การวิเคราะห์งาน และ การออกแบบงาน Job analysis & Job design การวิเคราะห์งาน และ การออกแบบงาน
ระหว่าง การวิเคราะห์งาน และ การออกแบบงาน อันไหนมาก่อนกัน? ระหว่าง การวิเคราะห์งาน และ การออกแบบงาน อันไหนมาก่อนกัน? คำตอบก็คือ การวิเคราะห์งาน หรือ Job analysis ต้องมาก่อน การออกแบบงาน หรือ Job design ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า ถ้าหากคุณไม่รู้จักงานที่คุณกำลังออกแบบ คุณก็ไม่สามรถที่จะออกแบบงานนั้นได้ ถูกไหมละ
คำว่า การวิเคราะห์งาน ( Job analysis ) คือ การศึกษารายละเอียดของงานหนึ่งๆ พร้อมกับศึกษาคุณสมบัติบุคลากรที่ต้องการให้มาทำงานนี้ ผลการวิเคราะห์งานนี้ นำไปใช้ในการกำหนด คำอธิบายลักษณะงาน (Job Description) และ การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) ให้ทันสมัยและทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น
คำว่า คำอธิบายลักษณะงาน (Job Description) คือ เอกสารที่แสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และ ขอบเขตของงาน - ตำแหน่งงาน (Job Title) - หน้าที่ (Functions) - ความรับผิดชอบ (Responsibilities) - เงื่อนไขสภาวะแวดล้อม (Environmental Conditions)
คำว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) คือ เอกสารที่มักจะแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของคนที่จะเข้ามาปฎิบัติหน้าที่นั้นๆ - การศึกษา (Education) - ประสบการณ์ (Experience) - ความรู้ (Knowledge) - ความสามารถ (Ability) - ความชำนาญ (Skill) - คุณสมบัติทางกายภาพ (Physical) - ความพร้อมทางจิตใจ (Psychological Readiness)
กระบวนการวิเคราะห์งาน ( Job analysis ) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การระบุงาน (Job Identification) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและเลือกวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำสารสนเทศของงาน (Job Analysis Information) *เมื่อ เสร็จจาก ขั้นตอนที่ 4 สารสนเทศก็จะถูกนำไปใช้ต่อไป *โลกเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ เราต้องทำ Job Analysis อยุ่เสมอ เพื่อรองรับ ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
การออกแบบงาน Job design คือ การออกแบบงานขององค์กร ว่าควรมีรูปแบบเป็นเช่นไร เป็นการนำ Job descriptions + Job specifications + มาตรฐานและกระบวนการทำงาน = Job design หรือ ได้งาน 1 งาน
แนวทางการออกแบบงาน มี 3 แบบ 1. การออกแบบงานตามแนวความคิดของการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ -เน้นประสิทธิภาพสูงสุด 2. การออกแบบงานตามแนวความคิดการบริหารแบบมนุษย์สัมพันธ์ -เน้นมนุษย์สัมพันธ์ 3. การออกแบบงานโดยวิธีเพิ่มคุณค่างาน -เน้นการสร้างคุณค่าของงานให้เกิดขึ้นในใจ ของพนักงาน จำไว้ เราจะต้องทำ Job analysis ก่อน Job design เสมอ
โดย นาย กฤตนัย จันทาทิพวัฒน์ รหัส 56100170 นาย กฤตนัย จันทาทิพวัฒน์ รหัส 56100170 นาย กานต์ สงวนกิจวิบูลย์ รหัส 56100174 นาย ชาญวิทย์ รอดเภา รหัส 56100189 นาย ชาญวิทย์ พุฒิคุณเกษม รหัส 56100190 นายณัฐวุฒิ เกษรสุข รหัส 56100196 นายธนัท เรืองป่านแก้ว รหัส 56100201