MGT 228 การจัดการสมัยใหม่ บทที่ 11 การจูงใจ (MOTIVATION)
ความหมายของการจูงใจ สภาวะภายในอย่างหนึ่งที่เป็นพลัง เป็นสิ่งกระตุ้น นำการกระทำของมนุษย์ ไปในทิศทางที่จะทำให้บรรลุ ถึงเป้าหมาย
วงจรการจูงใจ (ต่อ) ความต้องการ : ความไม่เพียงพอ ความขาดแคลน เมื่อเกิดความไม่สมดุลทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ แรงขับ : เป็นสิ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบรรเทาความต้องการในตอนแรกให้ลดลง เป็นพฤติกรรมที่จูงใจ เป้าหมาย : สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถบรรเทาความต้องการ และแรงขับให้น้อยลงได้ ทำให้สภาพร่างกายหรือจิตใจฟื้นฟูคืนสู่สภาพที่มีสมดุล
แหล่งการจูงใจ 1. แหล่งจูงใจภายใน แรงจูงใจจากภายใน (intrinsic) เป็นพลังกระตุ้นที่คนต้องการได้รับความพอใจจากความสำเร็จอันเป็นผลจากการกระทำ ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่ถูกปฏิบัติโดยตัวของมันเอง ได้แก่ ความต้องการ ความสนใจพิเศษ ทัศนคติ 2. แหล่งจูงใจภายนอก แรงจูงใจจากภายนอก (extrinsic) ถือเป็นพลังกระตุ้นพฤติกรรมของคนเพื่อให้กระทำในสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลทางวัตถุหรือสังคมหรือหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ เช่น คำชมเชย การติเตียน การให้รางวัล การลงโทษ
ทฤษฎีการจูงใจ ทฤษฎีการจูงใจของ Abraham H. Maslow ทฤษฎีการจูงใจของ E.R.G Alderfer ทฤษฎีความคาดหวัง ของ Vroom ทฤษฎีการจูงใจโดยความเสมอภาค ของ Adams ทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg ทฤษฎีการเสริมแรง ของ Skinner
ทฤษฎีการจูงใจของ Abraham H. Maslow 1.ความต้องการทางด้านร่างกาย 2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย 3. ความต้องการทางด้านสังคม ความรัก การยอมรับจากพวกพ้อง 4. ความต้องการมีชื่อเสียง มีฐานะเด่นทางสังคม 5. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด
ทฤษฎีการจูงใจของ E.R.G Alderfer จำแนกความต้องการออกเป็น 3 กลุ่ม ความต้องการทางด้านการดำรงชีพ : Existing Needs ความต้องการทางด้านร่างกาย ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ความต้องการความสัมพันธ์ : Ralatendness Needsความต้องการในด้านการมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ การแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความเข้าใจร่วมกัน ความต้องการความเจริญก้าวหน้า : Growth Needs ความพอใจในการที่บุคคลนั้นได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ และพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้น
ทฤษฎีความคาดหวัง ความคาดหวัง กลไก คุณค่าของรางวัล ความพยายาม ผลงาน ผล เมื่อบุคคลรับรู้ว่าความพยายามของตนจะนำไปสู่ผลงานในระดับที่แน่นอนระดับหนึ่งที่ตนต้องการ กลไก เมื่อบุคคลรับรู้ว่าผลงานของตนจะทำให้ได้รับผลได้ตามที่ต้องการ คุณค่าของรางวัล ความต้องการผลได้หรือรางวัลที่ได้รับจากงานหรือองค์การ
ทฤษฎีการจูงใจโดยความเสมอภาค(Equity Theory ) Adams แนวคิด : ความเสมอภาคเกิดจากสัดส่วนของผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์การ กับสิ่งที่เขาทุ่มเทให้กับสัดส่วนของคนอื่น ความเสมอภาคเกิดจาก ผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์การ = ผลตอบแทนที่ผู้อื่นได้จากองค์การ สิ่งที่ตนได้ทุ่มเทให้กับองค์การ สิ่งที่ผู้อื่นได้ทุ่มเทให้กับองค์การ ความไม่เสมอภาคเกิดจาก ผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์การ <หรือ> ผลตอบแทนที่ผู้อื่นได้จากองค์การ สิ่งที่ตนได้ทุ่มเทให้กับองค์การ สิ่งที่ผู้อื่นได้ทุ่มเทให้กับองค์การ
การลดความไม่เสมอภาค : Reducing Inequality เพิ่มหรือลดสิ่งที่ตนได้ทุ่มเทให้กับองค์การ เพิ่มหรือลดผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์การ หนีงาน ออกจากงาน โยกย้าย ขาดงาน ลดความสำคัญของคนที่ใช้เปรียบเทียบ ให้บุคคลที่ใช้เปรียบเทียบยอมรับตนเอง
ทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg แนวคิด : ความพอใจและความไม่พอใจในงานขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ปัจจัย 1 ปัจจัยจูงใจ คือปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในงาน ที่เกี่ยวกับลักษณะของเนื้องาน 2 ปัจจัยสุขอนามัย คือปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในงาน ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่นอกเนื้องาน
ตัวอย่าง : ปัจจัยสุขอนามัย และ ปัจจัยจูงใจ ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การได้รับการยกย่อง ความก้าวหน้า ตัวงานที่ท้าทาย ความเจริญเติบโต ความรับผิดชอบ ปัจจัยสุขอนามัย สถานภาพในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน นโยบายการบริหารของบริษัท ความมั่นคงในงาน สภาพการทำงาน ค่าตอบแทน
ทฤษฎีการจูงใจของ Skinner( Positive Reinforcement ) แนวคิด : การจูงใจเกิดจากสิ่งเร้า และทำให้เราเปลี่ยนพฤติกรรม ไปทางด้านที่เราต้องการซึ่งเราสามารถแบ่งสิ่งเร้าที่เป็นแรง กระตุ้นออก เป็น 2 แบบ แบบที่ 1 สิ่งเร้าด้านบวก ( Positive ) แบบที่ 2 สิ่งเร้าด้านลบ ( Negative ) สิ่งเร้าทางบวก เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะได้มาซึ่ง พฤติกรรมที่ต้องการ ส่วนการลงโทษเป็นเสมือนการสร้า พฤติกรรมที่ไม่พึ่งปรารถนา