งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี
หน่วยที่ 5 การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี

2 ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้

3 ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงเป็นการเรียบเรียง
ความหมายของดนตรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศกหรือรื่นเริง ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงเป็นการเรียบเรียง จากจินตนาการอย่างมีหลักการ เพื่อให้เกิดเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกจากผู้ประพันธ์สู่ผู้ฟังได้

4 ประเภทของดนตรี 1. ดนตรีสมัยนิยม Easy Music หรือที่ทางตะวันตกเรียกว่า Popular Music ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป เช่น ดนตรีไทยสากลทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และวงดนตรีสากลทั้งหลายในปัจจุบัน ดนตรีประเภทยนี้จะมีเพลงซึ่งได้รับความนิยมอยู่เวลาหนึ่งก็จะเสื่อมความนิยมลงและก็จะมีเพลงใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ 2. ดนตรีศิลปะ Art Music ดนตรีที่มีแบบแผนซับซ้อนและมีขนาดยาว ต้องใช้ระยะเวลาในการฟัง จัดอยู่ในดนตรีตะวันตกที่เรียกว่า Serious Music อยู่ในรูปแบบดนตรีคลาสสิก ดนตรีร่วมสมัย ดนตรีแจ๊ส และดนตรีตามแบบแผนประเพณี อย่างดนตรีไทย

5 ขบวนการและตัวแทนศิลปะ
ตัวแทนที่เป็นมนุษย์ ได้แก่ คีตกวี หรือนักประพันธ์เพลง เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือถ่ายทอด ตัวแทนที่เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ช่วยเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ดนตรีให้กว้างไกลยิ่งขึ้น ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนต์ดนตรี วิดิทัศน์ แผ่นเสียง ซีดี ฯ

6 ระดับของการฟัง 1. ฟังแบบผ่านหู (Passive Listening) เป็นการฟังโดยมิได้ตั้งใจหรือฟังแบบผ่าน ๆ หู 2. การฟังด้วยความตั้งใจ (Sensuous Listening) การฟังดนตรีประเภทนี้เป็นระดับการฟังที่มีความตั้งใจ ฟังมากขึ้นกว่าระดับที่ 1

7 ระดับของการฟัง 3. การฟังอย่างเข้าถึงอารมณ์ (Emotional Listening) การฟังดนตรีประเภทนี้ผู้ฟังมีจิตใจและความรู้สึก จดจ่อต่อเพลงที่ตนชอบฟังไปตาม อารมณ์หรือมีปฏิกิริยาต่อเสียงดนตรีมากขึ้นฟังเนื่องจากดนตรีทำให้สนใจและเกิดอารมณ์ ร่วมไปกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดว่าเสียงเพลงสื่อออกมา 4. การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง (Perceptive Listening) การฟังประเภทนี้เป็นการฟังที่ผู้ฟังเห็นสุนทรีย์ หรือเห็นความงามขององค์ประกอบต่าง ๆ ของเสียงดนตรีโดยตรงซึ่งอาศัยความมีสมาธิ และมีสภาพจิตใจอารมณ์ที่สงบนิ่ง เป็นการเห็น ความงามของการที่องค์ประกอบต่าง ๆนั้นมาสัมพันธ์กันอย่างลงตัวอย่างมีศิลปะ องค์ประกอบพื้นฐานของดนตรี

8 องค์ประกอบของดนตรี 1. เสียงดนตรี ( Tone) เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำเสียงต่างๆ มาจัดระบบให้ได้สัดส่วน มีความกลมกลืนกัน โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีจะเกิด จากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ 1.1. คุณสมบัติของเสียง - ระดับเสียง Pitch หมายถึงความสูงต่ำของเสียง - ความยาวของเสียง Duration เสียงดนตรีอาจอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความยาวเสียง

9 - ความเข้มของเสียง Intensity เสียงอาจจะมีความแตกต่างจากค่อยไปจนถึงดัง คุณสมบัติข้อนี้ทำให้เกิดจังหวะทางด้านดนตรี - คุณภาพของเสียง Quality คุณภาพของเสียงแต่ละชนิดย่อมแตกต่างกันไปซึ่งเกิดจากคุณสมบัติทางกายภาพของการสั่นสะเทือน 1.2 ระบบเสียงในดนตรีไทยและดนตรีสากล ระบบเสียงในดนตรีไทยจะต่างไปจากระบบเสียงในดนตรีสากล เสียงในดนตรีไทยนั้นจะห่าง 1 เสียงเต็มทุกช่วงเสียง แต่เสียงทางดนตรีสากลจะมีช่วงเสียงที่เป็นครึ่งเสียง

10 2. จังหวะ (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ อาจกำหนดไว้เป็นความช้าเร็วต่างกัน ในทางดนตรีแล้วนั้น การกำหนดความสั้นยาวของเสียงที่มีส่วนสัมพันกับระยะเวลาในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีจะต้องมีจังหวะเป็นเกณฑ์ ถ้าร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไม่ตรงจังหวะ ก็จะไม่มีความไพเราะเท่าที่ควร 2.1. จังหวะในดนตรีสากล - จังหวะเคาะ Beat เป็นจังหวะพื้นฐานที่สม่ำเสมอเท่ากันตลอด - อัตราความเร็ว Tempo หมายถึงความเร็ว เป็นการกำหนดความช้าเร็วของบทเพลงที่ขึ้นกับผู้แต่ง

11 - ลีลาจังหวะ Rhythmic pattern โดยปกติในทางดนตรีจะมีการจัดกลุ่มจังหวะตบเป็น 2, 3, 4,.... ตามธรรมชาติของความหนักเบาของจังหวะที่ตบขึ้น เนื่องจากจังหวะทางดนตรี การรวมกลุ่มจังหวะทางดนตรีเช่นนี้ว่า ลีลาจังหวะซึ่งเป็นรูปแบบของดนตรีที่กำหนดขึ้นสำหรับบทเพลง แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1. กลุ่ม 2 จังหวะ เช่น 2/4 เป็นลีลาจังหวะ March 2. กลุ่ม 3 จังหวะ เช่น 3/4 เป็นลีลาจังหวะ Waltx 3. กลุ่ม 4 จังหวะ เช่น 4/4 เป็นลีลาจังหวะ Slow, Tango, Belero, Cha Cha Cha

12 2.2 จังหวะในดนตรีไทย - จังหวะสามัญ คือ จังหวะที่ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะไม่มีเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะก็ตาม นักดนตรีก็สามารถบรรเลงไปพร้อมกันได้ - จังหวะฉิ่ง เป็นจังหวะที่กำหนดโดยเสียงฉิ่ง จะตีเป็นเสียงฉิ่ง ฉับ ตีสลับกันไปตลอดในอัตราที่สม่ำเสมอ - จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ”เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

13 จังหวะ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกของบทเพลง เป็นองค์ประกอบที่ผู้ฟังทำความเข้าใจได้ง่ายสุดและเข้าถึงอารมณ์เพลงได้มากที่สุด

14 3. ทำนอง (Melody) หมายถึง เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงยาว เสียงสั้น ของเครื่องดนตรีหรือเสียงคนร้อง ทำนองของดนตรีหรือบทเพลงนั้นจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง 3.1 องค์ประกอบของทำนองเพลง ประกอบด้วย - จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm) คือ ทำนองของเพลงที่มีความสั้น-ยาว ของแต่ละเสียงแล้วประกอบกันเป็นทำนองเพลง - มิติ (Melodic dimensions) คือ ทำนองเพลงที่ประกอบด้วยความสั้น – ยาว และช่วงกว้างของเสียง - ช่วงเสียง (Register) ทำนองอาจอยู่ในช่วงเสียงใดช่วงเสียงหนึ่ง - ทิศทางของทำนอง (Direction) ทำนองอาจะเคลื่อนไปในหลายทิศทาง

15 3.2 ทำนองในดนตรี ในดนตรีสากลจะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของทำนองได้เด่นชัด แต่ในดนตรีไทยจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไป ซึ่งในทำนองในดนตรีไทยเป็นที่รู้จักกันในคำว่า “ทาง” - แนวการดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด - ระดับเสียงในการบรรเลงของวงดนตรีแต่ละประเภท - ทางที่ผู้ประพันธ์ได้คิดประดิษฐ์แนวทำนองขึ้น นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าทางอีกลักษณะหนึ่ง คือ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ทางบรรเลง (แนวการดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ซึ่งมีแนวทางการบรรเลงและเทคนิคแตกต่างกันไป) ทางร้อง (เทคนิคการดำเนินการดำเนินทำนองการขับร้อง ซึ่งมีลีลาและเทคนิคสำหรับการขับร้อง)

16 4. การประสานเสียง (Harmony) หมายถึง เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกัน เปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นจะต้องผสมผสานกลมกลืนกันฟังแล้วไม่ขัดหู 4.1 การประสานเสียงในดนตรีสากล - การประสานเสียงสำหรับเครื่องดนตรี เป็นการแต่งทำนองสำหรับเครื่องดนตรีบรรเลง Arranging - การประสานเสียงสำหรับการขับร้อง มีทั้งแบบใช้ขั้นคู่ หรืออาศัยรูปคอร์ดเป็นหลัก เรียกว่า Chorus

17 4.2 การประสานเสียงในดนตรีไทย
- การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียงพร้อมกันได้ โดยเฉพาะทำเสียงขั้นคู่ (คู่2 คู่3 คู่4 คู่5 คู่6 และ คู่7) - การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียง และความรู้สึกของเครื่องดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลง เหมือนกันก็ตาม - การประสานเสียงโดยการทำทาง การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้นเมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนองของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของการบรรเลง

18 5. พื้นผิว (Texture) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของการประสานเสียงในแนวตั้งกับทำนองในแนวนอน
5.1 พื้นผิวในดนตรีสากล - แบบโมโนโฟนี (Monophony) คือ ดนตรีแนวทำนองแนวเดียว ไม่มีเสียงประสานหรือองค์ประกอบใด - แบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ ดนตรีที่มีแนวทำนองหลักเป็นแนวที่สำคัญที่สุดในขณะที่แนวอื่นๆ เป็นเพียงแนวประสานเสียงด้วยคอร์ดเข้ามาช่วยให้ทำนองหลักไพเราะขึ้น เช่นเพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) เป็นต้น

19 - แบบโพลิโฟนี (Polyphony) คือ ดนตรีที่ใช้แนวทำนองหลายแนวเพื่อมาประสานกับทำนองหลัก ทำนองหลักจะเป็นแนวที่สำคัญ แต่แนวอื่นๆ ก็เป็นทำนองรองและเป็นแนวประสานเมื่อเล่นจะพบว่าแต่ละแนวเป็นทำนองด้วยเช่นกัน 5.2 พื้นผิวในดนตรีไทย มีลักษณะรูปพรรณแบบเฮทเทอโรโฟนิค คือมีแนวทำนองหลักเดียว เครื่องดนตรีอื่นจะตกแต่งทำนองเพิ่มเติม ซึ่งฆ้องวงใหญ่จะทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก

20 6. สีสันของเสียง (Tone Color) คือ คุณสมบัติของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด รวมถึงเสียงรัองของมนุษย์ซื่งแตกต่างกันไปในเรื่องของการดนตรี สีสันของเพลงอาจเกิดจากการร้องเดี่ยว การบรรเลงเดี่ยวโดยผู้แสดงเพียงคนเดียว หรือการนำเครื่องดนตรีหลายชนิดเสียงร้องมาร่วมบรรเลงด้วยกันก็เกิดเป็นการรวมวงดนตรีแบบต่างๆ ขึ้น 6.1 เสียงร้องของมนุษย์ Human Singing Voices - โซปราโน คือ เสียงสูงสุดของผู้หญิง - เมสโซ โซปราโน คือ เสียงกลาง ๆ ของผู้หญิง ลักษณะของเสียงมีพลัง และไม่สดใสเท่าโซปราโน

21 6.2 เครื่องดนตรีสากล Western Music Instruments
- อัลโต หรือ คอนทรัลโต คือ เสียงต่ำสุดของผู้หญิง ลักษณะมีพลังหนักแน่น - เทเนอร์ คือ เสียงสูงของผู้ชาย - บาริโทน คือ เสียงกลางของผู้ชาย ลักษณะของเสียงต่ำ แต่มีความสดใสกว่าเสียงเบส - เบส คือ เสียงต่ำสุดของผู้ชาย มีลักษณะหนักแน่นฟังดูลึก ๆ ก้องกังวาน 6.2 เครื่องดนตรีสากล Western Music Instruments - เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิ้มนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดียน คีย์บอร์ดไฟฟ้า อิเล็กโทน

22 - เครื่องสาย เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือนสายที่ใช้เป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ (1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป (2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา - เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 3 ประเภท คือ (1.) เครื่องลมไม้ที่มีลิ้นเดียว เช่น คาริเนท แซกโซโฟน (2.) เครื่องลมที่มีลิ้นคู่ ได้แก่ โอโบ บาซูน (3.) เครื่องดนตรีที่ไม่มีลิ้น เทียบได้กับขลุ่ยของไทย มี 2 ชนิด คือ ฟลูท ปิกโคโล - เครื่องลมทองเหลือง เป็นเครื่องเป่าอีกชนิดที่มีเสียงดัง กังวาน มีอำนาจ ได้แก่ ฮอร์น หรือ เฟรนฮอรน์ ทรัมเปท ทรอมโบน - เครื่องตี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1.) เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง ได้แก่ กลองใหญ่ กลองแต๊ก (2.) เครื่องตีมีระดับเสียง ได้แก่ กลองทิมพานี ระนาดฝรั่ง

23 6.3 เครื่องดนตรีไทย - เครื่องดีด ได้แก่ เครื่องดนตรีที่มีสายเสียงเป็นสะพานวางสาย แล้วใช้ไม้ตัดปลายแหลมทู่ เป็นเครื่องมือดีดสายร่วมกับใช้นิ้วมือซึ่งจะคอยกดปิดเปิดเสียง ตามฐานเสียงระดับต่างๆเครื่องดนตรีประเภทดีด ซึ่งยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ จะเข้ นอกจากนั้นก็เป็น พิณ และ กระจับปี่ - เครื่องสี เป็นดนตรีประเภทสายที่เล่นด้วยวิธีการสี ได้แก่ สะล้อ ซอด้วง ฯลฯ - เครื่องตี (1.) เครื่องตีที่มีหลายระดับเสียง ทำหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง ได้แด่ ระนาดเอก ฆ้องวง (2.) เครื่องตีที่มีระดับเดียว หรือมีน้อยระดับเสียง ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะในวงดนตรี ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ กลองชนิดต่าง ๆ - เครื่องเป่า มีทั้งเครื่องดนตรีที่ไม่มีลิ้น ได้แก่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรีที่มีลิ้น ได้แก่ ปี่ชนิดต่าง ๆ

24 7. คีตลักษณ์ (Forms) ลักษณะทางโครงสร้างของบทเพลงที่มีการแบ่งเป็นห้องเพลง (Bar) แบ่งเป็นวลี (Phrase) แบ่งเป็นประโยค (sentence) และแบ่งเป็นท่อนเพลง หรือ กระบวนเพลง (Movement) เป็นแบบแผนการประพันธ์บทเพลง คีตลักษณ์เพลงบรรเลงหรือเพลงร้องในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น - เอกบท (Unitary Form) หรือ วันพาร์ทฟอร์ม (One Part Form) คือบทเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวเท่านั้น (A) ก็จะจบบริบูรณ์ เช่น เพลงชาติ เพลงสรรเสริญบารมี เป็นต้น - ทวิบท (Binary Form) หรือ ทูพาร์ทฟอร์ม (Two Part Form) เป็นรูปแบบของเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียง 2 กลุ่ม คือ ทำนอง A และ B และเรียกรูปแบบของบทเพลงแบบนี้ย่อ ๆ ว่า AB

25 คีตลักษณ์ จะเป็นส่วนที่บอกลักษณะโครงสร้างของบทเพลง
- ตรีบท (Ternary Form) หรือ ทรีพาร์ทฟอร์ม (Three Part Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ กลุ่มทำนองที่ 1 หรือ A กลุ่มทำนองที่ 2 หรือ B ซึ่งจะเป็นทำนองที่เปลี่ยนแปลง หรือเพี้ยนไปจากกลุ่มทำนองที่ 1 ส่วนกลุ่มทำนองที่ 3 ก็คือการกลับมาอีกครั้งของทำนองที่ 1 หรือ A และจะสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์อาจเรียกย่อ ๆ ว่า ABA - รอนโดฟอร์ม (Rondo Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีแนวทำนองหลัก (A) และแนวทำนองอื่นอีกหลายส่วน ส่วนสำคัญคือแนวทำนองหลักทำนองแรกจะวนมาขั้นอยู่ระหว่างแนวทำนองแต่ละส่วนที่ต่างกันออกไป เช่น ABABA ABACA ABACADA คีตลักษณ์ จะเป็นส่วนที่บอกลักษณะโครงสร้างของบทเพลง ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ การทำความเข้าใจในอารมณ์เพลง

26 แนวทางในการวิจารณ์ดนตรี
1. รู้จักและมีความรู้ในเรื่องของดนตรี 2.ความเข้าใจในโครงสร้าง รูปแบบ และองค์ประกอบของดนตรี 3. มีประสบการณ์ในการฟังดนตรีที่หลากหลาย 4. มีคุณสมบัติของผู้ฟังที่ดี - มีความละเอียดอ่อน - มีการฝึกฝน - มีการเปรียบเทียบ - ไม่มีอคติ

27 ขั้นตอนในการพิจารณาผลงานดนตรี
ขั้นที่ 1 ใช้ประสบการณ์ตรงทางประสาทสัมผัส แล้วพิจารณาความไพเราะของดนตรีนั้น ๆ ขั้นที่ 2 นำผลงานมาแยกแยะเป็นส่วน ๆ แล้วพิจารณาความไพเราะ ขั้นที่ 3 ใช้หลักการทางดนตรีมาอธิบายความไพเราะในแต่ละส่วนที่แยกแยะไว้ ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบกับหลักการและทฤษฏี เพื่อหาแนวทางในการวิจารณ์ ขั้นที่ 5 เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ในมุมมองที่ตรงกันข้าม แล้วหาคำตอบ ขั้นที่ 6 พยายามแยกผลงานให้เป็นส่วนย่อยที่สุดและอธิบายแต่ละส่วนเพื่อหาข้อสรุป

28 การรับรู้สุนทรียภาพทางดนตรี
การฟังเป็นหัวใจสำคัญในการรับรู้สุนทรียภาพทางดนตรี 1. การมีเจตคติที่ดีต่อดนตรี 2. มีเป้าหมายในการฟัง 3. มีสมาธิในการฟัง 4. การปล่อยอารมณ์ให้คล้อยตามบทเพลง 5. การศึกษาหาความรู้ก่อนการฟังเพลง 6. การสร้างประสบการณ์ซ้ำ ๆ ในการฟังเพลงบ่อย ๆ


ดาวน์โหลด ppt การรับรู้สุนทรียภาพในงานดนตรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google