สภาพทั่วไป ประวัติและความเป็นมา ลักษณะภูมิประเทศ ตำนานเมืองแก่งคอย เด็กชายวีระชัย บัวขำ เด็กชายมีชัย เตโช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 9 ศาสนา สภาพเศรษฐกิจ การคมนาคมทางน้ำ การคมนาคมทางบก ทางรถไฟ การท่องเที่ยว
ประวัติของอำเภอแก่งคอย อำเภอแก่งคอย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ ในขณะนั้น ยังใช้ชื่อเรียกหน่วยงาน การ ปกครองระดับอำเภอ " แขวง " อยู่โดยมีหลวงพลกรมการ เป็นผู้ปกครองแขวงคนแรก และที่มีทำการแขวง อยู่ที่บ้านตาลเดี่ยว พุทธศักราช ๒๔๐๐ มีการตรวจพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ ขึ้นกำหนดรูปการปกครองใหม่ โดยเปลี่ยนนามเรียกขานจาก " แขวง " เป็น " อำเภอ" และให้มีการปกครองระดับตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานการปกครองระดับรองลงไป
สภาพทั่วไปของอำเภอแก่งคอย ที่ตั้ง อำเภอแก่งคอย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๔ กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรุงเทพมหานคร โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร เนื้อที่และอาณาเขต อำเภอแก่งคอย มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘๐๑.๑๖๒ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ร้อยละ ๒๒.๔๐ ของพื้นที่จังหวัดสระบุรี และมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัด ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอแก่งคอย สภาพพื้นที่ของอำเภอแก่งคอย มีทั้งบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ทางทิศตะวันออกส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงและภูเขาโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เต็มไปด้วยเทือกเขาสูงต่ำ สลับซับซ้อน จึงได้ถูกกำหนดเป็นป่าสงวน แห่งชาติ และเขตวนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ตอนกลางเป็นแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน จากทางทิศเหนือไปทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศ ภูมิอากาศของอำเภอแก่งคอย สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะด้วยกันตามสภาพภูมิประเทศ กล่าวคือ บริเวณที่ราบสูง ฤดูร้อนจะค่อนข้างร้อนจัด และในฤดูหนาวอากาศจะค่อนข้างหนาวเย็นส่วน ในฤดูฝน พื้นที่บริเวณที่ราบสูงนี้ ฝนมักไม่ตกต้องตามฤดูกาล
สภาพเศรษฐกิจ อำเภอแก่งคอย เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง ๒๒ โรงงาน โรงงานในเขตมีถึง ๗๑ โรงงาน ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีรายได้จากการใช้แรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรส่วนมากได้ขาย ที่ดินซึ่งใช้ทำการเกษตรไปมากแล้ว จึงทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดีขึ้น อนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯ ได้กำหนดให้ชุมชนเมืองแก่งคอยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมที่จะกระจายตัวมาจากกรุงเทพมหานคร อันจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของอำเภอแก่งคอยในอนาคต
การท่องเที่ยว ภายในอำเภอแก่งคอย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติและสถานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ ล่องแก่งแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าคล้อ น้ำตกเจ็ดคตก หมู่ที่ ๘ ตำบลชะอม วังสีทา (วังเก่า) หมู่ที่ ๘ ตำบลสองคอน พระพุทธบาทน้อย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลสองคอน ถ้ำบ่อปลา(พระธาตุเจริญธรรม)
การคมนาคม อำเภอแก่งคอย มีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ และรถไฟ เป็นทางผ่านที่จะเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักของอำเภอ ภายในเขตตำบล หมู่บ้านต่างๆ มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกันอย่างทั่วถึง เส้นทางคมนาคมที่สำคัญมีดังนี้ ทางบก ถนนมิตรภาพ ผ่านท้องที่อำเภอแก่งคอย รวมความยาวประมาณ ๑๙ กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอ - จังหวัดสระบุรี ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร -ถนนสายแก่งคอย - บ้านนา ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร -ถนนสายอดิเรกสาร ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน นอกจากนี้มีทางรถไฟสายแก่งคอย - บัวใหญ่ โครงการรถไฟสายแก่งคอย - นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
การคมนาคมทางน้ำ การคมนาคมทางน้ำ เป็นการขนส่งที่มีราคาถูกที่สุด ส่วนมากใช้ขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากและไม่ต้องการความรวดเร็วนัก การขนส่งทางน้ำแบ่งออกเป็น 2 ทาง -ทางแม่น้ำลำคลอง -การคมนาคมทางน้ำ ทางชายฝั่งทะเลและมหาสมุทร
ศาสนา การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีเพียงบางส่วนนับถือ ศาสนาคริสต์ และศาสนา อิสลาม ศาสนสถานในเขตอำเภอมีดังนี้ วัดพระพุทธศาสนา ๘๕ แห่ง สังกัดมหานิกาย ๘๑ แห่ง สังกัดธรรมยุต ๔ แห่ง ทีพักสงฆ์ ๑๕ แห่ง ศาลเจ้า ๑ แห่ง
จบการนำเสนอของอำเภอเมืองแก่งคอยครับ