งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

4.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "4."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 4

2 การบ้าน 1หาภาพที่มีเป็นงานศิลปะที่มีองค์ประกอบภาพที่ใช้พื้นที่.จุด.เส้น.รูปร่างรูปทรง.พื้นผิว.แสงเงามาอย่างละ1ภาพพร้อมเขียนคำบรรยายถึงเหตุผลที่เลือกภาพนั้น 2 ให้ออกแบบงานสร้างสรรค์ม1ชิ้น ในหัวข้อชีวิตกับวันพรุ่งนี้ งานขนาดa4 ใช้เทคนิคพื้นฐานให้มีความหลากหลายในงานทุกชิ้นพร้อมนำเสนอในครั้งต่อไป หมายเหตุ ให้ทุกคนซื้อสมุดวาดรูปเล่มเล็กมาด้วยครับ

3 ครั้งที่4 การจัดองค์ประกอบศิลป์ในการออกแบบ
องค์ประกอบศิลป์คือ รูปแบบการจัดวางวัสดุศิลปะให้เป็นหมวดหมู่และส้างความหน้าสนใจในการออกแบบ กระบวนการจัดองค์ประกอบศิลป์มีหลายรูปแบบไม่ตายตัวแต่มุ่งเน้นที่มุมมองต่างให้หน้าสนใจ

4 การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ  เป็น หลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ    เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่  2  ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้านเรื่องราว

5 คุณค่าทางด้านรูปทรง     เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ    ของ ศิลปะ อันได้แก่  เส้น  สี  แสงและเงา  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  ฯลฯ    มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม  ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้น เรียกว่า การจัดองค์ ประกอบศิลป์ (Art Composition) 

6 คุณค่าทางด้านเนื้อหา
คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้าง สรรค์ ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้  โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปิน นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ    ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไป  

7 หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์
               หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ (Composition)  คือ  การนำเอาทัศนะธาตุ  ได้แก่  จุด  เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนักอ่อนแก่  บริเวณว่าง  สี  และพื้นผิว  มาจัดประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดความพอดี  เหมาะสม  ทำให้งานศิลปะชิ้นนั้นมีคุณค่าอย่างสูงสุด   ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้                1.  เอกภาพ (Unity)                      การรวมกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางจนทำให้ขาดความสัมพันธ์กัน  ในทางทัศนศิลป์เอกภาพยังเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการแสดงอย่างชัดเจนด้วย              

8

9   2.  ความสมดุล (Balance)                      2.1  ความสมดุลของสิ่งที่ซ้ำหรือเหมือนกัน  (Symmetrical)  คือ เป็นการนำเอาส่วนประกอบที่มีรูปลักษณะเหมือนกัน  มาจัดองค์ประกอบรวมเข้าด้วยกันให้ประสานกลมกลืน เกิดการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ในลักษณะที่พอเหมาะพอดีจนรู้สึกว่ามีความสมดุล   อาจด้วยการจัดวางตำแหน่ง ที่ตั้ง  ช่องไฟ  ระยะห่าง  อัตราจำนวน  ขนาดรูปร่าง  น้ำหนักอ่อนแก่  ฯลฯ  ที่เหมือนกันหรือเท่า ๆ กันจนเกิดเป็นเอกภาพเดียวกัน                                  

10   2.2  ความสมดุลของสิ่งที่ขัดแย้งหรือต่างกัน  (Asymmetrical)   เป็นการนำเอาส่วนประกอบที่มีรูปลักษณะที่ต่างกันหรือขัดแย้งกัน   มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกันให้ประสานกลมกลืนกัน   เกิดการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ  ในลักษณะที่พอเหมาะพอดีจนรู้สึกว่ามีความสมดุล  โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

11   3.  จุดสนใจหรือการเน้น (Emphasis)
                     ส่วนที่สำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง   ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาของภาพทั้งหมดหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง  ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีเพียงจุดเดียว  ซึงอาจเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด  นอกจากนั้นยังเน้นให้เกิดจุดสนใจด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ   จุดสนใจไม่จำเป็นจะต้องอยู่จุดกึ่งกลางเสมอไป  อาจอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้              

12

13 4. ความกลมกลืน (Harmony)
                     เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์  เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ  ความกลมกลืนมี  2  แบบ  คือ                      4.1  ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน  หมายถึง  การนำรูปร่าง  รูปทรง  เส้น หรือสี  ที่มีลักษณะเดียวกันมาจัด  เช่น  วงกลมทั้งหมด  สี่เหลี่ยมทั้งหมด  ซึ่งแม้ว่าอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกัน  แต่เมื่อนำมาจัดเป็นภาพขึ้นมาแล้วก็จะทำให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน                   

14    4.2  ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง  หมายถึง  การนำเอาองค์ประกอบต่างชนิด  ต่างรูปร่าง  รูปทรง  ต่างสี  มาจัดวางในภาพเดียวกัน  เช่น  รูปวงกลมกับรูปสามเหลี่ยม  เส้นตรงกับเส้นโค้ง  ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น แต่ก็ยังให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน              

15   5.  จังหวะ (Rhythm)                      ระยะในการจัดภาพหรือการวางของวัตถุ  ซ้ำไปซ้ำมา อย่างสม่ำเสมอ  เช่น  ลายไทย  การปูกระเบื้อง หรือการแปรอักษร  เป็นต้น

16 สรุป องค์ประกอบศิลป์ที่เราเรียนคืององค์ประกอบที่เน้นการจัดวางในหลากหลายรูปแบบเพื่อทำให้งานศิลปะมีความหน้าสนใจและสามารถทำไปใช้ในการออกแบบในด้านต่างๆต่อไป งานในห้องให้กำหนด1แนวคิดและทำการร่างภาพองงค์ประกอบศิงป์ที่ประกอบไปด้วย  1.  เอกภาพ (Unity) 2.  ความสมดุล (Balance 3.  จุดสนใจหรือการเน้น (Emphasis 4.  ความกลมกลืน (Harmony) 5.  จังหวะ (Rhythm) มาอย่างละ1ภาพร่างพร้อมแนวคิดในหัวข้อนิเทศน์+ศิลป์

17 การบ้าน ให้นำภาพร่างที่ได้ไปลงสีหรือเทคนิคศิลปะในด้านใดก็ได้มาส่งในขนาดภาพa4 ให้นักศึกษาหาภาพองค์ประกอบศิลป์ในด้านต่างๆอย่างละ1ภาพพร้อมทั้งแนวคิดด้วย

18 ครั้งที่5 ภาค2 การเน้นจุดเด่นในการจัดองค์ประกอบศิลป์ และการนำไปใช้

19 การเน้นจุดเด่นในการจัดองค์ประกอบศิลป์
จุดเด่นในความหมายของทัศนศิลป์ ก็คือบริเวณหรือส่วนสำคัญของงานทัศนศิลป์ ที่ปรากฎขึ้น จากการเน้น (Emphasis) ของส่วนประกอบมูลฐาน และองค์ประกอบทัศนศิลป์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างผสมกัน ซึ่งเมื่อสัมผัสด้วยสายตาแล้ว มีความชัดเจน เด่นสะดุดตาเป็น แห่งแรก เป็นจุดทีมีพลัง มีอำนาจดึงดูดสายตามากกว่าส่วนอื่น ๆ การเน้น ให้เกิดจุดเด่นในงาน ทัศนศิลป์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะเป็นเครื่องเรียกร้อง ความสนใจ เพื่อชักจุงให้เข้าไปสัมผัส ในส่วนละเอียดต่อไป และเป็นการเพิ่ม ความน่าดู สมบูรณ์ ลงตัวขึ้นให้กับงานออกแบบนั้น แต่การสร้าง จุดเด่นไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ต้องไม่ สร้างหลายจุดเพราะถ้ามีหลายจุด ก็จะแย่งความเด่นกัน ไม่รู้ว่าจุดเด่นที่แท้จริงอยู่ที่ใหน นอกจากนี้ ก็จะเป็นการ ทำให้เอกภาพในงานนั้นหมดไป การสร้างจุดเด่น เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ของการสร้าง ความแตกต่าง (ศึกษาเรื่อง ความแตกต่าง บทเรียนที่ 3.7 ) หลักเบื้องต้นในการพิจารณาสร้างจุดเด่น ในงานศิลปะ ก็คือ ศิลปิน หรือนักออกแบบ จะต้องกำหนดแนวทาง ของ การสร้างจุดเด่น ไว้ล่วงหน้า ก็คือ ตำแหน่ง ปริมาณ และที่สำคัญที่สุดก็คือ วิธีการสร้างจุดเด่น โดยใช้ส่วนประกอบ มูลฐาน และองค์ประกอบของทัศนศิลป์

20 หลัการในการเน้นจุดเด่นแบบการถ่ายภาพ
การเน้นจุดเด่นหรือจุดสนใจในภาพ (Point of Interest) หลักการจัดองค์ประกอบภาพ นอกจากการใช้เส้นนำสายตา การเน้นสี การเน้นรูปร่าง การเน้นรูปทรง การเน้นพื้นผิว และการใช้ความซ้ำซ้อนแล้ว  สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีในการจัดองค์ประกอบภาพก็คือ การเน้นจุดเด่นในภาพ ซึ่งในภาพหนึ่งภาพควรให้มีจุดสนใจเพียงจุดเดียว อย่าให้ในภาพมีจุดสนใจหรือจุดเด่นหลายจุด เพราะจะทำให้เรื่องราวในภาพขาดความเป็นเอกภาพ (Unity) ดูไม่น่าสนใจ  การวางตำแหน่งจุดสนใจในภาพก็ยังมีหลักการอีกว่า ไม่ควรที่จะวางไว้ตรงกลางภาพ เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกสงบนิ่ง ไม่น่าสนใจ วัตถุรอบข้างที่เหลือในภาพจะขาดความน่าสนใจ และไม่เกิดเรื่องราวที่ต่อเนื่องในภาพไปโดยปริยาย ดังนั้นการวางตำแหน่งเพื่อเน้นจุดเด่นหรือจุดสนใจในภาพ (Point of Interest) จึงนิยมใช้การลากเส้นสมมติขึ้นในภาพ โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วนเท่าๆ กันทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งจะทำให้เราได้ตารางเก้าช่องที่มีขนาดพื้นที่เท่ากันทั้งหมดในภาพ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อ "กฎสามส่วน หรือจุดตัดเก้าช่อง (Rule of Thirds)" ซึ่งวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับทั้งภาพแนวนอนและภาพแนวตั้ง

21

22 การเน้นจุดเด่นแบบงานโฆษณา
ลักการออกแบบ                         จุดมุ่งหมายของการออกแบบมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก แต่ต้องคำนึงถึงความงามควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดความประทับใจ (Form Follow Function) ดังนั้น หลักการที่จะเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบเพื่อให้มีคุณค่าทางความงาม จะต้องพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้             ๑. โครงสร้างทั้งหมด             ๒. ความเป็นเอกภาพ (Unity)             ๓. ความสมดุล (Balance)             ๔. ความกลมกลืน (Harmony)             ๕. การเน้น (Emphasis)             ๖. ความขัดแย้ง (Contrast)             ๗. การซ้ำ (Repetition)             ๘. จังหวะ (Rhythm)             ๙ สัดส่วน (Proportion)

23 ความหมายของจุดเด่นในทางทัศนศิลป์จุดเด่น (Dominance) หรือ จุดสนใจ (Point of Interest)
  (ประติมากรรม โดย Claes Oldenburg and Coosje van Bruggen)      เรื่องที่   แนวทางสร้างจุดเด่นในการออกแบบทัศนศิลป์ การสร้างจุดเด่น ในทางทัศนศิลป์ ก็คือการสร้างจาก ส่วนประกอบมูลฐาน (Elements) และหลักการทัศนศิลป์ (Principles) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างผสมกัน ซึ่งจุดเด่นที่เกิดขึ้นนี้ ควรมีจุดเดียว แต่บางครั้ง อาจมีมากกว่าจุดเดียวก็ได้ แต่จุดเด่นที่เพิ่มขึ้นนี้ ต้องไม่แข่งกับจุดเด่นหลัก โดยเรียกว่า จุดเด่นรอง (Sub Dominance) เพราะมิฉะนั้น การมีจุดเด่นแข่งกันหลายจุด จะเป็นการทำลายเอกภาพของงานออกแบบนั้น (ศึกษาเรื่อง เอกภาพในบทที่ 3.9) แนวทางสร้างจุดเด่น มีดังต่อไปนี้    การสร้างจุดเด่นด้วยขนาด (Size) วัตถุ หรือรูปร่าง รูปทรง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะเป็นสิ่งสดุดตา ก่อให้เกิด จุดสนใจได้ทันที ในเบื้องแรก การสร้างจุดเด่นด้วยสี (Color) สีที่มีความเข้ม สดใส (Color Intensity) ที่แตกต่างกว่าสีส่วนรวม ในภาพ ก็จะสร้างจุดสนใจได้ดี หรือสีและน้ำหนักที่แตกต่าง ก็สร้างจุดเด่น ได้เช่นกัน การสร้างจุดเด่นด้วยตำแหน่ง (Location)  โดยธรรมชาติการมองของมนุษย์เราจะเริ่มจากบริเวณกลางภาพ ถัดขึ้นบน เล็กน้อย จึงมี กฎของการจัดองค์ประกอบภาพ ให้เกิด ความน่าสนใจ หรือ ที่เรียกว่า กฎ 3 ส่วน (Rule of Third) กฎ 3 ส่วน (Rule of Third) คือ การแบ่งพื้นที่ตามแนวนอน และแนวตั้ง ออกเป็น 3 ส่วนเท่ากัน ๆ จุด 4 จุดซึ่งเป็นจุดตัดของเส้นที่แบ่งนี้ จะเป็นจุดแห่งความสนใจ ในการวางตำแหน่ง องค์ประกอบที่ต้องการสร้าง จุดเด่นไว้ในตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งของ จุดตัดทั้ง 4 นี้  การสร้างจุดเด่นด้วยตำแหน่งอีกวิธีหนึ่งก็คือ นำองค์ประกอบที่ต้องการ สร้างจุดเด่นนั้น ใหแยกจากองค์ประกอบโดยรวม จะทำให้สายตาผู้ชมพุ่ง ไปยังตำแหน่งที่โดดเด่นนั้น การสร้างจุดเด่นด้วยบริเวณว่าง (Space) งานออกแบบที่มีจังหวะของการซ้ำ (Repetition) มากไป จะทำให้ น่าเบื่อหน่าย เหมือน ไม่มีจุดจบ ถ้าปรับจังหวะนั้นให้มีช่องว่าง ที่แตกต่างกันบ้าง ที่เรียกว่า จังหวะก้าวหน้า (Progressive) หรือการแยกตัว ให้เกิดพื้นที่ว่าง ก็สามารถสร้างจุดสนใจ ในบริเวณที่ต้องการได้ การสร้างจุดเด่นด้วยความแตกต่าง (Exception) รูปร่าง รูปทรง หรือองค์ประกอบใด มีความแตกต่างจากส่วนรวม ย่อมเเป็น จุดเด่นที่สุึดในภาพนั้น การสร้างจุดเด่นด้วยการแปรเปลี่ยน (Gradation) การแปรเปลี่ยน หริอการลดหลั่นด้วยขนาด รูปร่าง สี น้ำหนัก โดยองค์ประกอบอื่น ยังคงเดิมนั้น เป็นการสร้างจุดเด่น ได้ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง การสร้างจุดเด่นด้วยทิศทางของสายตา (Eye Direction) ทิศทางขององค์ประกอบที่ไปในทิศทางเดี่ยวกัน จะนำสายตาให้ มองติดตามไปในทิศทางนั้น และเมื่อองค์ประกอบนั้น มีการกลับทิศทาง ในทันที จะทำให้สายตานั้นหยุดการเคลื่อนไหวทันที จุดที่สายตาที่หยุดนิ่งนั้น เป็นจุดที่สร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้นได้ การสร้างจุดเด่นด้วยทิศทางของเส้น (Converence of Line) เส้นนำสายตาไม่ว่าจะเกิดจากเส้นลักษณะใด เช่นแท้จริง (Actual Line) หรือ เส้นโดยนัย (Implied Line) (ศึกษาเรื่อง เส้น ในบทที่ 2.1) จะนำไปสู่จุดสนใจ ตามที่ต้องการได้ เส้นนำสายตา ที่เกิดจากขนาดที่แปรเปลี่ยน (Gradation) แม้ปลาย ของเส้น นำสายตานั้นจะมีรูปร่างขนาดเล็ก แต่สามารถเป็นจุดดึงดูดสายตาได้ มากกว่า รูปร่างขนาดใหญ่ การสร้างจุดเด่นด้วยการเพิ่มองค์ประกอบอื่นเข้าไป (Composition) คือการเพิ่มส่วนประกอบมูลฐาน (Elements) ซึ่งได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง พื้นผิว น้ำหนัก เข้าไปเป็นองค์ประกอบเสริม ให้จุดที่ต้องการเน้นให้เป็น จุดเด่น ซึ่งบางครั้ง วิธีนี้มีความจำเป็น เป็นการแก้ปัญหา ที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นใดได้ ต่อไปนี้เป็นแนวทางของการสร้างจุดเด่น ในงานทัศนศิลป์ ผ่านตัวอย่าง ผลงาน ของจิตรกรรม และงานออกแบบ ซึ่งผู้เรียนสามารถ พิจารณาได้ว่า บางภาพอาจมีจุดเด่นที่เกิดจาก ส่วนประกอบมูลฐานหลายส่วน แต่จะมีจุดเด่น หรือจุดสนใจ ที่เห็นได้ชัด เพียงจุดเดียวเท่านั้น แนวทางเหล่านี้ สามาถปรับเปลี่ยนได้และแต่ละแนวทาง สามารถใช้ผสมกันเป็น แนวทางใหม่ ๆ เพิ่มขิ้นอีกมากมายม่มีที่สิ้นสุด ขิ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย และประสบการณ์ ของศิลปิน และนักออกแบบ


ดาวน์โหลด ppt 4.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google