งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัตถุประสงค์ KTY ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัตถุประสงค์ KTY ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัตถุประสงค์ KTY ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย การวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยแบบ KYT KTY ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training Kiken แปลว่า อันตราย Yoshi แปลว่า วิเคราะห์ คาดการณ์ Training แปลว่า การอบรม KYT หมายถึง วิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ว่าจะมีอันตรายใดแฝงอยู่ในงานที่ต้องปฏิบัติและหาวิธีการควบคุมป้องกันอันตรายนั้น ๆ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน 2. เพื่อสร้างนิสัยการเตือนตนเองก่อนลงมือปฏิบัติงาน 3. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานค้นหาอันตรายต่างๆ และหาวิธีควบคุมป้องกัน 4. ลดอันตรายหรืออุบัติเหตุด้วยวิธีการที่ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันคิดค้น

2 สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
หลักการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยแบบ KYT 1. ปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานให้ ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง 2. คิดพิจารณาก่อนที่จะทำงาน ว่างานนั้นมีอันตรายอะไรที่อาจเกิดขึ้นและจะป้องกันอย่างไร 3. การให้คำมั่นสัญญาหรือปฏิญาณตนของผู้ปฏิบัติงานทุกคนว่า “อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์” ก่อนลงมือปฏิบัติงาน 4. การเตือนตัวเองก่อนลงมือทำงาน ว่าทุกอย่างพร้อมและปลอดภัยต่อการทำงานแล้ว จึงเริ่มลงมือทำงานได้ โดยการใช้วิธี “มือชี้ ปากย้ำ” “มือชี้ ปากย้ำ” หมายถึง การตรวจสอบจุดสำคัญต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานโดยการใช้ตาดู พร้อมกับยื่นแขนออกไป ชี้นิ้วและพูดด้วยเสียงดังว่า “ต้องใช้ที่รัดคาง โอเค” พบว่าวิธีนี้สามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้ถึง 30 %

3 วิธีการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยแบบ KYT
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย แนวทางการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยแบบ KYT ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยแบบ KYT ควรเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับงานที่จะถูกวิเคราะห์ จะใช้การทำงานเป็นกลุ่มมากกว่า 1 คน ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้างาน วิธีการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยแบบ KYT เควายที 4 ขั้นตอน (Round-KYT; 4R-KYT) เป็นรูปแบบมาตรฐานของการทำเควายที เหมาะสำหรับใช้งานที่มีอันตรายมาก ใช้เวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 20 นาที

4 ขั้นตอนที่ 1 : 1R เป็นการสำรวจเพื่อหาอันตรายที่มีอยู่ในการ ทำงาน
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย ขั้นตอนสำคัญในการวิเคราะห์มี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 : 1R เป็นการสำรวจเพื่อหาอันตรายที่มีอยู่ในการ ทำงาน ขั้นตอนที่ 2 : 2R เป็นการวิเคราะห์และให้น้ำหนัก ความสำคัญของอันตรายแต่ละอย่าง ขั้นตอนที่ 3 : 3R เป็นการกำหนดมาตรการป้องกัน ควบคุม แก้ไขไม่ให้เกิดอันตราย ขั้นตอนที่ 4 : 4R เป็นการตัดสินใจเลือกมาตรการในขั้นตอน ที่ 3 ว่าควรนำมาตรการใดมาควบคุมป้องกัน อันตรายที่พบ

5 สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
วิธีการวิเคราะห์ เตรียมแบบฟอร์มสำหรับทำเควายที 4 ขั้นตอน ทีมเควายที เดินทางไปยังงานที่จะทำการวิเคราะห์ เรียงลำดับความสำคัญของอันตรายจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด เลือกอันตรายที่สำคัญ 2 อันดับแรกมาหาวิธีแก้ไข ควรหลีกเลี่ยงวิธีแก้ไขที่ใช้เวลามาก คิดหาคำพูด ประโยคที่เหมาะสมกับเป้าหมาย ที่มีคำสั้น จดจำง่าย ชี้นิ้วแล้วพูด เพื่อเตือนใจ

6 สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย “ งานข้นย้าย ด้วยรถยก ”
ตัวอย่างการวิเคราะห์ความปลอดภัยแบบ KYT “ งานข้นย้าย ด้วยรถยก ” 1R อันตรายที่อาจเกิดขึ้น 2R นี่คือปัญหาของเรา-ให้เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาใส่ในช่อง 2R ข้อที่ 1R 2R 1 รถยกชนพนักงานเนื่องจากมองไม่เห็นทาง 2 ของที่ยกหล่นทับพนักงาน 3 พนักงานเดินเตะหมอนรอง 4 รถยกยกของหนักทำให้รถคว่ำ 5 ไม่มีคนให้สัญญาณ ทำให้รถยกชนกำแพงของที่ยกหล่นลงมาเสียหาย 6 พื้นที่ปฏิบัติงานคับแคบเกินไป ทำให้รถยกชนของที่วางด้านข้างเสียหาย 7 รถยกเหยียบหมอนรอง และกระเด็นถูกพนักงานได้รับบาดเจ็บ 8 รถยกเสียไม่ได้รับการซ่อมแซม เช่น เบรกแตก รถชนพนักงาน 3R เลือกปัญหาจาก 2R มา 2 ข้อ และกำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหานั้น 4R คิดเป้าหมายการกระทำของกลุ่ม โดยทำเครื่องหมาย ท้ายข้อ (2 ข้อ) ข้อที่เลือก 3R 4R 1.ของที่ยกหล่นทับพนักงาน 1. ควรนำสายรัดมามัดของให้ติดกับรถยก 2. ห้ามพนักงานปฏิบัติงานในบริเวณที่มีการยกของ 3. ไม่ควรยกของเกินกำลังของรถยก 4. ทำป้ายเตือนห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในพื้นที่ 2.รถยกชนพนักงาน 1. มีคนให้สัญญาณมือ คอยบอกทางรถยก 2. ไม่ยกของสูงกว่าระดับ 1 เมตรหรือระดับสายตาคนขับ 3. ฝึกอบรมพนักงานที่ขับรถยก 4. ห้ามขับรถเร็วเกิน 10 กม./ชม. ในสถานประกอบการ สรุปเป้าหมายการกระทำ ห้ามพนักงานเข้าใกล้บริเวณที่มีการยกของและห้ามยกสูงเกิน 1 เมตร ทำเป็นข้อความสั้น ๆ ที่จดจำง่าย ยกต่ำ ปลอดคน ปลอดภัย โอเค


ดาวน์โหลด ppt วัตถุประสงค์ KTY ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google