การรับรู้สุนทรียภาพในงานศิลปะ หน่วยที่ 3 การรับรู้สุนทรียภาพในงานศิลปะ
สุนทรียภาพหรือความงามในตัวตน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งส่วนตนและสังคม สุนทรียภาพอาจเป็นภาพของความงามที่เกิดขึ้นในการรับรู้หรือในจิตใจ สุนทรียภาพอาจเป็นเหมือนคุณภาพที่จะใช้ตรวจสอบ หรือ สื่อสารกับความงาม
สุนทรียภาพในเชิงปัจเจก ย่อมมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม 1. สุนทรียภาพก่อให้เกิดความสุขส่วนตน 2. สุนทรียภาพก่อให้เกิดความสุขและสันติธรรมในสังคม 3. สุนทรียภาพก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม
การรับรู้ความรู้สึกทางความในงานศิลปะ 1. การรับรู้ความรู้สึก (Feeling) เป็นขั้นพื้นฐานในการตอบรับของสัญชาตญาณ รับรู้รายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้น สี รูปร่าง รูปทรง แสงเงา ฯ ก่อให้เกิดความรู้สึก (Sensation) ความรู้สึกเป็นอาการเบื้องต้น 2. การรับรู้ด้วยจิต (Mind) รับรู้ผ่านการเพ่งพินิจ ไตร่ตรอง เป็นการค้นหาความงามที่ซ่อนเร้น ความรู้สึกที่ได้สัมผัสก่อให้เกิดการรับรู้และการตีความ ซึ่งเป็นกระบวนการของสมอง และมีประสบการณ์ อารมณ์ ความคิด แรงจูงใจ เข้ามาเกี่ยวข้อง
3. การรับรู้ด้วยอารมณ์ (Emotion) เป็นการรับรู้ที่ละเอียดมากขึ้น เกิดอารมณ์ร่วม (Sympathy) ก่อให้เกิดการจินตนาการเพิ่มเติม เรียกว่ามีอารมณ์สุนทรีย์ และละทิ้งความเป็นตัวตนของวัตถุสุนทรีย์นั้นไป กายเป็นมโนทัศน์ (Concept) 4. การรับรู้ด้วยจิตวิญญาณ (Spirit) เป็นการรับรู้ถึงความงามขั้นสูงสุด ซาบซึ้งในความงาม ถ้าเป็นศิลปินจะเกิดเป็นเพทนาการ (Sentimental) ไม่สามารถอดกลั้นได้ ต้องหาทางระบายออก (Expression) สำเร็จเป็นงานศิลปกรรม
ในการอธิบายกระบวนการเกิดงานศิลปกรรม Feeling Mind Emotion Spirit
ประสบการณ์ทางสุนทรียะนั้น เป็นการพอใจที่เกิดจากการรับรู้โดย ไม่สนใจเรื่องประโยชน์ ทำให้ประสบการณ์ทางสุนทรียะแตกต่างจากประสบการณ์อื่น ๆ ศิลปะ (Art) เป็นศาสตร์ที่ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ที่เริ่มต้นตั้งแต่การคิด การรู้สึกตอบสนอง การถ่ายทอดผ่านสื่อ จนมีผลสำเร็จเป็นผลงานศิลปะ (Works of art) คุณลักษณ์ของศิลปะ เป็นกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สร้างผลลัพธ์ทางอารมณ์และความรู้สึก เป็นเรื่องของการถ่ายทอดความคิด เป็นการสื่อสาร บ่งบอกถึงความงาม
ศิลปะ ครอบคลุมกว้างขวางในกิจกรรมทางด้านสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวาด การปั้น การแต่ง การแกะสลัก การทอผ้า การเต้นรำ การเล่นดนตรี การแสดง และการเขียน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “วัฒนธรรมของการแสดงออก” ผลงานศิลปะทุกชิ้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรม แต่ละยุคสมัย และแต่ละสังคม บางชิ้นอาจไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นวัฒนธรรมอย่างชัดเจน แต่ผลงานศิลปะหลายชิ้นกลับสื่อให้เห็นถึงเนื้อหาทางวัฒนธรรมได้ดี คำว่า “วัฒนธรรม” มิได้หมายถึงวิถีชีวิตหรือสังคมในอดีตเท่านั้น แต่หมายถึง “ปัจจุบัน”
รูปแบบของงานศิลปะ - การแบ่งประเภทของงานศิลปะ - แบบอย่าง Style ของงานศิลปะ - องค์ประกอบทางทัศนธาตุของงานศิลปะ
การแบ่งประเภทของงานศิลปะ ตามจุดมุ่งหมายของการสร้าง - วิจิตรศิลป์ สร้างเพื่อให้ความรู้สึกทางสุนทรียภาพ - ประยุกต์ศิลป์ สร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอย และให้คุณค่าทางความงาม
แบ่งตามลักษณะของสื่อในการแสดงออก - จิตรกรรม (Painting) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้สี แสง เงา และแผ่นภาพที่แบนราบเป็น 2 มิติ - ประติมากรรม (Sculpture) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้วัสดุ และปริมาตรของรูปทรง - สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้วัสดุ โครงสร้าง และปริมาตรของที่ว่างกับรูปทรง - วรรณกรรม (Literature) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา - ดนตรีและนาฎกรรม (Music and Drama) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง (หรือภาษา) และความเคลื่อนไหวของร่างกาย
แบบอย่าง (Style) ของงานศิลปะ - อียิปต์ กรีก โรมัน เรอนาซองส์ ฯ - โรแมนติสต์ อิมเพรสชั่นนิสม์ คิวบิสม์ เซอเรียลลิสม์ ฯ
แบ่งตามลักษณะที่ตาเห็น - แบบอย่างเหมือนจริงหรือเหมือนธรรมชาติ (Realistic) - แบบอย่างกึ่งนามธรรม (Semi- Abstract) - แบบอย่างนามธรรม (Abstract)
การรับรู้สุนทรียภาพในงานศิลปะ (ประเภทแบ่งตามการรับสัมผัส) ทัศนศิลป์ (Visual Art) จัดอยู่ในขั้นวิจิตรศิลป์ (Fine Art) 1. จิตรกรรม ภาพที่แต่ละบุคคลสร้างขึ้น ด้วยประสบการณ์ทางสุนทรียภาพและความชำนาญ โดยใช้สีชนิดต่าง ๆ เป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์ มักสร้างบนพื้นราบเป็นส่วนใหญ่
- สีฝุ่น จิตรกรรมไทยโบราณ ใช้เทคนิคนี้บนผนังโบสถ์วิหาร
- สีปูนเปียก จิตรกรรมของไมเคิลแองเจโล ยุคฟื้นฟู ต้องวาดในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่
- โมเสค การนำก้อนหินสีขนาดเล็กหรือกระเบื้องเคลือบมาประดับเป็นภาพจิตรกรรม นิยมใช้เทคนิคนี้ในสมัยกรีกและโรมัน
- กระจกสี ตัดกระจกสีแผ่นเล็ก ๆ มาเรียงต่อเป็นภาพ เชื่อมด้วยดีบุก เป็นที่นิยมประดับโบสถ์คริสต์ในสมัยยุคกลาง
- สีน้ำมัน การใช้สีฝุ่นผสมน้ำมันแห้ง
- สีชอล์ค เหมาะสำหรับการวาดที่รวดเร็ว
- สีน้ำ
2. ประติมากรรม - การปั้น - ปลาสเตอร์ - หล่อโลหะ - แกะไม้ - แกะหิน - การเชื่อม - เซรามิก
3. ภาพพิมพ์
4. ภาพถ่าย
5. สื่อประสม สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่าง ๆ อย่างอิสระ การนำสื่อมากกว่าสองสื่อมารวมกันขึ้นไปมาสร้างเป็นงานต่าง ๆ โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน มานำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน
องค์ประกอบ ทัศนธาตุ และทฤษฏีของงานศิลปะ แนวความคิด (Concept) คือ มโนภาพที่อยู่ในใจ หรือความคิดรวบยอด ศิลปินต้องมีประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงทำให้เกิดเป็นแนวความคิด เรื่องหรือแรงบันดาลใจเดียวกัน ศิลปินอาจมีแนวความคิดที่ต่างกัน เพราะประสบการณ์ต่างกัน
คุณค่าทางทัศนศิลป์ - คุณค่าทางเรื่องราว เป็นการรวบรวมในเรื่องของความประณีต และเป็นสิ่งที่มีคุณงามความดี ทำให้ผู้เห็นเกิดความประทับใจ โดยเกณฑ์ของความงามที่อยู่ในงานทัศนศิลป์ ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับได้โดยทั่วไป - คุณค่าทางรูปทรง เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ทฤษฏีการแสดงออกทางทัศนศิลป์ 1. ทฤษฏีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริงตาม ที่ตาเห็น จากสิ่งที่มี ในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือ ทั้งสองแบบรวมกัน โดยผู้ชม งานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่า เป็นภาพอะไรจาก ประสบการณ์ทางการเห็น 2. ทฤษฎีนิยมรูปทรง (Formalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ส่วนประกอบมูล ฐาน ของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง มาใช้โดยตรง และอาจจะเป็นการลด ตัดทอน สิ่งที่เป็นจริง ในธรรมชาติ มาสร้างขึ้นใหม่ โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น พอจะสามารถ ระบุได้ว่าเป็นภาพอะไร
3. ทฤษฎีนิยมอารมณ์ (Emotionalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะโดยเน้นการ แสดงออกซึ่งความรู้สึกและ อารมณ์เป็นสำคัญ ผลงาน ที่ปรากฎออกมาจะมีลักษณะ ที่ไม่สามารถ ระบุได้ว่า เหมือน หรือเป็นภาพอะไร เป็นลักษณะนามธรรม (Abstract) 4. ทฤษฎีนิยมจินตนาการ (Immaginalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ความคิดหรือ จินตนาการ บางทีเรียกผลงานชนิดนี้ว่า แบบอุดมคติ (Idealism) ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประเพณี ของชาติใด ชาติหนึ่ง เช่น ศิลปะไทย ศิลปะจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งผู้วิจารณ์ศิลปะในแนวนี้จะต้องเข้าใจประเพณี วัฒนธรรมของชาตินั้น เป็นอย่างดีด้วย
ทัศนธาตุในงานศิลป์ 1. จุด (Dot)
2.เส้น (Line)
3. น้ำหนัก(Tone) และคุณค่า (Value)
4. สี (Colour)
5. ผิว (Texture)
6. รูปร่าง (Shape) และรูปทรง (Form)
7. ที่ว่าง (Space)