กิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Performance Management and appraisal systems
Advertisements

3 LEVELS OF SKILL DEVELOPMENT. HUMAN SKILL TECHNICAL SKILL 3 LEVELS OF SKILL DEVELOPMENT CONCEPTUAL SKILL.
วัตถุประสงค์ KTY ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training
บทที่ 9 การบริหารคุณภาพ Quality Control and Management
16. กลยุทธิ์ที่มุ่งเน้น ความสำเร็จ. Background การเปลี่ยนทัศนคติ จาก แรงงาน เป็นผลการปฏิบัติงาน แรงจูงใจบนพื้นฐานความเข้าใจ เพื่อบรรลุสู่ความสำเร็จ แบบญี่ป่น.
การบริหารความรู้ สู่องค์กรอัจฉริยะ
อุบัติเหตุต้องเป็น “0”
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา มกราคม 2559.
Standard requirements
การวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุน
1 การวิเคราะห์ งาน Job Analysis. INDM0419 Industrial HRM2 ความหมายของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งาน คือ กระบวนการที่มีระบบใน การกำหนดทักษะ หน้าที่ และความรู้ที่
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
ระบบปกติ ประจำปีการศึกษา 2/2559
การอบรมระบบความรับผิดทางละเมิดและแพ่ง
ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงานภายนอก 18 สิงหาคม 2558
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
การฝึกอบรมคืออะไร.
การเพิ่มผลผลิต.
ความปลอดภัยในการทำงาน
Food safety team leader
การผลิตแบบทันเวลาพอดี(just In Time:JIT)
การประชุมทบทวนบริหาร
ทรัพยากรการท่องเที่ยว (TIM 1301)
เทคนิคการแก้ไขปัญหาแบบ QCC (QC Circle Techniques)
Human resources management
Thai Quality Software (TQS)
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
.:: ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม .::
การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา
แนวคิด ความหมาย และหลักการในการชี้บ่งอันตราย
ทักษะที่จำเป็นสำหรับ การสร้างงานที่มีประสิทธิผล
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
ความตระหนักการจัดการคุณภาพ
Controlling 1.
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
การพัฒนางานผู้ป่วยนอก
เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
บทที่ 11 กิจกรรมพัฒนาตนเองและทีมงานคุณภาพเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
แผนกลยุทธ์ กรมชลประทาน
ปรัชญา วิสัยทัศน์ ปณิธาน พันธกิจ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
หลักการและแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาการทำงาน
เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ
แบบฟอร์มการบริหารโดยการควบคุมคุณภาพ (QCC) ดีเด่น ปี 2561
บทที่ 7 การควบคุม (Controlling).
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
สิทธิรับรู้ของประชาชน
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
MG414 Supply Chain and Logistics Management
เป็นฐานสำคัญขององค์กร
นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
การบริหารทีมงานและภาวะผู้นำ
MGT 228 การจัดการสมัยใหม่
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของ Meetings
การควบคุม (Controlling)
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง
หน่วยการเรียนที่ 5 เทคนิคและวิธีการในการพัฒนาตน
การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  IFM4302 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้  Knowledge Management Tools   วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว.
แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัย

กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน   การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน  เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมทัศนคติ จิตสำนึก ความรู้และ ความเข้าใจของพนักงานทุกระดับคือ  ตั้งแต่ฝ่ายจัดการ ผู้ควบคุม จนถึงพนักงาน นั่นคือ  เมื่อผู้บริหารทุกระดับมีจิตสำนึก และรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยและถือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการบริหารงานด้านอื่น ๆ แล้ว  ก็ย่อมจะหวังได้ว่า พนักงานระดับปฏิบัติจะได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งในด้านการป้องกันอุบัติเหตุ และสุขภาพอนามัย และในอันดับถัดไป จะต้องพยายามส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มีจิตสำนึกและ ทัศนคติ  ตลอดจนความรู้ในการปฏิบัติงานอย่าง ปลอดภัย  และร่วมมือในการดูแลให้สถานที่ทำงานนั้น  ปลอดภัยตลอดเวลาทั้งนี้เพราะการป้องกันอันตรายจากงานขึ้นอยู่ กับความ “ปรารถนา” ของบุคคล ผู้ที่นับว่ามีบทบาทในการประสานงานส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน  คือ  เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยในการทำงาน

หลักการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย  จะเป็นการสร้างจิตสำนึกและยังสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ทัศนคติของ พนักงานในเรื่องความปลอดภัยได้  การส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย  สามารถใช้รูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมของกิจกรรมนั้น ๆ แต่วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะเหมือนกัน กล่าวคือ  จะสร้างเสริมทัศนคติจิตสำนึก ในเรื่องความปลอดภัย  ซึ่งการที่จะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จได้ตาม วัตถุประสงค์นั้นขึ้นอยู่ กับการประยุกต์กิจกรรมไปใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรได้ อย่างไร  และหลักการส่งเสริมความปลอดภัยที่ดีนั้นจะต้องส่งสารที่ ถูกต้อง Right Message(ไรท-เม็สเซ็จ) ไปให้ถูกคนRight Audience (ไรท-ออเดียน) และถูกจังหวะเวลาRight Time(ไรท-ทาม) จึงมีการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัยหรือ (scc)

กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อความปลอดภัย (SCC) SCC คือ Safety Control Circles(เซ็ฟตี้-คอนโทล- เซอคึล)หรือ กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อความปลอดภัย หมายถึง กลุ่ม พนักงานขนาดเล็กที่ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อการค้นหาภัยอันตราย และแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุ ตลอดจนการสร้างเสริมความปลอดภัย ในการทำงาน เพื่อให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการ ควบคุมภัยอันตราย

ทำไมต้องมีกิจกรรมกลุ่มย่อยด้วย เหตุผลสำคัญ 2 ประการ ที่มีการนิยมใช้กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อประสิทธิผลใดๆ โดย เฉพาะกิจกรรมกลุ่มย่อย เพื่อความปลอดภัย (SCC) ได้แก่ 1. ความต้องการของผู้บริหารในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมด (โดยเฉพาะพนักงาน) เพื่อการเพิ่มผลผลิตของกิจการ ตลอดจนการสร้างคุณภาพของพนักงานและสินค้าหรือบริการใน สภาวะที่มีการต่อสู้แข่งขันอย่างรุนแรงของสภาพ เศรษฐกิจในปัจจุบัน 2. การยอมรับความสำคัญของพนักงานในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริหารที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเขา โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของความ ต้องการส่วนบุคคลและวัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนสำคัญของ SCC ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การจัดประชุม see (see Meetings) (ซี-ซี-มีทติ้ง) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติ การประชุม SCC ควรจัดให้มีขึ้นเป็นทางการอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เวลาของการประชุมที่เหมาะสมประมาณครึ่งชั่วโมงถึง หนึ่งชั่วโมง และควรจัดให้มีการประชุม SCC เป็นกรณีพิเศษ เมื่อเกิดอุบัติเหตุอันตรายที่มีผลร้ายแรงหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตอันใกล้ที่เห็นว่าควรจะรีบดำเนินการแก้ไขป้องกันไว้ก่อน เทคนิคและเครื่องมือของ SCC นอกจากการประชุมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนแล้ว ปัจจุบัน SCC ยังแพร่หลายและนิยมทำกันในระดับพนักงานของโรงงานที่มีมาตรฐาน โดยฝ่ายบริหารส่งเสริมให้พนักงานในแผนกเดียวกัน (หรือต่างหน่วยงานกัน) ได้ร่วมกันจัดทำกิจกรรม SCC ทุกวัน โดยใช้เวลาวันละ 5-15 นาที ทุกเช้าก่อนเริ่มงาน หรือก่อนเลิกงาน เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุอันตราย เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและที่สำคัญ คือการ พัฒนาจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างแพร่หลายทั่วทั้งองค์การ

เทคนิคหรือเครื่องมือของ SCC ที่นิยมใช้มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละโรงงานสามารถเลือกประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมกับโครงสร้างและวัฒนธรรมของตนเอง ได้แก่ 1. QCC (Quality Con­trol Circles) (คอลลิตี้-คอนโทล- เซอคึล) เพื่อลดอุบัติเหตุ โดยใช้เทคนิคต่างๆ ของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ 2. SOS (Safety Observation Skill) (เซฟตี้-อ็อบเซอเวชั่น) เทคนิคของนักสังเกตความปลอดภัย 3. KYT (Kiken Yochi Training) (คิเคน-โยชิ-เทรนนิ่ง) เพื่อการคันหาจุดอันตราย 4. HIT (Hazard Identifying Technique) (แฮ็ซซึด-ไอเด็นทิไฟอิ้ง-เท็คนิค) เพื่อการระบุภัยอันตรายในที่ทำงาน 5. JSA (Job Safety Analysis) (จ็อบ-เซฟตี้-อะแนลลิซิส) เพื่อการทำงานอย่างปลอดภัย 6. FTA (Fault Tree Analysis) (ฟอลท-ทรี-อะแนลลิซิส) เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรง 7. DISCO Cycles (ดิสโคว-ไซคึล) เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุอย่างครบวงจร (ปัจจุบันกิจกรรมนี้เป็นที่นิยมเเพร่หลายที่สุดของการทำ SCC)

บทสรุป ผลของการทำ SCC EMI กิจกรรม SCC เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อความปลอดภัย โดยมุ่งหวังให้เกิดผลในการลดและแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุ การสร้างเสริมความ ปลอดภัยและตอกยํ้าจิตสำนึกโดยใช้เทคนิค เครื่องมือที่เหมาะสม อันจะนำมาซึ่ง EMI ในที่สุด EMI ได้แก่ 1.Establishment (อิสแท็บลิชเม้น) (การจัดให้มีขึ้นหรือสร้างให้เกิดขึ้น)สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย,มาตรฐานและวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย,กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย,นโยบายความปลอดภัย-อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล,หน่วยงานด้านเซฟตี้ เป็นต้น 2. Maintenance (เมนทาแน็น) (การบำรุงรักษาไว้) สิ่งต่างๆ ที่จัดให้มีขึ้นหรือสร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยจากข้อ 1 แล้ว จะต้องพยายามบำรุงรักษาให้คงสภาพนั้นไว้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิใช่ปล่อยปละละเลยให้สูญหายไปหรือไร้ สภาพบังคับ 3. Improvement (อิมพรูฟเม้น) (การปรับปรุงให้ดีขึ้น) เมื่อสร้างขึ้นและดำรงรักษาไว้ได้ตามข้อ 1 และ 2 แล้ว ก้าวต่อๆ ไป เราจะต้องปรับปรุง และพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก EMI Establishment (การจัดให้มีขึ้นหรือสร้างให้เกิดขึ้น) Improvement (การปรับปรุงให้ดีขึ้น) Maintenance (การบำรุงรักษาไว้)

กิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัย มีมากมายหลายอย่าง ยกตัวอย่างกิจกรรมที่สำคัญๆ 4 กิจกรรม ได้แก่......... 1.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 2.กิจกรรมการซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ 3.กิจกรรม KYT การหยั่งรู้อันตราย 4.กิจกรรม 5 ส.

1.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน สุขภาพ และความ เป็นอยู่ที่ดีของประชากร คนงานทั้งมวล โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สังคมจิตวิทยา องค์กร และเศรษฐกิจ การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ปัจเจกบุคคล และ ความเจริญเติบโตแก่บุคคลเหล่านั้นในส่วนของภาคเอกชน ทั้งนายจ้าง ลูกจ้างก็มี จำนวนไม่น้อย ที่ร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อแนะนำต่างๆ เพื่อให้ พ้นจากการบาดเจ็บ และโรคร้ายจากการ มีแนวทางการปฏิบัติดังนี้ 1.การออกกำลังกายหรือบริหารร่างกายก่อนปฏิบัติงาน 2.รับการตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ตามข้อกำหนดของบริษัท เมื่อพนักงานมีสุขภาพที่ดี องค์กรก็จะดีด้วย

ประโยชน์ของใครเมื่อแรงงานไทยสุขภาพดี เป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงที่เรามีสุขภาพดี มีความสุขกายสบายใจ ย่อมปฏิบัติงานได้ดีกว่า ช่วงที่เจ็บป่วย มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพียงแต่พนักงานในองค์กรยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศ ในองค์กร ความสัมพันธ์ การประสานงาน การช่วยเหลือกันก็ดีขึ้น การทำงานมีประสิทธิภาพ สูงขึ้น คุณภาพของสินค้า และบริการตรงตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้การ ประกอบการของบริษัทดีขึ้น สามารถแบ่งปันผลกำไร มาตอบแทนพนักงาน ทั้งในรูปของ โบนัส การปรับปรุงสภาพแวดล้อม และพัฒนาคนในองค์กร ให้มีความรู้ความสามารถดีขึ้น ทำให้พนักงานในองค์กรมีขวัญ และกำลังใจจงรักภักดีต่อองค์กร ปฏิบัติงานในหน้าที่ได้เต็ม กำลังความสามารถ ไม่ลาป่วยเป็นนิจ องค์กรสามารถรักษาคนมีความรู้ ความสามารถให้อยู่ กับองค์กรได้ ไม่ลาออกไปแสวงหางานใหม่ องค์กรเข้าสู่วงจรแห่งสุขภาวะ ทำให้ความ เจริญรุ่งเรืองตกแก่เจ้าของกิจการ และพนักงาน ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 วงจรแห่งสุขภาวะ

ในทางกลับกัน ถ้าองค์กรใดเต็มไปด้วยบุคลากร หรือพนักงานที่มี ความทุกข์กายทุกข์ใจ ปราศจากความสุข ลาป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ งบค่ารักษาพยาบาล ค่าบริหารจัดการในการให้ผู้อื่น มาทำงานแทนก็จะ สูงขึ้น บรรยากาศในการทำงานในองค์กร และผลิตผลย่อมเป็นไปในทาง เสื่อม องค์กรขาดความก้าวหน้าเติบโต ผลประกอบการตกต่ำ ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ย่อมไม่ได้ทัดเทียม กับองค์กรที่มีคุณภาพ ขาด งบประมาณที่จะมาปรับปรุงองค์กร ขวัญกำลังใจของผู้คนในบริษัทตกต่ำ คนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งเป็นกำลังผลิตสำคัญหนีออกจากบริษัท ส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่หมุนเวียนเป็นวงจรแห่งทุกขภาวะ อยู่ ในวัฏจักร แห่งความเสื่อม ดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 วงจรแห่งทุกขภาวะ

2.กิจกรรมการซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับ ลูกจ้าง  ข้อ 36 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง บริษัท นิปปอน เคมิคอล จำกัด ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

การจัดฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ในหลักการและวิธีการควบคุมเหตุฉุกเฉิน เพลิงไหม้ การ จัดทำแผนอพยพหนีไฟ 2. สามารถนำหลักการที่ได้รับไปร่วมกันจัดทำแผนการดับเพลิง/ อพยพหนีไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สถานประกอบการได้มีการซ้อมดับเพลิง/ แผนอพยพ ตามกฎหมาย และมีการปรับปรุง แผนให้เหมาะสมกับสถาน ประกอบการ สำหรับการซ้อมในครั้งต่อ ๆ ไป 4. ผู้รับผิดชอบ และพนักงานได้ทราบและเข้าใจบทบาท หน้าที่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพลิง ไหม้สามารถที่จะอพยพพนักงานไป ไว้ในที่ที่ปลอดภัยได้โดยไม่เกิดความเสียหาย

3.กิจกรรม KYT การหยั่งรู้อันตราย KYT ย่อมาจาก ( Kiken Yochi Training ) (คิเคน-โยชิ-เทรนนิ่ง) กิจกรรมปลอดอุบัติภัย หรือ การหยั่งรู้ระวังอันตราย  KYT   หมายถึง การวิเคราะห์หรือคาดการณ์ว่า จะมีอันตรายใด ๆ แอบแฝงอยู่ในงานที่เรากำลังจะทำแล้วหาทางป้องกัน        เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เป็นกิจกรรมที่ฝึก การพยากรณ์อันตรายภายใต้ แนวความคิดที่ว่า ช่วยกันทำอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะการชี้นิ้ว และพูดย้ำ มีการ ฝึกอบรมทางด้านความรู้ และเทคนิค ความ ไวของประสาทสัมผัส ด้านอันตราย รวมไปถึงการมีสมาธิ และความกระตือ รือร้น   การทำกิจกรรม KYT  เน้นท่าทาง มือชี้ ปากย้ำ  สร้างจิตสำนึก ระวังภัย ปฏิบัติก่อนการเริ่มงานทุกครั้งเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายอยู่เสมอ  เงือนไขของการ KYT  คือ 1. ทุกคนต้องพูดมาจากความจริงใจ   2. ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตัวอย่างการทำ KYT มือชี้ ปากย้ำ ตามอุบัติเหตุที่เราวิเคราะห์ไว้แล้ว เช่น อุบัติเหตุ ต้องเป็นศูนย์ OK (1ครั้ง) ใส่ผ้าปิดจมูกก่อนปฏิบัติงานทุกครั้งปลอดภัย OK (1 ครั้ง) ใส่ผ้าปิดจมูกก่อนปฏิบัติงานปลอดภัย OK (3ครั้ง) อุบัติเหตุ ต้องเป็นศูนย์ OK (1ครั้ง) และปรบมือพร้อมกัน

4.กิจกรรม 5 ส.

จัดทำโดย 1. นายทินกร อรรคนันท์ เลขที่ 1 รหัส 25464 สาขา คอมพิวเตอร์กราฟิก 2. นายธนพงษ์ นงนุช เลขที่ 2 รหัส 25492 สาขา คอมพิวเตอร์กราฟิก 3. น.ส พรรณฤทธิ์ ภูมิกา เลขที่ 3 รหัส 25662 สาขา คอมพิวเตอร์กราฟิก 4. น.ส นุสรา กามิน เลขที่ 4 รหัส 25679 สาขา คอมพิวเตอร์กราฟิก 5. น.ส สุพัตรา วังชัย เลขที่ 1 รหัส 25463 สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คำถามท้ายเรื่อง 1. หัวข้อที่นำเสนอไปคือ เรื่องอะไร 2.SCC ชื่อเต็มคืออะไร หมายถึง อะไร 3. KYT คือ อะไร 4. กิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัย ของบริษัทคุณมีอะไรบ้าง 5. 5 ส. ในเรื่องนี้ มีอะไรบ้าง

เฉลย 1. กิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัย 2. Safety Control Circles(เซ็ฟตี้-คอนโทล-เซอคึล) กิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อความปลอดภัย 3. การหยั่งรู้อันตราย 4.อพยบหนีไฟ kyt เป็นต้น 5. สะสาง,สะดวก,สะอาด,สร้างมาตรฐาน,สร้างวินัย