งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Multimedia Production

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Multimedia Production"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 88727359 Multimedia Production
บทที่ 4 การเขียน Storyboard

2 สารบัญ Storyboard รูปแบบรายการโทรทัศน์ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

3 Storyboard บทที่ 4 การเขียน Storyboard

4 Storyboard ความหมายของ Storyboard
คือ การเขียนภาพนิ่งเพื่อสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวในรูปของสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อประสม เพื่อกำหนดแนวทางให้ทีมผู้ผลิตเกิดความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันในการถ่ายทำเป็นภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์การ์ตูน ภาพยนตร์สารคดี หรือแม้แต่การทำผลงาน โดยแสดงออกถึงความต่อเนื่องของการเล่าเรื่อง ลำดับเรื่อง มุมกล้อง บทที่ 4 การเขียน Storyboard

5 Storyboard ความหมายของ Storyboard
ภาพไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก แค่บอกองค์ประกอบสำคัญได้ ตำแหน่งตัวละครที่สัมพันธ์กับฉากและตัวละครอื่นๆ มุมกล้อง แสงเงา เป็นการ สเก็ตซ์ภาพของเฟรม (Shot) ต่างๆ จากบท เหมือนการ์ตูนและวาดตัวละครเป็นวงกลม สี่เหลี่ยม ฉากเป็นสี่เหลี่ยม การสร้างสตอรี่บอร์ดจะช่วยให้ Producer และผู้กำกับได้เห็นภาพของรายการที่จะถ่ายทำเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นได้ในแต่ละเฟรมที่จะดำเนินการ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

6 Storyboard การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
จุดมุ่งหมาย เพื่อถ่ายทอดไอเดีย (Idea) หรือความคิดว่า ภาพควรออกมาอย่างไรบนจอภาพยนตร์ การเขียนสตอรี่บอร์ด แตกต่างจากการวาดภาพการ์ตูน หรือภาพที่เน้นความสวยงามแบบศิลปะ เป็นการร่างภาพอย่างคร่าวๆ เท่านั้น วัตถุประสงค์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน โฆษณา สารคดี เป็นต้น โดยคำนึงถึงมุมกล้อง อาจมีบทสนทนาหรือไม่มีบทสนทนาก็ได้ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

7 Storyboard ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด
สตอรี่บอร์ด ประกอบด้วยชุดของภาพ Sketches ของ shot ต่าง ๆ พร้อมคำบรรยายหรือบทสนทนาในเรื่อง อาจเขียนเรื่องย่อและบทก่อน หรือ Sketches ภาพก่อน แล้วจึงใส่คำบรรยายที่จำเป็นลงไป สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ภาพและเสียงต้องให้ไปด้วยกันได้ อาจมีบทสนทนาหรือไม่มีบทสนทนาก็ได้ หรืออาจมีบทบรรยายหรือไม่มีบทบรรยายก็ได้ โดยมีเสียงประกอบด้วย ได้แก่ เสียงดนตรี เสียงธรรมชาติหรือเสียงอื่น ๆ สำหรับการผลิต บทที่ 4 การเขียน Storyboard

8 Storyboard หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด
รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนเสียงกับส่วนภาพ โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด 24 เฟรม คือภาพ 24 ภาพ เมื่อถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ใช้เวลา 1 นาที ถ้าเป็นภาพยนตร์โฆษณา ในเวลา 30 วินาที ต้องเขียน 12 เฟรม การเขียนบทบรรยายจะเป็นส่วนสนับสนุนการนำเสนอภาพ มิใช่การนำเสนอบทบรรยายนั้น ความยาวของคำบรรยายมีหลักการในการจัดทำ 3 ประการคือ 1. ต้องเหมาะสมกับลักษณะของผู้ชม 2. ต้องมีความยาวพอที่จะครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่กำหนด 3. ต้องให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

9 Storyboard หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด
สำหรับรายการที่ใช้การบรรยายแบบ “Voice Over” ควรมีภาพของผู้บรรยายปรากฏขึ้นในตอนเริ่มรายการก่อน จะทำให้รายการดูเป็นกันเองมากขึ้น และถ้ารายการยาวมาก ควรให้มีผู้บรรยายมากกว่า 1 คน จะทำให้ลดความเบื่อหน่ายจำเจของรายการลงได้ เสียงบรรยายไม่จำเป็นต้องมีอยู่ตลอด ควรทิ้งช่วงโดยใช้ดนตรีและเสียงอื่นประกอบด้วย บทที่ 4 การเขียน Storyboard

10 Storyboard สิ่งสำคัญที่อยู่ในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
สิ่งสำคัญที่อยู่ในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย 1. Subject หรือ Character ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญคือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร 2. กล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง 3. เสียง การพูดกันระหว่างตัวละคร มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร บทที่ 4 การเขียน Storyboard

11 Storyboard ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ storyboard มีดังนี้
Title คือ ชื่อเรื่อง ภาพแสดงการเคลื่อนไหวในฉาก ๆ นั้น (อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม) Description คำอธิบายเกี่ยวกันฉากนั้น Scene ชื่อฉาก Timing เวลาในการแสดงฉากนั้น Sound FX เสียงประกอบ Music BG ดนตรีประกอบ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

12 Storyboard ตัวอย่าง บทที่ 4 การเขียน Storyboard

13 Storyboard แชร์แวร์ ซอฟต์แวร์สำหรับการทำ Storyboard ฟรีแวร์
Storyboard Pro StoryBoard Tools 1.5 Storyboarder (Wonder Unit) แชร์แวร์ Springboard StoryBoard tools 1.6 ซอฟต์แวร์ที่ต้องซื้อ BoardMaster Storyboard Quick – 2D Storyboard Lite – 3D FrameForge 3D studio บทที่ 4 การเขียน Storyboard

14 Storyboard ตัวอย่าง บทที่ 4 การเขียน Storyboard

15 Storyboard ตัวอย่าง บทที่ 4 การเขียน Storyboard

16 Storyboard ตัวอย่าง https://www.youtube.com/watch?v=RQsvhq28sOI

17 Storyboard 1. ให้นิสิตจับคู่กัน
AL 1. ให้นิสิตจับคู่กัน 2. ให้เลือกร้านอาหารที่อร่อยที่สุดในบางแสนมา 1 ร้าน 3. วาดสตอรี่บอร์ดบรรยายการเดินทางไปที่ร้านนั้น โดยเริ่มจากอาคารคณะวิทยาการสารสนเทศ (เวลาไม่เกิน 10 นาที) 4. ใช้ช่องไม่เกิน 4 ช่อง 5. สุ่มตัวแทนนำเสนอ 2 กลุ่ม (เวลาไม่เกิน 5 นาที) บทที่ 4 การเขียน Storyboard

18 รูปแบบรายการโทรทัศน์
บทที่ 4 การเขียน Storyboard

19 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการสดในสตูดิโอ/ห้องส่ง (Live Program in Studio) เป็นรายการที่จัดทำขึ้นสด ๆ ในห้องส่ง และออกอากาศพร้อมกันไปทันที จะต้องมีการซ้อมการออกอากาศล่วงหน้า และมีการนัดหมายกันระหว่างผู้ผลิต ผู้กำกับรายการ และผู้ร่วมงานอื่น ๆ เพื่อป้องกันการผิดพลาด ข้อดี คือประหยัดเงิน และเวลา แต่เป็นการเสี่ยงถ้าเจออุปสรรคใด ๆ ระหว่างออกอากาศ ก็อาจจะแก้ไขไม่ได้ทันท่วงที บทที่ 4 การเขียน Storyboard

20 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการสดนอกห้องสถานที่ เป็นรายการที่จัดทำขึ้นนอกห้องส่ง หรือเป็นการถ่ายทอดโดยใช้รถถ่ายทอดซึ่งมีอุปกรณ์ครบครัน (Outside Broadcasting Van) รายการประเภทนี้จะจัดทำขึ้นในกรณีพิเศษ เช่น การถ่ายทอดพระราชพิธีต่าง ๆ กีฬานัดสำคัญ ฯลฯ รายการดังกล่าวไม่สามารถจัดทำในห้องส่งได้ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

21 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการที่มีการบันทึกเทปไว้ล่วงหน้า (Video Tape Recording) หรือ รายการแห้ง เป็นรายการที่ได้จัดทำไว้ล่วงหน้า โดยบันทึกรายการลงในเทปโทรทัศน์ แล้วนำเทปโทรทัศน์ที่บันทึกรายการลงไว้แล้วมาแพร่ภาพออกอากาศจริง ๆ อีกทีหนึ่ง รายการแบบนี้นับว่าเป็นรายการที่ผลิตได้ถูกต้อง เพราะมีปัญหาใด ๆ สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ด้วยการบันทึกและตัดต่อเทป ในบางครั้งต้องใช้เงินลงทุนสูง เพื่อทำให้รายการมีคุณภาพ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

22 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการพูดคนเดียว (straight talk program) ดำเนินการผลิตทั้งในสตูดิโอและนอสถานที่ ผู้ดำเนินรายการจะดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่มีผู้ร่วมรายการ ศิลปะในการพูดและการแสดงออกจึงเป็นสิ่งสำคัญของนักจัดรายการประเภทนี้ ต้องมีบุคลิกเป็นกันเอง ใช้ถ้อยคำง่ายต่อการเข้าใจเสมือนการพูดคุยมากกว่าการอ่านบท หรือที่เรียกว่า Talk to friend การสร้างความสนใจในเรื่องราวที่นำมาเล่าสู่กันฟังนั้น อาจจะมีการนำอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆมาประกอบ หรือการตัดภาพที่มีการบันทึกไว้ก่อนแทรกลงในรายการ (insert shot) ก็เป็นการเพิ่มบรรยากาศที่หลากหลายให้แก่รายการ ลักษณะเด่นของรายการนี้ ก็คือ ตัวผู้ดำเนินรายการและสาระที่จะเสนอ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

23 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการสนทนาและสัมภาษณ์(forum and interview program) การสนทนาจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีผู้ดำเนินรายการสองคนร่วมสนทนาในประเด็นนั้นร่วมกัน สำหรับประเด็นที่นำเสนอควรอยู่ในความสนใจ สำหรับรายการสัมภาษณ์จะประกอบด้วยผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ลักษณะเด่นของรายการนี้ ก็คือ ตัวผู้ดำเนินรายการและสาระที่จะเสนอในบทสัมภาษณ์ควรประกอบด้วย กล่าวนำรายการให้น่าสนใจ แนะนำผู้ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นใครและสำคัญอย่างไรจึงได้รับเชิญมาให้สัมภาษณ์ เริ่มด้วยคำถามที่น่าสนใจและไม่ยากเกินที่จะตอบดำเนินรายการให้มีลักษณะการสนทนา การสัมภาษณ์ก็คือการสนทนา พัฒนาข้อสนทนาให้น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นโดยระลึกอยู่เสมอ ว่าคำถามนั้นอยู่ในขอบเขตความรู้ ความสามารถของผู้ให้สัมภาษณ์ ไม่ถามนอกเรื่อง เน้นย้ำคำตอบที่ต้องการเน้น ไม่ควรถามคำถามที่ตอบเพียง ว่าใช่หรือไม่ใช่ ยกเว้นการตอบใช่หรือไม่ใช่เป็นจุดสำคัญที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการเน้นย้ำ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

24 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการอภิปราย (Panel discussion) รายการที่มีกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ร่วมกันพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือปรึกษาหารือกัน โดยมีผู้ดำเนินรายการ ที่ทำหน้าที่ในการเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหาที่มีอยู่ ในลักษณะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ และการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับให้ทราบกัน ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปหาข้อยุติ และการตัดสินใจ ตลอดจนนำไปสู่แนวทางการแก้ไข สำหรับการตั้งประเด็นปัญหาและบรรยากาศการแก้ปัญหานั้น ผู้ดำเนินรายการควรกำหนดรูปแบบการแก้ปัญหาให้ชัดเจน เช่นการอภิปรายพูดในหัวข้อต่างกันหรือหากต้องพูดในประเด็นเดียวกันก็ควรพูดในหัวข้อหรือมุมมองที่ต่างกัน บทที่ 4 การเขียน Storyboard

25 รูปแบบรายการโทรทัศน์
เกมโชว์ และการแข่งขันตอบปัญหา (Games show and Quiz show) เป็นความรู้สึกพอใจของผู้ชมที่ได้รับชมการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการแข่งขันด้านเชาวน์ปัญญา รายการหลายรายการซึ่งไม่ได้จัดเข้าอยู่ในรายการประเภทไหนมักจะจัดขึ้นตามความสามารถของคนที่จะบ่งบอกถึงความสามารถของตัวเองด้วยการแข่งขัน เพื่อจะได้รู้สึกว่าได้เล่นเกมอยู่ในบ้านกับคนในห้องส่ง การตั้งปัญหาให้ผู้แข่งขันตอบในปัจจุบัน เป็นการท้าทายในเรื่องของความรู้ความสามารถด้านต่างๆของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ชมเกิดการประเทืองปัญญาไปด้วย เช่น เกมเศรษฐี เกมแฟนพันธ์แท้ เกมคุณพระช่วย เป็นต้น บทที่ 4 การเขียน Storyboard

26 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการสาระคดี (Documentary/Feature) รายการสาระคดีเป็นรายการที่มุ่งเน้นเสนอข้อเท็จจริง ให้ความรู้ ข้อมูล และเหตุการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม เรื่องราวที่เสนอเป็นเรื่องจริง ที่มีการนำเสนอในลักษณะ one topic and one presentation ซึ่งผู้เขียนบทต้องมีการค้นคว้าข้อมูล และรายละเอียดประกอบการเขียนบทให้ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ โดยการศึกษาจากตำรา เอกสาร ตลอดจนสอบถามจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ตรง เนื้อหาที่นำมาเขียนมักมาจากข่าวสารที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ ประวัติศาสตร์ ปัญหาสังคมเศรษฐกิจ การเมือง ชีวประวัติ สถานที่ท่องเที่ยว วิทยาการแขนงต่าง ๆ วัฒนธรรม ประเพณี และอื่น ๆ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

27 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการปกิณกะและดนตรี (variety show and music program) มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การให้ความบันเทิงกับผู้ชม แต่อาจจะจัดในรูปที่ให้ความรู้ และความบันเทิงพร้อมกันได้ ที่เรียกว่าสาระบันเทิง รายการประเภทนี้จะประกอบด้วย ดนตรี ละคร ตลก กายกรรม แข่งขัน ตอบปัญหา พูดคุย สัมภาษณ์ และการแสดงต่าง ๆ มีหลากหลายรูปแบบผสมกัน เนื้อหาก็แตกต่างกันไป ผู้เขียนบทรายการประเภทนี้มักจะเขียนในรูปของ บทบอกเฉพาะรูปแบบและเขียนบทเชื่อมโยงรายการแบบต่างๆคือผู้เขียนบทต้องสร้างความต่อเนื่อง(continuity) เชื่อมโยงรายการซึ่งอาจจะเชื่อมโยงด้วยภาพ เพลง หรือบทเชื่อมก็ได้ รายการเพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ให้การศึกษา ทักษะใหม่ ๆ ความคิดหรือหลักให้ถือปฏิบัติ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

28 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการเพื่อการสอน (Instructional Programs) หมายถึง รายการที่มีจุดมุ่งหมายในการสอนวิชาความรู้ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยชัดแจ้ง ซึ่งจะต้องมีการวัดผลการเรียนของผู้ชมหรือผู้เรียนเพื่อผ่านมาตรฐานการเรียนในระดับหนึ่ง ระดับใด รายการสอนประเภทนี้มักควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบ (formal education) รายการสอนเพื่อความรู้ (Education Program) หมายถึง รายการที่มิได้มุ่งหมายเพื่อการสอนโดยตรง แต่เป็นรายการที่มุ่งให้ความรู้ ความกระจ่างในบางเรื่อง หรือหลาย ๆ เรื่อง เป็นรายการซึ่งผู้ชมจะได้รับความรู้ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์จำเป็นแก่การดำเนินชีวิตในส่วนตัวและส่วนรวม ความรู้ต่อวิทยาการก้าวหน้า ส่งเสริมให้รู้จักคิด รู้จักเตรียมรับการเปลี่ยนแปลง มองการณ์ไกล บทที่ 4 การเขียน Storyboard

29 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการข่าว (News cast) เป็นการเสนอรายงานเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละวันโดยอยู่ในความสนใจของประชาชน และเกิดผลกระทบในวงกว้าง ข่าวจะต้องมีความสดใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถตอบคำถาม 6 ประการ คือใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร การเสนอรายการข่าวทางโทรทัศน์ จะแตกต่างจากการรายงานข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการเสนอข่าว และผู้ชมไม่สามารถนำกลับมาอ่านทบทวนใหม่ไม่ได้ จึงต้องใช้ภาษาที่มีความกระชับ และเข้าใจง่าย โดยสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้จากการเห็นภาพเหตุการณ์และเสียงพร้อมกัน บทที่ 4 การเขียน Storyboard

30 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการสาธิต (Demonstration program) คือ รายการที่แสดงถึงขั้นตอนหรือกรรมวิธีในการดำเนินการบางอย่างตามลำดับขั้น เช่น สาธิตการทำอาหาร การซ่อมเครื่องมือ การประดิษฐ์เครื่องใช้ เป็นต้น กล่าวได้ว่าโทรทัศน์เป็นสื่อที่เหมาะสมกับการสาธิตอย่างมาก เพราะผู้ชมสามารถเห็นภาพและได้ยินเสียง โดยเฉพาะภพที่นำเสนอสามารถสร้างเทคนิคการจัดภาพให้เกิดความชัดเจนในการชมได้ บทที่ 4 การเขียน Storyboard

31 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการละคร (Drama program) เป็นการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านตัวแสดง ซึ่งจะต้องเกิดจาการผสมผสานเนื้อ หาในบทกับศิลปะการจัดฉาก แสง เสียง ตำแหน่งภาพ การลำดับภาพ ละคร (Drama) มีรากของศัพท์มาจากภาษากรีก หมายถึง ทำ (to do) แสดง (to act) สำหรับคำจำกัดความของรูปแบบละคร มีหลากหลาย เช่น Something act on the stage by living people, presentation of action เป็นต้น บทที่ 4 การเขียน Storyboard

32 รูปแบบรายการโทรทัศน์
ละครหลายตอนจบ (soap opera) มีการเสนอเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีตัวละครเอก 2-3 คน และตัวประกอบตามแต่ข้อกำหนดทางธุรกิจ และมีการบันทึกเทปเพื่อนำเสนอเป็นตอน ๆ ละครพิเศษ (dramatic special) เป็นละครที่มีการจัดทำพิเศษในวาระโอกาสต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกันไป เช่น ในวันแม่ วันเยาวชนโลก เป็นต้น โดยมีผู้อุปถัมภ์รายการพิเศษ ความยาวของละครจะอยู่ระหว่าง 90 นาที - 2 ชั่วโมง บทที่ 4 การเขียน Storyboard

33 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการผู้หญิง ปัจจุบันบทบาทของผู้หญิงต่อครอบครัว ต่อสังคม เศรษฐกิจการเมืองมีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงกับการทำงานเพื่อสังคม การเมืองมีเพิ่มมากขึ้น การเขียนบทวิทยุโทรทัศน์สำหรับรายการผู้หญิงจึงไม่ควรมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ เพื่อความงาม การเป็นแม่บ้าน เพียงอย่างเดียว แต่ควรครอบคลุมถึงการทำงาน กิจกรรมในสังคม บทบาทด้านการเมือง การเป็นผู้นำด้วย ผู้เขียนบทควรจัดลำดับเนื้อหาของบทให้เหมาะสม เพื่อเป็นการสงเสริมบทบาทของผู้หญิงให้ดีเป็นประโยชน์ ที่จะมีต่อสังคมส่วนรวม บทที่ 4 การเขียน Storyboard

34 รูปแบบรายการโทรทัศน์
รายการเด็ก การเขียนบทสำหรับรายการเด็กนั้น ผู้เขียนบทจะต้องศึกษากลุ่มผู้ชมให้ถ่องแท้เพราะเด็กในกลุ่มอายุต่างกันเพียงเล็กน้อย ความสนใจจะต่างกันไป ระยะเวลาของความสนใจก็ต่างกันด้วย เนื้อหาที่เขียนสำหรับเด็กไม่ควรมากเกินไป ภาษาที่ใช้ควรเหมาะเจาะที่จะสื่อสารกับเด็ก ทำให้เด็กเข้าใจง่าย ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ความสนใจ ความชอบของเด็กวัยต่าง ๆ ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก วัตถุประสงค์สำคัญของบทสำหรับเด็กควรจะส่งเสริมพัฒนา สิ่งที่ดีงามด้านต่าง ๆ ให้กับเด็ก ซึ่งนับว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักในการเขียนบทวิทยุสำหรับเด็ก บทที่ 4 การเขียน Storyboard

35 คำถาม บทที่ 4 การเขียน Storyboard


ดาวน์โหลด ppt Multimedia Production

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google