Instruction design แผนจัดการเรียนรู้ Active Learning เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ นายอาทร แย้มบริบูรณ์ โรงเรียนในเตาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
1.มฐ./ตัวชี้วัด ส 5.1 ม 1/1 เลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(ลูกโลก แผนที่ กราฟ แผนภูมิ)ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ ลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศไทยและทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย
2.สาระ 1.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(ลูกโลก แผนที่ กราฟ แผนภูมิ ฯลฯ ) ที่แสดงลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย
1. ใบงานที่ 1 เรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 3. ชิ้นงาน : ภาระงาน 1. ใบงานที่ 1 เรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 2. แผนผังความคิดเรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 3. แผนที่ไปบ้านฉัน
4. Content 2. สามารถจำแนกประเภทเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 1 . อธิบายความหมายของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 2. สามารถจำแนกประเภทเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 3. วิเคราะห์จุดเด่นของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์แต่ละชนิด 4. เห็นคุณประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์แต่ละชนิด
5.Literacy Thinking Skill 1. การสื่อสาร 2. การคิดวิเคราะห์ 3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.กิจกรรม(Learning by doing) ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน 1. ครูแนะนำตัวเอง และสนทนากับนักเรียนให้นักเรียนแนะนำตัวทีละคน 2. ครูแจ้งตัวชี้วัดชั้นปีและจุดประสงค์การเรียนรู้ และบอกข้อตกลงให้นักเรียนทราบ 3. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความรู้ของนักเรียนในเรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ จากที่นักเรียนได้เคยเรียนรู้มาเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนเรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
6.กิจกรรม(Learning by doing) ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ 5. ครูและนักเรียนร่วมกันอธิบายความหมาย และให้นักเรียนดูภาพเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ จากMicrosoft PowerPoint ครูตั้งคำถามว่าภาพเครื่องมือที่เห็นชื่ออะไร เป็นเครื่องมือประเภทไหน และมีจุดเด่น คุณสมบัติสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างไรโดยให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม 6. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คนโดยให้นักเรียนศึกษาข้อมูลและ ทำใบงานที่ 1 เรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นการแข่งขันกันเพื่อจำแนกประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์โดยกลุ่มไหนจำแนกประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 7. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบใบงานที่ 1 เรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ นักเรียนทำใบงานที่ 2 เรื่อง ประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์โดยสรุปเป็นแผนผังความคิดเรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ลงในสมุด
6.กิจกรรม(Learning by doing) ขั้นที่ 3 สรุป 8. ครูสรุปและอธิบายเพิ่มเติมโดยให้นักเรียนดูแผนผังเรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ครูเตรียมไว้ แล้วนักเรียนบันทึกความรู้เพิ่มเติมที่ได้ลงสมุด 9. ให้นักเรียนแต่ละคนทำแผนที่อย่างง่าย โดยการให้นักเรียนสำรวจเส้นทางการเดินทางของนักเรียนจากบ้านมาโรงเรียน และให้แต่ละคนจดบันทึกลักษณะภูมิประเทศ สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยฝึกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สัญลักษณ์ต่างๆ ของแผนที่ เช่น ถนน บ้านเรือน โรงเรียน วัด ทุ่งนา สระน้ำ บ่อน้ำ และโบราณสถาน เป็นต้น พร้อมระบายสีให้สวยงาม และสุ่มตัวนักเรียน ออกมานำเสนอผลงาน ของตนเอง
7.วิธีการวัดผล 1. แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน 2. ตรวจใบงานที่1 เรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 3. ตรวจชิ้นงานแผนที่ไปบ้านของฉัน