบมาถึง จะตรงกับเวลาที่สินค้าชิ้นสุดท้ายนั้นหมดพอดี  2. ซึ่งสินค้าเหล่านี้อาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่เก็บไว้ตามรอบ

6 ประเภทของสินค้าคงคลัง (ต่อ)
สินค้าปลอดภัยหรือสินค้ากันชน (Safety or Buffer Stock) เป็นสินค้าจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้เกินจากจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ตามรอบปกติ เนื่องจากความไม่แน่นอนในความต้องการสินค้า สินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไร (Speculative Stock) สินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไรเป็นการเก็บสินค้าคงคลังเผื่อไว้โดยมีเหตุผลในการเก็บมากกว่าเพียงแค่การเตรียมไว้ สำหรับความต้องการในปัจจุบัน

7 ประเภทของสินค้าคงคลัง (ต่อ)
สินค้าที่เก็บไว้ตามฤดูกาล (Seasonal Stock) เป็นรูปแบบหนึ่งของสินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไร โดยเป็นการสะสมสินค้าคงคลังไว้จำนวนหนึ่งก่อนที่ฤดูกาลของการขายสินค้าจะมาถึง สินค้าไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock) เป็นสินค้าที่กิจการเก็บไว้และไม่มีความต้องการ สินค้าเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่ง อาจเป็นสินค้าล้าสมัย

8 เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง  ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity--EOQ)                   ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พิจารณาจากต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า และต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้ารวมกันต่ำที่สุด หรือจุดที่ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าเท่ากับต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า   

9 เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง (ต่อ)
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง (ต่อ)   การกำหนดจุดสั่งซื้อ (reorder point) และ สินค้าเพื่อความปลอดภัย (safety stock)   จุดสั่งซื้อ คือ จุดที่ระดับปริมาณของสินค้าจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่ง เป็นจุดที่กิจการจะต้องทำการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ โดย สามารถคำนวณได้จากสูตร       สินค้าเพื่อความปลอดภัย หมายถึง ปริมาณสินค้าขั้นต่ำที่กิจการต้องเก็บไว้ เพื่อใช้ป้องกันไม่ให้มีสินค้าขาดแคลน ดังนั้นถ้าหากกิจการมีการเพิ่มสินค้าเพื่อความปลอดภัยเข้าไปด้วย

10 เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง(ต่อ)
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง(ต่อ)  การวิเคราะห์ ABC (ABC Analysis)  กลุ่ม  A  กลุ่มที่เป็นสินค้าที่สำคัญมาก  มูลค่าสูง  (High  value)  โดยทั่วไปจะมีสินค้าอยู่ประมาณ  10-20%  ของสินค้าทั้งหมด  กลุ่ม  B  กลุ่มที่เป็นสินค้าที่ปานกลาง  (Middle  value)    โดยทั่วไปสินค้าคงคลังประเภทนี้จะมีอยู่ประมาณ   30-40%  ของสินค้าทั้งหมด  กลุ่ม  C  กลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญน้อยที่สุด  (Small   value)   เป็นสินค้าที่มีราคาต่ำและ มีเปอร์เซ็นต์ในการเก็บรักษาที่มาก คือ ประมาณ  40-50%  A และจะมีมูลค่าอยู่ประมาณ  70-80%  ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด B และมูลค่าของสินค้าประเภทนี้จะมีค่าประมาณ  15-20%  ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด C และมีมูลค่า  5-10%  ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด  ถ้าจะนำสินค้ากลุ่ม  A-B-C 

11 ผลกระทบของรูปแบบความต้องการสินค้า ที่มีต่อการจัดการสินค้าคงคลัง
ในการนำสินค้าคงคลังเข้ามาใช้ในระบบ 1.ระบบดึง (Pull Systems) คือ ยังไม่มีการผลิตจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อจากลูกค้า ซึ่งความต้องการสินค้าของลูกค้าก่อให้เกิดการดึงสินค้าเข้ามาในระบบ 2.ระบบผลัก (Push Systems) คือ การผลิตตามที่ได้มีการพยากรณ์หรือการคาดคะเนล่วงหน้าไว้ ซึ่งทำให้กิจการมีสินค้าคงคลังส่วนหนึ่งและต้องผลักสินค้าคงคลังออกสู่ตลาดตามที่ได้มีการคาดคะเนไว้

12 การพยากรณ์ ข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์จะทำให้ทราบ ความต้องการของลูกค้าที่มีต่อสินค้าต่างๆ ซึ่งส่งผลให้กิจการมีการสำรองสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าผ่านทางแบบสอบถาม การโทรศัพท์ หรือการสัมภาษณ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาพยากรณ์ยอดขายในอนาคต ส่วนความถูกต้องของการพยากรณ์จะ ถูกมากน้อยเพียงใดเป็นสิ่งที่ผู้บริหารควรคำนึงถึงเช่นกัน

13 ระบบความต้องการสินค้า
ประเภทสินค้าคงคลังตามความต้องการที่เกิดขึ้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้ 1.สินค้าที่ความต้องการเป็นอิสระ (Independent Demand) หมายถึง สินค้าที่ความต้องการในสินค้าชนิดนั้นไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการในสินค้าชนิดอื่นหรือชิ้นส่วนอื่นที่กิจการทำการผลิตหรือสั่งซื้อมาแต่อย่างใด 2.สินค้าที่ความต้องการไม่เป็นอิสระ (Dependent Demand) หมายถึง ความต้องการในสินค้าชนิดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการในสินค้าชนิดอื่นหรือชั้นส่วนอื่นที่กิจการทำการซื้อหรือผลิต สืนค้าประเภทนี้จะเป็นสินค้า สำเร้จรูป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์เป็นต้น เป็นสิ่นค้าที่เป็นชิ้นส่วนประกอบ ย่อย เพื่อนำมาประกอบให้เกิดสินค้าสำเร็จรูป

14 ต้นทุนการใช้พื้นที่เก็บสินค้าคงคลัง (Storage Space Costs)
พื้นที่ในการเก็บรักษาแบ่งได้เป็น 4 ประเภท 3.1 คลังสินค้าโรงงาน (Plant Warehouse) ต้นทุนของคลังสินค้าที่อยู่ ภายในโรงงานส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่ 3.2 คลังสินค้าสาธารณะ (Public Warehouse) ต้นทุนของการใช้ คลังสินค้าสาธารณะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการลำเลียง (Handling Charges) และค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า (Storage Charges) โดย ค่าใช้จ่ายในการลำเลียงขึ้นอยู่กับจำนวนสินค้าที่เคลื่อนย้ายเข้าไปเก็บและ นำออกไปจากคลังสินค้า

15 ต้นทุนการใช้พื้นที่เก็บสินค้าคงคลัง (Storage Space Costs) (ต่อ)
3.3 คลังสินค้าเช่าหรือเช่าซื้อ (Rent or Leased (contract) Warehouse) การเช่าหรือเช่าซื้อคลังสินค้าจะมีการทำสัญญาตามที่ กำหนดไว้ในช่วงใดช่วงหนึ่ง 3.4 คลังสินค้าของกิจการ (Company-owned (private) Warehouse) ต้นทุนคลังสินค้าของกิจการ เกิดขึ้นจากการที่กิจการได้ปลูกสร้างคลังสินค้าไว้ เพื่อรองรับสินค้าคงคลังของกิจการ 3.3ค่าเช่าหรือเช่าซื้อจะไม่ขึ้นลงตามจำนวนสินค้าคงคลังที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน  3.4ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ในขณะที่ต้นทุนส่วนน้อยเป็นต้นทุนแปรผันได้

16 ต้นทุนความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าคงคลัง (Inventory Risk Costs)
1) ต้นทุนสินค้าเสื่อมคุณภาพ เกิดขึ้นเนื่องจากสินค้าไม่สามารถขายได้ในราคาปกติอีกต่อไป ซึ่งจริงแล้วคือ ต้นทุนที่เกิดจากการถือสินค้าคงคลังนั้นไว้เกินช่วงอายุทีสามารถใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ (Useful Life) 2) ต้นทุนสินค้าเสียหาย (Damage Costs) กรณีที่มีการใช้คลังสินค้าสาธารณะ ค่าเสียหายส่วนนี้สามารถขอคืนได้จากผู้จัดการคลังสินค้า ในกรณีที่มีการเสียหายเกินกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ 2.ซึ่งต้นทุนสินค้าเสียหายจำนวนนี้คือต้นทุนสุทธิหลังจากที่ขอคืนเงินได้บางส่วน

17 ต้นทุนความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าคงคลัง (ต่อ) (Inventory Risk Costs)
3) ต้นทุนสินค้าหดหาย (Shrinkage Costs) สินค้าหดหายในที่นี้รวมถึงสินค้าสูญหายและสินค้าหดตัวเนื่องจากน้ำหนัก หรือปริมาตรลดลง 4) ต้นทุนการย้ายสถานที่ (Relocation Costs) เกิดขึ้นเมื่อมีการย้ายสินค้าจากคลังสินค้าแห่งหนึ่งไปยังคลังสินค้าอีกแห่งหนึ่ง เพื่อลดปัญหาความเสื่อมของสินค้า 3. สินค้าหดตัวสามารถเกิดได้จากการขนส่งสินค้าทางการเกษตร เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งน้ำหนักของสินค้า เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะหดตัวไปหรือระเหยไประหว่างการขนส่ง

18 การแก้ปัญหาระบบบริหารคลังสินค้า
1. กระบวนการรับสินค้า (Receiving) : ระบบ WMS สามารถ Reserveพื้นที่ หรือ จองพื้นที่ให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยในการวางแผนการใช้พื้นที่ในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคลังสินค้าบางที่ไม่มีระบบที่ดี เมื่อรับสินค้าเข้าคลังก็เอาไปตามใจชอบ สุดท้ายก็ จำไม่ได้ว่า นำไปเก็บไว้ที่ไหน 2. กระบวนการจัดเก็บ(Put Away): ระบบ WMS สามารถ แนะนำตำแหน่งที่ เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง Manual : โดยผู้ตรวจสอบเซ็นอนุมัติ หลังจากตรวจสอบว่าจัดเก็บ สินค้าในตำแหน่งนั้นจริง

19 Barcode Scanner : โดยการยิง Barcode Scanner ในตำแหน่งที่จัดเก็บจริงซึ่ง
ตรงนี้จะช่วยในการ Confirm ตำแหน่งจัดเก็บอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหาของไม่เจอได้

20 การแก้ปัญหาระบบบริหารคลังสินค้า (ต่อ)
3. กระบวนการเบิก (Picking ): ระบบ WMS จะมีระบบ Search เพื่อช่วยในการค้นหาได้อย่างง่ายดาย แค่ กรอกเงื่อนไข ระบบก็สามารถค้นหาสินค้าให้เอง

21

22 คุณสมบัติของโปรแกรม โครงสร้างของโปรแกรม
ทรัพยากรที่โปรแกรมต้องการ รุ่นของโปรแกรม Screen Short Video สาธิตการใช้งาน วิธีการสั่งซื้อ      

23 VDO คลังสินค้า

24 เอกสารอ้างอิง http://logisticscorner.com www.bu.ac.th/knowledgecenter
หนังสือ การจัดการโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด แปลและเรยบเรียโดย กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล หน้า รศ.ดร.กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ ดร.ศลิษา ภมรสถิตย์ ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา

25 สาขา ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (2 ปี)
กลุ่มผู้จัดทำ นายเจตน์ จุระเสถียร นางสาวชลธิชา แซ่โซ้ง นางสาวทยิดา จิตตะวงศ์ นางสาวพิชญา ยามะสัก นางสาวมีนา ทากอง นายสหชาติ วงศ์ภูงา คณะบริหารธุรกิจ สาขา ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (2 ปี)


ดาวน์โหลด ppt Warehouse Management Systems

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google