งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเก็บรวบรวมข้อมูล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเก็บรวบรวมข้อมูล."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเก็บรวบรวมข้อมูล

2 ความหมายของการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การค้นหาคำตอบของปัญหาในการวิจัยนั่นเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งขั้นตอนหนึ่ง โดยนักวิจัยจะต้องใช้เทคนิค และวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือข่าวสารที่ต้องการอย่างสมบูรณ์ ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ

3 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยทำการเก็บ (Collection) ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ตรงประเด็นกับเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ 2.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้อื่นได้ทำการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลไว้แล้ว และผู้วิจัยไปทำการรวบรวม (Compilation) ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อมาทำการวิเคราะห์ในประเด็นที่ต้องทำการศึกษา

4 การเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ที่นิยมกันมากมี 5 วิธี ดังนี้
1.การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary or Library Method) 2.การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต (Observation Method) 3.การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (Interview Method) 4.การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถาม (Questionnaire Method) 5.การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยกรใช้แบบทดสอบ (Test Method)

5 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสาร
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นแรกเมื่อเริ่มทำวิจัย โดยนักวิจัยจะต้องศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องจากเอกสารสิ่งตีพิมพ์ หรือค้นคว้าจากห้องสมุด โดยเฉพาะถ้าเป็น Library Research (การวิจัยศึกษาข้อมูลจากเอกสารในห้องสมุด) เพื่อนำมาประกอบการวิจัย ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร จึงเป็นการไปค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลชนิดทุติยภูมิ

6 แหล่งเอกสาร พอจะสรุปได้ดังนี้
หนังสือทั่วไป ภาพยนตร์ หนังสืออ้างอิง ภาพถ่ายจากของจริง เอกสารทางราชการ จดหมายและอนุทิน วิทยานิพนธ์ โบราณวัตถุ (Relic) และสิ่งปรักหักพัง แม้ไม่ใช้เอกสารโดยตรง แต่สามารถใช้อ้างอิงได้ วารสาร หนังสือพิมพ์

7 ข้อดีข้อเสียของการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสาร
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารมีส่วนที่ดี คือ เป็นการสะดวกในการวิจัย เพราะใช้ทุนทรัพย์น้อย ใช้เวลาน้อย และใช้จำนวนคนเก็บข้อมูลจำนวนน้อย วิธีนี้มีข้อเสียที่อาจเกิดได้อยู่ 2 ประการ คือ - อาจเป็นข้อมูลที่หายากหรือไม่เพียงพอ - การคัดเลือกข้อมูลไม่เหมาะสม

8 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต
วิธีการสังเกต มี 2 วิธี คือ การสังเกตโดยเข้าร่วมเป็นสมาชิก (Participant Observation) หมายถึง ผู้สังเกตจะต้องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรมกับผู้ถูกสังเกต การสังเกตโดยไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก (Non-Participant Observation) เป็นวิธีการสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม เพียงแต่เฝ้าดู หรือสังเกตอยู่ภายนอกกลุ่ม

9 การเตรียมการสังเกตมี 2 วิธี คือ
1 การสังเกตโดยไม่มีเค้าโครง (Unstructured Observation) หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้กำหนดหัวข้อให้แน่นอน 2 การสังเกตโดยมีเค้าโครง (Structured Observation) หมายถึง การสังเกตที่มีการกำหนดเค้าโครงไว้อย่างแน่นอน

10 ข้อดีของการสังเกต มีดังนี้
- ช่วยเก็บข้อมูลในลักษณะที่ไม่สามารถจะพูดหรืออธิบายให้เข้าใจได้ - สามารถได้รายละเอียดต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งถ้าเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์อาจไม่ได้คำตอบที่จริงใจ จึงควรใช้การสังเกตเข้าช่วย - ช่วยทำให้ทราบข้อมูลที่ผู้ตอบปกปิด หรือไม่เต็มใจตอบ - จะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ได้มากกว่า - เป็นการเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์จริงๆนับได้ว่าเป็นข้อมูลชนิดปฐมภูมิ

11 ข้อเสียของการสังเกต มีดังนี้
- ไม่สามารถเฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันได้ - ต้องใช้เวลารอคอยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง - ไม่สามารถสังเกตเรื่อส่วนตัวที่เป็นความลับ - ผลของการสังเกตจะใช้ได้ในวงแคบเท่านั้น

12 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
รวบรวมข้อมูลแบบเผชิญหน้า (Face-to-face Contract) อาศัยการสนทนาซักถามระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้น ผู้สัมภาษณ์ควรจะเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ค่อนข้างสูง จึงจะทำให้การสัมภาษณ์บรรลุเป้าหมายได้ตามต้องการ

13 การเลือกนักสัมภาษณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้วิจัยควรคำนึงถึง
วิธีการสัมภาษณ์ที่สำคัญมี 2 แบบ คือ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบ(Structured Interview)เป็นการสัมภาษณ์ตามแบบที่ได้สร้างขึ้นไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว การสัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบ(Unstructured Interview)แม้การสัมภาษณ์จะไม่อาศัยแบบการสัมภาษณ์เลยก็ตาม แต่จะต้องกำหนดแนวหัวข้อสัมภาษณ์(Questionnaire Guide)เอาไว้ด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะจง การสัมภาษณ์แบบหยั่งลึก การสัมภาษณ์แบบกลอนสด

14 ลำดับขั้นตอนการเตรียมสัมภาษณ์ ควรจะทำเป็นลำดับขั้นตอนต่อไปนี้
1 กำหนดจุดมุ่งหมายของกรสัมภาษณ์ 2 ศึกษาหัวเรื่องที่จะไปเก็บข้อมูลอย่างละเอียด 3 ไปสำรวจพื้นที่ที่จะไปเก็บข้อมูล 4 ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่จะไปสัมภาษณ์ 5 กำหนด วัน เวลา สถานที่ และกลุ่มตัวอย่างที่จะสัมภาษณ์ 6 ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวโยงกับกลุ่มตัวอย่าง 7 กำหนดแบบของการสัมภาษณ์ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ 8 สร้างแบบสัมภาษณ์

15 9 ทำการทดสอบแบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกับกลุ่มตัวอย่างจริง
10 ทำคู่มือการสัมภาษณ์ 11 จัดอบรมผู้สัมภาษณ์ให้เข้าใจแบบสอบถามในแนวเดียวกันทุกคน 12 จัดเตรียมรายชื่อของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ และแผนผังการเดินทาง 13 จองที่พักล่วงหน้า และจัดเตรียมยานพาหนะให้เรียบร้อย 14 เตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ขณะเก็บข้อมูล 15 ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ที่จะถูกสัมภาษณ์ล่วงหน้า 16 แบ่งผู้ถูกสัมภาษณ์ออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อสะดวกในการควบคุมและจัดเก็บข้อมูล

16 ปัญหาในการสัมภาษณ์ - ปัญหาของผู้สัมภาษณ์มักมีความเอนเอียงต่อข้อมูลของตน - ปัญหาด้านภาษา - ปัญหาเกี่ยวกับการเป็นคนแปลกหน้า - ปัญหาเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี - ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการเก็บข้อมูล

17 ข้อดีข้อเสียของการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีสัมภาษณ์
- ช่วยแก้ปัญหาในการได้รับแบบสอบถามคืนน้อย - การสัมภาษณ์สามารถสังเกตสภาพการณ์ต่างๆไปในตัวด้วย - สามารถขยายความ และชี้แจงข้อคำถามที่ยังไม่ชัดเจนให้กระจ่างได้ - เหมาะสำหรับประชากรที่มีกรศึกษาต่ำ หรืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ - ทำให้ผู้ตอบเกรงความเกรงใจ จึงต้องตอบ - เกิดความสัมพันธ์ส่วนตัว จึงได้ความจริงมากกว่าความเท็จ

18 ข้อเสีย - สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน กำลังคน - มีความจำเป็นต้องเตรียมคนไปสัมภาษณ์ ทำให้เสียเวลามาก และหาคนที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมดังกล่าวได้ยาก - ผู้ตอบอาจเกิดความอายในคำตอบ - ผู้ตอบเกิดความกลัว เพราะคิดว่าเป็นเรื่องราชการ - ผู้สัมภาษณ์อาจเผลอเกิดแสดงความคิดเห็นของตนออกไปโดยไม่เจตนา - ถ้าผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีพอ ความร่วมมือจะลดต่ำกว่าปกติ

19 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถาม
แบบสอบถาม หมายถึง ชุดของคำถามซึ่งรวบรวมขึ้นอย่งมีกฎเกณฑ์และวิธีการเพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิด ความเชื่อ ทัศนคติจากบุคคลต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละเรื่อง 1.Check list เป็นแบบสอบถามอีกลักษณะหนึ่งที่การตอบให้ผู้ตอบเลือกคำตอบใดคำตอบหนึ่งจากสองคำตอบ 2.Rating scale เป็นแบบสอบถามที่ลักษณะการตอบเป็นการประเมิณความมากน้อย แบ่งเป็น 3ชนิด คือ มาตราส่วนประเมินค่าแบบจัดประเภท มาตราส่วนประเมิณค่าแบบกำหนดเป็นตัวเลข และมาตราส่วนประเมิณค่าเป็นกราฟ

20 หลักในการสร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วย
- คำถามควรให้รัดกุมกะทัดรัด แต่ได้ใจความ - อย่าให้แบบสอบถามยาวเกินไป - การตอบคำถามใช้วิธีแบบขีดถูกขีดผิดหรือประนัยแบบพหุโอกาส เพราะสะดวก และประหยัด - อย่าตั้งคำถามให้ผู้ตอบตอบไม่ถูก - หลีกเลี่ยงการใช้คำถามนำ - หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบลำบากใจ

21 - ทุกคำถามควรจะให้มีคำตอบชนิดที่เป็นไปได้ทั้งนั้น
- หลีกเลี่ยงคำถามคลุมเครือ - นอกจากวิธีขีดถูกขีดผิด ควรใช้วิธี้ว่นช่องว่างให้เติมประโยคง่ายๆ - ควรเป็นคำถามที่ตรวจสอบไปในตัว - ผู้ออกแบบสอบถามต้องมีความรู้ - ควรใช้ภาษาที่ง่ายๆ - ไม่ควรรวมคำถามตั้งแต่ 2 คำถาม - อย่ถามคำถามที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาของการวิจัย - ก่อนจะลงมือสร้างแบบสอบถาม จะต้องสร้างตารงเตรียมการวิเคราะห์

22 - การจัดเรียงลำดับของคำถาม
- สำหรับคำถามเกี่ยวกับเรื่องความคิด และความเชื่อ คำตอบที่จัดเตรียมไว้จะต้องคำนึงถึงคำตอบที่ว่า เฉยๆ หรือ ไม่มีความคิดเห็น - มาตราตวงวัดที่ใช้นั้น ผู้ออกแบบสอบถามจะต้องทำการศึกษาให้ละเอียด - ควรจัดทำคู่มือกรใช้แบบสอบถาม - ก่อนจะนำแบบสอบถามนั้นไปใช้ ควรทำการทดสอบเก็บข้อมูลเบื้องต้นเสียก่อน

23 รูปแบบของแบบสอบถาม ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 รูปแบบ
แบบที่ 1 แบบสอบถมปลายปิด แบบสอบถามรูปแบบนี้มีลักษณะเหมือนข้อสอบแบบเลือกตอบ แบบที่ 2 แบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถามรูปแบบนี้ไม่กำหนดคำตอบไว้แน่นอน นอกจาก 2 แบบนี้แล้ว ยังมีแบบสอบถามแบบรูปภาพ เป็นแบบที่ใช้รูปภาพแทนภาษา มีลักษณะคล้ายแบบสอบถามปลายปิด

24 โครงสร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
ส่วนแรก คำชี้แจง เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการต้องการข้อมูลจากแบบสอบถาม ส่วนที่สอง ข้อมูลส่วนตัว ส่วนนี้ถือเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ตอบซึ่งก็คือตัวแปรอิสระที่จะศึกษานั่นเอง เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพทางสังคม เป็นต้น ส่วนที่สาม ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ซึ่งอาจเป็นความคิดเห็นหรือความสนใจหรือความต้องการหรือปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

25 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ
ชนิดของแบบทดสอบ - แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นระบบทดสอบวัดความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพสมองด้านต่างๆ - แบบทดสอบวัดความถนัดหรือตัวปัญญา เป็นแบบทดสอบใช้วัดศักยภาพระดับสูงของบุคคล อาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบทดสอบความถนัดในการเรียนและแบบทดสอบความถนัดจำเพาะแบ่งความถนัดเป็น 7 ด้าน - แบบทดสอบวัดความสัมพันธ์ของบุคคลต่อสังคม ประเภทนี้จะวัดเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือการปรับตนเองของบุคคลในสังคม

26 การวางแผนการสร้างแบบทดสอบ
ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้ - กำหนดวัตถุประสงค์ในกรศึกษา - กำหนดลักษณะของแบบทดสอบที่จะใช้ - การสร้างแบบทดสอบ - การสร้างตัวคำถาม - การประเมินคุณภาพของแบบทดสอบ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย

27 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีอื่นๆ
1.การวิเคราะห์เนื้อหาคติชาวบ้าน 2.การเก็บประวัติชุมชน 3.การใช้ข้อมูลส่วนตัวของชาวบ้าน 4.การเก็บรวบรวมวัฒนธรรมทางวัตถุ 5.เครื่องมือเทคโนโลยีในงานวิจัยสนามทางมานุษวิทยา


ดาวน์โหลด ppt การเก็บรวบรวมข้อมูล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google