ประเภทของงานเขียน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทันตแพทย์ 7 วช. กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ
Advertisements

Presentation By Nawaporn Limkool.
นางสาวอารีวัลย์ บุญยัง
อนุสัญญา CITES การตีความเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติมีผลกระทบอย่างมากต่อ ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ เกี่ยวพันอย่างสลับซับซ้อนกับมิติทางการพัฒนาเศรษฐกิจ.
Development of English Writing Web Course Ware for Grade 12
งานวิจัยและตำแหน่งวิชาการ
รหัสวิชา SOHU 0022 Using Information Systems
การอ่านจับใจความเรื่องสั้น
การใช้งานลิขสิทธ์ ที่เป็นธรรม ในการเรียนการสอน
วิจารณ์ อะไร. Story. ผู้วิจารณ์ คือใคร. Commentator
การผลิตรายการโทรทัศน์
วิจัยเชิงคุณภาพ…ไม่ยากอย่างที่คิด
คำขวัญกลุ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริม ใส่ใจ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม กลุ่ม RE-ACC
หลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย
บทที่ 2 สาระการเรียนรู้ 1. วงจร อาร์ ซี อินติเกรเตอร์ 2. เวลาคงที่
การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research
บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย
Multimedia Production
บทที่ 9 การกำหนดขนาดของตัวอย่าง
ประสบการณ์ของเอกภาพในคริสตจักรยุคแรก
สถิติในชีวิตประจำวัน : Statistics in Everyday life
บทที่ 8 กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
รายวิชาชีวสถิติ (Biostatistics)
บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย
การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Book Classification)
เรื่องราวของวันคริสต์มาส
การอ่านและให้คุณค่าบทความวิชาการ (Journal Article Appraisal)
วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง.
ประเภทของสุ่มตัวอย่าง
การใช้ทฤษฎีในงานวิจัย
กลุ่มพัฒนาระบบบัญชีคอมพิวเตอร์
ประเภทของการวิจัย อาจารย์พุทธิวัฒน์ ไวยวุฒิธนาภูมิ
Visual Communication for Advertising Week15-16
เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
จารีตประเพณีและพหุนิยมทางกฎหมาย
Yahoo Search Engine.
By Dr. Khunakorn Khongchana Lecturer of English Program
ตรายี่ห้อ บรรจุภัณฑ์ และฉลาก
ความปลอดภัยจากไฟฟ้าและเครื่องจักร
25/02/62 Equality Human dignity Human Rights Pitak kerdhom.
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว นิลุบล สุวลักษณ์ รหัสนักศึกษา
การกระจายของโรคในชุมชน
Problem Solving ขั้นตอนวิธีและการแก้ปัญหาสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต by krupangtip
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การกำหนดประเด็นปัญหา
การออกแบบธุรกิจออนไลน์
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา
ภูมิปัญญาผ้าหมักย้อมดินภูเขาไฟ :ผ้าภูอัคนี นางสมศรี เจ้าของภูมิปัญญา ปราชญ์ภูมิปัญญา การย้อมผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่นมะเกลือ แก่นขนุน ใบสาบเสือ.
สถิติกับดัชนีการวัด... ในงานระบาดวิทยา
ศัพท์เทคนิค...ในศิลปะการละคร
บทที่ 6 บุคคล บุคคลคือผู้ทรงสิทธิหน้าที่ในกฎหมาย (Subject of Law)
บทที่ 8 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)
วิชาวรรณกรรมปัจจุบัน
การผลิตสารคดี.
Living Law การศึกษากฎหมายที่เป็นอยู่จริงในสังคม
THE4404 คติชนวิทยาสำหรับครู
การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ. ศ
เงื่อนไขความเข้าใจความหมาย
การเก็บรวบรวมข้อมูล.
THL3404 คติชนวิทยา อ.กฤติกา ผลเกิด.
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรม
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  ENL3511 Introduction to Literature
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  ENL2311 Paragraph Writing
ตู้หยอดเหรียญผักสลัด ดึงเกษตรกรเข้าถึงผู้บริโภคในเมือง
การใช้งานฐานข้อมูล ACM Digital Library
การนำเสนอผลงานการวิจัยครั้งที่ ๘
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
งานวิจัย.
ข้อสอบ O – NET : แสดงทรรศนะ โน้มน้าว โต้แย้ง อนุมาน (ปี ๖๑)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประเภทของงานเขียน

ประเภทของงานเขียน ๑) แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี ๒ ประเภท ๒) แบ่งตามลักษณะการถ่ายทอด มี ๒ ประเภท

แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี ๒ ประเภท ดังนี้ แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. วรรณกรรมร้อยแก้ว คือ วรรณกรรมที่ไม่กำหนดบังคับคำหรือฉันทลักษณ์ เป็นความเรียงทั่ว ไป การเขียน ในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออก ได้ดังนี้          ๑.๑ บันเทิงคดี (Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการสำคัญ และ ให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ แก่ผู้อ่านเป็นวัตถุประสงค์รอง บันเทิงคดีสามารถจำแนกย่อยได้ดังนี้                  ๑.๑.๑ นิยาย หรือ นวนิยาย (Novel) คือ การเขียนผูกเรื่องราวของชีวิตอันมีพฤติกรรมร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะจำลองสภาพชีวิตของสังคมส่วนหนึ่งส่วนใด โดยมีความมุ่งหมายให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน คือให้ผู้อ่านเกิดสะเทือนอารมณ์ไปกับเนื้อเรื่องอย่างมีศิลปะ                 

๑.๑.๒ เรื่องสั้น (Short Story) คือ การเขียนเรื่องจำลองสภาพชีวิตในช่วงสั้น คือมุมหนึ่งของชีวิต หรือเหตุการณ์หนึ่ง หรือช่วงระยะหนึ่งของชีวิต เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจผู้อ่าน                  ๑.๑.๓ บทละคร (Drama) คือ การเขียนที่ใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง เช่น บทละครวิทยุ บทละครพูด และบทละครโทรทัศน์ เป็นต้น

วรรณกรรมร้อยแก้ว ๑.๒ สารคดี (Non-Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความรู้ หรือ ความคิด เป็นคุณประโยชน์สำคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบายเชิงวิจารณ์ เชิงพรรณนาสั่งสอน โดยอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมีระบบมีศิลปะในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อมุ่งตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้อ่าน และก่อให้เกิดคุณค่าทางปัญญาแก่ผู้อ่าน ซึ่งแบ่งได้ดังนี้                 ๑.๒.๑ ความเรียง (Essay) บางครั้งมีผู้เรียกว่า "สารคดีวิชาการ"                  ๑.๒.๒ บทความ ( Article) คือความคิดเห็นของผู้เขียนต่อเรื่องราวที่ประสบมาหรือต่อข้อเขียนของผู้อื่น หรือต่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด                 ๑.๒.๓ สารคดีท่องเที่ยว ( Travelogue) คือ การบันทึกการท่องเที่ยวและเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประสบพบเห็นขณะที่ท่องเที่ยวไป โดยมุ่งที่จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านและให้ความเพลิดเพลินด้วย                

  ๑.๒.๔ สารคดีชีวประวัติ (Biography) คือ การบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลหนึ่ง มุ่งที่จะให้เห็นสภาพชีวิตประสบการณ์ของบุคคลนั้นทุกแง่ทุกมุม แต่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ และนิยาย ๑.๒.๕ อัตชีวประวัติ (Autobiography) เป็นสารคดีที่ผู้เขียนเล่าถึงประวัติของตัวเอง                 ๑.๒.๖ อนุทิน (Diary) คือการบันทึกประจำวันที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง จะเป็นการบันทึกความรู้สึกนึกคิดของตนเองในประจำวัน หรืออาจจะบันทึกประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน หรือบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนความจำ                 ๑.๒.๗ จดหมายเหตุ ( Archive) คือ การบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของทางราชการ หรือบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของสถาบัน หน่วยงานหรือตระกูล โดยมีความมุ่งหมายเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเชิงประวัติเหตุการณ์ของชาติ หรือของสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ หรือของตระกูล 

๒. วรรณกรรม ร้อยกรอง คือ วรรณกรรมที่การเขียนมีการบังคับรูปแบบด้วยฉันทลักษณ์ต่างๆ เช่น บังคับคณะ บังคับคำ และแบบแผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทนี้ว่า กวีนิพนธ์ หรือ คำประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต เป็นต้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้         ๒.๑ วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คือ มีโครงเรื่อง ตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไป เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น          ๒.๒ วรรณกรรมประเภทพรรณา หรือ รำพึงรำพัน ( Descriptive or Lyrical) มักเป็นบทร้อยกรองที่ผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเรื่อง เช่น นิราศ และเพลงยาว เป็นต้น         ๒.๓ วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสำหรับการอ่าน และใช้เป็นบทสำหรับการแสดงด้วย เช่น บทพากย์โขน บทละครร้อง บทละครรำ เป็นต้น

แบ่งตามลักษณะการถ่ายทอด มี ๒ ประเภท คือ แบ่งตามลักษณะการถ่ายทอด มี ๒ ประเภท คือ         ๑. วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการบอก การเล่า และการขับร้อง ไม่ว่าจะเป็นในโอกาสหรือในวาระใด เช่น การเต้น การรำ หรือพิธีกรรมต่าง ๆ วรรณกรรมมุขปาฐะมีปรากฏมานาน จึงมีอยู่ทุกภูมิภาคของโลก เมื่อมนุษย์มีภาษาพูดก็ย่อมมีโอกาสถ่ายทอดจิตนาการและอารมณ์ได้มากขึ้น ประกอบกับภาษาพูดสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและเร็วกว่าภาษาเขียน ดังนั้นวรรณกรรมมุขปาฐะจึงมีมาก และมีมานานกว่าวรรณกรรมประเภทอื่น          ๒. วรรณกรรมลายลักษณ์ หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการเขียน การจาร และการจารึก ไม่ว่าจะเป็นการกระทำลงบนวัสดุใด ๆ เช่น กระดาษ เยื่อไม้ ใบไม้ แผ่นดินเผา หรือ ศิลา วรรณกรรมลายลักษณ์เป็นวรรณกรรมที่พัฒนาสืบต่อมาจากวรรณกรรมมุขปาฐะ กล่าวคือ เกิดขึ้นในยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้สัญลักษณ์หรือตัวอักษร เพื่อบันทึกความในใจ ความรู้สึก และความคิดเห็นของตน เพื่อถ่ายทอกให้ผู้อื่นรับรู้นั่นเอง